การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม : A COMPARISON THE STUDYING ACHIEVEMENT BETWEEN LECTURE AND AUDIOVISUAL METERIAL METHODS IN A GENERAL CHEMISTRY COURSE OF THE STUDENTS, SIAM UNIVERSITY

Researcher       : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยสยาม

E-mail                :  wanpwas@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยายจํานวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุจํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.714 จากนั้นนําแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independent ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย

คำสำคัญ             :   การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ

Abstract            :  This work studies on a comparison to the studying achievement general chemistry course between lecture and audio-visual material methods of engineering students, faculty of engineering, Siam university. A population is the 1st-year students who registered 123-101 general chemistry of a 1st- semester, 2015. Sampling group was selected by the purposive sampling and contains 30 samples each. A reliability of instrument, with testing the Cronbach’s -coefficient reliability method, is 0.714. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data were collected and statistically analyzed by independent t-test using by computer software. The results showed that the achievement of these two groups is significantly different at 0.05 level. In addition, it is also indicates that the learning practice method has had a higher studying achievement than that of the lecture method.

Keywords         :   Lecture method, audio-visual material methods


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 59-60). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร (2559)

ชื่อบทความวิจัย : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร

Title                   : HIV Testing Awareness and Behavior in a Men Who Have Sex with Men Group in Bangkok

Researcher       : สินีนาฏ ชาวตระการ, วราภรณ์ คำรศ*

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : wara_aui@hotmail.com

บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 500 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Convenience Sampling ใช้แบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเอง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน พ.ศ.2558 ได้รับแบบสอบถามคืน 439 ชุด และมีข้อมูลครบถ้วนสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด 431 ชุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีกับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยใช้สถิติ Chi-Square และ Logistic Regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับปานกลาง อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี  โดยบุคคลที่เคยตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยว่า จะตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุก 1 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดหากมีคู่นอนเพียงคนเดียว และไม่เห็นด้วยว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ดูแข็งแรงโดยไม่จำเป็นต้องไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงสาธารณสุขควรมีการรณรงค์สร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยต่อไป

Abstract  : This cross-sectional study aimed to examine awareness and behavior regarding HIV testing in a men who have sex with men (MSM) group in Bangkok. Data were collected from 500 MSM using a self-administered questionnaire from 15th May – 15th June 2015. In all, 439 questionnaires were returned and 431 completed questionnaires were analyzed. Association between the HIV testing awareness and behavior was determined by Chi-square test and Logistic Regression. Results showed that the HIV testing awareness level among participants was moderate. Age, education, occupation, salary and domicile were associated with HIV testing behavior. MSM who agreed having an annual HIV check-up program, believed that having a single partner was safe or realized that having  healthy partners was unsafe from HIV transmission, were likely to receive HIV testing. In conclusion, the Thai MOPH should raise awareness and encourage HIV testing behavior among MSM for early detection and to decrease HIV incidence in Bangkok, Thailand.

Keywords : ความตระหนัก, การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, awareness, HIV testing, men who have sex with men

Donwload PDF  : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร


Link to Published:  วารสารสาธารณสุขศาสตร์  Journal of Public Health


Bibliography     :สินีนาฏ ชาวตระการ และ วราภรณ์ คำรศ. (2559). ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(3), 211-222.

Quick View

ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

 

[mfn]กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.[/mfn]   ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง


บทคัดย่อ:  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน
400 คน ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56 และ 44 ตามลําดับ มีอายุมากกว่า 50 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 19.8 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดที่มากกว่า 2000 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีสถานภาพสมรสมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.5 มีอาชีพทําธุรกิจส่วนตัวมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.3 และเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25.8 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ และสถานภาพ มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
คําสําคัญ: ความพึงพอใจในการซื้อ, นักท่องเที่ยวชาวยุโรป, เครื่องประดับเงิน

Abstract :  This research aims at examining silver jewellery buying satisfaction of European tourists in Bangkok. The study tool is a questionnaire for 400 samplings. The research findings indicated that the respondents are female more than male with 56 percent and 44 percent. The respondents are aged above 50 years (19.8 percent). Most have their average income per a month at 2000 EURO (45.5 percent). In the context of status, most are married (54.5 percent). Most have their own-business at 23.3 percent and most respondents are English tourists at 25.8 percent. The hypothesis finding indicated that the personal data in term of income and status is impacted on buying satisfaction of European tourists with positively significant at p = 0.05.
Keywords: Buying Satisfaction, European Tourists, Silver Jewellery


Bibliography:  กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.


สยามวิชาการ ปีที่ 17 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 28 มี.ค. 2559 – ก.ค. 2559 Siam Academic Review Vol. 17 No.1 Issue 28 Mar 2016 – Jul 2016

 

Quick View

ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา

 

Title              :  ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา: Knowledge and Attitude of the Elderly Caregivers: A Case Study of Thammapakorn Phoklang and Watmuang Elderly
Care Center Nakhonratchasima Province

Researcher       :  ดร. บุษยา วงษ์ชวลิตกุล,วิรัช สงวนวงศ์วาน,สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา,ดร. ธนกร ลิ้มศรัณย์,สิริวดี ไทยสมัครและคณิต เรืองขจร
Department      :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 : dr.tanakorn@siam.edu

Abstract            :  The purposes of this research were (1) to explore the knowledge of the elderly caregivers (2) to explore thepersonal’s positive attitude and negative attitudeof the elderly caregivers in the ThammapakornPhoklang and Watmuang Elderly Care Center Nakhonratchasima.Purposive sampling was adopted in this research study, by selected 60 elderly caregivers of these two places, who work at least 1 year. There were 53 respondents, and 51 set of questionnaires returned to the researchers or 96.23 percent. The researchers used descriptive statistics such as frequency percentage average and standard deviation to analyze and interpret the data. The finding has shown as follows; the majority group of respondents incorporated was female, aged between 31-40 years old and study under bachelor degree. Most of respondents had worked in these two places less than 20 years. The elderly caregivers knowledge were in the medium level or 50 – 79 percentin the understanding of aging processes and suitable physical environment for older people. In addition, the sample group had high level of personal’s positive attitude and low level ofpersonal’s negative attitude toward the elderly people. Thus, Nakhonartchasima Provincial Administration Organization (NakhonRatchasima PAO) and the related organization should urgently improve the knowledge for the caregivers of elderly people and consistency. Moreover, these organizations should develop positive attitude and decrease the negative attitude for caregiver of elderly peopleby establish activities or workshops in order to get into the Ministry of Public Health standard. Finally, these organizations should empower the team cooperation, support to the exchange or share knowledge and positive attitude for the caregivers of elderly people.

Key words         :  Elderly, Knowledge of caregivers for the elderly people, Attitude and Caregivers for the elderly people.


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559

                               Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016

Link to Publication:    http://www.vu.ac.th/apheitvu/journal_v5n2.html

Download PDF  : ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา

Bibliography     :   บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, วิรัช สงวนวงศ์วาน, สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, ธนกร ลิ้มศรัณย์, สิริวดี ไทยสมัคร และ คณิต เรืองขจร. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา.  วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  5(2), 74-92. 


Quick View
จุฬาลงกรธุรกิจปริทัศน์-ปีที่38-ฉบับที่148-เมย-มิย-2558

ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

[mfn]สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(148), 64 – 104. [/mfn]   ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข 


ผลงานวิชาการ ดร.สมพร ปานยินดี – Somporn Panyindee

Quick View

ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ. (2559). ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 15(19), 7-9.[/mfn]   ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล The Quantum Physics Theory and the Convergence Transformation of the Communication Elements in the Digital Age

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ

บทคัดย่อ                :  จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อนำเสนอประเด็นในการวิจัยและงานสร้างสรรค์ทางนิเทศศาสตร์ที่ไม่ใช่ลักษณะเดิม โดยพิจารณาไปที่องค์ประกอบพื้นฐานทางการสื่อสารที่สามารถทับซ้อน ควบรวม และโอนถ่ายจากสภาพหนึ่งไปเป็นสภาพอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล

คำสำ คัญ               :  ทฤษฎีควอนตัมพิสิกส์, การควบรวมและการแปลงรูป, การสื่อสารในยุคดิจิทัล

Abstract               :  The purpose of this article is to present the issue on communication research and creative works is a different perspective. The basic elements of communication can be considered in terms of overlapping, convergence, and transformation. The principles of quantum physics and digital technologies are the main concepts.

Keywords           : Quantum Physics Theory, Convergence-Transformation, Communication in the Digital Age

Download PDF :   ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 19 ปี 2559   Siam Communication Review Vol.15 No.19 2016

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol15-no19-2016/

Bibliography     : ศิริชัย ศิริกายะ. (2559). ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 15(19), 7-9.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : Saving Factors for After Retirement Planning Affect Saving Behaviours of People in Bangkok

Researcher       :  ชลธิชา มูลละ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  memory_may34@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accident Sampling) จํานวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.5 (294 คน) และ 26.5 (106 คน) ตามลําดับ มีอายุ 31-40 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64 (256 คน) และส่วน ใหญ่สมรสแล้วที่ร้อยละ 43.5 (174 คน) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดคือ มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 37.5 (150 คน) มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 57.8 (231 คน) โดยพฤติกรรม การออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุทั่วไป พบว่า ระยะเวลาการออมอยู่ในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44.5 (178 คน) จํานวนเงินออมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,001-5,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.3 (189 คน) และมีวัตถุประสงค์การออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรและตนเอง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.3 (201 คน) และนิยมรูปแบบการออมในแบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.5 (206 คน) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านรายได้มีผล ต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออมอย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติ (Significant .002) แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านรูปแบบการออม (Significant .255) วัตถุประสงค์การออม (Significant .176) และระยะเวลาการออม (Significant .137) ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมมีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออม (Significant .000) และด้านระยะเวลาการออม (Significant .003) อย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติในทางกลับกัน ปัจจัยการออม เพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนใน
กรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์การออม (Significant .453) และด้านรูปแบบการออม (Significant .226) ตามลําดับ

คําสําคญั              : ปัจจัยการออม พฤติกรรมการออม กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The objectives of this study were 1) to study saving for retirement plans of individuals in Bangkok and 2) to study the saving for retirement plan factors affecting savings behavior of people in Bangkok. The tool used in this research was questionnaire. The 400 samples were selected based on accident sampling. From the results, it was found that most respondents were female at 73.5 % (n=294) and male at 26.5% (n=106), most were between 31- 40 years at 64 % (n= 256), and most were married, 43.5 % (n= 174), most had monthly income more than 30,000 THB 37.5 % (n=150). The majority of those who worked were private company staffs at 57.8 % (n= 231). Concerning general saving for retirement plan, it was found that the time period for savings in the range of 1-5 years was the most at 44.5 % (n= 178), the savings at an average of 1001-5000 THB per month was the most at 47.3 % (n= 189), the intention for the savings to be used for the cost of their children education and their own spending at 50.3 % (n= 201), and the most popular form of savings was Provident fund at 51.5% (n= 206). From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .002, but did not affect the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of form of savings with statistical significance at .255, the intention for the savings with statistical significance at .176, and savings period statistical significance at .137, respectively. From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .000 and savings period with statistical significance at .003. Conversely, saving for retirement planning, life and savings products did not affect the savings of people in Bangkok in the savings with statistically significant at .453 and form of savings with statistically significant at .226, respectively.

Key words         :  Saving Factors, Savings Behavior, Bangkok


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     : ชลธิชา มูลละ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A61-A69). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร : Factors of Production to Enhancement of Garment for Exports in Bangkok

Researcher       :  นางสาวสาวิตรี ปานเดย์ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  rinapandey144@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการธุรกิจเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคสแควร์  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 41–50 ปีมีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา และมีระยะเวลาดําเนินกิจการ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ด้านแรงงาน รองลงมา คือ วัตถุดิบ และด้านเงินทุนมีความสําคัญน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา และระยะเวลาการดําเนินการ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุน มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําสําคญั             :  ปัจจัยด้านการผลิต ศักยภาพการส่งออก เสื้อผ้าสําเร็จรูป

Abstract            :  This research aims 1) to study the individual factors of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok. 2) to study factors of production of garment for exports in Bangkok. 3) to study factors of production to enhancement of garment for exports in Bangkok. The samples used for this study were 400 samples. Sampling was purposive sampling. Questionnaires were used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results showed that the majority of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok were man, aged between 41–50 years old. Their highest educations were Diploma’s degree. The periods of work were more than 15 years. Moreover, it was also found that the factor of production affecting the enhancement of garment for exports in Bangkok most was Labor. The second most was raw material and the least was capital. The hypothesis testing revealed that individual factors related to enhancement of garment for exports in Bangkok were gender, age, education and periods of work. In addition, the researcher found that factor of production: raw materials, machinery, labor and capital related to enhancement of garment for exports in Bangkok at 0.05 level of significant

Key words        :  factors of production, enhancement of export, garment


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  สาวสาวิตรี ปานเดย์และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A275-A283). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์

 

Title              :  ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ : Marketing Factors Affecting to Jewelry Buying Behavior of Customers at Jewelry Trade Center

Researcher       :  ลักษมี ปานเดย์ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  pinky.p135@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ที่มาเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่ จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่มาเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์เพื่อทดสอบสมมติฐาน  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-50 ปีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพทํางานบริษัทเอกชน และมีรายได้เดือนละ 50,000 บาทขึ้นไป โดยผู้ที่มาเลือกซื้อแหวนมากที่สุด มีเหตุผลเพราะความสวยงาม และมีความถี่ในการใช้อัญมณี 3-5 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้ผู้วิจัย ยังพบว่าปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์มากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคลากรผู้วิจัยให้ความสําคัญน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ได้แก่ เพศ อายุสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําสําคัญ             : ลักษณะประชากรศาสตร์ปัจจัยการตลาด พฤติกรรมการเลือกซื้อ อัญมณ

Abstract            :  This research aims 1) to study the demographic of customers at jewelry trade center. 2) to study service behavior of customers at jewelry trade center. 3) to study the marketing mix affecting the behavior of customers at jewelry trade center. The samples used for this study are 400 samples. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results showed that the majority of customers were married women, aged between 31-50 years old. Their highest education is bachelor’s degree. They work in private organizations and earn more than 50,000 baht per month. They chose to buy the ring. The reason was a beautiful and used jewelry 3-5 time per month. Moreover, it was also found that the marketing mix factors affecting the consumer behavior most is price. The second most is product and the least is staff The hypothesis testing revealed that demographic related to behavior of customers at jewelry trade center were gender, age, marital status, level of education, occupation, and income. In addition, the researcher found that marketing mix factors: product, price, place, promotion, people, process and physical evidence related to behavior of customers at jewelry trade center at 0.05 level of significant.

Key words        :   demographic, marketing factors, buying behavior, Jewelry


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  ลักษมี ปานเดย์ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A214-A223). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย-ปีที่36-ฉบับที่3

ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา Rungroje Songsraboon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นโรคไม่ติดต่อ จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุด้วยวิธี Stepwise

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 45 – 59 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ และเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ปัจจัยตามแนวทางพุทธศาสนาที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีมากที่สุด ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปนี้

การมีสุขภาพดี = .308การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์+.156การออกกำลังกาย+.144การปฏิบัติตนตามนาฬิกาชีวิต+.108การสวดมนต์+.104การนั่งสมาธิ: R2 = 0.658, SE = 0.378


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร  ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 133-144.

Factors Affecting Therapy of the Non-Communicable Diseases (NCDs) According to Buddhism By Rungroje Songsraboon

Quick View