การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น (2563)

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น (2563)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. สิริกัลยา เบ็ญจวรรณ์

บทคัดย่อ:

เทคนิคดาต้า ไมน์นิงเป็นกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นวิธีการค้นหาข้อมูลสำคัญเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคนี้เป็นที่ยอมรับและถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ สำหรับข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพก็มีงานวิจัยมากมายที่ใช้เทคนิคนี้ในการค้นหาคำตอบ หรือข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ เทคนิคดาต้า ไมน์นิงถูกนำมาใช้ในการหากฎความสัมพันธ์ (Association Rules Discovery) การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Clustering) และการจำแนกประเภทของข้อมูล (Classification) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคดาต้า ไมน์นิงเบื้องต้นควรมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบของข้อมูล และเทคนิคพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคดาต้า ไมน์นิงได้ดียิ่งขึ้น จากความสามารถของเทคนิคดาต้า ไมน์นิง หากบุคลากรทางการแพทย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคนี้ก็จะเป็นประโยชน์ในการทำงาน และอาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในอนาคต

คำสำคัญ: ดาต้า ไมน์นิง เหมืองข้อมูล ข้อมูลทางสุขภาพ

Link to Academic article: การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น

Quick View

การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (2562)

Title           : การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University)

Researcher       : เสถียร พูลผล (Sathian Phunpon) นฤมล โพธิ์ศรีทอง (Narumol Phosritong) อรวรรณ จิตรวาณิช (Orawan Chitvanich) และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย (Ruxjinda Wattanalai)

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  –


Link to article : Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts) Vol. 12 No. 1 :  January – February 2019

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147798


Journal : Veridian E-Journal Silpakorn University  / TCI กลุ่มที่ : none หยุดตีพิมพ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567


Citation : เสถียร พูลผล, นฤมล โพธิ์ศรีทอง, อรวรรณ จิตรวาณิช, และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University). Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 12(1), 1107-1124.

Quick View

การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์

บทคัดย่อ:

การใช้ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หลายชนิดเป็นสาเหตุที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับ สาเหตุของการเกิดพิษต่อตับมาจากกลไกสองประการคือความเป็นพิษต่อตับโดยตรง (direct hepatotoxicity) และแบบ idiosyncratic (idiosyncratic hepatotoxicity) ความเป็นพิษต่อตับโดยตรงเป็นผลมาจากการได้รับยาที่มีความเป็นพิษ (intrinsic toxicity) และความรุนแรงขึ้นกับปริมาณยาที่ได้รับ (dose-dependent) เช่น acetaminophen สำหรับความเป็นพิษต่อตับแบบ idiosyncratic คือความเป็นพิษที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป มีอาการแสดงออกที่หลากหลาย และความรุนแรงไม่ขี้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับ สำหรับอาการทางคลินิก ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และผลทางห้องปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นจากความเป็นพิษต่อตับ เช่น ภาวะตับอักเสบ (hepatitis) มักไม่มีอาการชัดเจน แต่มีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะน้ำดีคั่ง (cholestasis) จะมีอาการของโรคดีซ่าน มีอาการคัน มีการเพิ่มขี้นอย่างมากของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphatase, ALP) และการเพิ่มขี้นเล็กน้อยของเอนไซม์อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส (alanine aminotransferases, ALT) หรือ แบบภาวะผสม (mixed) โดยเกิดร่วมกันทั้งภาวะตับอักเสบและภาวะน้ำดีคั่ง สำหรับเวลาในการฟื้นตัวจากความเป็นพิษต่อตับ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของความเป็นพิษ การตรวจหาให้พบ และหยุดใช้ยา สมุนไพร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพิษต่อตับให้เร็วที่สุดคือขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดพิษต่อตับ

คำสำคัญ: การบาดเจ็บของตับ ความเป็นพิษต่อตับ Drug-induced liver injury

Link to Academic article: การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Quick View

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ. ศศิประภา ชิตรัตถา

บทคัดย่อ:

ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ มีความสำคัญในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ขบวนการผลิต จนถึงสภาวะการเก็บรักษา ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์สื่อความหมายได้หลายอย่าง ความหมายที่ใช้กันมากที่สุดคือ ความคงสภาพทางเคมีของตัวยาสำคัญ อย่างไรก็ตามความคงสภาพของยาไม่ได้ขึ้นกับตัวยาสำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางเภสัชกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น สีของเม็ดยา ความแข็งของเม็ดยา การละลายของยา เป็นต้น ความคงสภาพของเภสัชภัณฑ์ถือเป็นประเด็นหลักที่ต้องระมัดระวังสำหรับเภสัชกรที่ต้องทำหน้าที่เตรียมยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย เภสัชกรต้องหลีกเลี่ยงสภาวะการเตรียมยารวมถึงการใช้สารช่วยในตำรับที่อาจทำให้ตัวยาสำคัญเสื่อมสภาพทางกายภาพหรืออาจเกิดการสลายตัวทางเคมีได้ การเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์หรือการเตรียมยาที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลเป็นอย่างมากต่อความคงสภาพและผลการรักษาของยานั้นๆ ดังนั้นเภสัชกรจึงควรกำหนดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมยาเพื่อผู้ป่วยและทำตามข้อกำหนดนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความคงสภาพของยา ซึ่งสามารถส่งผลถึงผลการรักษาและผลข้างเคียงของยาได้

คำสำคัญ: ความคงสภาพ ยา เภสัชภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ

Link to Academic article: ความคงสภาพของยา (Drug stability) 

Quick View

ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)

ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)

ผู้เขียนบทความ: ผศ.ดร.ภญ. อรวรรณ จิตรวาณิช

บทคัดย่อ:

เภสัชกรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะของรัฐ มักจะได้รับใบสั่งแพทย์ให้เตรียมยาหรือต้องจ่ายยาเฉพาะคราว (extemporaneous preparation) หรือยาเตรียมเฉพาะรายในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากในท้องตลาด ไม่มีรูปแบบที่ต้องการ ยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ ที่เภสัชกรเตรียมขึ้นนั้นมักขาดข้อมูลของสูตรตำรับและความคงสภาพที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ยาเตรียมนั้นยังคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา บทความนี้จึงรวบรวมความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวพร้อมสูตรตำรับจากงานวรรณกรรมแหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดวันหมดอายุ หรือวันที่ไม่ควรใช้เภสัชภัณฑ์นั้นอีกต่อไป (beyond-use date, BUD) ซึ่งพบว่า นอกจากการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเกิด oxidation, hydrolysis, photolysis หรือ thermolysis ยังมีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยากับส่วนประกอบทั้งในสูตรของรูปแบบที่นำมาเตรียม และที่นำมาช่วยในตำรับยาเตรียมเฉพาะคราว

คำสำคัญ: ยาเตรียมเฉพาะคราว ความคงสภาพ รูปแบบยา

Link to Academic article: ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ 

Quick View
วารสารเภสัชกรรมไทย-ทักษิณ จันทร์สิงห์.

ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก (2562)

บทคัดย่อ

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (hematopoietic stem cell transplantation: HSCT) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดแทนเซลล์ที่ผิดปกติในไขกระดูกหรือเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคร้ายชนิดต่าง ๆ ในเด็กให้มีโอกาสหายขาด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งชนิดก้อน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียระดับรุนแรง โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง และกลุ่มโรคทางภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่ กำเนิด ก่อนการทำ HSCT เซลล์ต้นกำเนิดดั้งเดิมในไขกระดูกของผู้ป่วยจำเป็นจะต้องถูกทำลายเสียก่อนโดยการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง (อาจใช้ร่วมกับการฉายรังสี) ที่เรียกว่า preparative regimens โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 วันแล้วแต่สูตรการรักษา เซลล์ ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยมีแหล่งที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ไขกระดูก กระแสเลือด หรือสายสะดือของผู้บริจาค จากนั้นจะนำมาบริหารให้แก่ผู้ป่วยหลังจากได้รับสูตรยา preparative regimens เสร็จสิ้นแล้ว กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้น กำเนิดอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในผู้ป่วยเด็กแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค สภาพความพร้อมทางร่างกาย ชนิดของการปลูกถ่าย แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด ชนิดของสูตรยา preparative regimens และยาที่ใช้ในการป้องกันภาวะเซลล์ต้น กำเนิดใหม่ต่อต้านร่างกาย (graft-versus-host disease: GVHD) เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่ง ยา ผสมยาเคมีบำบัด และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากยา preparative regimens ได้เช่น การใช้ยา ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การป้องกันเยื่อบุในช่องปากอักเสบ การใช้ยาป้องกันการชักจากยา busulfan การ ใช้ mesna ในการป้องกันการอักเสบและมีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะจากยา cyclophosphamide การช่วยติดตามและปรับระดับยาในเลือดของยา busulfan หรือยากดภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรกิริยา ระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา คำสำคัญ: เภสัชกร มะเร็งในเด็ก การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ยาเคมีบำบัดขนาดสูงก่อนปลูกถ่าย

งานที่อ้างถึง

ทักษิณ จันทร์สิงห์. (2562). ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 194-214.

Quick View

ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ (2567)

Title           : ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ 

Researcher       : ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, สุญาณี พงษ์ธนานิกร และณัฐกานต์ ทองแท้ – Shinnawat Saengungsumalee, Kamolwan Tantipiwattanasakul, Pornpun Prajaknate, Suyanee Pongthananikorn and Nattakarn Thongtae

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/factors-associated-with-irrational-antibiotic/


Link to article: วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 หน้า 27-37 | Journal of Health Science of Thailand Vol. 33 No. 1, January – February 2024 p.27-37

https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12945 


Journal : วารสารวิชาการสาธารณสุข  Journal of Health Science of Thailand  / TCI กลุ่มที่ : 1

Quick View

พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว (2563)

ผู้เขียนบทความ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ใจนุช กาญจนภู

บทคัดย่อ:

ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการรักษาความดันโลหิตแดง (arterial blood pressure) เพื่อให้อวัยวะส่วนปลายได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย American College of Cardiology Foundation/ American Heart Association หรือ ACC/AHA ปี 2013 ให้นิยามของภาวะหัวใจล้มเหลวไว้ดังนี้ “หัวใจล้มเหลวเป็นอาการทางคลินิกที่ซับซ้อน เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานในการเติมเลือด (filling) หรือการสูบฉีดเลือด (ejection) ออกจากหัวใจห้องล่าง” อาการแสดงสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หายใจขัด (dyspnea) และอ่อนล้า (fatigue) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆได้ และมีการคั่งของน้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary congestion) น้ำคั่งในช่องท้อง (splanchnic congestion) และอาการบวมน้ำ (peripheral edema) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีการคั่งของน้ำร่วม การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวอาศัยอาการทางคลินิกประกอบกับประวัติและผลการตรวจร่างกายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว

คำสำคัญ: พยาธิ สรีรวิทยา หัวใจล้มเหลว

Link to Academic article: พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว

Quick View

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (2563)

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (2563)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.ทักษิณ จันทร์สิงห์

บทคัดย่อ:

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) มักพบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย เป็นกลุ่มอาการที่มีความซับซ้อน โดยจะพบการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อโครงร่างอย่างต่อเนื่อง และ/หรือร่วมกับการสูญเสียไขมันในร่างกาย การจัดการภาวะ cancer cachexia เป็นไปในลักษณะของพหุสาขา โดยอาศัยหลาย ๆ วิธีร่วมกัน ทั้งการรักษาโรคมะเร็ง การจัดการภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็ง การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการ และการใช้ยารักษาภาวะ cancer cachexia ปัจจุบันยังไม่มีรายการยาที่ได้รับอนุมัติข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะ cancer cachexia แต่รายการยาที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ อนุพันธ์ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เช่น megestrol acetate ขนาด 200-600 มิลลิกรัม/วัน ขนาดยาดังกล่าวมีผลเพิ่มความอยากอาหาร และน้ำหนักตัว และ corticosteroids เช่น dexamethasone ขนาด 3-4 มิลลิกรัม/วัน (หรือยาอื่นที่ทัดเทียม) มีผลเพิ่มความอยากอาหาร แต่การพิจารณาการใช้ยาแต่ละชนิดควรประเมินความปลอดภัยร่วมด้วย จำกัดการใช้ในรายที่ได้ประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่ได้รับ

คำสำคัญ:

Link to Academic article: ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา

Quick View

ยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ระบายชนิดกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (2560)

ยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ระบายชนิดกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (2560)

ผู้เขียนบทความ: ภญ.เพ็ญนภา เจริญวิวัฒนกิจ

บทคัดย่อ:

ท้องผูกเป็นอาการที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ตามปกติ ซึ่งในการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน การใช้ยาระบายที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยก็พบการใช้ยาประเภทนี้ทั้งยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน โดยเฉพาะยาสมุนไพรซึ่งพบว่ามีพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อเป็นยาระบายหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ ราชพฤกษ์ ชุมเห็ดเทศ และมะขามแขก โดยพืชทั้งสามชนิดจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน และพบว่ามีสารออกฤทธิ์คล้ายคลึงกัน โดยเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่ม anthraquinone glycosides อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรทั้งสามชนิดจะต้องมีข้อระมัดระวัง ตลอดจนข้อห้ามใช้ในกลุ่มผู้ป่วยบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้อุดตัน หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยที่ได้รับยาบางประเภทเช่น digoxin หรือยาที่มีผลต่อการขับปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม หากใช้อย่างระมัดระวัง ก็เป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังเป็นเวลานานหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่เกิดประสิทธิผลที่เพียงพอ

คำสำคัญ: ยาระบายสมุนไพร, ชุมเห็ดเทศ, ราชพฤกษ์, มะขามแขก, แอนทราควิโนนส์

Link to Academic articleยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ระบายชนิดกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
Quick View