วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559

ISSN:  2465-4221

สารบัญ

บทความวิจัย

Pharmacy Education Reform-Health Professionals 
Chalermsri Pummangura and Wandee Gritsanapan 1-4


Role of Docosahexaenoic Acid in Brain Development of Infant 
Thanompong Sathienluckana and Chalermsri Pummangura 5-19


Expectation of Vitamin C in Health Supplement column 
Orawan Chitvanich 20-30


Shading of Background Setting for Tablets Identification by imgSeek column 
Sirikanlaya Benjawan and Verayuth Lertnattee 31-34


Pharmacist’s Role in Disciplinary Team at Asthmatic Outpatient Clinic Bang Plama Hospital Suphanburi 
Kamolwan Tantipiwattanaskul1, Anawat Rakwannawong, Surasak Leungsiritanya and Saifon Indrachai-Ea 35-47


วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559 Siam Pharmacy Journal Vol.1 No.1 Jan-Jun 2016

Quick View

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559

ISSN:  2465-4221

สารบัญ

บทความวิจัย

Role of Valproic Acid in Bipolar Disorder
Onrumpha Chunchom and Thanomphong Sathienluckana 1-11


FtsZ protein as antibacterial target
Phennapa Charoenwiwattanakij and Veena Nukoolkarn 12-21


Glucokinase The new promising target for hypoglycemic drugs
Pichai Chaichanachaichan 22-28


Development of questionnaire measuring attitude towards the Pharm. D. curriculum, Faculty of Pharmacy, Siam University
Suwapab Techamahamaneerat , Jainuch Kanchanapoo, Ing on Sonnoy, Arraya Attaphinyo, Nuttha Phankhong and Ruxjinda Wattanalai 29-41


Clinical outcomes of pharmaceutical care at Bangplama hospital Suphanburi
Saifon Injaiuea, Kamolwan Tantipiwattanaskul, Anawat Rakwanwong,
and Surasak Luengsirithanya 42-56


Characterization of Polylactic Acid Nanofibe
Sasiprapa Chitrattha, Anon Chaisenhan, Methawee Thongnak,
Kritpinya Namma, and Sontaya Limmatvapirat 57-64


Formulation of Skin Infections Microemulsions
Sirikarn Pengon, Netnapha Tosakul, Charin Fungrungnirattisai,
Praphasiri Maneeto and Sontaya Limmatvapirat 65-71


วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559 Siam Pharmacy Journal Vol.1 No.2 Jul-Dec 2016

Quick View

สารช่วยทางเภสัชกรรมในตำรับยาฉีด (2562)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.ชุติมน หมื่นแก้ว

บทคัดย่อ:

สารช่วยทางเภสัชกรรม (excipients) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาและผลิตยารูปแบบต่างๆ ปัจจุบันมีการผลิต excipient ชนิดใหม่ออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีรูปแบบ ประสิทธิภาพในการรักษา และมีความคงตัวตามต้องการ ผลิตภัณฑ์ยาฉีดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดหรือที่เตรียมขึ้นใช้เองในโรงพยาบาล มีทั้งที่อยู่ในรูปแบบสารละลาย สารแขวนตะกอน อิมัลชัน ผงแห้ง และชีววัตถุ นอกจากเรื่องการควบคุมการผลิตและควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อแล้ว excipient ที่อยู่ในตำรับยาฉีดก็เป็นเรื่องที่ควรทราบและให้ความสำคัญ แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับยาเตรียมในรูปแบบอื่น ในบทความนี้จึงได้กล่าวถึงชนิดและหน้าที่ของ excipient ที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามที่กล่าวมาข้างต้น และยกตัวอย่างอาการไม่พึงประสงค์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จาก excipient ในยาฉีดเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความระมัดระวังในการเลือกใช้ยาฉีด

คำสำคัญ: pharmaceutical excipients, parenteral, biologics, lyophilization

Link to Academic article: สารช่วยทางเภสัชกรรมในตำรับยาฉีด

Quick View

หลักฐานเชิงประจักษ์การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2563)

ผู้เขียนบทความ:   อ.ภญ. วิภาวี รอดจันทร์ และ ดร.ภก. อภิโชติ โซ่เงิน

บทคัดย่อ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ coronavirus disease 2019 (COVID-19) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสชื่อ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS- CoV-2) ได้เริ่มมีการรายการแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) จนกระทั่งเดือนมีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้ COVID-19 อยู่ในภาวะ pandemic เนื่องจากมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแพร่กระจายไปหลายประเทศ บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของเชื้อไวรัส อาการของโรค และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับยาที่มีการศึกษาในมนุษย์

คำสำคัญ: ไวรัส โคโรนา2019 โรคติดเชื้อ การรักษา

Link to Academic article: หลักฐานเชิงประจักษ์การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Quick View

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2 (2563)

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2 (2563)

ผู้เขียนบทความ: ดร. ภก. เสถียร พูลผล

บทคัดย่อ:

เพื่อให้ร้านยาเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 ขึ้น ทำให้ร้านยาต้องปฏิบัติตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ขั้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 นี้จะเป็นการประเมินในขั้นที่ 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากการประเมินในระยะที่ 1 ที่เคยประเมินในปี พ.ศ. 2561 โดยมีรายละเอียดคือ หมวดที่ 1 สถานที่ จะต้องมีความมั่นคง มีทะเบียนบ้าน มีพื้นที่ขายและให้คำแนะนําการใช้ยาไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร และมีพื้นที่เก็บสํารองยาเป็นสัดส่วนโดยไม่วางยาสัมผัสกับพื้น หมวดที่ 2 อุปกรณ์ มีอุปกรณ์วัดส่วนสูง ถังดับเพลิง ที่พร้อมใช้งาน หมวดที่ 3 บุคลากร มีการแยกบทบาทของเภสัชกรและพนักงานอย่างชัดเจน โดยพนักงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายยาและงานที่ได้รับ หมวดที่ 4 ไม่มีการประเมิน และหมวดที่ 5 การให้บริการทางเภสัชกรรมกับผู้ป่วย โดยเภสัชกรต้องมีวิธีการปฏิบัติทางเภสัชกรรมที่ดี เช่น การซักถามข้อมูลที่จำเป็น จัดให้มีฉลากยาแสดงข้อมูลที่จำเป็น การส่งมอบยาพร้อมให้คำแนะนําตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การป้องกันการแพ้ยาซ้ำ การคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย การผลิตยาตามใบสั่งยา การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การจัดสื่อให้ความรู้และสื่อโฆษณาสำหรับผู้มารับบริการ

คำสำคัญ: หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2, Good Pharmacy Practice (GPP) Phase 2, ร้านยา

Link to Academic article: หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2

Quick View

อาการปวดหัวไมเกรน (2560)

อาการปวดหัวไมเกรน (2560)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.ภูมิสิริ วุฒิวงค์

บทคัดย่อ:

อาการปวดหัวไมเกรนเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อย และส่งผลกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยมีการศึกษาถึงความชุกในการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนในชาวแคนาดา พบว่าอาการปวดดังกล่าวจะพบในเพศหญิงร้อยละ 23-26 และพบในเพศชายร้อยละ 7.8-10 ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนอย่างแน่ชัด มีแนวคิดที่ใช้อธิบายสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน 2 แนวคิด คือ vascular theory ที่เชื่อว่าเกิดภาวะหลอดเลือดขยายตัวจึงทำให้เกิดอาหารปวดหัว และ inflammation hypothesis ซึ่งเชื่อว่าอาการปวดเกิดจากสารก่อการอักเสบบางชนิด เช่น calcitonin gene related peptide (CGRP) และ substance P (SP) ทำให้เกิดภาวะ neurogenic inflammation โดยคำอธิบายถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากภาวะ cortical spreading depression (CSD) โดย CSD เป็นสัญญาณการส่งกระแสประสาทอย่างช้าๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณ occipital lobe ของสมอง หลังจากเกิดสัญญาณ CSD สัญญาณจะเดินทางไปที่ migraine center แล้วส่งสัญญาณผ่าน trigeminal nerve (CN V) ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดภายนอกกะโหลก นอกจากนี้สัญญาณ CSD หากมีปริมาณมาก อาจมีการส่งสัญญาณไปที่ prefrontal cortex เกิดเป็นกลุ่มอาการแทรกซ้อนของไมเกรนอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า aura

คำสำคัญ:

Link to Academic article: อาการปวดหัวไมเกรน

Quick View

เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์

บทคัดย่อ:

ประเทศไทยมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะต้องหาวิธีการเพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรทางด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด วิธีการหนึ่งที่เภสัชกรสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรดังกล่าวได้แก่การนำความรู้ด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้การเปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของผลิตภัณฑ์และการบริการทางเภสัชกรรมมาเป็นเครื่องมือวัดและประเมินเพื่อหาทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด แต่ไม่ใช่เพื่อหาวิธีที่ถูกที่สุดหรือมีประสิทธิผลที่สุด บทความนี้แนะนำความรู้พื้นฐานที่สำคัญด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์แก่เภสัชกรและวิธีการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งมีสี่วิธี ได้แก่การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA) การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA) การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (CEA) และ การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (CUA) รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการประเมินทั้งสี่วิธี นอกจากนี้บทความยังแนะนำมาตรฐานทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญและกล่าวถึงข้อจำกัดของเภสัชเศรษฐศาสตร์ และการนำเภสัชเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพเภสัชกรรม

คำสำคัญ:  เภสัชเศรษฐศาสตร์, การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA), การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA)

Link to Academic article:   เภสัชเศรษฐศาสตร์ 

Quick View

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.นวินดา ชินะตังกูร และ นศภ.ร่มฟ้า บุญสุข

บทคัดย่อ:

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และปัญหาจากโรคระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาเส้นใยนาโนด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบอิเล็กโตรสปินนิง โดยเส้นใยที่ได้จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีขนาดเล็ก ส่งผลให้มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตรสูง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกรองและความสามารถในการดักจับอนุภาคเพิ่มสูงขึ้น นอกจากประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคและดักจับเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หน้ากากเส้นใยนาโนยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ สามารถป้องกันการซึมผ่านของของเหลว สามารถระบายอากาศได้ดี หายใจได้สะดวก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีความแนบกระชับกับใบหน้า และมีความแข็งแรงทนทาน

คำสำคัญ: หน้ากากอนามัย เส้นใยนาโน อิเล็กโตรสปินนิง ไวรัสโคโรนา PM2.5

Link to Academic article: เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย

Quick View

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ.ทิพย์วิไล ทวีพันธุรัตน์

บทคัดย่อ:

โรคตาแห้ง หรือ dry eye disease เป็นโรคทางตาที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสำคัญที่นำผู้ป่วยมารับบริการที่ร้านยา หรือสถานพยาบาล ซึ่งส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิต จนถึงอาจเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ จากการศึกษาของ Stapleton และคณะ ปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาที่รวบรวมความชุก อุบัติกาณ์ และปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง ผลการศึกษาพบว่า ความชุกในการเกิดโรคตาแห้ง อยู่ในช่วงร้อยละ 5 ถึง 50 ของประชากรทั่วโลก1 ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบได้ในทุกช่วงอายุ และพบมากในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 75 ปีขึ้นไป2 โรคตาแห้งเป็นโรคที่มีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น การรักษาโรคตาแห้งอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นองค์ความรู้ที่เภสัชกรควรมีความรู้ และความเข้าใจ เนื่องจากบทบาทเภสัชกรชุมชนในโรคตาแห้ง สามารถเป็นด่านแรกที่ช่วยประเมิน เลือกใช้ยาในการรักษา ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคตาแห้ง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการโรคตาแห้งรุนแรงไปรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย บทความจะเน้นถึงสาเหตุการเกิดโรคตาแห้ง อาการแสดงทางคลินิก การวินิจฉัยโรคตาแห้ง และการรักษาโรคตาแห้งด้วยการใช้ยา

คำสำคัญ: โรคตาแห้ง, แนวทางการรักษา, น้ำตาเทียม

Link to Academic article: แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง

Quick View