การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (2562)

ชื่อบทความ     :  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : The Training Curriculum Development for Section Chief Vocational Education Institutes based on the Concept of Routine to Research

เจ้าของผลงาน       : เบญจวรรณ บวรกุลภา  รวีวรรณ ชินะตระกูล  และมนต์ชัย เทียนทอง

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาหลักสูตรและ หาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม มีขั้นตอนวิจัย 9 ขั้นคือ ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม สังเคราะห์หัวข้อ ร่างรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พัฒนาหลักสูตร ประเมินหลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลอง นำไปใช้จริง และติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมายในขั้นทดลองจำนวน 25 คนและ ขั้นนำไปใช้ มีจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ และแบบสอบถามขั้นสำรวจมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 108 แห่งทั่วประเทศและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 788 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรได้รูปแบบของพิสิฐ เมธาภัทร หลักสูตรประกอบด้วย เนื้อหา การประเมิน สื่อ กิจกรรมขั้นตอนภายใต้วงจรเดมมิ่ง การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมประยุกต์ใช้รูปแบบซิป ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหัวข้อหลักสูตรประกอบด้วย 5 หัวข้อ 1) การกำหนดปัญหาในการวิจัย 2) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การออกแบบการวิจัย 4) การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการวิจัย 5) รายงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยผลการนำไปทดลองมีประสิทธิภาพ 84.21/82.05 และนำไปใช้ เท่ากับ 82.76/81.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 การประเมินผล หลักสูตร พบว่า ความพึงพอใจหลังฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ผลติดตามวิทยาลัย 4 แห่งอยู่ในระดับดี

คำสำคัญ                : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

Abstract              :  This research intended to Develop a Models, the training program and Efficiency evaluation for Section Chief vocational education Institutes based on the concept routine to research, was conducted through 9 research steps, i.e. situation and needs analysis, synthesis of routine to research, development of draft model, evaluation of the model appropriateness, development of the program, evaluation of the program, trial of the program, implementation with the target group, and evaluation. The target group in the trial step consisted of 20 persons while that of the implementation was 25 persons with the qualification according to the set criteria. The questionnaire was used to survey 108 vocational institutes on 788 subjects. Research statistics included frequency, percentage, arithmetic mean, and SD with the results as follows. Model of the training curriculum development for Section Chief vocational education colleges based on the concept routine to research according to Pisit Methapatara Model revealed that the program consisted of analysis steps, synthesis of the topic, modification of the topic, and objectives, developed program consisting of content, evaluation, teaching media, and activities under the Deming Cycle, the developed program was evaluated through CIPP Model. The development of this training program consisted of 5 topics, i.e. 1) define the research problem, 2) review literature and related researches, 3) design the research, 4) collect data, and statistics 5) report the routine to research and results research to apply. It was found that the developed research reached the efficiency of try out was 84.21/ 82.05 and the efficiency of implementation was 82.76/ 81.50 higher than the set criteria at 80/80.The results of the program evaluation by CIPP Model showed that the trainees reported high satisfaction and the follow-up study evaluated by the specialists on 4 colleges was at high level.

Keywords           : Training program development, routine to research


Publication        : วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา  ปีที่ 31 ฉบับที่ 110 เม.ย.-มิ.ย. 2562 Journal of Technical Education Development Vol.31 No.110 Aprril-June 2019

Link to Publication: http://www.ited.kmutnb.ac.th/ejournal/

Bibliography    : เบญจวรรณ บวรกุลภา,  รวีวรรณ ชินะตระกูล  และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(110), 72-79.


Quick View

ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2557)

 

[mfn]เบญจวรรณ บวรกุลภา. (2558). ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 15(2), 68-79.[/mfn]   ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร The Attitude and Intention of Consumers in Buying Economic Cars in Bangkok Area

ผศ.เบญจวรรณ บวรกุลภา


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 15 เล่มที่ 2 ฉบับที่ 25 พ.ย. 2557 – ก.พ. 2558 Siam Academic Review Vol. 15 No.2 Issue 25 Nov 2014 -Feb 2015

Quick View

สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม (2560)

Title              : สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม : Essential Competencies Required of New Graduates from Faculty of Business Administration, Siam University

Researcher       :  ดร.สัมฤทธิ์ เทียนดํา และ คณะ

Department     : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 10160

E-mail                : Sumrit.tia@siam.edu

บทคัดย่อ             : วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการจัดการประชุมแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ใน 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการบัญชี ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ภาควิชาการตลาด ภาควิชาการจัดการทัวไป และภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ตามกรอบแนวคิดมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ของบัณฑิต ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านคุณธรรม/จริยธรรม และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารในสถานประกอบการ และศิษย์เก่าที่สําเร็จ การศึกษาและทํางานแล้ว จํานวน 25 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการบัญชี ได้แก่ ความรู้ด้านบัญชีและการเงิน การติดต่อประสานงาน ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี มีความซื่อสัตย์ และรับฟังข้อเสนอแนะ 2) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ได้แก่ ความรู้ด้านการเงิน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การทํางานเป็นทีม การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี และมีความซื่อสัตย์ 3) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการตลาด ได้แก่ ความรู้ด้านการตลาด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การทํางานเป็นทีม การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี และความอดทนในการทํางาน 4) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการจัดการทั่วไป ได้แก่ มีความรู้ตรงกับงานที่ทํา มีทักษะในการสังเกตุ การวางแผนธุรกิจ การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม 5) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริ หารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ ความรู้ด้านส่งออกและนําเข้า การติดต่อประสานที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สามารถทําการตลาดออนไลน์ได้ดี และมีความละเอียดรอบคอบ
ข้อเสนอแนะเพื่อนําผลการศึกษาไปใช้
มีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิตด้านทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น จัดให้มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนให้กับบัณฑิต 2) การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมที่ทําให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต 3) การวางแผนการเรียนให้รู้ให้กับบัณฑิต โดยกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ให้ชัดเจน 3) การวินิจฉัยความจําเป็นของการพัฒนาสมรรถนะให้กับบัณฑิต รวมถึงการสร้างโอกาสสําหรับการปรับปรุ งพัฒนาตนเองของบัณฑิต 5) การกําหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ 6) การออกแบบแผนการเรียนรู้ให้กับบัณฑิตที่เหมาะสม เพื่อมุ่งสร้างสมรรถนะด้านความรู้ประสบการณ์ชีวิตให้กับบัณฑิต 7) การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการตลาดดิจิทัล วิชาการเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจสตาร์อัพ วิชาภาษาอาเซียน (CLMV) วิชาประสบการณ์ชีวิต และวิชาการสร้างนวัตกรรมใหม่ในกลุ่มวิชาแกนเพิ่มด้วย 8) มีการจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถนะทางด้านการทําธุรกิจสมัยใหม่ เช่น กิจกรรมการฝึกอบรมในวิชาชีพ การมอบหมายงานจริงให้ปฎิบัติ การจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการ และการจัดตั้งบริษัทจําลอง และ 9) มีการประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต โดยประเมินทั้งเป็นแบบทางการ และแบบไม่เป็นทางการ เพื่อใช้ในการเปรียบผลลัพธ์กับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ และการสังเกตพฤติกรรมของบัณฑิตระหว่างการพัฒนา เช่น การมีส่วนร่วม ความเอาใจใส่ ความตั้งใจ และความกระตือรือร้น

Abstract            :  The objective of this research was to study the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University by using the qualitative research method and group interviews in the five undergraduate degree programs: Accountancy, Finance and Banking, Marketing, General Management, and International Business Management. It was based on the standard conceptual framework of the National Qualifications Framework for Higher Education in Thailand in the five domains: knowledge of graduates, intellectual skills, interpersonal skills and responsibilities, analytical and communication skills and ethical and moral. The informants (population) consisted of 25 entrepreneurs who were in executives’ positions, and the alumni of Siam University.

The results of this study showed that 1) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Accountancy program were the knowledge in accounting and finance, the coordination, and responsibility competencies, ability to use specific computer softwares in the field, be honest and listen to the suggestions; 2) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Finance and Banking program were the knowledge of finance, the systematic problem-solving skill, teamwork skill, ability to use specific computer softwares in the field, and be honest; 3) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Marketing program were the knowledge in marketing, the systematic problem-solving skill, teamwork skill, ability to use specific computer softwares in the field, and be patient to work; 4) the essential competencies required of new graduates from The Faculty of Business Administration, Siam University in General Management program were the knowledge of the area, the observative habit, ability to prepare business planning, ability to use specific computer softwares in the field, be honest and have virtue; 5) the essential competencies required of new graduates from The Faculty of Business Administration, Siam University in International Business Management program were the knowledge in international business, e.g. import and export, the coordinating competency and responsibilities, digital marketing skills, and thoroughness and accuracy habit. Suggestions for applying research findings in the development of the essential competencies required of new graduates from faculty of business administration, Siam University were 1) to enhance foreign language skills of the graduates, such as providing additional courses in English, Chinese and ASEAN languages; 2) to create appropriate atmosphere for learning and developing; 3) to set study plan with clear goal for undergraduate students; 4) to analyze the need of competency development for graduates including to create opportunities for self improvement; 5) to define the objectives or goals of the competency development for the programs to meet the need of entrepreneurs; 6) to design the appropiate learning plan to build the knowledge competency of life experience for graduates; 7) to improve the appropriate curriculum to meet individual needs and social conditions. Digital marketing subject, Startup business entrepreneurs subject, ASEAN language (CLMV), life experience subject and new innovation subject were recommended to add in the core subjects; 8) activities for the competency development of modern business such as professional training, the assignment of the actual job to perform, the establishment of entrepreneurial clubs and the establishment of a simulation company were suggested; and 9) evaluate competency development both formally and informally to compare the results with the goals; and observe the students’ behavior such as participation, attention, willingness and enthusiasm to learn throughout the semester. 

Donwload PDF  :  รายงานการวิจัย เรื่อง สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม


Bibliography     :   สัมฤทธิ์ เทียนดํา, พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก, เปรมจิต พรหมสาระเมธี, กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์, วิบูลย์ ชินบูรพา, สมพร ปานยินดี, … พิจักษณ์ จันทวิโรจน์. (2560). สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View