ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ (2566)

Title           : ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ (Effect of Modifications on Physico-Chemical Properties of Raw Hin Banana Starch)

Researcher       จิรนาถ บุญคง, ปิยนุสร์ น้อยด้วง, และ จิตตราภรณ์ แมงทับ

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-modifications-on-physico-chemical/


Link to article: รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (หน้า 359-366). https://drive.google.com/file/d/1fLQtCaNCm2Jry22a5qPgsGGSesA4NlPW/view?pli=1


 Publication: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (ASTC2023)  / in  Proceeding


Citation :   จิรนาถ บุญคง, ปิยนุสร์ น้อยด้วง และจิตตราภรณ์ แมงทับ. (2566). ผลของการดัดแปรต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพของสตาร์ชกล้วยหินดิบ. ใน รายงานการประชุม การประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 9 (หน้า 345-352). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง

 

Title              :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง : Effect of Pretreatment and Drying Temperature on Drying Kinetics and Selected Quality Attributes of Dried Desiccated Shredded Coconut

Researcher       :  ณฐมล จินดาพรรณ,* กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และธัญญภรณ์ ศิริเลิศ
Nathamol Chindapan*, Kanjanalak Sreepalerd, Tidarat Inkaew, Nattiga Silalai and Tunyaporn sirilert

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก:  Rchindapan@gmail.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้งที่มีต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่ได้ การเตรียมขั้นต้นในการศึกษานี้ ได้แก่ การผสมสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัมต่อเนื้อมะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม และการลวกโดยใช้ไอน้ำเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 และ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบถาด ในระหว่างการอบแห้ง ทำการสุ่มตัวอย่างออกมาวัดปริมาณความชื้น ทุกๆ 30 นาที จนกระทั่งความชื้นของตัวอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นรายงานปริมาณความชื้นสมดุลของแต่ละตัวอย่างและเวลาที่ใช้อบแห้งเพื่อทำให้แต่ละตัวอย่างมีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 2.48 % (ฐานเปียก) นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์ลักษณะคุณภาพบางประการ ได้แก่ วอเตอร์แอคติวิตี้ ความหนาแน่นรวม อัตราการคืนตัว และค่าสีของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่เหลือความชื้น 2.48 % (ฐานเปียก) เปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม จากผลการทดลอง พบว่าวิธีการเตรียมขั้นต้นไม่มีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด แต่กระทบต่อลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05)

คําสําคัญ             :  การอบแห้ง จลนพลศาสตร์ เนื้อมะพร้าวขูด

Abstract            :  The objective of this study was to investigate the effect of pretreatments and drying temperatures on drying kinetics of desiccated shredded coconut and selected quality attributes of dried desiccated shredded coconut. Adding with sodium metabisulfite of 1 g per 1 kg desiccated shredded coconut and steam blanching for 5 minute were used to be pretreatment. Each pretreated sample was dried at 80 °C and 90 °C using tray dryer. During drying process, the sample was taken out for moisture content determination every 30 minute until its moisture was negligible. The equilibrium moisture content and drying time for final moisture content of about 2.48 % (w.b.) of sample at each drying condition was noted. Moreover, selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconuts having final moisture content of about 2.48 % (w.b.) obtained from different drying conditions were determined to compare with a control sample in terms of water activity, bulk density, rehydration ratio and color. The result showed that the pretreatments did not significantly affect the drying kinetics of the desiccated shredded coconut, but significantly affected the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05). The drying temperatures significantly affected both the drying kinetics and the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05).

Keywords        :    Drying, Kinetics, Desiccated shredded coconut

Donwload PDF  :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    ณฐมล จินดาพรรณ, กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญภรณ์ ศิริเลิศ. (2557). ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 317-323). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว

 

Title              :  ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว : Influence of Biopolymer Types and Contents on Stickiness Behavior of Tamarind Paste

Researcher       :  สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Supannee Kampeeburana, Kanokwan Kheatthaiyon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  nattiga.sil@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก มักพบปัญหาเรื่องความเหนียวและการเกาะติดกันเป็นก้อนที่ผิวของอาหาร เนื่องจากสมบัติการดูดความชื้นอย่างรวดเร็วของน้ำตาล ซึ่งผลิตภัณฑ์มะขามแก้วจัดเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มักพบปัญหาการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ที่มีสาเหตุมาจากการดูดซับน้ำของน้ำตาลทรายที่เป็นส่วนผสมหลัก สารไบโอพอลิเมอร์ เช่น สตาร์ช และมอลโตเด็กซ์
ตริน ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการปรับปรุงคุณลักษณะเนื้อสัมผัสและลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์ลงไปผสมในกระบวนการผลิต เพื่อลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาการใช้มอลโตเด็กซ์ตริน (Dextrose equivalent; DE-10) และแป้งข้าวโพดเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตด้วยสัดส่วนต่างๆ โดยการดัดแปลงสูตรดั้งเดิม
แล้วนำไปทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-Point hedonic scale พบว่า การเติมมอลโตเด็กซ์ตรินและแป้งข้าวโพดส่งผลต่อคุณลักษณะและเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มะขามแก้วซึ่งผลการทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสสามารถนำไปหาปริมาณสัดส่วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตด้วยวิธี Mixture Design พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (X1 = 75-85%) : แป้งข้าวโพด (X2 = 10-15%) :
มอลโตเด็กซ์ตริน (X3 = 5-10%) เป็นสูตรที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเพื่อใช้ในการศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อคุณลักษณะเนื้อสัมผัสการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ โดยการใช้ 5-hedonic scale ผลจากการวิเคราะห์พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (82.5%) แป้งข้าวโพด (12.5%) และมอลโตเด็กซ์ตริน (5%) มีเนื้อสัมผัสที่ดีและสามารถลดความเหนียวที่ผิวรวมถึงการเกาะติดกันได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม จากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อการระเหยน้ำของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการกวน (Drying curve) โดยให้ระดับความแรงของไฟคงที่ตลอดระยะเวลาในการกวน ทำการเปรียบเทียบกับสูตรดั้งเดิม พบว่า ปริมาณน้ำของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์จะลดลงน้อยกว่าสูตรควบคุม ณ เวลาเดียวกัน โดยมีความชื้น 10.86% (w/w) ขณะที่สูตรควบคุมมีความชื้นเท่ากับ 17.01% (w/w) ซึ่งสอดคล้องกับค่า Water activity ของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์และสูตรควบคุมที่มีค่าเท่ากับ 0.53±0.14 และ 0.63±0.39 ตามลำดับชี้ให้เห็นว่าสารไบโอพอลิเมอร์ที่เติมลงไปมีผลช่วยในการอุ้มน้ำไว้ภายในโครงสร้างเพื่อลดการสูญเสียน้ำออกมาที่ผิวระหว่างการผลิตและการเก็บรักษา

คําสําคัญ             :  มะขาม การเกาะติดกัน มอลโตเด็กซ์ตริน แป้งข้าวโพด

Abstract            :  Stickiness and adhesion at particle surfaces are often found in sugar-rich foods due to hygroscopic properties of sugar. Sugar, is a main ingredient in tamarind candy, causes stickiness problem at surface. Biopolymer such as starch and maltodextrin have been used extensively to improve texture and reduce the adhesion characteristics of the products. In this study, biopolymers (maltodextrin DE-10 and corn starch) were used to add with different ratios into the products during the process to reduce surface stickiness of Tamarind candy product. All samples were evaluated by panelists using the 5-Point hedonic scale. Proportion of the components used in the process was determined by Mixture Design Method, which indicated 4 formula consisting of sugar (X1 = 75-85%) : corn (X2 = 1 0 -1 5 % ) : maltodextrin (X3 = 5-10%). These levels of components were use to study effect of biopolymer on appearance, color, texture and overall acceptability of product with 5-Point hedonic scale again. In the present study, it indicated that a proportion of sugar : corn flour : maltodextrin (82.5% : 12.5% : 5%) was the best formula used for production and compared to control group. Then, the best formula was used to study drying curve (loss of moisture content) during the process. Moisture content and water activity (aw) of sample and control samples decreased significantly during heating; however, moisture content and aw of the treatment were lower than the control at the same time of heating. Moisture content of the treatment was 10.86% (w/w), while moisture content of the control was 17.01% (w/w). This was agreed with the aw results. The aw of the treatment and the control was 0.53±0.14 0.63±0.39, respectively. Therefore, addition biopolymers such corn flour and maltodextrin could increase water holding capacity resulting in a decrease of moisture loss on particle surface of products during processing and storage.

Keywords        :    Tamarind; Stickiness; Maltodextrin; Corn flour


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 507-514). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน (2561)

 

Title              :  ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน : Effect of Hydrolyzing Time on Physicochemical and Functional Properties of Protein Hydrolysate from Largehead hairtail (Trichiurus lepturus)

Researcher       : จิรนาถ บุญคง และ การันต์ พุกชัยวาณิชย์

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : jiranart.boo@siam.edu

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม: https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-hydrolyzing-time/


Link to Article:  วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ครั้งที่ 11) มกราคม-เมษายน 2561 หน้า 473-476.

Link to Publication:    วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร / TCI กลุ่มที่ 2


Bibliography     :    จิรนาถ บุญคง และ การันต์ พุกชัยวาณิชย์. (2561). ผลของระยะเวลาในการย่อยต่อสมบัติทางเคมี-กายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซตจากปลาดาบเงิน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(2, ฉบับพิเศษ), 473-476.


 

Quick View

ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ(2564)

Title           : ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ (Effect of Temperature on Heat Resistance of Halophilic and Thermotolerant Bacteria in Low Sodium Fish Sauce)

Researcher       : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-temperature-on-heat-resistance/


Link to article: รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). https://drive.google.com/file/d/1ZUyOUPUUOimJI5z-b6IsTnC-W85gzD46/view


 Publication: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (ASTC2021)  / in  Proceeding


Citation : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2564). ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASCT)ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Quick View

ศึกษาปริมาณหัวเชื้อ และน้้าตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตโยเกิร์ตจากถั่ว 5 ชนิด (2562)

Title           : ศึกษาปริมาณหัวเชื้อ และน้้าตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตโยเกิร์ตจากถั่ว 5 ชนิด (Study on Suitable Inoculum Size and Sugar Content for Five Beans Yoghurt Production)

Researcher       : อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์, ยุพารัตน์ จาบถนอม และ อรุณ อินทรักษ์

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/study-on-suitable-inoculum-size/


Link to article: วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2562 หน้า 133-136.


 Publication:  วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร / in  TCI กลุ่มที่ 2


Citation : อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์, ยุพารัตน์ จาบถนอม และ อรุณ อินทรักษ์. (2019). ศึกษาปริมาณหัวเชื้อ และน้้าตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตโยเกิร์ตจากถั่ว 5 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 50(2, พิเศษ), 133-136.

Quick View

ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ (2566)

 

Title              : ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ (Study on Extraction Methods and Physicochemical Properties of Plant-Based Proteins in Application of Meat Imitation Products)

Researcher       : ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ, มัทวัน ศรีอินทร์คำ และ ณัฎฐิกา ศิลาลาย | Tunyaporn Sirilert, Mattawan Sri-inkum and Nattiga Silalai

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  tunyapornfood@gmail.com

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/study-on-extraction-methods/


Link to article: วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 28 (ฉบับที่ 3) กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2566|Burapha Science Journal, Volume 28 (No.3) September – December 2023 https://scijournal.buu.ac.th/index.php/sci/article/view/4726


Journal : วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา / in TCI กลุ่มที่ 1


Bibliography     : ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศมัทวัน ศรีอินทร์คำ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2566). ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา28(3), 1424-1444.


 

Quick View