การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้
บทคัดย่อ
ในกรณีศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ในกระบวนการฉีดพลาสติกเพื่อยกระดับประสิทธิผลสูงสุด จากการสำรวจสภาพปัจจุบันพบว่ากระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้มีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 28.6 เปอร์เซ็นท์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด 76.6 เปอร์เซ็นท์ จากการวิเคราะสาเหตุปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Why – Why พบว่าสามาจากการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงและการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อการลดปริมาณของเสียในกระบวนการฉีกพลาสติก จากการศึกษาพบว่าสาเหตุงรากเหง้าของปัญหามาจากความเสียหายชิ้นส่วนโอริงในแหล่งจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ผลจากการปรับปรุงพบว่าสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจาก 28.6 เปอร์เซ็นท์เป็น 82.4% รวมทั้งสามารถลดความสูญเสียให้สถานประกอบการ 415,200 บาท/เดือน
คำหลัก : ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กระบวนการฉีดพลาสติก การวิเคราะห์ Why – Why
Abstract
In this case study is orchid packaging process improvement to get the maximum of effectiveness on plastic injection molding. At the current process status, the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 28.6 % which is lower than 78.6 % target from machine downtime and quality improvement. The root cause of phenomena is the hydraulic pump oil seal which is deterioration. After corrective action found that the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 82.4% and cost saving 415,200 Bath per month.
Keywords: Overall Equipment Effectiveness, Plastic Injection Molding, Why – Why Analysis.
งานที่อ้างถึง/Bibliography
อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บารุงวงศ์. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2018). The Overall Equipment Effectiveness Improvement for Plastic Injection Molding Process in Case of the Orchid Packaging. IE Network Conference 2018 (pp. 1092-1096). Ubonratchathani: Department of Industrial Engineering Ubon Ratchathani University.
การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส ซึ่งใช้ชุดสวิทซ์สองทิศทาง 4 ชุด ประกอบด้วย ไอจีบีทีไดโอดกำลัง เป็นสวิทซ์ตัดต่อในวงจรกำลังหลัก วงจรเมตริกซ์คอนเวอรืเตอร์นี้สามารถแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแบบไซน์นูซอยดอลหนึ่งเฟสไปเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นพีดับบลิวเอ็มที่สามารถปรับค่าได้ โดยการปรับค่าความถี่การสวิทซ์ที่สัญญาณควบคุมและอัตราการม็อดได้ที่ค่า 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, และ 1.0 ความถี่เอาท์พุทสามารถปรับค่าได้ที่ค่า 12.5Hz, 25Hz, 50Hz, และ 100Hz ที่จำนวนพัลส์ 3 และ 5 พัลส์ต่อครึ่งไซเคิล โดยทำการทดสอบกับโหลดตัวต้านทานต่ออนุกรมกับตัวเหนี่ยวนำ ผลการทดสอบได้ทำการวัดรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าด้านอินพุธและเอาท์พุทด้วยการจำลองโดยใช้โปรแกรม MATTLAB/Simulink และการทดลองจริง รวมทั้งการทำการวัดค่าประสิทธิภาพของวงจรด้วย
คำสำคัญ: เมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์ เอซีทูเอซี คอนเวอร์เตอร์ พีดับบลิวเอ็ม คอนเวอร์เตอร์.
Abstract
This paper presents the design and testing of a single phase matrix converter using 4-unit of bidirectional IGBT-power Diodes as main power switching devices. The converter can directly convert the utility I-phase sinusoidal supply voltage into a variable voltage of variable voltage of variable PWM pattern by adjusting the switching frequency of the control signal and modulation index of the PWM control signal. The modulation indexes are 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, and 1.0. The numbers of the pulse are 3 and 5 per half cycle. Waveforms of input and output voltages and currents of the matrix converter for a given simulation with MATLAB/Simulink program and experimental are observed. moreover. the efficiency is measured.
Keyword: Matrix Converter, AC to AC converter, PWM converter.
งานที่อ้างถึง/Bibliography
ประสพโชค โห้ทองคำ และสุดาพร อร่ามรุณ. (2561). การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 41. (หน้า 217-220). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Prasopshok Hothongkham, & Sudaporn Aramroon. (2018). Design and Tested of Single-Phase Matrix Converter. The 41st Electrical Engineering Conference (EECON-41) (pp.217-220). Ubon Ratchathani University and Sripatum University.
การออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟาเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมคโครคอนโทรลเลอร์ การแสดงผลใช้หลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวขนาด 22 มิลลิเมตร ตรวจจับการเต็มของวัตถุในชั้นวางโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ ควบคุมการทำงานทั้งหมดโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์เพียงตัวเดียว โดยชุดแสดงผลนี้ 1 ชุด ประกอบด้วย หลอดแอลอีดีสีแดง หลอดแอลอีดีสีเขียว และอินฟราเรดเซนเซอร์อย่างละ 10 ตัว ใช้แสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางได้ 10 ชั้น ชุดแสดงผลที่นำเสนอนี้ได้ถูกสร้างขึ้นและนำไปใช้จริงที่โรงงานอุตสาหกรรม ผลการใช้งานจริงแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของชุดแสดงผลนี้
คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวาง, อินฟราเรดเซนเซอร์.
Abstract
This article presents the design and construction of full raw material in rack display with infrared sensor controlled by a microcontroller. The display used red LED and green LED size 22 mm. and the sensor of full raw material in a rack used an infrared sensor. All system is controlled by only one microcontroller. The display one set consists of 10 red LEDs, 10 green LEDs and 10 infrared sensors used for display of full raw material in rack amount 10 stairs. This proposed display is constructed and used in one factory and its performance is demonstrated to be satisfactory.
Keyword: Microcontroller, Full Raw Material in Rack Display, Infrared Sensor.
งานที่อ้างถึง/Bibliography
สันติสุข สว่างกล้า และ ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 172-179). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Santisuk Sawangkla., & Vvapote Supabowornsathian. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by a microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 172-179). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.
การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน-ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอรืเป็นตัวควบคุมการทำงานของป้ายแสดงเวลาการทำงาน ที่ใช้แอลอีดี 2 สี ต่อแบบเมตริกซ์ ขนาด 16×32 ใช้ไอซีอาร์ทีซีเป็นตัวสร้างฐานเวลาจริงให้กับระบบควบคุม การรับข้อมูลการตั้งเวลาและการเลือกติดต่ออาจารย์ผ่านทางรีโหมด 16 คีย์ ป้ายแสดงเวลาการทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำเสนอได้ถูกสร้างขึ้นและทำการทดสอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของป้ายแสดงผลนี้
คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ป้ายแสดงเวลา, รีโหมด, 16 คีย์.
This paper presents the design and construction of a time schedule display board for contact teacher. The microcontroller is controlled the time schedule display board that uses 2 colors LED by the dot matrix display circuit size 16 X 32. IC RTC is used for generating real-time for controlling the system. The setting time and selection of teacher for contact via the 16 keys remote control is achieved. This proposed machine is constructed and tested and its performance is demonstrated to be satisfactory.
Keyword : Microcontroller, Time Schedule Display Board, 16 Keys Remote Control.
งานที่อ้างถึง/Bibliography
ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร และ สันติสุข สว่างกล้า. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 164-171). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Vvapote Supabowornsathian., & Santisuk Sawangkla. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 164-171). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.