การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (2562)

 

Title              :  การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร : Development of Mental Health Promotion Model in Community by Participatory Action Research Process: Case Study of a Community in Bangkok

Researcher       : Susaree Prakhinkit, Jarusdaw Renold, Orntipa Songsiri

สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์, อรทิพา ส่องศิริ

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน มีผู้เกี่ยวข้องจำนวน 38 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขอาจารย์พยาบาลสมาชิกในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย4องค์ประกอบ ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน อิทธิพลระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านตัวบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์สอดคล้องกับแบบส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) ภายหลังสิ้นสุดโครงการ สมาชิกในชุมชนมีความสุขในระดับปกติมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีสมาชิกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเห็นความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสามารถเผชิญกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

คําสําคัญ             :  การสร้างเสริมสุขภาพจิต กระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The research was participatory actionresearch.Theobjective was to develop a model of mental health promotion in community. The thirty-eight participants including nurses of public health service center, nursing instructor, village health volunteers and members community joined this study. This research was conducted during June 2015 to May 2016. Theresearchinstruments werein-depthinterviews, civil society forum, small group discussion,
observation, and lesson learned visualizing. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics were performed for quantitative data. The results found that the model mental health promoting was composed of four factors; community leader factors, interpersonal influence, personal factors and situational influence. These 4 factors corresponded well with the model of Pander (2002). At the end of the research members community reported having improved happiness and qualityof life. They were interested and participated inrelaxationactivities. They were awareof good family relationship. Patients with mental disorder took medicine as prescribed by the doctor and dealt with stress effectively.

Keywords        :  Mental Health Promotion, Participatory Process, Community, Bangkok


Link to Publication :  วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์ และ อรทิพา ส่องศิริ . (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 7-17.


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

อาคาร 14 ชั้น 3 ห้อง 14-305 เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160

เว็บไซต์:  https://nursing.siam.edu/

โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5 216,5 203 โทรสาร. 0-2457-3982

E-mail: jsiamns@siam.edu