การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย

 

Title              :  การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย: The Creation of Pha Yok Melody through the Thai Silk Weaving

Researcher       :  ดร.อังคณา ใจเหิม
Department     :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  godspeedang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประพันธ์บทลำนำ ทำนองเพลงผ้ายก และสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสรรค์บทเพลง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางคศิลป์ไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สร้างสรรค์งานโดยศึกษาวิธีทอ ลวดลาย ตลอดถึงความเกี่ยวข้องในการทอผ้ายก นำมาประพันธ์บทเพลงโดยใช้วิธีการประพันธ์ แบบอิสระ เป็นการคิดและประดิษฐ์ทำนองขึ้นใหม่ สอดแทรกสำเนียงดนตรีท้องถิ่นของภูมิภาค ผลงานการประพันธ์เพลงผ้ายก เป็นเพลงสำเนียงใต้ตอนล่าง การดำเนินทำนองมีการใช้ลูกล้อและลูกขัด เสมือนไหมเส้นยกกับเส้นข่ม สลับล้อขัดกันไปมาจนเกิดลวดลายตลอดผืนงานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ไทยและหัตถกรรมไทย เรียบเรียงการแปรทำนอง การสร้างแนวทำนองประสานเสียง โดยยึดหลักความสัมพันธ์ของเสียง มีการแบ่งหน้าที่การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีในรูปแบบใหม่ เอกภาพของบทเพลงมีรูปแบบจังหวะและรูปแบบทำนองที่สอดคล้องกับวิธีการทอผ้ายก และเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงสื่อสำเนียงของความเป็นเอกลักษณ์ถิ่น

คำสำคัญ             :  การสร้างสรรค์ ทำนองเพลง ผ้ายก เส้นไหม

Abstract            :  This research is a qualitative research. The objectives are (1) to compose the fabric Yok song (2) to develop a body of knowledge in song creation. In this research, sample group is composed of Thai silk experts in Thai Regions. Interviews and questionnaires are employed in data collection. Investigation of the method of each type of silk weave, pattern and interrelation between the method and pattern contributes to song composition with free composition technique which is applied for music innovation infiltrated by its local accent. It is found that fabric Yok song whose accent is Lower Southern, whose melody proceeds with rolling and skipping rhythm technique like silk line lift and sink staggering to create a complete fabric design. This research is a combination of Thai musical performance and Thai manufacture, which is composed of melody translation, melody coordination with sound relation principle, innovated pattern musical instrument coordination for melody procession, and unity of song created by harmony between the rhythm and melody patterns and the silk weave techniques and musical instruments used to convey their local identities.

Keywords         :  Creation, Melody, Fabric Yok, Silk


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  อังคณา ใจเหิม. (2560). การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1003-1019). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160

เว็บไซต์: https://siam.edu/liberalarts

โทร : 0-2457-0068 ต่อ 5211 โทรสาร : 0-2868-4351

อีเมล์ : hotel@siam.edu, springer.line6@hotmail.com