ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ (2561)

 

Title              :  ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ : Effects of Five Dimension Happiness Program on Functional Fitness, Happiness, and Quality of life in Wat Ratchawarin Elderly Club

Researcher       :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์

                                  Susaree Prakhinkit, Suratchana Kasaesemviriya and Rosaya Yuwapornpanit
Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (Two groups pre-post test design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน กลุ่มออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ จำนวน 25 คน กำหนดที่ระดับความหนักของการออกกำลังกายเท่ากับเล็กน้อย (20-39% Heart Rate Reserve) ถึงปานกลาง (40-50% Heart Rate Reserve) ความถี่การออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบวัดขององค์การอนามัยโลก (The World Health Organization Quality of Life) ก่อนและหลังใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า สมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าสมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตได้

คําสําคัญ             :   สุข 5 มิติ สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต

Abstract            :  This study was experimental research with two groups pre-post test design carried out to determine the effects of the five happiness exercise program on physical fitness, happiness and quality of life in Senior Citizen club of Wat Ratchawarin. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=25), and exercise groups (n=25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. The World Health Organization Quality of Life questionnaires were assessed physical fitness, happiness, quality of life pre-post programs. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that physical fitness, happiness and the quality of life was greater in the exercise group (p<0.05) . However, there were no significant difference in physical fitness, happiness and the quality of life in control group. Exercise group was a significantly physical fitness, happiness and the quality of life more than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the five happiness exercise program was effective in increasing physical fitness,
happiness and quality of life in Wat Ratchawarin elderly club.

Keywords        :   The five happiness, Physical fitness, Quality of life


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์. (2561). ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า HS 2-HS 7). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

อาคาร 14 ชั้น 3 ห้อง 14-305 เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160

เว็บไซต์:  https://nursing.siam.edu/

โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5 216,5 203 โทรสาร. 0-2457-3982

E-mail: jsiamns@siam.edu