การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2: A Study of the Relationship Between the Participative Managementin Academic Task and the Achievement of Students in Basic Education Institutions Under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2

Researcher       : กนกรัตน์ ทำจะดี¹ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์²

Department     :  ¹นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
²อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  love_mom_dad333@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูฝ่ายวิชาการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกเจาะจงสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนละ 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสำหรับครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนละ 1 คน โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนละ 2 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ             :  การบริหารแบบมีส่วนร่วม งานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

Abstract            :  The objective of this research was to 1) study the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. 2) study the relationship between the participative management in academic task and the achievement of students in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. Representative sample groups were 86 schools which consisted of the administrators and the teachers in Academic departure by Purposive sampling for the administrators in each school and Simple random sampling for the teachers which were calculated by the proportion were 293 teachers. Data was gathered by questionnaires about Participative Management of Cohen and Uphoff and analyzed by descriptive statistic methods which were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation and Pearson‘s Correlation Coefficient.
The study could be concluded as follow 1) the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 were of a high level in overall: Participation in involvement benefits, Participation in evaluation, Participation in decision and Participation in operation. 2) the relationship between the participative management and the achievement of students in Basic Education Institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 had the relationship and a statistically significant level at .01

Keywords         :  Participative management , Academic task , the achievement of students

Download PDF:  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  กนกรัตน์ ทำจะดี และ สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 748-756). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา

 

Title              :  ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา: Success of management Primary World-Class Standard school

Researcher       : พรรณวดี ปามุทา สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห

Department     :  Graduate School of Education, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  phansom2510@gmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความนี้อธิบายถึง ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมาตรฐานสากลทุกโรงเรียน มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจะพิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่แต่ละโรงเรียนกำหนด โรงเรียนจะประสบความสำเร็จ ในหลายๆด้าน ต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนและส่งเสริมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ลักษณะของนโยบายการบริหาร และการปฏิบัติการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ นโยบายของโรงเรียนมีการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง จากบทความนี้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการทำวิจัยต่อไป

คำสำคัญ             :  โรงเรียนมาตรฐานสากล การบริหารจัดการ ความสำเร็จ

Abstract            :  This article describes to Success of management Primary World-Class Standard school. The school is affiliated with the Office of Basic Education Commission. All International Schools Managed by the quality system. According to the Thailand Quality Award (TQA) School success in the implementation of INTERNATIONAL STANDARD SCHOOL PROJECTS. Considering the quality of the learner’s increased goals for each school. Schools are successful in many aspects, and need supportive factors both inside and outside the school. Factors Affecting Success in International School Management. These include the nature of management policies and practices. The budget allocation is adequate for the development of educational quality. Personnel with good knowledge and professional attitude. School policy is responding to quality education issues. The needs of those involved. From this article, the administrators and the teachers can take advantage of the development of educational quality. And further research

Keywords         :  Management ,World-Class Standard school , Success

Download PDF:  ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา 


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  พรรณวดี ปามุทา, สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2560). ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 536-547). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ

 

Title              :  สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ : Title Problems and solutions of learning about rhythm

Researcher       : อนุวัฒน์ เขียวปราง

Department     :  วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :  few_jigadee455@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความวิชาการนี้เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นถึงการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจังหวะ ซึ่งเป็นบทเรียนที่อยู่ภายใต้คำอธิบายรายวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 ซึ่งวิชาดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิชาที่ถูกบรรจุให้เป็นวิชาเอกของสาขาดนตรีในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยสาเหตุที่ผู้สอนมีจำนวนคาบสอนในบทเรียนดังกล่าวอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ผู้เรียนเกิดปัญหาความไม่เข้าใจจนสามารถสรุปปัญหาดังกล่าวได้เป็น 4 กรณี ได้แก่ 1. ความเข้าใจในลักษณะจังหวะเมื่อมีการนำโน้ตในแต่ละสัดส่วนมาจัดสรรให้เกิดความต่อเนื่องภายในห้องเพลง และ 2. ความเข้าใจในอัตราจังหวะต่างๆ 3. การกำหนดความยาวของเสียงเมื่อพบโน้ตที่มีเครื่องหมายการยืดค่าของโน้ต 4. การนับอัตราจังหวะธรรมแทนอัตราจังหวะผสม ใช้บทความนี้จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงกระบวนการสอนที่จะสามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และตกผลึกทางด้านความรู้ โดยกำหนดจำนวนคาบสอนที่มีระยะเวลาที่จำกัดออกเป็น 2 ส่วนแล้วนำเนื้อหาจากบทเรียนที่ผู้สอนเล็งเห็นว่ามีความใกล้เคียงและต่อเนื่องนำมาอยู่ในระยะเดียวกัน มีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันในการบรรยายเนื้อหาแต่ละครั้ง ผู้สอนควรใช้วิธีการอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น การแสดงตารางเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต การกำหนดจังหวะเคาะให้ถูกต้องเพื่อความแม่นยำ ตลอดจนมีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับจำนวนคาบที่จำกัด และเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้เรียนและพัฒนาไปสู่ทักษะที่ดีในการบรรเลงดนตรี

คำสำคัญ             :  การเรียนการสอน จังหวะ ทฤษฎีดนตร

Abstract            :  This article is an article that reviews the teaching and learning about rhythm. This is a lesson that the Course Description music theory courses such as the one of the courses that are packed into a major branch of music in higher education. Because the instructors have taught many lessons in such a limited period. As a result, the students do not understand the problem until the problem can be summarized into four cases. 1. Understanding the nature of the stroke when the proportion allocated to each note in the music room and the understanding of the rhythm 2. Understanding the rate and rhythm. 3. Determining the length of a note found on a stretch marks. Also worthy of note. 4. Count the beats of the rhythm fairly mixed. This article has been submitted to the process of teaching students to be able to understand. Has put forward a song that the students are familiar in everyday life in the narrative content each time. The instructor should explain how the concrete. For example compare the value of the notes. To determine the correct rhythm tapped for precision. It has put forward a song that the students are familiar in everyday life, as an example, which will make the course suitable for a limited number of sessions. And a deep understanding of the students. And to develop skills in music.

Keywords         :  Teaching, Rhythm, Music theory

Download PDF:   สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  อนุวัฒน์ เขียวปราง. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1047-1057). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View