Optimal Scheduling of Variable Speed Pumps in Mahasawat Water Distribution Pumping Station (2017)

Title              :  Optimal Scheduling of Variable Speed Pumps in Mahasawat Water Distribution Pumping Station

Researcher       : Tomorn Sunthornnapha

Department     : Department of Electrical Engineering, Siam University
E-mail                :  tomo.soo@siam.edu

Abstract            :  An optimum energy conservation technique for water treatment plant, both in term of costs and environmental impacts, have been studied and implemented primarily at Mahasawat Water Distribution Pumping Station, Thailand. This article proposes an optimum scheduling of 4-variable speed pumps operating under their actual conditions. We apply affinity laws with simple measures of performance; delivery pressure, power, and speed; to a group of pumps before scheduling them in parallel as 4-3-2 pump configuration. Energy costs are computed in term of specific energy consumptions (SEC’s) to compare them for all configurations. This proposed technique is tested and the test results demonstrated that it can reduce energy consumption by more than 12%. 

Keywords         : energy conservation; variable speed pumps;
water distribution pumping; specific energy consumption

Download PDF:  Optimal Scheduling of Variable Speed Pumps in Mahasawat Water Distribution Pumping Station


Link to Conference:   The 2017 4th International Electrical Engineering Congress, Pattaya, Thailand, 8-10 March 2017.


Bibliography    :  Sunthornnapha, T. (2017). Optimal Scheduling of Variable Speed Pumps in Mahasawat Water Distribution Pumping Station. In The 2017 4th International Electrical Engineering Congress (iEECON 2017), 8-10 March 2017 (pp.145-148)Pattaya: Thailand.


Quick View

Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation (2017)

Title              : Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation

Researcher       : Tomorn Sunthornnapha

Department     : Department of Electrical Engineering, Siam University
E-mail                :  tomo.soo@siam.edu

Abstract            :  This paper presents a reliable energy baseline model for self-benchmarking evaluation of energy saving potential by using multilayer perceptron (MLP) method. The measured energy data and product quantities of the sample plant in daily period dating back since 2011 to 2016 are used as variables and then normalized to represent the energy baseline (EnB) of the manufacturing plant. A comparison of MLP and linear regression (LR) methods for creating the baseline model is investigated during the factory expansion capacity. For LR method, we use the ASHRAE Guideline 14-2002 as a reference in recommended values for modeling uncertainty. As the uncertainty problem, the LR method is more sensitivity to the outliners, because the nature of plant variables has more complexity and nonlinearity. So we introduce the MLP method to solve or reduce the effect of nonlinearity by supervised learning in the short-term and long-term period of the production. For simulation results, in short-term period the LR method demonstrates some better results of uncertainty parameters. However, the proposed MLP with LR method can build a
reliable baseline showing in better R-square values than LR method. This is useful for energy evaluation when the plant is expanding capacity to protect misleading interpretation occurring during the year. For long-term period, the MLP method can overcome the LR method in all uncertainty parameters. Therefore, the MLP method may be able to the alternative choice for creating the EnB in nonlinearity circumstances of the plants for short-term and long-term period. 

Keywords         : energy conservation; uncertainty; energy baseline; multilayer perceptron; linear regression

Download PDF:  Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation


Link to Conference:   2017 4th International Conference on Power and Energy Systems Engineering, CPESE 2017, 25-29 September 2017, Berlin, Germany 


Bibliography    :  Sunthornnapha, T. (2017). Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation. In 2017 4th International Conference on Power and Energy Systems Engineering, CPESE 2017, 25-29 September 2017. BerlinGermany.


Quick View

การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ

 

Title              :  การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ : Analysis and Design Techniques of Charge Pump Circuits

Researcher       :   ปิติกันต์ รักราชการ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140

E-mail                :  pitikan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กลงและต้องประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งจ่ายพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรอัดประจุเป็นวงจรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวงจรดังกล่าวสามารถเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้แหล่งจ่ายแรงดันระดับต่ำได้ ทั้งยังมีการสูญเสียต่ำ บทความนี้ได้กล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของวงจรอัดประจุ คุณสมบัติและพฤติกรรมของวงจร พารามิเตอร์และแบบจำลอง เทคนิคและกลยุทธ์ในการออกแบบวงจร และการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม วงจรแบบดิกสัน รวมถึงแนะนำเทคนิคในการออกแบบวงจรอัดประจุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

คําสําคัญ             :    การประหยัดพลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน วงจรอัดประจุ

Abstract            :  The technological advances in electronics and communication today. The consumer electronics today required smaller and more energy saving. These are the reason for the need of development of power supply to even higher levels of efficiency. Charge pump is a circuit that is used widely. Since such circuits can be increased by using high voltage as low voltage source and lossless. This article has discussed on basic operation of the pump charge circuit, the properties and behavior of the circuit, parameters and models, techniques and strategies in the design cycle and searching the appropriate parameters. Diskson Circuits and tricks of the design is applied in the present.

Keywords        :   Energy savings, Power supply, Charge Pump

Download PDF:   การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ


Publication        : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559  APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.1  Jan-Jun 2016

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php/read-science?id=156


Bibliography     :   ปิติกันต์ รักราชการ. (2559). การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 112-125.


 

Quick View

การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท

 

Title              :  การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท: A Design of Divider Circuit by Using Logic Gate

Researcher       : สิทธิพร เพ็ชรกิจ¹, คัมภีร์ ธิราวิทย์¹, สุทธิเกียรติ ชลลาภ² และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ³
Department     :  1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140 Email address: sitiporn_2552@yahoo.com, kampree@hotmail.com
2. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 Email address: nuclear_ee@yahoo.com
3. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต าบลไทยบุรี อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 Email address: pwijittr@wu.ac.th

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก:  sitiporn_2552@yahoo.com kampree@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความนี้ นำเสนอ การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกทพื้นฐาน เช่น แอนด์เกท ออเกท และดี-ฟลิปฟลอป มาประกอบเป็นวงจรหารเลข แสดงผลด้วยเซเวนเซ็กเม้นท์ 2 ชุด คือชุดคำตอบของผลหาร และชุดคำตอบของเศษที่ได้ ตามหลักการหารแบบวิธีลบซ้ำๆ นำมาสังเคราะห์เป็นวงจรให้เห็นจริง วงจรที่ออกแบบนี้ได้ทำการทดสอบโดยการจำลองผลการทำงานด้วยโปรแกรม Circuit Wizard ผลจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่าวงจรที่ออกแบบนี้ สามารถทำงานเป็นวงจรหารได้อย่างถูกต้อง

คําสําคัญ             :    วงจรหาร, ลอจิกเกท, การออกแบบ

Abstract            :  This paper presents a design of divider circuit by using logic gate. The used logic gates are simple logic gate such as and gate, or gate and D-flip flop. The divider circuit displays with two seven segment units that are the result unit and the fraction unit. By repeated-subtract divider principle brings to a synthesis of real circuit. The designed circuit is tested by simulating with Circuit Wizard program. The simulation result verifies that this designed circuit can work to be divider circuit.

Keywords        :   divider circuit, logic gate, design

Download PDF:   การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท


Conference   : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน” ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Link to Website:   http://ird.rmutp.ac.th/?p=8247

Bibliography     :    สิทธิพร เพ็ชรกิจ, คัมภีร์ ธิราวิทย์, สุทธิเกียรติ ชลลาภ และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ. (2560). การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.


 

Quick View
The 41st Electrical Engineering Conference

การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส ซึ่งใช้ชุดสวิทซ์สองทิศทาง 4 ชุด ประกอบด้วย ไอจีบีทีไดโอดกำลัง เป็นสวิทซ์ตัดต่อในวงจรกำลังหลัก วงจรเมตริกซ์คอนเวอรืเตอร์นี้สามารถแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแบบไซน์นูซอยดอลหนึ่งเฟสไปเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นพีดับบลิวเอ็มที่สามารถปรับค่าได้ โดยการปรับค่าความถี่การสวิทซ์ที่สัญญาณควบคุมและอัตราการม็อดได้ที่ค่า 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, และ 1.0 ความถี่เอาท์พุทสามารถปรับค่าได้ที่ค่า 12.5Hz, 25Hz, 50Hz, และ 100Hz ที่จำนวนพัลส์ 3 และ 5 พัลส์ต่อครึ่งไซเคิล โดยทำการทดสอบกับโหลดตัวต้านทานต่ออนุกรมกับตัวเหนี่ยวนำ ผลการทดสอบได้ทำการวัดรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าด้านอินพุธและเอาท์พุทด้วยการจำลองโดยใช้โปรแกรม MATTLAB/Simulink และการทดลองจริง รวมทั้งการทำการวัดค่าประสิทธิภาพของวงจรด้วย

คำสำคัญ: เมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์ เอซีทูเอซี คอนเวอร์เตอร์ พีดับบลิวเอ็ม คอนเวอร์เตอร์.


Abstract

This paper presents the design and testing of a single phase matrix converter using 4-unit of bidirectional IGBT-power Diodes as main power switching devices. The converter can directly convert the utility I-phase sinusoidal supply voltage into a variable voltage of variable voltage of variable PWM pattern by adjusting the switching frequency of the control signal and modulation index of the PWM control signal. The modulation indexes are 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, and 1.0. The numbers of the pulse are 3 and 5 per half cycle. Waveforms of input and output voltages and currents of the matrix converter for a given simulation with MATLAB/Simulink program and experimental are observed. moreover. the efficiency is measured.

Keyword: Matrix Converter, AC to AC converter, PWM converter.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ประสพโชค โห้ทองคำ และสุดาพร อร่ามรุณ. (2561). การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 41. (หน้า 217-220). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.


Prasopshok  Hothongkham, & Sudaporn Aramroon. (2018). Design and Tested of Single-Phase Matrix Converter. The 41st Electrical Engineering Conference (EECON-41) (pp.217-220). Ubon Ratchathani University and Sripatum University.

 

Quick View
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟาเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมคโครคอนโทรลเลอร์ การแสดงผลใช้หลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวขนาด 22 มิลลิเมตร ตรวจจับการเต็มของวัตถุในชั้นวางโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ ควบคุมการทำงานทั้งหมดโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์เพียงตัวเดียว โดยชุดแสดงผลนี้ 1 ชุด ประกอบด้วย หลอดแอลอีดีสีแดง หลอดแอลอีดีสีเขียว และอินฟราเรดเซนเซอร์อย่างละ 10 ตัว ใช้แสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางได้ 10 ชั้น ชุดแสดงผลที่นำเสนอนี้ได้ถูกสร้างขึ้นและนำไปใช้จริงที่โรงงานอุตสาหกรรม ผลการใช้งานจริงแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของชุดแสดงผลนี้

 

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวาง, อินฟราเรดเซนเซอร์.


Abstract

This article presents the design and construction of full raw material in rack display with infrared sensor controlled by a microcontroller. The display used red LED and green LED size 22 mm. and the sensor of full raw material in a rack used an infrared sensor. All system is controlled by only one microcontroller. The display one set consists of 10 red LEDs, 10 green LEDs and 10 infrared sensors used for display of full raw material in rack amount 10 stairs. This proposed display is constructed and used in one factory and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword: Microcontroller, Full Raw Material in Rack Display, Infrared Sensor.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

สันติสุข สว่างกล้า และ ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 172-179). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Santisuk Sawangkla., & Vvapote Supabowornsathian. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by a microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 172-179). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

Quick View
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน-ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอรืเป็นตัวควบคุมการทำงานของป้ายแสดงเวลาการทำงาน ที่ใช้แอลอีดี 2 สี ต่อแบบเมตริกซ์ ขนาด 16×32 ใช้ไอซีอาร์ทีซีเป็นตัวสร้างฐานเวลาจริงให้กับระบบควบคุม การรับข้อมูลการตั้งเวลาและการเลือกติดต่ออาจารย์ผ่านทางรีโหมด 16 คีย์ ป้ายแสดงเวลาการทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำเสนอได้ถูกสร้างขึ้นและทำการทดสอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของป้ายแสดงผลนี้

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ป้ายแสดงเวลา, รีโหมด, 16 คีย์.


This paper presents the design and construction of a time schedule display board for contact teacher. The microcontroller is controlled the time schedule display board that uses 2 colors LED by the dot matrix display circuit size 16 X 32. IC RTC is used for generating real-time for controlling the system. The setting time and selection of teacher for contact via the 16 keys remote control is achieved. This proposed machine is constructed and tested and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword : Microcontroller, Time Schedule Display Board, 16 Keys Remote Control.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร และ สันติสุข สว่างกล้า. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 164-171). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Vvapote Supabowornsathian., & Santisuk Sawangkla. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 164-171). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

 

Quick View

ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด (2560)

Title              :  ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด  : Per-Unit Power Ladder System for Energy Conservation of Variable Speed Pumps by Integrating Affinity Law with Least Square Method

Researcher       : โตมร สุนทรนภา

Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :  tomo.soo@siam.edu

บทคัดย่อ             :  บทความนี้เสนอเทคนิคในการประหยัดพลังงานเครื่องสูบจ่ายน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ด้วยการประยุกต์ใช้กฎความสัมพันธ์และการประมาณค่าพารามิเตอร์โดยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด รวมเรียกว่าระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วย ทําการศึกษากับเครื่องสูบน้ำชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง จํานวน 4 เครื่อง ของสถานีสูบจ่ายน้ำ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์จากการศึกษาวิจัยทําให้ได้แบบจําลองแรงดันสูงมอบ เงื่อนไขการสลับเครื่องสูบน้ำในลักษณะขึ้น-ลง และรูปแบบการจัดตารางที่เหมาะสมที่สุด เทคนิคที่นําเสนอได้นําไปทดสอบในการปฏิบัติงานจริง เมื่อนําดัชนีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตมาใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบก่อนและหลังศึกษา พบว่าเทคนิคนี้สามารถทําให้เกิดผลประหยัดพลังงานได้มากกว่า 11.59 %
คำสำคัญ             : การอนุรักษ์พลังงาน, เครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้, กฎความสัมพันธ์, วิธีกําลังสองน้อยที่สุด

Abstract            :  This paper presents energy saving techniques for variable speed water pumps. By applying the
affinity law and estimating the least squares parameter, this is called the Per-Unit Power Ladder System. A study is conducted with four centrifugal pumps at distribution pumping station, Mahasawat water treatment plant. Based on the research results, the system provides delivery pressure models, pump-up switching conditions in up-down manner and the optimal scheduling patterns. The techniques presented are tested in actual operation. When the specific energy consumption index used as a comparison before and after study, it has been found that this technique can save energy more than 11.59%

Keywords         : energy conservation, variable speed pump, affinity law, least square method

Download PDF: ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด


Link to Conference:   การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (E-NETT13th) วันที่ 31 พฤษภาคม – มิถุนายน 2560 , โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่.   


Bibliography    :  โตมร สุนทรนภา. (2560). ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (E-NETT13th) วันที่ 31 พฤษภาคม – มิถุนายน 2560, โรงแรมดิเอ็มเพรส (หน้า 1267-1275). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.


Quick View