การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน-ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอรืเป็นตัวควบคุมการทำงานของป้ายแสดงเวลาการทำงาน ที่ใช้แอลอีดี 2 สี ต่อแบบเมตริกซ์ ขนาด 16×32 ใช้ไอซีอาร์ทีซีเป็นตัวสร้างฐานเวลาจริงให้กับระบบควบคุม การรับข้อมูลการตั้งเวลาและการเลือกติดต่ออาจารย์ผ่านทางรีโหมด 16 คีย์ ป้ายแสดงเวลาการทำงาน / ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำเสนอได้ถูกสร้างขึ้นและทำการทดสอบ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของป้ายแสดงผลนี้

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ป้ายแสดงเวลา, รีโหมด, 16 คีย์.


This paper presents the design and construction of a time schedule display board for contact teacher. The microcontroller is controlled the time schedule display board that uses 2 colors LED by the dot matrix display circuit size 16 X 32. IC RTC is used for generating real-time for controlling the system. The setting time and selection of teacher for contact via the 16 keys remote control is achieved. This proposed machine is constructed and tested and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword : Microcontroller, Time Schedule Display Board, 16 Keys Remote Control.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร และ สันติสุข สว่างกล้า. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 164-171). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Vvapote Supabowornsathian., & Santisuk Sawangkla. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 164-171). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

 

Quick View

คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

 

ชื่อเรื่อง              :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา: Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์, ร.อ.ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, นนร.กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, นนร.ตรีเพชร์ จาโสด และ นนร.รณภพ ค่ายหนองสวง

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์ โดยทางกายภาพพิจารณา ความข้นเหลวปกติของซีเมนต์เพลส, ระยะการก่อตัวเริ่มต้น, ค่าการดูดซึมน้ำ และโครงสร้างทางจุลภาคของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา โดยใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และชุดเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ส่วนคุณสมบัติทางกลพิจารณากำลังอัด กำลังดึง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ทดสอบที่ระยะเวลา 28 วัน โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5%, อัตราส่วนปูนต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.50  โดยการศึกษาพบว่าซีเมนต์เพลสผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5% ได้ค่าระยะการก่อตัวเริ่มต้นเท่ากับ 128 นาที, 123 นาที, 75 นาที และ 35 นาที และค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.85, 3.46, 4.68 และ 5.35 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราพบว่าการผสมน้ำยางพาราในมอร์ต้าร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้คุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ของมอร์ต้าร์สูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่ไม่ผสมน้ำยางพารา (P/C = 0%) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตรา P/C เท่ากับ 1% ที่มีค่าคุณสมบัติการรับแรงดีที่สุด ได้ค่ากำลังอัด 375 ksc ก าลังดึง 39 ksc และก าลังดัด 65 ksc จากผลการศึกษาแนะนำใช้อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% ในงานก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้มอร์ต้าร์เป็นวัสดุ เช่น ถังเก็บน้ำเฟอร์ซีเมนต์ และคูส่งน้ำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นต้น

คำสำคัญ                :   มอร์ต้าร์, น้ำยางพารา, สมบัติทางกล, โครงสร้างจุลภาค


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง. (2561). คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View
คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อเรื่อง              :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม พันเอก ผศ.ดร.ชวน จันทวาลย์, นายสมพร พิบูลย์

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  การสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (2) การประยุกต์ใช้น้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง และ (3) ศึกษาการรั่วซึมน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา โดยมีวัตถุประสงค์จัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างสระน้ำโดยใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราเพื่อให้กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์และขยายผลในพื้นที่ต่อไป

คำสำคัญ                :   คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง, คอนกรีตผสมน้ำยางพารา, สระน้ำต้านภัยแล้ง


Website               :  ศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

                                   http://www.thai-explore.net/search_detail/result/4620

Download PDF :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ สมพร พิบูลย์. (2560). โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).


Quick View

ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง: Application of Rubber Latex and Soil Cement Develop Drought Relieving Water Pond

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และน้ำยางพารา โดยทำการทดสอบกับตัวอย่า่งดินลูกรังที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ น้ำ อัตราส่วน 5 : 2 : 1 โดยใช้ปริมาณน้ำยางพารา 5% , 7.5% , 10% และ 12.5% ของปริมาณน้ำ โดยปริมาตรการทดสอบคุณสมบัติทางกลของตัวอย่างชิ้นงานที่ระยะบ่ม 28 วัน ประกอบด้วยกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของปริมาณน้ำ ที่ใช้ผสมดินซีเมนต์อายุการบ่มที่ 28 วัน ให้คุณสมบัติทางกลดีที่สุด ได้แก่ ด้วยกำลังรับแรงอัด 84 ksc กำลังรับแรงดึง 19 ksc กำลังรับแรงดัด 8.75 ksc และร้อยละการดูดซึมน้ำ 6.23% ตามลำดับ ดังน้ันการปรับปรุงดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของน้ำที่ใช้ผสมดินซีเมนต์ให้ค่าคุณสมบัติด้านวิศวกรรมดีที่สุด ได้นำผลการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการไปทดสอบการใช้งานภาคสนามโดยการก่อสร้างสระน้ำ ดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพาราร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และหลังจากก่อสร้างสระน้ำแล้วเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำ ในช่วงฤดูแล้งได้

คำสำคัญ                :   คุณสมบัติทางกลดินซีเมนต์, น้ำยางพารา, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สระน้ำ


Publication: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2561  Engineering Journal Chiang Mai University Vol. 25 No.2 May-Aug 2018

Link to Publication:  http://researchs.eng.cmu.ac.th/?name=journal&file=readjournal&id=37

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน. (2561). ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(2), 170-180.


Quick View

ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน: Impact of Land Use and Climate Change on Soil Erosion in the Upper Part of Yom River Basin

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               : บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   การชะล้างพังทลายของดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ลุ่มนํ้ายมตอนบน


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 13 2558 CRMA Journal Vol. 13 2015

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=P2aef7WmJ0w%3d

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2558). ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 13, 65-78.


Quick View

ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด (2560)

Title              :  ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด  : Per-Unit Power Ladder System for Energy Conservation of Variable Speed Pumps by Integrating Affinity Law with Least Square Method

Researcher       : โตมร สุนทรนภา

Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :  tomo.soo@siam.edu

บทคัดย่อ             :  บทความนี้เสนอเทคนิคในการประหยัดพลังงานเครื่องสูบจ่ายน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ด้วยการประยุกต์ใช้กฎความสัมพันธ์และการประมาณค่าพารามิเตอร์โดยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด รวมเรียกว่าระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วย ทําการศึกษากับเครื่องสูบน้ำชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง จํานวน 4 เครื่อง ของสถานีสูบจ่ายน้ำ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์จากการศึกษาวิจัยทําให้ได้แบบจําลองแรงดันสูงมอบ เงื่อนไขการสลับเครื่องสูบน้ำในลักษณะขึ้น-ลง และรูปแบบการจัดตารางที่เหมาะสมที่สุด เทคนิคที่นําเสนอได้นําไปทดสอบในการปฏิบัติงานจริง เมื่อนําดัชนีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตมาใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบก่อนและหลังศึกษา พบว่าเทคนิคนี้สามารถทําให้เกิดผลประหยัดพลังงานได้มากกว่า 11.59 %
คำสำคัญ             : การอนุรักษ์พลังงาน, เครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้, กฎความสัมพันธ์, วิธีกําลังสองน้อยที่สุด

Abstract            :  This paper presents energy saving techniques for variable speed water pumps. By applying the
affinity law and estimating the least squares parameter, this is called the Per-Unit Power Ladder System. A study is conducted with four centrifugal pumps at distribution pumping station, Mahasawat water treatment plant. Based on the research results, the system provides delivery pressure models, pump-up switching conditions in up-down manner and the optimal scheduling patterns. The techniques presented are tested in actual operation. When the specific energy consumption index used as a comparison before and after study, it has been found that this technique can save energy more than 11.59%

Keywords         : energy conservation, variable speed pump, affinity law, least square method

Download PDF: ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด


Link to Conference:   การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (E-NETT13th) วันที่ 31 พฤษภาคม – มิถุนายน 2560 , โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่.   


Bibliography    :  โตมร สุนทรนภา. (2560). ระบบบันไดกําลังไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับการอนุรักษ์พลังงานเครื่องสูบน้ำแบบปรับความเร็วรอบได้ โดยการบูรณาการกฎความสัมพันธ์เข้ากับระเบียบวิธีกําลังสองน้อยที่สุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 (E-NETT13th) วันที่ 31 พฤษภาคม – มิถุนายน 2560, โรงแรมดิเอ็มเพรส (หน้า 1267-1275). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.


Quick View
IE Network Conference 2017

เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดสมดุลสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (Optimization technique) สำหรับการจัดสมดุลสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายของการผลิตงานทั้งหมดมีค่าต่ำที่สุดในสายการผลิตกันชนหน้า ซึ่งมีการผลิตผลิตภัณฑ์ 2 รุ่นในสายการผลิต ดังนั้น วิธีการออกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการผลิต ผลการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของสายการผลิต ระหว่างการจัดสมดุลการผลิตแบบเดียว และการจัดสมดุลสายการผลิตแบบผสม ซึ่งจากผลได้แสดงให้เห็นว่า การจัดสมดุลสายการผลิตแบบผสมจะให้ค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด

คำหลัก: การหาค่าที่เหมาะสมที่สุด, การจัดสมดุลสายการผลิต, อุตสาหกรรมยานยนต์, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์


Abstract

This paper focused on the optimization application for the assembly line balancing in an automotive industry. The objective is to minimize cost in front bumper production with two models in production
line. Thus, a Mathematical model has been developed to solve the line balancing problem. The computational results compare cost between single-model line balancing and mixed-model line balancing which show that mathematical mixed model given answer better than mathematical single model.

Keywords: Optimization, Line balancing, Automotive industry, Mathematical model


งานที่อ้างถึง/Bibliography

อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บำรุงวงศ์. (2560). การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2560 (หน้า 953-958). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2017). Production Capacity Increment for the Machine Spare Parts Production. IE Network Conference 2017 (pp. 953-958). Chiang Mai: Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University.

Quick View