การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน

 

ชื่อบทความวิจัย     :  การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน: Technology Transfer Using Rubber Latex Application in Irrigation System Maintenance

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน       
เจ้าของผลงานร่วม: ดร.ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล, นายสมพร พิบูลย์, นายธนิต บุญพันธ์
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้น้ำยางพาราในงานซ่อมแซมคลองชลประทานให้กับผู้เข้าร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีและเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม และเกษตรกร หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

คำสำคัญ                :   ยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน, ยางพารา


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 14 2559 CRMA Journal Vol. 14 2016

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=ii4hQf2nUAs%3d

Bibliography  :  พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล, สมพร พิบูลย์ และ ธนิต บุญพันธ์. (2559). การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14, 117-129.


Quick View
IE Network Conference 2018

การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้

บทคัดย่อ

ในกรณีศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ในกระบวนการฉีดพลาสติกเพื่อยกระดับประสิทธิผลสูงสุด จากการสำรวจสภาพปัจจุบันพบว่ากระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้มีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 28.6 เปอร์เซ็นท์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด 76.6 เปอร์เซ็นท์ จากการวิเคราะสาเหตุปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Why – Why พบว่าสามาจากการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงและการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อการลดปริมาณของเสียในกระบวนการฉีกพลาสติก จากการศึกษาพบว่าสาเหตุงรากเหง้าของปัญหามาจากความเสียหายชิ้นส่วนโอริงในแหล่งจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ผลจากการปรับปรุงพบว่าสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจาก 28.6 เปอร์เซ็นท์เป็น 82.4% รวมทั้งสามารถลดความสูญเสียให้สถานประกอบการ 415,200 บาท/เดือน

คำหลัก : ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กระบวนการฉีดพลาสติก การวิเคราะห์ Why – Why


Abstract

In this case study is orchid packaging process improvement to get the maximum of effectiveness on plastic injection molding. At the current process status, the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 28.6 % which is lower than 78.6 % target from machine downtime and quality improvement. The root cause of phenomena is the hydraulic pump oil seal which is deterioration. After corrective action found that the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 82.4% and cost saving 415,200 Bath per month.

Keywords:  Overall Equipment Effectiveness, Plastic Injection Molding, Why – Why Analysis.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บารุงวงศ์. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2018). The Overall Equipment Effectiveness Improvement for Plastic Injection Molding Process in Case of the Orchid Packaging. IE Network Conference 2018 (pp. 1092-1096). Ubonratchathani: Department of Industrial Engineering Ubon Ratchathani University.

Quick View

การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน

 

ชื่อเรื่อง              :  การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน: The Development of Mortar Mixed with Rubber Latex for Irrigation Canal Maintenance

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม: อาจารย์สมศักดิ์ ชินวิกกัย  และ ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์สำหรับใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองส่งน้ำชลประทาน ทั้งนี้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราโดยกำหนดอัตราส่วนปริมาณเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบมอร์ต้าร์ไม่ผสมน้ำยางพาราด้วยสำหรับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) แปรเปลี่ยนที่ 0.4, 0.5 และ 0.6 ผลการวิจัยพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน มีสมบัติทางกลและการดูดซึมน้ำดีที่สุด ดังนี้ กำลังรับแรงอัด 310 กก./ซมกำลังรับแรงดัด 70 กก./ซมกำลังรับแรงดึง 46 กก./ซมการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.35 และ การรั่วซึมน้ำ 13.64 มม./วัน ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกน้ำไปประยุกต์ใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองชลประทานที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี จากการติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคลองส่งนน้ำชลประทาน พบว่าปริมาณน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาไหลได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมได้ดีและทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทาน

คำสำคัญ                :   มอร์ต้าร์, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สมบัติทางกลของมอร์ต้าร์, คลองชลประทาน


Website               :  วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2561  http://www.kmutt.ac.th/rippc/v41n2.htm

Download PDF :  การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ชวน จันทวาลย์. (2561). การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน.  วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 41(2), 211-223.

Quick View
IE Network Conference 2018

การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยอุตสาหกรรมการผลิตในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก และเป็นผลมาจากกลไกของตลาดที่มีการแข่งขันสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่สูงขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด อาทิเช่น ต้นทุนและเวลาในการผลิต เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรลงจากเดิมคือใช้เวลาโดยเฉลี่ย 96 นาทีต่อครั้ง โดยมีเป้าหมายคือต่ำกว่า 50 นาทีต่อครั้ง จากการวิเคราะห์การทำงานโดยการใช้แผนภูมิกระบวนการไหล แล้วใช้เทคนิค SMED เพื่อเปลี่ยนกิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก จากนั้นจึงทำการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้วยเทคนิค ECRS นอกจากนี้ทีมวิจัยยังกำหนดวิธีการ ทำงานดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานในการทำงาน (Work instruction) โดยผลของการปรับปรุงงานดังกล่าวทำให้เวลาในการทำงานลดลงโดยเฉลี่ยจาก 96 นาที เหลือเพียง 46 นาที ซึ่งทำได้ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 50 นาที ผลการปรับปรุงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ Machine utilization เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยก่อนปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 84.76 และหลังปรับปรุงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 92.70 อีกทั้งยังทำให้ค่า Manpower utilization ของพนักงานประจำเครื่องเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อันส่งผลให้ภาพรวมของผลผลิต เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 37,380 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 40,880 ชิ้นต่อวัน ในการปรับปรุงดังกล่าวนี้มีการลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อลดเวลาการทำงาน จากการหาจุดคุ้มทุน (BE.) คืออยู่ที่ 814 ชิ้น การปรับปรุงนี้สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น

คำหลัก: การเพิ่มประสิทธิภาพ, จุดคุ้มทุน, เทคนิคการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักร, มาตรฐานการทำงาน.


Abstract

At present, situation of manufacturing industry has more competitive, and affected from supporting the customer requirements in the market with limited resources such as cost and production time. The objective of this research was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time, so the target was 50 min./time. From operations analysis by using Flow process chart and using SMED technique to convert Internal setup to be External setup. Then, improved operations by using ECRS technique. Furthermore, the research team has created the standardization by Work instruction. The result after improve was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time to be 46 min./time. It was better that the target as 50 min./time. Machine utilization was increased from 84.76% to be 92.70%. Manpower utilization was improved also. Finally, increased production rate from 37,380 pcs./day to be 40,880 pcs./day. They have some investment to order the equipment to support this work, and they calculated BE. was only 814 pcs.

Keywords: Increasing Efficiency, Break Even Point, Single Minute Exchange of Die, Work Instruction.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ธนารักษ์ หีบแก้ว และอดิศักดิ์ สมสูตร. (2561). การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 10152-1020). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Thanarak Heebgaew and Adisak Somsut. (2018). Machine Setup Time Reduction to Increase the Efficiency in Production. IE Network Conference 2018 (pp. 1015-1020). Ubonratchathani: Ubon Ratchathani University.

Quick View

การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ

 

Title              :  การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ : Analysis and Design Techniques of Charge Pump Circuits

Researcher       :   ปิติกันต์ รักราชการ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140

E-mail                :  pitikan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กลงและต้องประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งจ่ายพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรอัดประจุเป็นวงจรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวงจรดังกล่าวสามารถเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้แหล่งจ่ายแรงดันระดับต่ำได้ ทั้งยังมีการสูญเสียต่ำ บทความนี้ได้กล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของวงจรอัดประจุ คุณสมบัติและพฤติกรรมของวงจร พารามิเตอร์และแบบจำลอง เทคนิคและกลยุทธ์ในการออกแบบวงจร และการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม วงจรแบบดิกสัน รวมถึงแนะนำเทคนิคในการออกแบบวงจรอัดประจุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

คําสําคัญ             :    การประหยัดพลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน วงจรอัดประจุ

Abstract            :  The technological advances in electronics and communication today. The consumer electronics today required smaller and more energy saving. These are the reason for the need of development of power supply to even higher levels of efficiency. Charge pump is a circuit that is used widely. Since such circuits can be increased by using high voltage as low voltage source and lossless. This article has discussed on basic operation of the pump charge circuit, the properties and behavior of the circuit, parameters and models, techniques and strategies in the design cycle and searching the appropriate parameters. Diskson Circuits and tricks of the design is applied in the present.

Keywords        :   Energy savings, Power supply, Charge Pump

Download PDF:   การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ


Publication        : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559  APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.1  Jan-Jun 2016

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php/read-science?id=156


Bibliography     :   ปิติกันต์ รักราชการ. (2559). การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 112-125.


 

Quick View

การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT

 

ชื่อบทความวิจัย     :  การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT: Study of Runoff Simulation in Huai Luang Watershed Using SWAT

เจ้าของผลงาน       :  อาจารย์ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ            
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน , ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   แบบจำลองลุ่มน้ำ, น้ำท่า, ห้วยหลวง


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 14 2559 CRMA Journal Vol. 14 2016

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=ii4hQf2nUAs%3d

Bibliography  : ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ, พีรวัฒน์ ปลาเงิน และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2559). การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14, 145-158.


Quick View

การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

 

ชื่อเรื่อง              :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา: Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์ และ นายณัฐพล อภินันทโน

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ โครงสร้างจุลภาคคอนกรีตผสมน้ำยางพาราความสามารถในการเทได้ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และการดูดซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%,3%, 5%, 10% และ 15% (โดยน้ำหนัก) อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 และทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตระยะเวลา 28 วัน พบว่าคอนกรีตผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% มีคุณสมบัติทางกลดีได้ค่ากำลังรับแรงอัด 244 กก./ซมกำลังรับแรงดึง 35 กก./ซมโมดูลัสความยืดหยุ่น 46 กก./ซมการดูดซึมน้ำร้อยละ 1.0 จากผลการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการจึงแนะนำให้ใช้อัตราส่วนผสมคอนกรีตสำหรับนำไปใช้งานในการหล่อคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยใช้น้ำยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 1% (โดยน้ำหนัก) สำหรับปูนซีเมนต์ 50 กก. (1 ถุง) ประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ ดังนี้ ทราย 135 กก. หินกรวด 148 กก. น้ำ 29.67 กก. และน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ 0.83 กก. การศึกษาวิจัยภาคสนามได้พัฒนาคูส่งน้ำผสมน้ำยางพาราแบบสำเร็จรูปและแบบดาดในที่ติดตั้งในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร ซึ่งมีขนาดของก้นคูส่งน้ำ 0.40 ม. สูง 0.30 ม. และความหนา 0.07 ม. การติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคูส่งน้ำในพื้นที่แปลงนา พบว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาจะไหลได้สะดวกและเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมจึงทำให้ประสิทธิภาพการชลประทานเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ                :   คูส่งน้ำชลประทาน, น้ำยางพารา, คอนกรีต, ชลประทานไร่นา


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ ณัฐพล อภินันทโน. (2561). การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View

การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท

 

Title              :  การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท: A Design of Divider Circuit by Using Logic Gate

Researcher       : สิทธิพร เพ็ชรกิจ¹, คัมภีร์ ธิราวิทย์¹, สุทธิเกียรติ ชลลาภ² และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ³
Department     :  1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140 Email address: sitiporn_2552@yahoo.com, kampree@hotmail.com
2. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 Email address: nuclear_ee@yahoo.com
3. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต าบลไทยบุรี อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 Email address: pwijittr@wu.ac.th

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก:  sitiporn_2552@yahoo.com kampree@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความนี้ นำเสนอ การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกทพื้นฐาน เช่น แอนด์เกท ออเกท และดี-ฟลิปฟลอป มาประกอบเป็นวงจรหารเลข แสดงผลด้วยเซเวนเซ็กเม้นท์ 2 ชุด คือชุดคำตอบของผลหาร และชุดคำตอบของเศษที่ได้ ตามหลักการหารแบบวิธีลบซ้ำๆ นำมาสังเคราะห์เป็นวงจรให้เห็นจริง วงจรที่ออกแบบนี้ได้ทำการทดสอบโดยการจำลองผลการทำงานด้วยโปรแกรม Circuit Wizard ผลจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่าวงจรที่ออกแบบนี้ สามารถทำงานเป็นวงจรหารได้อย่างถูกต้อง

คําสําคัญ             :    วงจรหาร, ลอจิกเกท, การออกแบบ

Abstract            :  This paper presents a design of divider circuit by using logic gate. The used logic gates are simple logic gate such as and gate, or gate and D-flip flop. The divider circuit displays with two seven segment units that are the result unit and the fraction unit. By repeated-subtract divider principle brings to a synthesis of real circuit. The designed circuit is tested by simulating with Circuit Wizard program. The simulation result verifies that this designed circuit can work to be divider circuit.

Keywords        :   divider circuit, logic gate, design

Download PDF:   การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท


Conference   : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน” ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Link to Website:   http://ird.rmutp.ac.th/?p=8247

Bibliography     :    สิทธิพร เพ็ชรกิจ, คัมภีร์ ธิราวิทย์, สุทธิเกียรติ ชลลาภ และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ. (2560). การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.


 

Quick View
The 41st Electrical Engineering Conference

การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส ซึ่งใช้ชุดสวิทซ์สองทิศทาง 4 ชุด ประกอบด้วย ไอจีบีทีไดโอดกำลัง เป็นสวิทซ์ตัดต่อในวงจรกำลังหลัก วงจรเมตริกซ์คอนเวอรืเตอร์นี้สามารถแปลงค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแบบไซน์นูซอยดอลหนึ่งเฟสไปเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นพีดับบลิวเอ็มที่สามารถปรับค่าได้ โดยการปรับค่าความถี่การสวิทซ์ที่สัญญาณควบคุมและอัตราการม็อดได้ที่ค่า 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, และ 1.0 ความถี่เอาท์พุทสามารถปรับค่าได้ที่ค่า 12.5Hz, 25Hz, 50Hz, และ 100Hz ที่จำนวนพัลส์ 3 และ 5 พัลส์ต่อครึ่งไซเคิล โดยทำการทดสอบกับโหลดตัวต้านทานต่ออนุกรมกับตัวเหนี่ยวนำ ผลการทดสอบได้ทำการวัดรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าด้านอินพุธและเอาท์พุทด้วยการจำลองโดยใช้โปรแกรม MATTLAB/Simulink และการทดลองจริง รวมทั้งการทำการวัดค่าประสิทธิภาพของวงจรด้วย

คำสำคัญ: เมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์ เอซีทูเอซี คอนเวอร์เตอร์ พีดับบลิวเอ็ม คอนเวอร์เตอร์.


Abstract

This paper presents the design and testing of a single phase matrix converter using 4-unit of bidirectional IGBT-power Diodes as main power switching devices. The converter can directly convert the utility I-phase sinusoidal supply voltage into a variable voltage of variable voltage of variable PWM pattern by adjusting the switching frequency of the control signal and modulation index of the PWM control signal. The modulation indexes are 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, and 1.0. The numbers of the pulse are 3 and 5 per half cycle. Waveforms of input and output voltages and currents of the matrix converter for a given simulation with MATLAB/Simulink program and experimental are observed. moreover. the efficiency is measured.

Keyword: Matrix Converter, AC to AC converter, PWM converter.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ประสพโชค โห้ทองคำ และสุดาพร อร่ามรุณ. (2561). การออกแบบและทดสอบวงจรเมตริกซ์คอนเวอร์เตอร์หนึ่งเฟส. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 41. (หน้า 217-220). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.


Prasopshok  Hothongkham, & Sudaporn Aramroon. (2018). Design and Tested of Single-Phase Matrix Converter. The 41st Electrical Engineering Conference (EECON-41) (pp.217-220). Ubon Ratchathani University and Sripatum University.

 

Quick View
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15

การออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางตรวจจับโดยอินฟาเรดเซนเซอร์ควบคุมโดยไมคโครคอนโทรลเลอร์ การแสดงผลใช้หลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวขนาด 22 มิลลิเมตร ตรวจจับการเต็มของวัตถุในชั้นวางโดยอินฟราเรดเซนเซอร์ ควบคุมการทำงานทั้งหมดโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์เพียงตัวเดียว โดยชุดแสดงผลนี้ 1 ชุด ประกอบด้วย หลอดแอลอีดีสีแดง หลอดแอลอีดีสีเขียว และอินฟราเรดเซนเซอร์อย่างละ 10 ตัว ใช้แสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวางได้ 10 ชั้น ชุดแสดงผลที่นำเสนอนี้ได้ถูกสร้างขึ้นและนำไปใช้จริงที่โรงงานอุตสาหกรรม ผลการใช้งานจริงแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าพอใจของชุดแสดงผลนี้

 

คำสำคัญ: ไมโครคอนโทรลเลอร์, ชุดแสดงผลการเต็มของวัตถุดิบในชั้นวาง, อินฟราเรดเซนเซอร์.


Abstract

This article presents the design and construction of full raw material in rack display with infrared sensor controlled by a microcontroller. The display used red LED and green LED size 22 mm. and the sensor of full raw material in a rack used an infrared sensor. All system is controlled by only one microcontroller. The display one set consists of 10 red LEDs, 10 green LEDs and 10 infrared sensors used for display of full raw material in rack amount 10 stairs. This proposed display is constructed and used in one factory and its performance is demonstrated to be satisfactory.

Keyword: Microcontroller, Full Raw Material in Rack Display, Infrared Sensor.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

สันติสุข สว่างกล้า และ ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร. (2561). การออกแบบและสร้างป้ายแสดงเวลาการทำงาน/ชั่วโมงติดต่ออาจารย์ควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 15. (หน้า 172-179). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.


Santisuk Sawangkla., & Vvapote Supabowornsathian. (2018). Design and construction of time schedule display board for contact teacher controlled by a microcontroller. The 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference (pp. 172-179). Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen.

Quick View