ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ

 

ชื่อบทความ     :  ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ: Copyright of Academic Works

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ                :  ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ

คำสำคัญ                :  ลิขสิทธิ์, งานวิชาการ


 

Publication        : วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2554  APHEIT JOURNAL Vol.17 No.1  May 2011

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php/read

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2554). ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 17(1), 179-193.


Quick View

ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ (2566)

 

Title              : ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ (Study on Extraction Methods and Physicochemical Properties of Plant-Based Proteins in Application of Meat Imitation Products)

Researcher       : ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ, มัทวัน ศรีอินทร์คำ และ ณัฎฐิกา ศิลาลาย | Tunyaporn Sirilert, Mattawan Sri-inkum and Nattiga Silalai

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  tunyapornfood@gmail.com

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/study-on-extraction-methods/


Link to article: วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 28 (ฉบับที่ 3) กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2566|Burapha Science Journal, Volume 28 (No.3) September – December 2023 https://scijournal.buu.ac.th/index.php/sci/article/view/4726


Journal : วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา / in TCI กลุ่มที่ 1


Bibliography     : ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศมัทวัน ศรีอินทร์คำ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2566). ศึกษาวิธีการสกัดและสมบัติทางเคมีกายภาพของโปรตีนพืชในการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา28(3), 1424-1444.


 

Quick View

สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ

 

Title              :  สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ : Title Problems and solutions of learning about rhythm

Researcher       : อนุวัฒน์ เขียวปราง

Department     :  วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :  few_jigadee455@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความวิชาการนี้เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นถึงการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจังหวะ ซึ่งเป็นบทเรียนที่อยู่ภายใต้คำอธิบายรายวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 ซึ่งวิชาดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิชาที่ถูกบรรจุให้เป็นวิชาเอกของสาขาดนตรีในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยสาเหตุที่ผู้สอนมีจำนวนคาบสอนในบทเรียนดังกล่าวอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ผู้เรียนเกิดปัญหาความไม่เข้าใจจนสามารถสรุปปัญหาดังกล่าวได้เป็น 4 กรณี ได้แก่ 1. ความเข้าใจในลักษณะจังหวะเมื่อมีการนำโน้ตในแต่ละสัดส่วนมาจัดสรรให้เกิดความต่อเนื่องภายในห้องเพลง และ 2. ความเข้าใจในอัตราจังหวะต่างๆ 3. การกำหนดความยาวของเสียงเมื่อพบโน้ตที่มีเครื่องหมายการยืดค่าของโน้ต 4. การนับอัตราจังหวะธรรมแทนอัตราจังหวะผสม ใช้บทความนี้จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงกระบวนการสอนที่จะสามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และตกผลึกทางด้านความรู้ โดยกำหนดจำนวนคาบสอนที่มีระยะเวลาที่จำกัดออกเป็น 2 ส่วนแล้วนำเนื้อหาจากบทเรียนที่ผู้สอนเล็งเห็นว่ามีความใกล้เคียงและต่อเนื่องนำมาอยู่ในระยะเดียวกัน มีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันในการบรรยายเนื้อหาแต่ละครั้ง ผู้สอนควรใช้วิธีการอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น การแสดงตารางเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต การกำหนดจังหวะเคาะให้ถูกต้องเพื่อความแม่นยำ ตลอดจนมีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับจำนวนคาบที่จำกัด และเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้เรียนและพัฒนาไปสู่ทักษะที่ดีในการบรรเลงดนตรี

คำสำคัญ             :  การเรียนการสอน จังหวะ ทฤษฎีดนตร

Abstract            :  This article is an article that reviews the teaching and learning about rhythm. This is a lesson that the Course Description music theory courses such as the one of the courses that are packed into a major branch of music in higher education. Because the instructors have taught many lessons in such a limited period. As a result, the students do not understand the problem until the problem can be summarized into four cases. 1. Understanding the nature of the stroke when the proportion allocated to each note in the music room and the understanding of the rhythm 2. Understanding the rate and rhythm. 3. Determining the length of a note found on a stretch marks. Also worthy of note. 4. Count the beats of the rhythm fairly mixed. This article has been submitted to the process of teaching students to be able to understand. Has put forward a song that the students are familiar in everyday life in the narrative content each time. The instructor should explain how the concrete. For example compare the value of the notes. To determine the correct rhythm tapped for precision. It has put forward a song that the students are familiar in everyday life, as an example, which will make the course suitable for a limited number of sessions. And a deep understanding of the students. And to develop skills in music.

Keywords         :  Teaching, Rhythm, Music theory

Download PDF:   สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  อนุวัฒน์ เขียวปราง. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1047-1057). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

สมบัติการต้านจุลชีพและการต้านอนุมูลอิสระในอาหารหมักไทยบางชนิด

 

Title              :  สมบัติการต้านจุลชีพและการต้านอนุมูลอิสระในอาหารหมักไทยบางชนิด : Antimicrobial activities and antioxidant property of some Thai fermented foods

Researcher       :  สุภาพร พงษ์มณี, พุทธิพร จันทร์แฉ่ง และ บุษบา ปัญญา

Suphaporn Phongmanee, Putthiporn Junchang and Budsaba Phunya

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   Supaporn.p@siam.edu

บทคัดย่อ             :   ศึกษาผลของอาหารหมักไทย 10 ชนิดต่อการต้านจุลชีพ Escherichia coli TISTR 780 และ Staphylococcus aureus TISTR 118 พบว่า น้ํามะนาวดองและกระเทียมดองสามารถยับยั้งการเจริญของ E. coli TISTR 780 ได้และหอยดองสามารถยับยั้งการเจริญได้ทั้ง E. coli TISTR 780 และ S. aureus TISTR 118 เมื่อทําการคัดแยกจุลินทรีย์กรดแลกติกจากอาหารหมักไทยทั้ง 10 ชนิด พบแบคทีเรียแลคติกจํานวน 22 ไอโซเลท โดยมีจุลินทรีย์ LEbK1และ LEbk2 ซึ่งแยกจากมะนาวดอง จุลินทรีย์ GLbb1 และ GLbb2 ซึ่งแยกจากกระเทียมดอง สามารถยับยั้งการเจริญของ E. coli TISTR 780 ได้ ส่วนจุลินทรีย์ SHmk1 และ SHmk2 ซึ่งแยกจากหอยดอง สามารถยับยั้งการเจริญได้ทั้ง E. coli TISTR 780 และ S. aureus TISTR 118 นอกจากนี้ผลการต้านอนุมูลอิสระของอาหารหมักไทย พบว่า น้ำปลาร้ามีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50) ต่ําสุดที่ 265.81 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ ขิงดองมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50) สูงสุดที่ 1,204.82 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

คําสําคัญ             :  อาหารหมักไทย การต้านจุลชีพ การต้านอนุมูลอิสระ จุลินทรีย์กรดแลกติก

Abstract            :  Ten of Thai fermented foods were studied for antimicrobial activity against Escherichia coli TISTR 780 and Staphylococcus aureus TISTR 118. It were found that fermented lime and fermented garlic shown antimicrobial activity against Escherichia coli TISTR 780 and fermented mussel shown antimicrobial activity against E. coli TISTR 780 and also S. aureus TISTR 118. Lactic acid bacteria were isolation from fermented foods, it was found 22 isolation of lactic acid bacteria isolation, it was found 22 isolates. LEbk1 and LEbk2, isolated from fermented lime, as well as GLbb1 and GLbb2, isolated from fermented garlic, shown antimicrobial activity against only E. coli TISTR 780. While SHmk1 andSHmk2, isolated from fermented mussel against E. coli TISTR 780 also S. aureus TISTR 118. Furthermore, Antioxidant properties of ten fermented foods were analyzed. It was found that fermented fish, pla-ra, shown minimum activity, EC50 at 265.81 mg/ml while fermented ginger shown maximum antioxidant activity, EC50 at 1204.82 mg/ml.

Keywords        :    Fermented food, antimicrobial activity, antioxidants, Lactic acid bacteria


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    สุภาพร พงษ์มณี, พุทธิพร จันทร์แฉ่ง และ บุษบา ปัญญา. (2560). สมบัติการต้านจุลชีพและการต้านอนุมูลอิสระในอาหารหมักไทยบางชนิด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 556-561). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีความรู้ตรงกับงานที่ทำ 2) มีทักษะในการสังเกต 3) มีการวางแผนธุรกิจได้ดี 4) สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี 5) มีการสื่อสารที่ดี 6) มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม

คำสำคัญ: สมรรถนะ, บัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป


Abstract

The research aimed to study essential professional competencies required of graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration. This study was a qualitative research and used the grounded theory methodology. This methodology was a part of an alternative paradigm. Data were collected, using in-depth interview with semi-structured questions in the interview and non-participant observation. 15 key informants were from 3 groups: 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni. Data analysis based on in-depth interview indicated that professional competencies which were required of the graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration, consisted of 1) knowledge directly relevant to the job, 2) observation skills, 3) efficient business planning, 4) ability to use the software program, 5) effective communication, and 6) honesty and ethics.

KEYWORDS: Essential competencies, Graduates, Department of General Management, Faculty of Business Administration


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 136-154.

Essential professional competencies required of graduates from the department of general management, Faculty of Business Administration

Quick View

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร (2561)

 

Title              :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร : Essential Competencies Required of Graduates from the Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking

Researcher       :  ดร. รุ่งโรจน์ สงสระบุญ¹ อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์² อาจารย์สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์³

Department     :  ¹อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
²อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
³อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก: rrs101@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านการเงิน 2) มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 3) มีการทำงานเป็นทีม 4) มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี และ 5) มีความซื่อสัตย์

คําสําคัญ             :  1. สมรรถนะ 2. บัณฑิต 3.คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร

Abstract            :  The research aimed to study essential competencies required of graduates from The Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking. This research was a qualitative research and establishing the grounded theory methodology. This methodology was a part of alternative paradigm. Data were collected by in-depth interviews semi
structured questions in interview and non-participant observation. The key informants were 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni with totaling 15
informants. The research result was found that performance required for the professional practice of the graduates, Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking consists of 1) knowledge of finance and investment 2) systematic problem solving skills 3) skill of Interpersonal and responsibilities 4) Skills in numerical analysis and 5) moral / ethical skills, honesty

Keywords        :     1. Essential Competencies 2. Graduates 3. Business Administration Department of Finance and Banking

Donwload PDF  :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” ศูนย์บริการวิจัย และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, วิมล ประคัลภ์พงศ์  และ สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” (หน้า 82-92). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


 

Quick View

สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม (2560)

Title              : สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม : Essential Competencies Required of New Graduates from Faculty of Business Administration, Siam University

Researcher       :  ดร.สัมฤทธิ์ เทียนดํา และ คณะ

Department     : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 10160

E-mail                : Sumrit.tia@siam.edu

บทคัดย่อ             : วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการจัดการประชุมแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ใน 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการบัญชี ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ภาควิชาการตลาด ภาควิชาการจัดการทัวไป และภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ตามกรอบแนวคิดมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ของบัณฑิต ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านคุณธรรม/จริยธรรม และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารในสถานประกอบการ และศิษย์เก่าที่สําเร็จ การศึกษาและทํางานแล้ว จํานวน 25 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการบัญชี ได้แก่ ความรู้ด้านบัญชีและการเงิน การติดต่อประสานงาน ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี มีความซื่อสัตย์ และรับฟังข้อเสนอแนะ 2) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ได้แก่ ความรู้ด้านการเงิน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การทํางานเป็นทีม การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี และมีความซื่อสัตย์ 3) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการตลาด ได้แก่ ความรู้ด้านการตลาด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การทํางานเป็นทีม การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี และความอดทนในการทํางาน 4) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการจัดการทั่วไป ได้แก่ มีความรู้ตรงกับงานที่ทํา มีทักษะในการสังเกตุ การวางแผนธุรกิจ การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปได้ดี มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม 5) สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริ หารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ ความรู้ด้านส่งออกและนําเข้า การติดต่อประสานที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สามารถทําการตลาดออนไลน์ได้ดี และมีความละเอียดรอบคอบ
ข้อเสนอแนะเพื่อนําผลการศึกษาไปใช้
มีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิตด้านทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น จัดให้มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนให้กับบัณฑิต 2) การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมที่ทําให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต 3) การวางแผนการเรียนให้รู้ให้กับบัณฑิต โดยกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ให้ชัดเจน 3) การวินิจฉัยความจําเป็นของการพัฒนาสมรรถนะให้กับบัณฑิต รวมถึงการสร้างโอกาสสําหรับการปรับปรุ งพัฒนาตนเองของบัณฑิต 5) การกําหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ 6) การออกแบบแผนการเรียนรู้ให้กับบัณฑิตที่เหมาะสม เพื่อมุ่งสร้างสมรรถนะด้านความรู้ประสบการณ์ชีวิตให้กับบัณฑิต 7) การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการตลาดดิจิทัล วิชาการเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจสตาร์อัพ วิชาภาษาอาเซียน (CLMV) วิชาประสบการณ์ชีวิต และวิชาการสร้างนวัตกรรมใหม่ในกลุ่มวิชาแกนเพิ่มด้วย 8) มีการจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถนะทางด้านการทําธุรกิจสมัยใหม่ เช่น กิจกรรมการฝึกอบรมในวิชาชีพ การมอบหมายงานจริงให้ปฎิบัติ การจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการ และการจัดตั้งบริษัทจําลอง และ 9) มีการประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิต โดยประเมินทั้งเป็นแบบทางการ และแบบไม่เป็นทางการ เพื่อใช้ในการเปรียบผลลัพธ์กับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ และการสังเกตพฤติกรรมของบัณฑิตระหว่างการพัฒนา เช่น การมีส่วนร่วม ความเอาใจใส่ ความตั้งใจ และความกระตือรือร้น

Abstract            :  The objective of this research was to study the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University by using the qualitative research method and group interviews in the five undergraduate degree programs: Accountancy, Finance and Banking, Marketing, General Management, and International Business Management. It was based on the standard conceptual framework of the National Qualifications Framework for Higher Education in Thailand in the five domains: knowledge of graduates, intellectual skills, interpersonal skills and responsibilities, analytical and communication skills and ethical and moral. The informants (population) consisted of 25 entrepreneurs who were in executives’ positions, and the alumni of Siam University.

The results of this study showed that 1) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Accountancy program were the knowledge in accounting and finance, the coordination, and responsibility competencies, ability to use specific computer softwares in the field, be honest and listen to the suggestions; 2) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Finance and Banking program were the knowledge of finance, the systematic problem-solving skill, teamwork skill, ability to use specific computer softwares in the field, and be honest; 3) the essential competencies required of new graduates from the Faculty of Business Administration, Siam University in Marketing program were the knowledge in marketing, the systematic problem-solving skill, teamwork skill, ability to use specific computer softwares in the field, and be patient to work; 4) the essential competencies required of new graduates from The Faculty of Business Administration, Siam University in General Management program were the knowledge of the area, the observative habit, ability to prepare business planning, ability to use specific computer softwares in the field, be honest and have virtue; 5) the essential competencies required of new graduates from The Faculty of Business Administration, Siam University in International Business Management program were the knowledge in international business, e.g. import and export, the coordinating competency and responsibilities, digital marketing skills, and thoroughness and accuracy habit. Suggestions for applying research findings in the development of the essential competencies required of new graduates from faculty of business administration, Siam University were 1) to enhance foreign language skills of the graduates, such as providing additional courses in English, Chinese and ASEAN languages; 2) to create appropriate atmosphere for learning and developing; 3) to set study plan with clear goal for undergraduate students; 4) to analyze the need of competency development for graduates including to create opportunities for self improvement; 5) to define the objectives or goals of the competency development for the programs to meet the need of entrepreneurs; 6) to design the appropiate learning plan to build the knowledge competency of life experience for graduates; 7) to improve the appropriate curriculum to meet individual needs and social conditions. Digital marketing subject, Startup business entrepreneurs subject, ASEAN language (CLMV), life experience subject and new innovation subject were recommended to add in the core subjects; 8) activities for the competency development of modern business such as professional training, the assignment of the actual job to perform, the establishment of entrepreneurial clubs and the establishment of a simulation company were suggested; and 9) evaluate competency development both formally and informally to compare the results with the goals; and observe the students’ behavior such as participation, attention, willingness and enthusiasm to learn throughout the semester. 

Donwload PDF  :  รายงานการวิจัย เรื่อง สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม


Bibliography     :   สัมฤทธิ์ เทียนดํา, พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก, เปรมจิต พรหมสาระเมธี, กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์, วิบูลย์ ชินบูรพา, สมพร ปานยินดี, … พิจักษณ์ จันทวิโรจน์. (2560). สมรรถนะที่จําเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View

องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย

 

Title              : องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย: HIGH PERFORMANCE ON ORGANIZATIONAL MANAGEMENT OF PRIVATE UNIVERSITIES IN THAILAND

Researcher       :  เสาวภา เมืองแก่น  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

                                 รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

                                 รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ คุณารักษ์  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

บทคัดย่อ              :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้แนวทางการรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 378 คน นำเสนอในรูปแบบการพรรณาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย มีจำนวนหกด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศในส่วนของการจัดการองค์การที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดตามภารกิจหลักของการอุดมศึกษา 2) ด้านภาวะผู้นำผู้บริหารเกี่ยวกับลักษณะของผู้นำเชิงคุณลักษณะ ผู้นำเชิงพฤติกรรม ผู้นำเชิงการบริหารจัดการ 3) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการคัดเลือกสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การธำรงรักษาบุคลากร 4) ด้านวัฒนธรรมองค์การในส่วนของวัฒนธรรมองค์การทางความคิด วัฒนธรรมองค์การทางพฤติกรรม วัฒนธรรมองค์การทางวัตถุ 5) ด้านการจัดการความรู้เกี่ยวกับการกำหนดทิศทาง เป้าประสงค์ของการจัดการความรู้ การสร้างแสวงหา การกลั่นกรองความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถ่ายทอดความรู้ และ 6) ด้านการจัดการเทคโนโลยีในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ              :  การจัดการ, มหาวิทยาลัยเอกชนไทย, องค์ประกอบของการจัดการ, องค์การแห่งความเป็นเลิศ

Abstract             :  The objective of this study was to examine the components of the high performance management of private universities in Thailand. The study employed qualitative methodologies, where the data were collected from related research documents, in-depth interviews of 18 key performances along with quantitative data of 378 sample units which were presented, by analytical qualification mode. The result showed that components of high performance organization management of private universities in Thailand consisted of six dimensions as follow; 1) High performance operation; on organization management were effective leaded to maximum performance according to higher education missions. 2) The leadership executive; behavioral and characteristic of management leadership in behavior and management are needed. 3) The human resource management; recruitment, development and personnel retention are provided. 4) The organizational culture; those were cooperate culture in creative thoughts, behavior and objects. 5) The knowledge management; created, targeted, sought and scrutinized. 6) The Technology management was infrastructure of the information of technology, also acceptance, usage and policy.

Key words         :  management, private universities, components of management, high performance organization


Publication        : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี  ปีที่ 12 ฉบับที่ 28 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561  Journal of Thonburi University Vol.12 No.28 May-Aug 2018

Link to Publication:    https://tci-thaijo.org/index.php/trujournal/issue/view/10228

Bibliography     :  เสาวภา เมืองแก่น, จอมพงศ์ มงคลวนิช และ ประกอบ คุณารักษ์. (2561). องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี,  12(28), 328-341. 


Quick View
วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล-ปีที่24-ฉบับที่1-มค-เมย-2557

อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต

บทคัดย่อ

ยาต้านโรคจิตจัดเป็นยามาตรฐานสำหรับการรักษาโรคจิตเภท และความผิดปกติทางอารมย์หลายชนิด เช่น โรคอารมย์สองขั้ว โรคเศร้า หรือโรควิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ อ้วน รวมถึงการได้รับยาต้านโรคจิตหลายชนิดก็อาจมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ด้านเมตาบอลิก และภาวะหัวใจผิดจังหวะจากการเกิด QTc interval prolongation โดยยาต้านโรคจิตแต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์ของยาต่อตัวรับชนิดต่างๆ ในร่างกาย สำหรับการเกิดความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว จะพบได้บ่อยจากการใช้ยาต้านโรคจิตรุ่นเก่า…

KEYWORDS: ยาต้านโรคจิต, อาการไม่พึงประสงค์, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า, หัวใจเต้นเร็ว,  อาการด้านเมตาบอลิก, weight gain, QTc interval prolongation, myocarditis, cardiomyopathy


งานที่อ้างถึง

ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ และ ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา. (2557). อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 24(1), 48-62.

Cardiovascular Adverse Effects of Antipsychotic Drugs

Quick View
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา-ปีที่26-ฉบับที่51-2561

อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the congruence of structural equation model of readiness to work of retired elderly with empirical data, and 2) to study the direct effect, indirect effect and total effect antecedents on readiness to work of retired elderly. The data were collected from five hundred elders by questionnaire. The data was analyzed in term of structural equation modeling. The results showed as following: the structural equation modeling of readiness to work of retired elderly was congruent with the empirical data (x2 = 646.978, df = 266, p = 0.000, x2/df = 2.432, GFI = 0.903, TLI = 0.925, CFI = 0.933, RMSEA = 0.054, Critical N = 236); work potentiality, social support, self care behaviors and self esteem accounted for the variance of readiness to work of retired elderly by 71 percent. Self care behaviors, self esteem and work potentiality had direct effect on readiness to work of retired elderly respectively. In addition, social support, self care behaviors and work potentiality had indirect effect on readiness to work of retired elderly respectively.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2561). อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 46-69.


The Influence of Work Potentiality, Social Support, Self Care Behaviors and Self Esteem on Readiness to Work of Retired Elderly in Bangkok

Quick View