ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (2564)

ชื่อบทความ       : ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Title              : The Relationship Between Social Support and Stress of Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia

ผู้เขียน/Author  : ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ

Researcher       : Lunchana Phimphanchaiyaboon, Suparun Phasuk, Nuruemol Angsirisak, Natamon Boonlom & Susaree Prakhinkit

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม    : https://e-research.siam.edu/kb/the-relationship-between-social-support/

Link to article : วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) พ.ศ. 2564 | Journal of Health and Nursing Research Volume 37 No.2 September-Dember 2021 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251415


Link to Published: วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล  / TCI 1


Bibliography     :  ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. ารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(3), 54-64.


 

Quick View

ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ(2564)

Title           : ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ (Effect of Temperature on Heat Resistance of Halophilic and Thermotolerant Bacteria in Low Sodium Fish Sauce)

Researcher       : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/effect-of-temperature-on-heat-resistance/


Link to article: รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). https://drive.google.com/file/d/1ZUyOUPUUOimJI5z-b6IsTnC-W85gzD46/view


 Publication: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (ASTC2021)  / in  Proceeding


Citation : เกศรา แซกพุทรา, หัตถ์ชนก วัฒนเลิศสุวัตร, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2564). ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทานความร้อนของแบคทีเรียชอบเกลือ และทนความร้อนในน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASCT)ครั้งที่ 8 (หน้า 265-274). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Quick View

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.นวินดา ชินะตังกูร และ นศภ.ร่มฟ้า บุญสุข

บทคัดย่อ:

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และปัญหาจากโรคระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาเส้นใยนาโนด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบอิเล็กโตรสปินนิง โดยเส้นใยที่ได้จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีขนาดเล็ก ส่งผลให้มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตรสูง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกรองและความสามารถในการดักจับอนุภาคเพิ่มสูงขึ้น นอกจากประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคและดักจับเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หน้ากากเส้นใยนาโนยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ สามารถป้องกันการซึมผ่านของของเหลว สามารถระบายอากาศได้ดี หายใจได้สะดวก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีความแนบกระชับกับใบหน้า และมีความแข็งแรงทนทาน

คำสำคัญ: หน้ากากอนามัย เส้นใยนาโน อิเล็กโตรสปินนิง ไวรัสโคโรนา PM2.5

Link to Academic article: เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย

Quick View

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ.ทิพย์วิไล ทวีพันธุรัตน์

บทคัดย่อ:

โรคตาแห้ง หรือ dry eye disease เป็นโรคทางตาที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสำคัญที่นำผู้ป่วยมารับบริการที่ร้านยา หรือสถานพยาบาล ซึ่งส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิต จนถึงอาจเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ จากการศึกษาของ Stapleton และคณะ ปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาที่รวบรวมความชุก อุบัติกาณ์ และปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง ผลการศึกษาพบว่า ความชุกในการเกิดโรคตาแห้ง อยู่ในช่วงร้อยละ 5 ถึง 50 ของประชากรทั่วโลก1 ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบได้ในทุกช่วงอายุ และพบมากในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 75 ปีขึ้นไป2 โรคตาแห้งเป็นโรคที่มีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น การรักษาโรคตาแห้งอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นองค์ความรู้ที่เภสัชกรควรมีความรู้ และความเข้าใจ เนื่องจากบทบาทเภสัชกรชุมชนในโรคตาแห้ง สามารถเป็นด่านแรกที่ช่วยประเมิน เลือกใช้ยาในการรักษา ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคตาแห้ง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการโรคตาแห้งรุนแรงไปรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย บทความจะเน้นถึงสาเหตุการเกิดโรคตาแห้ง อาการแสดงทางคลินิก การวินิจฉัยโรคตาแห้ง และการรักษาโรคตาแห้งด้วยการใช้ยา

คำสำคัญ: โรคตาแห้ง, แนวทางการรักษา, น้ำตาเทียม

Link to Academic article: แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง

Quick View