สารช่วยทางเภสัชกรรมในตำรับยาฉีด (2562)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.ชุติมน หมื่นแก้ว

บทคัดย่อ:

สารช่วยทางเภสัชกรรม (excipients) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาและผลิตยารูปแบบต่างๆ ปัจจุบันมีการผลิต excipient ชนิดใหม่ออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีรูปแบบ ประสิทธิภาพในการรักษา และมีความคงตัวตามต้องการ ผลิตภัณฑ์ยาฉีดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดหรือที่เตรียมขึ้นใช้เองในโรงพยาบาล มีทั้งที่อยู่ในรูปแบบสารละลาย สารแขวนตะกอน อิมัลชัน ผงแห้ง และชีววัตถุ นอกจากเรื่องการควบคุมการผลิตและควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ปราศจากเชื้อแล้ว excipient ที่อยู่ในตำรับยาฉีดก็เป็นเรื่องที่ควรทราบและให้ความสำคัญ แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับยาเตรียมในรูปแบบอื่น ในบทความนี้จึงได้กล่าวถึงชนิดและหน้าที่ของ excipient ที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ยาฉีดตามที่กล่าวมาข้างต้น และยกตัวอย่างอาการไม่พึงประสงค์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จาก excipient ในยาฉีดเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความระมัดระวังในการเลือกใช้ยาฉีด

คำสำคัญ: pharmaceutical excipients, parenteral, biologics, lyophilization

Link to Academic article: สารช่วยทางเภสัชกรรมในตำรับยาฉีด

Quick View

หลักฐานเชิงประจักษ์การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2563)

ผู้เขียนบทความ:   อ.ภญ. วิภาวี รอดจันทร์ และ ดร.ภก. อภิโชติ โซ่เงิน

บทคัดย่อ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ coronavirus disease 2019 (COVID-19) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสชื่อ severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS- CoV-2) ได้เริ่มมีการรายการแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) จนกระทั่งเดือนมีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้ COVID-19 อยู่ในภาวะ pandemic เนื่องจากมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแพร่กระจายไปหลายประเทศ บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของเชื้อไวรัส อาการของโรค และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับยาที่มีการศึกษาในมนุษย์

คำสำคัญ: ไวรัส โคโรนา2019 โรคติดเชื้อ การรักษา

Link to Academic article: หลักฐานเชิงประจักษ์การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Quick View

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2 (2563)

หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2 (2563)

ผู้เขียนบทความ: ดร. ภก. เสถียร พูลผล

บทคัดย่อ:

เพื่อให้ร้านยาเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 ขึ้น ทำให้ร้านยาต้องปฏิบัติตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ขั้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 นี้จะเป็นการประเมินในขั้นที่ 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากการประเมินในระยะที่ 1 ที่เคยประเมินในปี พ.ศ. 2561 โดยมีรายละเอียดคือ หมวดที่ 1 สถานที่ จะต้องมีความมั่นคง มีทะเบียนบ้าน มีพื้นที่ขายและให้คำแนะนําการใช้ยาไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร และมีพื้นที่เก็บสํารองยาเป็นสัดส่วนโดยไม่วางยาสัมผัสกับพื้น หมวดที่ 2 อุปกรณ์ มีอุปกรณ์วัดส่วนสูง ถังดับเพลิง ที่พร้อมใช้งาน หมวดที่ 3 บุคลากร มีการแยกบทบาทของเภสัชกรและพนักงานอย่างชัดเจน โดยพนักงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายยาและงานที่ได้รับ หมวดที่ 4 ไม่มีการประเมิน และหมวดที่ 5 การให้บริการทางเภสัชกรรมกับผู้ป่วย โดยเภสัชกรต้องมีวิธีการปฏิบัติทางเภสัชกรรมที่ดี เช่น การซักถามข้อมูลที่จำเป็น จัดให้มีฉลากยาแสดงข้อมูลที่จำเป็น การส่งมอบยาพร้อมให้คำแนะนําตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การป้องกันการแพ้ยาซ้ำ การคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย การผลิตยาตามใบสั่งยา การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การจัดสื่อให้ความรู้และสื่อโฆษณาสำหรับผู้มารับบริการ

คำสำคัญ: หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2, Good Pharmacy Practice (GPP) Phase 2, ร้านยา

Link to Academic article: หลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมชุมชน ขั้นที่ 2

Quick View

องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย

 

Title              : องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย: HIGH PERFORMANCE ON ORGANIZATIONAL MANAGEMENT OF PRIVATE UNIVERSITIES IN THAILAND

Researcher       :  เสาวภา เมืองแก่น  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

                                 รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

                                 รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ คุณารักษ์  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

บทคัดย่อ              :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้แนวทางการรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 378 คน นำเสนอในรูปแบบการพรรณาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย มีจำนวนหกด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศในส่วนของการจัดการองค์การที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดตามภารกิจหลักของการอุดมศึกษา 2) ด้านภาวะผู้นำผู้บริหารเกี่ยวกับลักษณะของผู้นำเชิงคุณลักษณะ ผู้นำเชิงพฤติกรรม ผู้นำเชิงการบริหารจัดการ 3) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับการคัดเลือกสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การธำรงรักษาบุคลากร 4) ด้านวัฒนธรรมองค์การในส่วนของวัฒนธรรมองค์การทางความคิด วัฒนธรรมองค์การทางพฤติกรรม วัฒนธรรมองค์การทางวัตถุ 5) ด้านการจัดการความรู้เกี่ยวกับการกำหนดทิศทาง เป้าประสงค์ของการจัดการความรู้ การสร้างแสวงหา การกลั่นกรองความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถ่ายทอดความรู้ และ 6) ด้านการจัดการเทคโนโลยีในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ              :  การจัดการ, มหาวิทยาลัยเอกชนไทย, องค์ประกอบของการจัดการ, องค์การแห่งความเป็นเลิศ

Abstract             :  The objective of this study was to examine the components of the high performance management of private universities in Thailand. The study employed qualitative methodologies, where the data were collected from related research documents, in-depth interviews of 18 key performances along with quantitative data of 378 sample units which were presented, by analytical qualification mode. The result showed that components of high performance organization management of private universities in Thailand consisted of six dimensions as follow; 1) High performance operation; on organization management were effective leaded to maximum performance according to higher education missions. 2) The leadership executive; behavioral and characteristic of management leadership in behavior and management are needed. 3) The human resource management; recruitment, development and personnel retention are provided. 4) The organizational culture; those were cooperate culture in creative thoughts, behavior and objects. 5) The knowledge management; created, targeted, sought and scrutinized. 6) The Technology management was infrastructure of the information of technology, also acceptance, usage and policy.

Key words         :  management, private universities, components of management, high performance organization


Publication        : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี  ปีที่ 12 ฉบับที่ 28 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561  Journal of Thonburi University Vol.12 No.28 May-Aug 2018

Link to Publication:    https://tci-thaijo.org/index.php/trujournal/issue/view/10228

Bibliography     :  เสาวภา เมืองแก่น, จอมพงศ์ มงคลวนิช และ ประกอบ คุณารักษ์. (2561). องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี,  12(28), 328-341. 


Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่18ฉบับที่30-มีนาคม-กรกฎคม-2560

องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขต กรุงเทพมหานคร (2560)

 

[mfn]วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ เอกภพ มณีนารถ.  (2560).  องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.  สยามวิชาการ, 18(30)72-92.[/mfn]    องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ เอกภพ มณีนารถ

อาจารย์ประจําภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม


Abstract: The research on “Marketing Factors and Purchasing Behavior of Environmentally Friendly Products of Teenagers in Bangkok Metropolitan Area” has the objective for 1) studying
the marketing factor effective to the purchase of environmentally friendly products of teenagers in Bangkok Metropolitan Area 2) studying the purchasing behavior of environmentally friendly products of teenagers in Bangkok Metropolitan Area. The samples used in this research are 400 teenagers having their ages in between 15 – 24 years old living in Bangkok Metropolitan Area who purchased environmentally friendly products. The statistics used in the data analysis are percentage, mean, standard deviation, and factor analysis. The result of the research found that the marketing factors used in deciding to purchase the environmentally friendly products consisted of 3 factors, they are 1) Product, brand, and packaging, 2) Promotion and how to pay money in different forms, and 3) Reasonable prices and purchasing convenience.

Keywords:  Marketing Factors, Purchasing Behavior, Environmentally Friendly Products, Teenagers


Bibliography: วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ เอกภพ มณีนารถ.  (2560).  องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.  สยามวิชาการ, 18(30)72-92.


สยามวิชาการ ปีที่18 ฉบับที่30 ปี 2560

Quick View

อาการปวดหัวไมเกรน (2560)

อาการปวดหัวไมเกรน (2560)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.ภูมิสิริ วุฒิวงค์

บทคัดย่อ:

อาการปวดหัวไมเกรนเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อย และส่งผลกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยมีการศึกษาถึงความชุกในการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนในชาวแคนาดา พบว่าอาการปวดดังกล่าวจะพบในเพศหญิงร้อยละ 23-26 และพบในเพศชายร้อยละ 7.8-10 ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนอย่างแน่ชัด มีแนวคิดที่ใช้อธิบายสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน 2 แนวคิด คือ vascular theory ที่เชื่อว่าเกิดภาวะหลอดเลือดขยายตัวจึงทำให้เกิดอาหารปวดหัว และ inflammation hypothesis ซึ่งเชื่อว่าอาการปวดเกิดจากสารก่อการอักเสบบางชนิด เช่น calcitonin gene related peptide (CGRP) และ substance P (SP) ทำให้เกิดภาวะ neurogenic inflammation โดยคำอธิบายถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากภาวะ cortical spreading depression (CSD) โดย CSD เป็นสัญญาณการส่งกระแสประสาทอย่างช้าๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณ occipital lobe ของสมอง หลังจากเกิดสัญญาณ CSD สัญญาณจะเดินทางไปที่ migraine center แล้วส่งสัญญาณผ่าน trigeminal nerve (CN V) ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดภายนอกกะโหลก นอกจากนี้สัญญาณ CSD หากมีปริมาณมาก อาจมีการส่งสัญญาณไปที่ prefrontal cortex เกิดเป็นกลุ่มอาการแทรกซ้อนของไมเกรนอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า aura

คำสำคัญ:

Link to Academic article: อาการปวดหัวไมเกรน

Quick View
วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล-ปีที่24-ฉบับที่1-มค-เมย-2557

อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต

บทคัดย่อ

ยาต้านโรคจิตจัดเป็นยามาตรฐานสำหรับการรักษาโรคจิตเภท และความผิดปกติทางอารมย์หลายชนิด เช่น โรคอารมย์สองขั้ว โรคเศร้า หรือโรควิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ อ้วน รวมถึงการได้รับยาต้านโรคจิตหลายชนิดก็อาจมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ด้านเมตาบอลิก และภาวะหัวใจผิดจังหวะจากการเกิด QTc interval prolongation โดยยาต้านโรคจิตแต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์ของยาต่อตัวรับชนิดต่างๆ ในร่างกาย สำหรับการเกิดความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว จะพบได้บ่อยจากการใช้ยาต้านโรคจิตรุ่นเก่า…

KEYWORDS: ยาต้านโรคจิต, อาการไม่พึงประสงค์, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า, หัวใจเต้นเร็ว,  อาการด้านเมตาบอลิก, weight gain, QTc interval prolongation, myocarditis, cardiomyopathy


งานที่อ้างถึง

ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ และ ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา. (2557). อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 24(1), 48-62.

Cardiovascular Adverse Effects of Antipsychotic Drugs

Quick View
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา-ปีที่26-ฉบับที่51-2561

อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the congruence of structural equation model of readiness to work of retired elderly with empirical data, and 2) to study the direct effect, indirect effect and total effect antecedents on readiness to work of retired elderly. The data were collected from five hundred elders by questionnaire. The data was analyzed in term of structural equation modeling. The results showed as following: the structural equation modeling of readiness to work of retired elderly was congruent with the empirical data (x2 = 646.978, df = 266, p = 0.000, x2/df = 2.432, GFI = 0.903, TLI = 0.925, CFI = 0.933, RMSEA = 0.054, Critical N = 236); work potentiality, social support, self care behaviors and self esteem accounted for the variance of readiness to work of retired elderly by 71 percent. Self care behaviors, self esteem and work potentiality had direct effect on readiness to work of retired elderly respectively. In addition, social support, self care behaviors and work potentiality had indirect effect on readiness to work of retired elderly respectively.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2561). อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 46-69.


The Influence of Work Potentiality, Social Support, Self Care Behaviors and Self Esteem on Readiness to Work of Retired Elderly in Bangkok

Quick View
หนังสือพิมพ์-มติชน-7-1-2562

เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

 

ชื่อบทความ     :  เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทความฉบับเต็ม  :  เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน


 

Publication: หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 41 ฉบับที่ 14911 วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 

Link to Publication:  http://www.matichon.co.th

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2562, 7 มกราคม). เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. มติชน, หน้า 15.


Quick View

เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : A Comparison to the learning Achievement between Lecture and Learning Recitation Methods in a General Chemistry Course of the Students, Engineering Faculty, Siam University

Researcher       :  วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Wanpen Wasupongpun and Pornchai Premkaisorn

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  wanpwas@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบพูดถามตอบของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยประชากรเป็นนักศึกษาภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2556 และ 2557 ที่เรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยาย และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบกลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s α-coefficient) ได้ค่าโดยรวมเท่ากับ 0.763 จากนั้นน าแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independentด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย

คําสําคัญ             :  การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบพูดถามตอบ ผสสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี

Abstract            :  This objective of this study was to compare the learning achievement between lecture and learning recitation methods in general chemistry course, engineering faculty, Siam university. The population was the student who registered in 123-101 General Chemistry course in 1st – semester, 2013 and 2014. Twenty-eight students sampling in each group was selected by simple random sampling. A reliability of questionnaires, testing with Cronbach’s  α-coefficient reliability method, is 0.763. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data was collected and statistically analyzed by independent t-test using by SPSS for Windows. The results showed that the achievement of two groups is significantly different at 0.05 level. It indicates that the learning recitation method had a higher studying achievement than that of the lecture method. 

Keywords        :    lecture method, recitation method, chemistry learning achievement


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2558). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 33-37). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View