เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์

บทคัดย่อ:

ประเทศไทยมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะต้องหาวิธีการเพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรทางด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด วิธีการหนึ่งที่เภสัชกรสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรดังกล่าวได้แก่การนำความรู้ด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้การเปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของผลิตภัณฑ์และการบริการทางเภสัชกรรมมาเป็นเครื่องมือวัดและประเมินเพื่อหาทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด แต่ไม่ใช่เพื่อหาวิธีที่ถูกที่สุดหรือมีประสิทธิผลที่สุด บทความนี้แนะนำความรู้พื้นฐานที่สำคัญด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์แก่เภสัชกรและวิธีการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งมีสี่วิธี ได้แก่การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA) การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA) การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (CEA) และ การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (CUA) รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการประเมินทั้งสี่วิธี นอกจากนี้บทความยังแนะนำมาตรฐานทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญและกล่าวถึงข้อจำกัดของเภสัชเศรษฐศาสตร์ และการนำเภสัชเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพเภสัชกรรม

คำสำคัญ:  เภสัชเศรษฐศาสตร์, การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA), การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA)

Link to Academic article:   เภสัชเศรษฐศาสตร์ 

Quick View

เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม (2560)

 

Title              :  เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม : Prompt Pay should come with Prompt Saving

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด และ มนทิรา อารีพรสมสุข

Surachai Pattarabanjird and Monthira Tantrawanich

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com,  monthira@siam.edu

บทคัดย่อ              :   ระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการโอนเงินและรับเงินทางเลือกใหม่ในการธุรกรรมทางการเงิน โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนที่บัญชีเงินฝากธนาคาร อาทิ การโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการในชีวิตประจำวัน การจ่ายสวัสดิการของภาครัฐ รวมถึงการคืนเงินภาษีแก่ประชาชน โดยเปิดการลงทะเบียนใช้ระบบนี้ผ่านธนาคารต่างๆ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และลูกค้านิติบุคคลสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ระบบนี้เป็นแนวคิดในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยระบบการชำระเงินจะเป็นการผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับหมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน อันจะทำให้การชำระเงินและการโอนเงินเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่ระบบนี้อาจส่งผลกระทบด้านภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อการออม ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอการนำระบบพร้อมออมมาใช้ร่วมกับระบบพร้อมเพย์ จะช่วยให้ผู้บริโภคเกิดการออมขึ้นเมื่อมีการใช้จ่าย และระบบพร้อมออมจะช่วยให้ผู้บริโภคมีวินัยและความรอบคอบในการใช้จ่ายให้มากขึ้น

คำสำคัญ              :  พร้อมเพย์, เศรษฐกิจดิจิทัล, พร้อมออม, กองทุนการออมแห่งชาติ, ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

Abstract            : Prompt Pay is a new payment system that uses ID-chip card number (Smart Card) or mobile phone number for convenient payment of any goods or services when making a transaction. It also enables a payment from Welfare State and tax redeem. This policy supports the digital economy as stated in the National e-Payment policy. The payment system is tied with a savings account with ID-chip card or mobile phone number that will make a convenient and rapid payment and transfer system. However, this payment system may have an impact on household debt increase and savings decrease. So, the Prompt Saving systemis proposed to be used along with the Prompt Pay system, and that will let consumers save more moneyanytime when a purchase is made, and the Prompt Saving system also helps consumers to have more discipline and prudence on expenditure.

Keywords         :  Prompt Pay, Digital Economy, Prompt Saving, National Saving Fund, National e-Payment


Publication        : วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Executive Journal  Vol.37 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/issue/view/7444

Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด และ มนทิรา อารีพรสมสุข. (2560). เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,  37(1), 27-35. 


Quick View

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.นวินดา ชินะตังกูร และ นศภ.ร่มฟ้า บุญสุข

บทคัดย่อ:

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และปัญหาจากโรคระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาเส้นใยนาโนด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบอิเล็กโตรสปินนิง โดยเส้นใยที่ได้จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีขนาดเล็ก ส่งผลให้มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตรสูง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกรองและความสามารถในการดักจับอนุภาคเพิ่มสูงขึ้น นอกจากประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคและดักจับเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หน้ากากเส้นใยนาโนยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ สามารถป้องกันการซึมผ่านของของเหลว สามารถระบายอากาศได้ดี หายใจได้สะดวก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีความแนบกระชับกับใบหน้า และมีความแข็งแรงทนทาน

คำสำคัญ: หน้ากากอนามัย เส้นใยนาโน อิเล็กโตรสปินนิง ไวรัสโคโรนา PM2.5

Link to Academic article: เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย

Quick View

เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

 

ชื่อเรื่อง              :  เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

การประชุมวิชาการ    : สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.) จัดเสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0 เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2560 ณ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Link  to video clip : https://youtu.be/TBBCNiTNL4w

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2560, 22 กรกฏาคม). เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0. [วีดิโอคลิป]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=TBBCNiTNL4w


สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.):  http://www.law.tu.ac.th

ตั้งอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนิติศาสตร์มีวัตถุประสงค์ คือ ส่งเสริมความเจริญให้แก่คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนความร่วมมือและเผยแพร่วิทยาการในทางนิติศาสตร์ ระหว่างสมาชิกกับสมาคมหรือสถาบันทางกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระหว่างมวลสมาชิก บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการกุศลสาธารณะ ส่งเสริมการบันเทิง การกีฬา และการพักผ่อนหย่อนใจของมวลสมาชิก อุดหนุนและให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนับสนุนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรดาสมาคมซึ่งผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้น ในการธำรงไว้ ส่งเสริมและเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ทั้ง 8 ประการดังกล่าวนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สมาคมนิติศาสตร์ได้จัดกิจกรรมในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น

  • กิจกรรมสัมมนาวิชาการในเรื่อง “ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ฤา ชื่อธรรมศาสตร์จะเปลี่ยนไป”
  • โครงการอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
  • โครงการอบรมในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบภาคปฏิบัติ การฝึกอบรมวิชาว่าความของสภาทนายความ” ให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กิจกรรมศึกษาดูงานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
  • พิธีวางพวงมาลาอนุสรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์
  • งานเลี้ยงแสดงความยินดีให้กับบัณฑิตนิติศาสตร์
  • กิจกรรม “ชวนกันเดินทัวร์”
Quick View

เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย

[mfn]อัคร ธนะศิรังกูล และ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. (2561). เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย, 41(135), 86-96.[/mfn]   เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย

อัคร ธนะศิรังกูล และ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล


ผลงานวิชาการ อ. อัคร ธนะศิรังกูล – Akhara Thanasirangkul

Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม

แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

[mfn]สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.[/mfn]   แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง

บทคัดย่อ                : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาเจาะจง จำนวน 14 คน และกระบวนการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5 คน นำมารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช คือการปกครอง ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในการปกครอง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองไทยในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งทศพิธราชธรรม ได้นำมาประยุกต์กับการบริหารองค์การภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง สำหรับการปกครองของประเทศไทยด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสอดคล้องกับหลักธรรมราชาหรือราชาธิปไตย ที่ผู้นำการปกครองต้องกอปรด้วย คุณธรรมจริยธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยความซื่อสัตย์สุจริต และความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติที่สังคมไทยต้องการมากที่สุด นอกจาก ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำเสนอแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธผ่านทางนวนิยายและบทความในหนังสือพิมพ์แล้วยังได้แสดงบทบาทดำรงตนและดำรงความเป็นผู้นำทางการเมืองตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา อันถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักการเมืองและการบริหารบ้านเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย

คำสำคัญ                :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธ,  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

Abstract              :  The objective of this research is study the Buddhist Approach on Political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj. The research methodology employed this research is qualitative, including several qualitative methods of (1) documentary research, (2) in-depth interview with fourteen informants selected by purposive sampling method and (3) focus group interview with five qualifying experts, in which descriptive approach of data analysis were employed. The result of the study was that the Buddhist political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj resembles Buddhist principles of governance which include: desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King), sanga-ha-vatthu (Principles of Service and Social Integration), and cak-ka-vatti-vat (Duties of the Great rulers). All these principles were being widely adapted to modern Politics and Governance in Thailand, especially the desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King) that being applied in managing public and private sectors nationwide. Consequently, the democratic form of governance in Thailand with the King as the head of the state stipulates the condition of dhamma-raja in which the head of the state must uphold their virtue and moral according to the Buddhist principles. Ultimately, honesty, integrity, and courage are leadership characteristics mostly demanded by Thai public and society. Apart from the fact that M.R. Kukrit Pramoj had presented his Buddhist political ideology via his several outstanding masterpieces including novels and newspaper articles, he also consistently live and committed to his role status as a faithful Buddhist-principle-guided Thai political leader, thus, being a great role model for both politics and governance circles in Thailand until nowadays.

Keywords           :  Political Concepts on Buddhist Approach, M.R. Kukrit Pramoj

Download PDF  :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj


Publication        :  กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 28 ก.ค.-ธ.ค. 2557   Cultural Approach  Vol.15 No.28 Jul-Dec 2014

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2014-vol15-no28-jul-dec/

Bibliography     :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี

 

Title              :  แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี: CONCEPT OF US PARTNERSHIP INCOME TAX AND ANTI-ABUSE RULES

Researcher       :  อาจารย์ ยุทธนา ศรีสวัสดิ์
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  yutthana.sri@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ภาษีเงินได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกามีจุดเด่นที่สําคัญคือห้างหุ้นส่วนของสหรัฐฯ ไม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีดังนั้นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนจะกลายเป็นเงินได้ของหุ่นส่วนโดยตรงเพื่อสะท้อนฐานภาษีที่แท้จริงของบุคคล แต่เนื่องจากข้อกําหนดห้างหุ้นส่วนสามารถกําหนดได้อย่างยืดหยุ่นมากดังนั้น เพื่อป้องกันการอาศัยความยืดหยุ่นนี้ เพื่อเลี่ยงภาษีที่อาจเกิดขึ้นในกรณีต่างๆกฎหมายภาษีสหรัฐฯ ในส่วนนี้จึงเรียกได้ว่ามีความซับซ้อนที่สุดเมื่อเทียบกับกฎหมายภาษีในส่วนอื่นๆ อาทิการเข้าหุ้นจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีแม้จะเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง (แต่ไม่รวมถึงการให้บริการ) โดยกฎหมายจะมีวิธีการกําหนดต้นทุนในการถือประโยชน์สําหรับหุ้นส่วนเป็นตามต้นทุนของทรัพย์สินที่นํามาแลก ซึ่งในทุกขั้นตอนจะมีบทบัญญัติเพื่อความเป็นธรรมและป้องกันการเลี่ยงภาษีที่อาจเกิดขึ้นด้วยเสมอ แนวคิดเกี่ยวกับภาษีเงินได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นต้นแบบที่น่าศึกษาสําหรับแนวคิดที่ต้องการให้นิติบุคคลไม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีซึ่งผลที่ตามมานั้นจําเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับอีกเป็นจํานวนมากจึงอาจก่อให้เกิดความซับซ้อนของระบบภาษีในประเทศที่นําไปใช้ได้ ดังนั้นการนําแนวคิดนี้มาปรับใช้จึงต้องมีการศึกษาเตรียมพร้อมอย่างรัดกุมเพื่อไม่เปิดโอกาสให้เกิดการเลี่ยงภาษีด้วยช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการหากมีการศึกษาแนวทางการนําหลักการใช้นิติบุคคลที่ไม่เป็นหน่วยภาษีมาใช้ในอนาคต

คำสำคัญ             :   ภาษีเงินได้, ห้างหุ้นส่วน, การป้องกันการเลี่ยงภาษี

Abstract            :  US partnership income tax determines that partnerships are nontaxable entity. Partnership’s gross income passes though directly to partners in the partnership. This will clearly reflect partner’s income. Due to high flexibility of the partnership agreement, however, partnership income tax law becomes highly. For example, partners do not have to recognize gains from contributing property to the partnership in exchange for the partnership interest. The property can be either tangible or intangible, except services. Also, the law will determine tax basis of the partnership interest for each contribution by partners. Each step has its own anti-abuse rules to maintain fairness and prevent tax avoidance. US partnership income tax is a good model in applying nontaxable entity concept into a certain country. Implementing the pass-through entity concept consumes a number of resources to ensure that the system is properly functional. It needs sophisticated regulations to prevent tax avoidance. Therefore, pass-thru entities are academically valuable to study if a country seriously considers non-taxable entity theory as a form of taxation in the near future.

Keywords         :   : Income tax, partnership, anti-tax avoidance


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2559). แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 217). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (2562)

ชื่อบทความ     :  แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี: GUIDELINE OF BUDGET ADMINISTRATION ACCORDING TO GOOD GOVERNANCE FOR OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS IN KHLONGLUANG DISTRICT, PATHUMTHANI PROVINCE

เจ้าของผลงาน       :  แสงเทียน จิตรโชติ, ประยูร แสงใส, บุญเชิด ชำนิศาสตร์ และ ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

บทคัดย่อ               The objectives of this research were; 1) to study the state of problems and obstacles in budget administration of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province, 2) to study techniques and methods in budget administration on Opportunity Expansion Schools and principles of good governance in budget administration, and 3) to propose a guideline of budget administration based on good governance for Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province.

The quantitative data were collected from 176 samples by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 3 key-informants and analyzed by content analysis.

The results of the study found that:

  1. The budget administration of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province was at a high level overall. In aspect, the highest level was on Participation, followed by Consencus Oreinted, transparency, Rule of Law, Decentralization, Responsiveness, Accountability, Equity, Effectiveness, and Efficiency respectively.
  2. Problems and obstacles in budget administration based on good governance of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province were found that; 1) budget administration not cope with the annual budget plan, 2) work operation out of the time frame, 3) work assigned to the wrong person, 4) workload not matched with the time frame, 5) personnel acknowledgement and understanding, 6) different administrators with different administration styles, 7) unclear policy on budget, and finally 8) compassion and morale.
  3. Suggestions; the most suggestion was on the application of good governance in budget administration and development of school, and following suggestions were on a survey of skills and interests of personnel, acknowledgement of personnel in school about budget policy and budget spending, administration based on good governance, understanding of good governance, participation of teachers in operation, and work performance monitor rather than hearsays.

คำสำคัญ    : The budget administration, good governance, Opportunity Expansion Schools


Publication        : วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562   Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol.6 No.1  January-April 2019

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/issue/archive

Download PDF        :    https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/179307

Bibliography  : แสงเทียน จิตรโชติ, ประยูร แสงใส, บุญเชิด ชำนิศาสตร์ และ สมหมาย จันทร์เรือง. (2562). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 81-83.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

 

[mfn]วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2559). แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 194-211.[/mfn]   แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร 

วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ อมรวิชช์ นาครทรรพ


 Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง (2564)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ.ทิพย์วิไล ทวีพันธุรัตน์

บทคัดย่อ:

โรคตาแห้ง หรือ dry eye disease เป็นโรคทางตาที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสำคัญที่นำผู้ป่วยมารับบริการที่ร้านยา หรือสถานพยาบาล ซึ่งส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิต จนถึงอาจเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ จากการศึกษาของ Stapleton และคณะ ปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาที่รวบรวมความชุก อุบัติกาณ์ และปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง ผลการศึกษาพบว่า ความชุกในการเกิดโรคตาแห้ง อยู่ในช่วงร้อยละ 5 ถึง 50 ของประชากรทั่วโลก1 ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบได้ในทุกช่วงอายุ และพบมากในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 75 ปีขึ้นไป2 โรคตาแห้งเป็นโรคที่มีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น การรักษาโรคตาแห้งอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นองค์ความรู้ที่เภสัชกรควรมีความรู้ และความเข้าใจ เนื่องจากบทบาทเภสัชกรชุมชนในโรคตาแห้ง สามารถเป็นด่านแรกที่ช่วยประเมิน เลือกใช้ยาในการรักษา ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคตาแห้ง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการโรคตาแห้งรุนแรงไปรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย บทความจะเน้นถึงสาเหตุการเกิดโรคตาแห้ง อาการแสดงทางคลินิก การวินิจฉัยโรคตาแห้ง และการรักษาโรคตาแห้งด้วยการใช้ยา

คำสำคัญ: โรคตาแห้ง, แนวทางการรักษา, น้ำตาเทียม

Link to Academic article: แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้ง

Quick View