การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา THE CONSTRUCTION OF A HARMONIOUS SOCIETY BY MULTIDISCIPLINE : A CASE STUDY ON MISUNDERSTANDING BETWEEN CITIZENS AND THE STATE OFFICERS IN RAMAN DISTRICT, YALA PROVINCE
เจ้าของผลงาน : ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง
บทคัดย่อ : งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จากปัจจัยด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางรัฐศาสตร์เกิดมาจากการเป็นรัฐอิสระที่รุ่งเรืองในอดีต มีความเชื่อพระเจ้าของศาสนาอิสลาม การปกครองยึดถือคำสอนของศาสนาอิสลามเป็นหลัก ด้านเศรษฐศาสตร์ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและการทำประมง อาศัยป่าและทะเล หรือแหล่งน้ำในการดำรงชีวิตที่พอเพียงเลี้ยงชีพได้ด้านสังคมวิทยาพบว่า ประชาชนในอำเภอรามัน จังหวัดยะลาส่วนใหญ่เป็นอิสลามมาเลย์ใช้ภาษายาวี การศึกษาได้ช่วยการหล่อหลอมความเชื่อทางศาสนา การที่รัฐมีนโยบายที่เอื้อต่อคนส่วนน้อยที่เป็นไทยพุทธและคนจีนทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนส่วนใหญ่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนวทางแก้ไขจึงควรสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกัน โดยการจัดระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ : สมานฉันท์ สหศาสตร์ รามัน ยะลา
Abstract : The Construction of Harmonious Society by Multidiscipline : The research entitled “A Case Study on Misunderstanding between Citizens and the State Officers in Raman District, Yala” is aimed to study misunderstanding between citizens and the state officers with to factors in relation to political science, economics, and sociology, and to study means to build a harmony community in Raman district, Yala province. The research employed both quantitative and qualitative approaches. This study reveals misunderstanding with regard to factors in political science – since the inhabitants built their first homes in Pattani, this township was an independent city state and ruled by a monarchy system still lingers. Its rulers were Islamic and had their faith in the power of God, i.e. Allah. In the matter of economy, most of them had careers in agriculture, raised livestock and fishery. Upon the geographical factors, they had forests, mountains and water supplies from rivers, ponds and lagoons in addition to the sea. Their resources thus were plentiful and wel supportive to plant farming. They relied on sufficiency way of life; and relied on nature. The people’s livelihood in the three southern most provinces was a truly integration among people of al ethnic origins. However, the majority of them have been Islamic Malays. Their faith is Islam and their spoken language is Yawee which is the local Malay dialect. Their education has put a stress on religious studies, and they have their mosque as centre of their religious practices. The minority of the residents have been Buddhist Thais and Chinese. They have their monasteries and shrines as their religious and are educated according to the system provided by the Ministry of Education.
Keywords : Harmonious, Multidiscipline, Raman Yala
Download PDF : การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
Publication : กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 13 ฉบับที่ 23 ม.ค.-มิ.ย. 2555 Cultural Approach Vol.13 No.23 Jan-Jun 2012
Link to Publication: https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2012-vol13-no23-jan-jun/
Bibliography : สมหมาย จันทร์เรือง. (2555). การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. กระแสวัฒนธรรม, 13(23), 3-17.
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม