การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.[/mfn]   การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร  Communication of Lines to Indicates the Goodness and Badness of Selected Cartoon Characters

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข

บทคัดย่อ                :  การวิจัยนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการสื่อความหมายเชิงสัญญะ ความหมายอันเกิดจากลักษณะการใช้ลายเส้นที่ประกอบสร้างกันจนเกิดความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนในบริบทที่ต่างกัน โดยมุ่งเน้นการศึกษาการใช้ลายเส้นในการออกแบบ เพื่อสื่อความหมายในตัวการ์ตูนดีและร้าย ที่มีบริบท (Context) ต่างกัน เป็นการ์ตูนจาก 4 ประเทศคือ ประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการคัดสรรค์ตัวการ์ตูน ดีและร้าย มาวิเคราะห์ในเชิงสัญญะ ผู้วิจัยนำตัวการ์ตูนทั้งสองฝ่ายมาถอดแบบวิเคราะห์เพื่อหาข้อเปรียบเทียบกันว่ามีการใช้ลักษณะลายเส้นอย่างไร  ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ลายเส้นจากตัวการ์ตูนทั้ง 5 เรื่อง โดยนำตัวการ์ตูนมากรื้อสร้าง (deconstruction) จากรูปร่าง มาเป็นรูปทรง จนถึงลายเส้น เพื่อสืบค้นหา สัญญะ (Sign) ลักษณะของลายเส้น (Line) ในการออกแบบตัวการ์ตูน เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเนื้อเรื่อง (Text) สืบหาถึงมายาติ (Myth) ของการ์ตูนแต่ละประเทศ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรในบริบท (Context) ของเนื้อเรื่องการ์ตูน และ บริบทของประเทศนั้น ๆ การสื่อความหมายของลายเส้นในการ์ตูนไทย การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่งเศส นั้นมีการใช้ลักษณะลายเส้น (Line) และภาพฝังใจ (Stereotyping) ที่คล้ายกันคือตัวการ์ตูนที่ดีจะใช้เส้นโค้งมากส่วนตัวการ์ตูนร้ายจะใช้เส้นตรงแนวตั้ง เส้นตรงแนวเฉียง เป็นส่วนมาก ไม่แตกต่าง ตัวการ์ตูนดีจะตัวเล็กกว่าตัวที่ร้าย จะแตกต่างก็เพียงในเรื่องของการวางเนื้อเรื่องที่มีผลตัวตัวการ์ตูนนั้น ๆ นั่นเป็นเพราะการ์ตูนทั้งสองเรื่องมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมีบริบท (Context) ที่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อการสื่อความหมายของการ์ตูน

Abstract               : The study samples herein are good and evil characters chosen from 5 comic books from 4 different countries of origin; Thailand, Japan, France and USA. The drawing of each character is deconstructed to investigate the sign and the characteristic of lines used in character design. The deconstruction of the line drawing and the text narration are analyzed by researcher to investigate the myth behind the comic from each country in order to understand the background
of the myth in the Context of the comic and the culture in which it is created.

Download PDF :  การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร 


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 20 ปี 2560   Siam Communication Review Vol.16 N20 2017

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-2017-vol16-no20/

Bibliography     :ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

ผลงานวิชาการอื่นๆ  :    รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ

ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.

ศิริชัย ศิริกายะ และ กฤษณ์ ทองเลิศ. (2560). ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 7-10.

ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.

ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.

ศิริชัย  ศิริกายะ, สุธี พลพงษ์ และ เจตน์จันทร์ เกิดสุข. (2560). จังหวะของการสื่อสารในรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีเกมส์โชว์ที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 57-65.

ศิริชัย ศิริกายะ. (2559). ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 15(19), 7-9.


วารสารนิเทศสยามปริทัศน์  Siam Communication Review 

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
โทร.0-2867-8088, 0-2868-6000 ต่อ 5409
แฟกซ์ 0-2457-3982, 0-2467-3174
E-mail: siam.communication.review@gmail.com