การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

1ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2558). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 45-62.   การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง


ABSTRACT

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อศึกษาแนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขงวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษากรณีศึกษา (Case study) คือ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา การวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก อภิปรายกลุ่ม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การใช้เทคนิคการศึกษาการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง – ล้านนา ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ (1) การก่อรูปกระบวนการเรียนรู้ ของคน กลุ่มคน ชุมชน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ  (2) การเชื่อมร้อยเครือข่ายการเรียนรู้ภายในลุ่มน้ำ (3) การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในลุ่มน้ำ และ (4) การโยงใยเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างลุ่มน้ำ 2) แนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง  ประกอบด้วย (1) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างผู้กระทำการ (2) แนวทางการเรียนรู้ในการปฏิบัติการ (3) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างพื้นที่ทางสังคมและ (4) แนวทางการเรียนรู้ในการสะสมและแสวงหาทุน

The aims of this research are to 1) analyze the learning process of the new social movement in natural resource management in the Mekong river basin, and     2) to identify the guideline learning process of the new social movement in the Mekong basin natural resource management. Qualitative methodology was employed in collecting data by using a case study for understanding the phenomena of the Mekong river basin. The research methods included in-depth interviews, focus group discussions, participant observations, non-participant observations, and a rapid rural appraisal.

The research outcomes can be summarized as follows: 1) the learning process of the Mekong – Lanna natural resources and cultural conservation network and the new social movement in the Mekong Basin natural resource management has four models of learning: (1) the formation process group learning of communities in the watershed area. (2) the joining networks of learning within the watershed   (3) the creating learning spaces in the watershed and (4)networked learning between watershed; 2) the guideline learning process of the new social movement in the Mekong Basin natural resource management has four guidelines. (1) Learning to create an agency (2) learning in action (3) learning to create social spaces and  (4) learning to accumulate social capital.