Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation (2017)
Title : Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation
Researcher : Tomorn Sunthornnapha
Department : Department of Electrical Engineering, Siam University
E-mail : tomo.soo@siam.edu
Abstract : This paper presents a reliable energy baseline model for self-benchmarking evaluation of energy saving potential by using multilayer perceptron (MLP) method. The measured energy data and product quantities of the sample plant in daily period dating back since 2011 to 2016 are used as variables and then normalized to represent the energy baseline (EnB) of the manufacturing plant. A comparison of MLP and linear regression (LR) methods for creating the baseline model is investigated during the factory expansion capacity. For LR method, we use the ASHRAE Guideline 14-2002 as a reference in recommended values for modeling uncertainty. As the uncertainty problem, the LR method is more sensitivity to the outliners, because the nature of plant variables has more complexity and nonlinearity. So we introduce the MLP method to solve or reduce the effect of nonlinearity by supervised learning in the short-term and long-term period of the production. For simulation results, in short-term period the LR method demonstrates some better results of uncertainty parameters. However, the proposed MLP with LR method can build a
reliable baseline showing in better R-square values than LR method. This is useful for energy evaluation when the plant is expanding capacity to protect misleading interpretation occurring during the year. For long-term period, the MLP method can overcome the LR method in all uncertainty parameters. Therefore, the MLP method may be able to the alternative choice for creating the EnB in nonlinearity circumstances of the plants for short-term and long-term period.
Keywords : energy conservation; uncertainty; energy baseline; multilayer perceptron; linear regression
Download PDF: Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation
Link to Conference: 2017 4th International Conference on Power and Energy Systems Engineering, CPESE 2017, 25-29 September 2017, Berlin, Germany
Bibliography : Sunthornnapha, T. (2017). Utilization of MLP and Linear Regression Methods to Build a Reliable Energy Baseline for Self-benchmarking Evaluation. In 2017 4th International Conference on Power and Energy Systems Engineering, CPESE 2017, 25-29 September 2017. Berlin: Germany.
Whole-genome single nucleotide variant phylogenetic analysis of Mycobacterium tuberculosis Lineage 1 in endemic regions of Asia and Africa (2022)
Title : Whole-genome single nucleotide variant phylogenetic analysis of Mycobacterium tuberculosis Lineage 1 in endemic regions of Asia and Africa
Researcher : Netikul, T.,[mfn]1[/mfn] Thawornwattana, Y., Mahasirimongkol, S., …Chongsuvivatwong, V., Palittapongarnpim, P.
Department : 1Faculty of Medicine, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : med@siam.edu
Abstract : Mycobacterium tuberculosis (Mtb) lineage 1 (L1) contributes considerably to the disease morbidity. While whole genome sequencing (WGS) is increasingly used for studying Mtb, our understanding of genetic diversity of L1 remains limited. Using phylogenetic analysis of WGS data from endemic range in Asia and Africa, we provide an improved genotyping scheme for L1. Mapping deletion patterns of the 68 direct variable repeats (DVRs) in the CRISPR region of the genome onto the phylogeny provided supporting evidence that the CRISPR region evolves primarily by deletion, and hinted at a possible Southeast Asian origin of L1. Both phylogeny and DVR patterns clarified some relationships between different spoligotypes, and highlighted the limited resolution of spoligotyping. We identified a diverse repertoire of drug resistance mutations. Altogether, this study demonstrates the usefulness of WGS data for understanding the genetic diversity of L1, with implications for public health surveillance and TB control. It also highlights the need for more WGS studies in high-burden but underexplored regions.
Link to Academic article: https://www.nature.com/articles/s41598-022-05524-0
Journal : Scientific Reports,
Bibliography : Netikul, T., Thawornwattana, Y., Mahasirimongkol, S., Yanai, H., WinMaung, H. M., Chongsuvivatwong, V.,… Palittapongarnpim, P. (2022). Whole-genome single nucleotide variant phylogenetic analysis of Mycobacterium tuberculosis Lineage 1 in endemic regions of Asia and Africa. Scientific Reports, 12(1), 1565.
Womens Health & Nutrition 2020 (2019)
Title : Womens Health & Nutrition 2020
Researcher : Duangkamol Viroonudomphol
Department : Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : v_duangkamol@yahoo.com
Journal : Journal of Diversity & Equality in Health and Care, 16(5), 2019
Link to Full-Text PDF: https://diversityhealthcare.imedpub.com/pstrongwomens-health-amp-nutrition-2020strongp.pdf
Bibliography : Viroonudomphol, D. (2019). Homocysteine, Womens Health & Nutrition 2020. Journal of Diversity & Equality in Health and Care, 16(5), 1-3.
กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมือง บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
[mfn]ปอรรัชม์ ยอดเณร และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมือง บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 45-56.[/mfn] กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมือง บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ปอรรัชม์ ยอดเณร และ ชนิตา รักษ์พลเมือง
Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang
การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ
Title : การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ : Pathway towards Sustainable University: Policy and Practice of Siam University
Researcher : 1.ศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2.อาจารย์สุวิจักขณ์ บุญมี, 3.อาจารย์นารี รมย์นุกูล และ 4.อาจารย์ประพันธ์ จันทร์เสมา
Department : 1.ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์ประจำสาขาวิชาสันติภาพการศึกษาและการทูต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขต
ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
2.ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
3.ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
4.ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
E-mail : ผู้นำเสนอผลงาน praphan5@hotmail.com
บทคัดย่อ : ความยั่งยืน เป็นนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยสยามโดยได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินโครงการทั้งในระดับท้องถิ่น และนานาชาติในด้านวิชาการได้มีการปรับปรุงรายวิชาการศึกษาทั่วัไปโดยเปิดรายวิชาที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเปิดรายวิชา 100-101 หลักเศรษฐศาสตร์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรายวชิาหลักสำหรับนักศึกษา การเรียนการสอนในรายวิชานี้ไดรับการปรับปรุงเป็นระยะโดยปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) โดยให้ผู้รียนทำโครงการที่จะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รอบมหาวิทยาลัยในเขตภาษีเจริญตามนโยบาย “Sustainable University, Sustainable District” ส่วนในด้านการวิจัยและบริการสังคมได้สนับสนุนโครงการที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน อาทิการจัดตั้งศูนย์วิจัย เพื่อพัฒนาชุมชนที่มีความมุ่งหมายจะพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ และได้มีการสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทำงานแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ส่วนในระดับนานาชาติมหาวิทยาลยัสยามได้ร่วมกบั Asia e University เป็นผู้นำในการก่อตั้ง ACD University Network (ACD-UN) ซึ่งได้มีการตั้งเครือข่ายการวิจัยหรือ ACD Research Network โดยมีเครือข่ายการวิจัยหนึ่งคือ เครือข่ายการวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คําสําคัญ : มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสยาม นโยบายแนวปฏิบัติ
Bibliography : ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุวิจักขณ์ บุญมี, นารี รมย์นุกูล และ ประพันธ์ จันทร์เสมา. (2559). การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนประเทศไทย The1″ Annual Conference of Sustainabel University Network of Thailand “Sustainable Practice on higher Education Conference”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Conference : การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนประเทศไทย The1″ Annual Conference of Sustainabel University Network of Thailand “Sustainable Practice on higher Education Conference” เมื่อวันที่ 28 และ 29 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้อง 411 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
Link to Conference: http://www.sunthailand.org/news/new-sun-591128.html
Download PDF : การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ
การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด (2562)
Title : การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด
Researcher : วิภาวัลย์ นาคทรัพย์, ยงยุทธ นาราษฎร์, พกิจ สุวัตถิ์ และ นลินรัตน์ วิศวกิตติ
Department : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : wipavan.nar@siam.edu,yongyuth.nar@siam.edu
Bibliography : วิภาวัลย์ นาคทรัพย์, ยงยุทธ นาราษฎร์, พกิจ สุวัตถิ์ และ นลินรัตน์ วิศวกิตติ. (2562). การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 (หน้า 51-60). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ
Title : การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ : Screening and Morphology Characterization of Thermophilic and Halophilic Bacteria from Low Sodium Fish Sauce
Researcher : ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์* และ ณฐมล จินดาพรรณ
Suppanat Hwangrungruangkij, Pacharawat Dilokpatwanich, Ampun Chaikulsareewath* and Nathamol Chindapan
Department : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : *ผู้ประสานงานหลัก: ampun.cha@siam.edu
บทคัดย่อ : ในกระบวนการผลิตน้ำปลาโซเดียมต่ำด้วยวิธีการแยกสารผ่านด้วยเยื่อไฟฟ้าระดับห้องปฏิบัติการ มีความจำเป็นต้องให้ความร้อนกับน้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการกำจัดเกลือ ก่อนการบรรจุขณะร้อนในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้อง อย่างไรก็ตามหากต้องการผลิตในเชิงการค้า จำเป็นต้องทราบชนิดและการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่จะใช้เป็นดัชนีกำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคัดแยกและแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้นของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูงจากน้ำปลาโซเดียมต่ำรวมทั้งศึกษาการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ โดยทดลองให้ความร้อนแก่น้้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 90 องศา
เซลเซียส เป็นเวลา 25 นาที จากนั้นนำมาคัดแยกแบคทีเรียด้วยวิธี Pour plate บนอาหารแข็ง Plate Count Agar (PCA) ซึ่งเติมเกลือให้มีความเข้มข้นร้อยละ 3, 5, 14 และ 18 และบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จากการทดลองพบโคโลนีเดี่ยวของแบคทีเรียแตกต่างกัน 3 สายพันธุ์ เจริญได้บนจานเพาะเชื้อ PCA ที่เติมเกลือความเข้มข้นร้อยละ 3 เท่านั้น เมื่อนำมาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาโดยวิธีการย้อมสีแบบแกรมและย้อมสีเอนโดสปอร์ พบว่าแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ ติดสีแกรมบวก มีลักษณะท่อน และสามารถสร้างเอนโดสปอร์ได้ นอกจากนี้พบว่าแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีค่า D75 , D85 และ D95 เท่ากับ 34.38, 27.03 และ 11.19 ตามลำดับ และมีค่า Z เท่ากับ 40.98
คําสําคัญ : น้ำปลาโซเดียมต่ำ แบคทีเรียชอบเกลือ แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง
Abstract : In low-sodium fish sauce production using electrodialysis (ED) in the laboratory-scale, it is necessary to heat the lowsodium fish sauce at temperature 100o C for 10 minute, to destroy microorganism contamination during ED desalination before hot filling in a sealed container, to obtain the shelf stable low-sodium fish sauce. However, if scale-up to the commercial production, it should to know a type and thermal resistance of bacteria used as index for processing establishment.The objective of this research was to study screening and morphology characterization of thermophilic halophilic bacteria from low-sodium fish sauce, and their thermal resistance was also investigated. The low-sodium fish sauce was heated at temperature 90o C for 25 minute. The bacteria were then isolated from the heated low-sodium fish sauce by pour plate on plate count agar (PCA) with salt concentration of 3%, 5%, 14% and 18%, and incubated at temperature 55 o C for 24-48 hour. The result showed that bacteria only grow in PCA with 3% salt concentration, which could be identified in three different single colony of bacteria. Studying morphology of isolated bacteria by Gram staining and endospore staining, they were Gram-positive bacteria, had rod shape and endospore. Moreover, D75 D85 D95 values of one bacteria were equal to 34.38, 27.03 and 11.19 respectively and Z-Value was equal to 40.98.
Keywords : Low sodium fish sauce, Halophilic bacteria, Thermophilic bacteria
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2558). การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 487-493). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก (2559)
Title : การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก : Financial liquidity Management for SMEs Entrepreneurs in World Economic Crisis
Researcher : สุรชัย ภัทรบรรเจิด
Surachai Pattarabanjird
Department : Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : spsmart99@hotmail.com
บทคัดย่อ : บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ สถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันในการวางแผนและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการจ้างงาน การเชื่อมโยงการค้ากับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และการกระจายความเจริญไปยังส่วนภูมิภาคโดยได้กล่าวถึงแนวทางในการนำองค์ความรู้ในการบริการสภาพคล่องทางการเงินในด้านการบริหารเงินสดและการบริหารทุนหมุนเวียนไปปฏิบัติ นอกจากนี้ได้กำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิกฤติภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นมากว่า 20 ปี วิกฤติการณ์ทางการเงินในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2540 วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี พ.ศ.2551วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซ ในปี พ.ศ. 2554 วิกฤติเศรษฐกิจของตลาดหุ้นของจีน ในปี พ.ศ. 2557 และวิกฤติภาวะค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2557 วิกฤติการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs โดยผลกระทบที่สำคัญ คือ ผลกระทบต่อการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ต้องประสบปัญหาในการดำเนินกิจการและบางรายต้องเลิกกิจการไปในที่สุด
ดังนั้นการให้องค์ความรู้ในทางปฏิบัติได้จริงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการจัดการสภาพคล่องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการบริหารเงินสดโดยการเร่งเงินสดรับเข้า ชะลอการจ่ายเงินสดและการดำรงรักษาเงินสดขั้นต่ำการบริหารทุนหมุนเวียนผ่านแนวนโยบาย 3 รูปแบบ คือ 1. นโยบายแบบสมดุล 2. นโยบายแบบระมัดระวัง และ 3. นโยบายแบบกล้าเสี่ยง ในขณะที่สถาบันการเงินและหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะต้องมีมาตรการและนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย นโยบายด้านภาษี และมาตรการในการสร้างความเข้มแข็งในระยะยาวอื่นๆ เช่น การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs การจัดหาแหล่งทุน การสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้และนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวให้เติบโตอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
คำสำคัญ : ผู้ประกอบการ SMEs, วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลก, การจัดการสภาพคล่อง, การบริหารเงินสด, การบริหารทุนหมุนเวียน
Abstract : The objective of this paper was to find a guideline for SMEs entrepreneurs, LEs entrepreneurs, financial institutions and related government sectors to help SMEs. SMEs are crucial mechanisms to develop Thais economy especially employment, trade networking with LEs entrepreneurs and spread prosperity to regional area. This paper acknowledged SMEs entrepreneurs about financial liquidity management especially on cash management and working capital management. Moreover, it also suggested policy planning for LEs entrepreneurs, Financial institutions and Government sectors in order to assist SMEs entrepreneurs.
World economic crises occurred several times such as the deflation crisis in Japan occurred for more than 20 years, Financial crisis in Thailand in 1997, and the sub-prime crisis in U.S.A in 2007, the public debt crisis in Greece in 2011, the capital market crash in China in 2014 and the Ruble crisis in Russia in 2014. These crises, therefore, have caused severe impacts to many Thai entrepreneurs, especially to SMEs. The major impact was the problem of financial liquidity that caused SMEs to shut down their businesses.
Hence, providing practical knowledge to SME entrepreneurs for managing their liquidity both cash management and working capital management was important. For cash management, this paper recommended to accelerate cash-inflow, decelerate cash-outflow and maintain minimum cash balance, and for working capital management, the paper suggested three policies; 1. Hedging, 2. Conservative, and 3. Aggressive. Simultaneously, the financial institutions and the government sectors must also offer entrepreneurs policies or measures of assistance through interest rate policy, tax policy, and long term strengthening measures namely; building SMEs networking, fund raising for SMEs, and innovation for SMEs by way of R&D policy. All of these policies and measures will promote and strengthen SMEs of Thai entrepreneurs to be able to compete in the world market, and drive Thai economy to grow securely and sustainably.
Keywords : SMEs entrepreneurs, world economic crises, financial liquidity, management, cash management, working capital management
Publication : วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 MBA-KKU Journal Vol.9 No.1 Jan-Jun 2016
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/issue/view/5998
Bibliography : สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 281-303.
การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (2559)
ชื่อบทความ : การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : Achieving a Holistic Approach in Stroke Rehabilitation
เจ้าของผลงาน : วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด
หน่วยงาน : อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : wattaneedavis@hotmail.com
บทคัดย่อ : การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบองค์รวมและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการฟื้นฟูสภาพ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพอัมพฤกษ์-อัมพาต และปฏิบัติธรรมวัดทุ่งบ่อแป้น ซึ่งนอนพักที่วัด มีญาติให้การดูแล และยินดีเข้าร่วมการวิจัย จ านวน 10 ราย ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า วิธีการดูแลแบบองค์รวมจากกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ดำเนินการมีลำดับการให้ผลต่อความก้าวหน้าในการฟื้นฟูสภาพ ดังนี้คือ การฟื้นฟูสภาพตามแนวแพทย์แผนปัจจุบัน การดูแลของบุคคลในครอบครัวหรือญาติ การเยี่ยมตรวจรายวันของพยาบาล การฟื้นฟูสภาพด้านภูมิปัญญาไทย บรรยากาศและสภาพแวดล้อม โดยผู้ป่วยรับรู้ต่อวิธีการดูแลแบบองค์รวมว่า การทำกายภาพบำบัดช่วยให้สภาพร่างกายมีการทรงตัวและเคลื่อนไหวดีขึ้น การตรวจเยี่ยมรายวันของพยาบาล ช่วยเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองและการประเมินความก้าวหน้าของการฟื้นฟูสภาพ การแช่น้้ำสมุนไพรอุ่นๆ และการนวดประคบ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การเดินบ่อเลนช่วยเพิ่มกำลังขา การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจเริ่มเห็นผลหลังจากผู้ป่วยเข้ามาบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ทั้งด้านการสื่อสาร การช่วยเหลือตนเอง การได้สวดมนต์ และปฏิบัติธรรมประกอบกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติช่วยให้จิตที่ยังดิ้นรนระส่ำระสาย ลดการปรุงแต่ง สงบและเข้มแข็งมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพพบว่า เพศชายมีการฟื้นฟูสภาพทางกล้ามเนื้อดีกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงมีพฤติกรรมในการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยดีกว่าเพศชาย ด้านอายุพบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของระบบประสาท เนื่องจากการงอกของเซลล์ประสาทที่ดีเพื่อทดแทนส่วนที่บาดเจ็บและการเชื่อมต่อลดน้อยลง ผู้มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรคมากขึ้น ด้านระดับการศึกษาพบว่า ผู้มีระดับการศึกษาสูงจะมีการแสดงออกถึงการใช้เหตุผลเพื่อยอมรับการเจ็บป่วยมากกว่า ด้านรายได้ครอบครัวพบว่า ความพร้อมทางการเงินทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลต่อการจะถูกครอบครัวทอดทิ้ง และมีพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสมมากขึ้น
คำสำคัญ : การฟื้นฟูสภาพโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลแบบองค์รวม
Abstract : This qualitative study aimed to study the holistic approach and the factors of stroke rehabilitation that affecting the development in physical, mind, environment and soul of the stroke patient. The data was collected during April and May 2014 in observation and interview with ten stroke patients who were willing and accepted this inspection. All patients with caring of their family members, they stayed over and taking treatment at Wat Thungbopean. The data analyze is using the content analysis as the domain. The result found that activities organized by the Centre improves stroke patients from five different factor: improving according to the modern medication, nurture by family members and relative, daily visiting by the nurse, Thai traditional treatment and atmosphere and environment.Physiotherapy respond in improving balance and movement of the body. A daily visiting by the nurse empower the patient’s spirit as well as patients’ relative in self-help and analyze the progress of treatment. The herbs which applied along with massaging in Thai-traditional manner as well as body-soaking in warm-water relax, release and active the muscles and blood-circulation. Practice of walking in muddy field helps in stimulating the energy and action of legs. The better changes in body and mind can be noticed in patients who are taking treatment more than a month at the Centre. Communication skill, self-help, praying and meditation in a good and natural environment help to find the peace of mind. The results of the treatment found: muscle development in male-gender is more effective than the female-gender, but the reaction of behavior-adaption is more improved in female- gender. The age factor is one of domain in development of nervous system, as the young-age patient; dendrite can grow and develop better than the aged patient. A good and cheerful spirit of the patients made and encouraged by the support and relationship of their family members. The literacy patients cantake more reasons to support themselves, as well as a well financial support from family builds a confidence to successful treatment.
Keywords : Holistic approach, Stroke rehabilitation
Donwload PDF : การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Publication : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559 APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016
Link to Publication: http://apheit.bu.ac.th/index.php?id=159
Bibliography : วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด. (2559). การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 70-78.
การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (2566)
ชื่อบทความ : การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Title : A Follow up study of the development of nurse educators for rational drug use instruction in the Bachelor of Nursing Science Program
ผู้เขียน/Author : ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์, ศุกร์ใจ เจริญสุข, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, นฤมล อังศิริศักดิ์* , กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ
Researcher : Laddawon Vaisurasingha, Sukjai Charoensuk, Kanoklekha Suwannapong, Ladda Leungratanamart, Naruemol Angsirisak* , Kamolrat Turner and Suntharawadee Theinpichelts
Department : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม : https://e-research.siam.edu/kb/a-follow-up-study/
Link to article : วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2566 | Bcnnon Health Science Research Journal Volume 17 No.3: September – December 2023 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265518/180224
Link to Published: วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดนนทบุรี / TCI 1
Bibliography : ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์, ศุกร์ใจ เจริญสุข, กนกเลขา สุวรรณพงษ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, นฤมล อังศิริศักดิ์, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และ สุนทราวดี เธียรพิเชฐ. (2566). การติดตามผลการพัฒนาอาจารย์พยาบาลด้านการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(3), 54-64.