การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต

 

Title              :  การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต : Development of Test for Static Coefficient of Friction

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์
Kanit Thongpisisombat and Phuttatida Chaisawas

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : phuttatida.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต โดยมีอัตราความเร็วในการดึงคงที่ 1 มิลลิเมตรต่อวินาทีควบคุมความเร็วโดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์กับชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ IM483 เชื่อมต่อกับเกียร์ทด 15:1 และต่อกับระบบ linear motion ซึ่งประกอบด้วยบอลสกรูยาว 1 เมตร ซึ่งมีระยะเกลียว 8 มิลลิเมตรต่อรอบ เพื่อใช้เป็นชุดกําลังในการดึง ชุดทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตประกอบด้วยโต๊ะทดสอบติดตั้งอยู่ในแนวราบและมีตัวเลื่อน โดยโต๊ะ และตัวเลื่อนติดตั้งกับพื้นผิววัสดุทดสอบ 3 คู่: หนังกับโลหะ, หนังกับไม้ และหนังกับพลาสติก ในการอ่านค่าแรงเสียดทานมีโหลดเซลกับเครื่องสเตรนอินทรูเมนต์ตรวจวัดค่าแรงและแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอลในหน่วยนิวตัน โดยค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างหนัง PU กับไม่มีค่าสูงสุดและหนัง PU กับพลาสติกมีค่าต่ําสุด โดยมีค่า 0.7514 และ 0.3022 ตามลําดับ

คําสําคัญ             :  ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ไมโครคอนโทรเลอร์ ชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ โหลดเซล

Abstract            :  In this research design and construct a testing machine to measures the static coefficient of friction by using constant pull speed 1 mm per second, speed controlled by microcontroller with IM483 high performance microstepping driver, a stepper motor combined with mechanical gear ratio 15:1 and linear motion has ball screw length 1 m pitch 8 mm/rev was used to transfer the pull energy. The coefficient of friction test fixture consists of a fixed horizontal table and a moveable sled. Both the table and sled can be covered with three pairs of test material: leather and metal, leather and wood, leather and plastic respectively. The friction force data reading from the load cell during the test with strain instrument display the Newton unit. For Polyurethane and wood showed the highest static coefficient of friction was 0.7514 and the lowest was 0.3022 for Polyurethane and plastic.

Keywords        :    the static coefficient of friction, microcontroller, microstepping driver, load cell


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4  The 4th Academic Science and Technology Conference 2016 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (Science Technology and Innovation creating Nation and Future) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙  ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (หน้า 582-585). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.


Quick View

การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม : Online Classroom Web Application Development: A Case Study in the Department of Computer Science, Siam University

Researcher       :  ธนาภรณ์ รอดชีวิต และ เฉลิมวุธ เที่ยงตรง

Thanaporn Rodcheewit and Chaloemwoot Thiangtrong

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  thanaporn.rod@siam.edu

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบดังกล่าว โดยระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยามนั้น อาจารย์ผู้สอนจะทำการเช็คชื่อเข้าเรียนโดยการเรียกชื่อผู้เรียน และทำการบันทึกลงกระดาษรายชื่อของแต่ละรายวิชา การสั่งงานเป็นการสั่งภายในห้องเรียนให้ผู้เรียนเขียนบันทึกลงกระดาษ หรือส่งเป็นดิจิตอลไฟล์ผ่านช่องทาง DropBox หรือ Google Drive เป็นต้น ไม่มีแหล่งในการจัดเก็บการสั่งงานแต่ละชิ้นงานที่ได้มอบหมาย โดยในการทวนคำสั่งของอาจารย์บางครั้งพูดไม่เหมือนเดิมทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจผิด และผู้เรียนไม่สามารถทราบคะแนนการบ้านและรายงานของตน หรือช่องทางในการสนทนาระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา โดยเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นสื่อกลางระหว่างอาจารย์และผู้เรียน โดยมีฟังก์ชันการทำงานระบบสามารถเช็คชื่อจากการเข้าใช้ระบบของผู้เรียน อาจารย์สามารถสั่งรายงาน การบ้าน และตรวจงานได้ สามารถแจ้งคะแนนให้ผู้เรียนทราบผ่านระบบ รวมถึงมีการสื่อสารผ่านกระดานสนทนาภายในเว็บโดยแบ่งกลุ่มตามรายวิชาที่ผู้เรียนลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา พัฒนาด้วย ภาษา PHP HTML JavaScript ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver cs6 บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วย phpMyAdmin บริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา MySql ผลการดำเนินงานเมื่อให้ผู้ใช้งานทดลองใช้ พบว่าระบบสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดไว้ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์ผู้สอนจำนวน 1 คน ผู้ดูแลระบบ จำนวน 1 คน และผู้เรียน จำนวน 28 คน มีระดับความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

คําสําคัญ             :  ห้องเรียนออนไลน์ เว็บแอปพลิเคชั่น การเรียนการสอน

Abstract            :  The purpose of this research is to develop web application system for an online classroom using a case study in the department of Computer Science of Siam University, and to evaluate user’s satisfaction for the system. For the teaching system in the Department of Computer Science, Siam University, instructors normally have checked the students’ names and recorded them in a paper list of each course. Additionally, work order was done within the classroom. Then, the students would write their assignments in papers which were sent as digital files via Drop Box or Google Drive. There were no sources for storing work orders. Sometimes, the work orders of the instructors were not the same for each time. This led to the misunderstanding for students. In addition, the students could not either know scores of their assignments or have communicating paths between students and instructors for each subject. Online classroom application could increase efficient communicating paths between instructors and students. In the application system, there was many functions such as name-check, assignment order, score report and communicating path for students enrolled in each semester. This application was developed by PHP, HTML and JavaScript languages using Adobe Dreamweaver CS6, database management with phpMyAdmin applications, as well as data management with MySql language. After trial using this application, results indicated that the system could work well according to the specified functions. Assessment of system proficiency in various areas using questionnaires evaluated by 1 teacher, 1 administrator and 28 students. The result revealed the average score of satisfaction is 4.02, which is regarded as a high level.

Keywords        :    Online Classroom, Web Application, Learning and Teaching


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  ธนาภรณ์ รอดชีวิต และ เฉลิมวุธ เที่ยงตรง. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 496-IT 507). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน

 

Title              :  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน : Developing a Web Application for Measuring Aptitude

Researcher       :  นัดชพร นิลสระคู¹ อมรชัย ตันติเมธ² วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์³

Department     :  ¹บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
²บัณฑิตวิทยาลัย สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
³บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                :

บทคัดย่อ             :  เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับวัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือในกำรวัดความถนัดในการเรียน และ ความชอบในอาชีพของบุคคล เพื่อใช้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแต่ละคน เว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับ วัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 และ บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม MySQL โดย วัดความถนัดทางการเรียน ด้วยแบบทดสอบ แบบเลือกตอบ จำนวน 15 ข้อ แต่ละข้อจะมีตัวเลือกตอบ 6 ตัวเลือก ตามหลักแนวคิดของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ซึ่งแต่ละตัวเลือกจะถูกแปลผลออกมาเป็นบุคลิกภาพใน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝัน กลุ่มที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาและความคิดทางวิชาการ กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพที่ชอบสมาคมสังคมกับผู้อื่น กลุ่มที่ 5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิด กล้าท ำ กลุ่มที่ 6 บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน จกกผลการทดสอบ จำนวน 90 คน พบว่า มีความถูกต้อง 85.56%

คําสําคัญ             :  เว็บแอพพลิเคชั่น, ความถนัดทางการเรียน

Abstract            :  In this research, we developed a Web application as an effective tool to measure aptitude (or competency) of users based on the learning and career preferences of individuals matched with their personality type. The proposed Web application for measuring aptitude was developed through Adobe Dreamweaver CS6 and MySQL (as a database administration framework). The competency evaluation exam consists of 15 multiple-choice questions, each of which has six choices (as categorized and suggested by John L. Holland). Each of the choices is corresponding to a single type of human personality, which can be divided into six different groups: 1) realistic, 2) investigate, 3) artistic, 4) social, 5) enterprising, and 6) conventional. In our experiments, 90 people from various professions were randomly selected and tested; and the results were 85.56% correct.

Keywords        :    Web Application , Measuring aptitude

Download PDF:  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน


Proceeding       : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย” ศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1-1 ชั้น 1 (อาคารสนม สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    นัดชพร นิลสระคู, อมรชัย ตันติเมธ และ วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย (หน้า 234-247). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


Quick View

การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู

 

Title              :  การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูDevelopment of Certification in Knowledge and Teaching Experiences for Teaching Profession

Researcher       :  รศ.ดร. จอมพงศ์ มงคลวนิช Jomphong Mongkhonvanit
Department      :  รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                 :

Abstract             :  The study features development of certification in knowledge and teaching experiences for teachers to receive a teaching license given by the Teacher’s Council in Thailand. The objectives of this study are 1) to survey the Teachers’ Council of Thailand’s operations to certify knowledge and teaching experience to receive the teaching license, and 2) to provide recommendations to improve such policy and operation. The study has employed the quantitative research method to survey the operations and situations on such certifications and the qualitative research method in making recommendations to improve such certifications. The population in this study includes 1) the Teachers’ Council Committee members, 2) rofessional Standard Committee members, 3) Teachers’ Council Executives, 4) Deans of Faculties of Education, 5) Thai and foreign teachers, and 6) public and private school administrators. Simple random sampling was employed for the sampling group of 1,200 teachers holding a teaching license. This study finds challenges in the procedure and coordination in transferring knowledge; the application, complexity, length and duration of testing; and the different standards for training. Regarding certification of teaching experiences, the study finds limitation in teachers’ and schools’ compliance to regulations of the Teachers’ Council, while there are different standards for evaluating teaching experiences. In addition, the study suggests development of: 1) knowledge standard in the teaching profession, 2) certification of knowledge for teaching professionals through transferring, testing and training especially standard of testing’s arrangement, questions and evaluation. and 3) certification of teaching experiences for teaching professionals through the development of evaluation, information system, monitoring system and teaching mentoring system.

Key words         :  TEACHING PROFESSION / CERTIFICATION / KNOWLEDGE / TEACHING EXPERIENCE / DEVELOPMENT


Publication        : วารสารครุศาสตร์  ปีที่ 42 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2557  Journal of Education Studies  Vol.42 No.4 Oct-Dec 2014

Link to Publication:    https://tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/issue/view/3018

Bibliography     :  จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2559). การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์,  42(4), 31-42. 


Quick View

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

[mfn]มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(1), 81-96.[/mfn]   การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ



Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

[mfn]มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(13), 45-58.[/mfn]   การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ



Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View
วารสารปัญญาภิวัฒน์-ปีที่5-ฉบับที่2-มค-มิย-2557

การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร แบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพการให้บริการและการสื่อสารแบบปากต่อปากตามทัศนะของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของไลเคิร์ท จำนวน 44 ข้อ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA) ด้วยวิธี Stepwise นำไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้คุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และการต้อนรับของโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับสมการปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน คือ

การสื่อสารแบบปากต่อปาก = .308พนักงานต้อนรับ+.231การบริการชำระเงิน+.169การดูแลห้องพักผู้ป่วย+.144การบริการของแพทย์ +.144การเข้าพักในโรงพยาบาลเอกชน+.108การบริการด้านอาหาร;

R2 = 0.658, SE = 0.378

คำสำคัญ : การรับรู้คุณภาพการให้บริการ การสื่อสารแบบปากต่อปาก โรงพยาบาลเอกชน

ABSTRACT

The purposes of this research were (1) to study the perceived quality of services and word of mouth communication by users to the private hospitals (2) to study factors that influence word of mouth communication of the services available to private hospitals. Samples consisted of patients who were admitted in private hospitals listed the Stock Exchange of Thailand. Sampling was done of 400 people. The anonymous questionnaires of forty four items of five-point likert scale. The data received were calculated and analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation) and inferential statistics ANOVA and Multiple Regression Analysis (MRA). The researchers used the statistical package of social science (SPSS) for windows.
The results of the study showed that samples with the perceived service quality in the field of medical services and hospitality of a private hospitals and acceptance were high level.
The equation for factors was influencing word of mouth communication of private Hospitals. Listed below
Word of Mouth =.308(Receptionist)+.231(Payment)+.169(Housekeeping)+.144(Physician) +.144(Admission) +.108(Food); R2 = 0.658, SE = 0.378.

Keywords :  Perceived Service,  Word of Mouth communication,  Private Hospitals


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร แบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 16-29.

Quick View

การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

[mfn]ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2559). การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง. วารสารครุศาสตร์, 44(2), 202-219.[/mfn]   การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี (2561)

ชื่อบทความ       : การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี 

Title              : Stroke warning signs perception, self-care behaviors and family support between controlled and uncontrolled hypertensions in the responsible area of Bang Krai Nai Sub-District Health Promoting Hospital, Nonthaburi Province

ผู้เขียน/Author  : อ.รัฐกานต์ ขำเขียว และ ดร.ชนิดา มัททวางกูร 

Researcher       : Rutttakarn Kamkhiew & Chanida Mattavangkul

Department     : Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            :   The present study was aimed to compare the perception of stroke warning signs, blood pressure behavior and family support among controlled and uncontrolled hypertensive patients in the responsible area of Bang Krai Nai Sub-District Health Promoting Hospital, Nonthaburi Province. 230 simples who were diagnosed hypertension at least one year were collected from June 2016 to May 2017. Only 210 question-naires were collected. The instruments used in data collection included demographic data form, perception of stroke warning signs, blood pressure controlled behavior and family support. Cronbach’s alpha correlation coefficient analyses revealed that the reliability of the instrument was 0.89. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The study findings showed that the controlled and uncontrolled hypertensive groups had high and moderate level of perception of stroke warning signs (x= 3.50, SD = 1.28; x= 3.26, SD = 1.13), respectively, both of them had lowest level of diet-risk behavior (x= 1.22, SD = 0.28; x= 1.37, SD = 0.33, respectively), had moderate and low level of exercise behavior (x= 2.79, SD =1.22; x= 2.28, SD = 0.97), respectively, had high and moderate level in stress management behavior (x= 3.75, SD = 0.72; x= 3.49, SD = 0.70), respectively, both of them had high level of drug-intake behavior and medical follow-up (x= 4.11, SD = 0.58; x= 3.96, SD = 0.58, respectively) and had high and moderate level in family support (x= 3.63, SD = 1.61; x= 3.32, SD = 1.24), respectively. Furthermore, the findings revealed that the perception of stroke warning signs, drug-intake behavior and medical follow-up and family support were not significantly different from the uncontrolled group at 0.05 (p= 0.158, 0.066 and 0.060, respectively). While the diet-risk behavior, exercised behavior and stress management behavior in controlled group were significantly different from the uncontrolled group at 0.05 (p= 0.000, 0.014 and 0.007, respectively). Thus, health personnel should continuously motivate the hypertensive patients to have proper diet-behavior, exercise behavior and stress management, especially in uncontrolled hypertensive patients.

Keywords        : erception of stroke warning signs, lood pressure controlled behaviors, amily support, hypertensions

Donwload PDF  : 

Link to Published: วารสารควบคุมโรค  ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 เม.ย. – มิ.ย. 2561


Bibliography     :  รัฐกานต์ ขำเขียว และ ชนิดา มัททวางกูร. (2561). การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี. วารสารควบคุมโรค, 44(2), 130-144.


 

Quick View

การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

[mfn]ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 32-44.[/mfn]   การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View