การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2: A Study of the Relationship Between the Participative Managementin Academic Task and the Achievement of Students in Basic Education Institutions Under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2

Researcher       : กนกรัตน์ ทำจะดี¹ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์²

Department     :  ¹นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
²อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  love_mom_dad333@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูฝ่ายวิชาการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกเจาะจงสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนละ 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสำหรับครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนละ 1 คน โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนละ 2 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ             :  การบริหารแบบมีส่วนร่วม งานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

Abstract            :  The objective of this research was to 1) study the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. 2) study the relationship between the participative management in academic task and the achievement of students in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. Representative sample groups were 86 schools which consisted of the administrators and the teachers in Academic departure by Purposive sampling for the administrators in each school and Simple random sampling for the teachers which were calculated by the proportion were 293 teachers. Data was gathered by questionnaires about Participative Management of Cohen and Uphoff and analyzed by descriptive statistic methods which were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation and Pearson‘s Correlation Coefficient.
The study could be concluded as follow 1) the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 were of a high level in overall: Participation in involvement benefits, Participation in evaluation, Participation in decision and Participation in operation. 2) the relationship between the participative management and the achievement of students in Basic Education Institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 had the relationship and a statistically significant level at .01

Keywords         :  Participative management , Academic task , the achievement of students

Download PDF:  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  กนกรัตน์ ทำจะดี และ สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 748-756). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม: The Study of Relationship Between High School Physics Grade Point Average, High School Grade Point Average and Academic Achievement of Pharmacy Students, Siam University.

Researcher       : เอื้ออารี กัลวทานนท์ Aue-aree Kanvatanond

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ที่ลงทะเบียนในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 จํานวน 49 คน เครื่องมือที่ใช์ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกประวัตินักศึกษา และ แบบทดสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = -0.053, p = 0.717 และ r = -0.131, p = 0.369 ตามลําดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = -0.027, p = 0.855 และ r = -0.027, p = 0.852 ตามลําดับ)

คําสําคัญ             :  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา

Abstract            :  The objectives of this research were investigated the relationship between high school physics grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average. Furthermore it investigated the relationship between high school grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average. The population was 49 pharmacy students who enrolled General Physics 1. Instruments used for the research were personal data questionnaire and examination paper in General Physics 1. The statistics used for analysis were arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that there were no correlation between high school physics grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = -0.053, p = 0.717 and r = -0.131, p = 0.369 respectively) and there were no correlation between high school grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = -0.027, p = 0.855 and r = -0.027, p = 0.852 respectively).

Keywords        :    Pearson’s product moment correlation coefficient, High school physics grade point averages, High school grade point averages, Examination scores, University grade point average.

Donwload PDF  :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 17-22). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : The study of relationship between high school substance science learning group grade
point average and learning achievement of pharmacy students, Siam University.

Researcher       : เอื้ออารี กัลวทานนท์* และ สรัญญา ชมฉัยยา
Aue-aree Kanvatanond* and Sarunya Chomchaiya

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ที่ลงทะเบียนในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกประวัตินักศึกษา และ แบบทดสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = 0.010, p = 0.945 และ r = -0.004, p = 0.977 ตามลำดับ)

คําสําคัญ             :  ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา

Abstract            :  The objectives of this research were investigated of the relationship between learning group’s substance science grade point average in high school and examination scores in General Physics 1 and grade point average in university. The population was 49 pharmacy students who enrolled General Physics 1. Instruments using for the research were personal data questionnaire and examination paper in General Physics 1. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that there were no correlation between high school substance science grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = 0.010, p = 0.945 and r = -0.004, p = 0.977 respectively).

Keywords        :    high school substance science learning group grade point average, examination scores, and university grade point average.

Donwload PDF  :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 67-70). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.


 

Quick View

การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด

 

Title              :  การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด : Study on Types and Contents of Biopolymers for Encapsulation and Diffusivity Coefficient of Mangosteen Pericarp Extract

Researcher       :  ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Nuttaphon Kajornboon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tunyaporn.sir@siam.edu

บทคัดย่อ             :  เปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นแหล่งสารแซนโทน (Xanthones) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระทางธรรมชาติที่สูง แต่เนื่องด้วยประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสามารถเกิดการเสียสภาพและลดลงได้ด้วยแสงหรือความร้อน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาการกักเก็บสารสำคัญโดยใช้เทคนิคการเอนแคปซูเลชันด้วยการห่อหุ้มสารสำคัญไว้ภายในโครงสร้าง โดยศึกษาการห่อหุ้มสารไบโอพอลิเมอร์ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมอัลจิเนต และ เวย์โปรตีน โดยแ ปรผันอัตราส่วนระหว่าง โซเดียมอัลจิเนต : เวย์โปรตีน เท่ากับ 100:0, 50:50, 62:38 และ 0:100 ในระบบอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (o/w) โดยใช้น้ำมันงาม้อนซึ่งเป็นวัฏภาคน้ำมัน โดยพบว่าไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ของค่าความคงตัวในทุกสิ่งทดลอง โดยให้ค่าความคงตัวสูง ไม่เกิดการแยกชั้นแล้วทำการเตรียมเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากเปลือกมังคุดแบบอนุภาคทรงกลม (Spherical) จากการศึกษาประสิทธิภาพในการปลดปล่อยพบว่า เมื่ออัตราส่วนของเวย์โปรตีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปลดปล่อยของสารสกัดจากเปลือกมังคุดลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชนิดและอัตราส่วนของสารไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้มีส่งผลต่อการกักเก็บและควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญในโครงสร้างไว้ได้

คําสําคัญ             :  สารไบโอพอลิเมอร์, เวย์โปรตีน, โซเดียมอัลจิเนต, เอนแคปซูเลชัน, สเฟียริคอล

Abstract            :  Mangosteen pericarp (Garcinia mangostana Linn.) is a source of xanthones, which are high efficiency of natural antioxidant. However, xanthones can be degraded due to light and heat. Therefore, the improvement or development of encapsulation using different types and contents of biopolymers was conducted in the present study. The objective of this study was to investigate stability of emulsion (oil-in-water emulsion) systems with the different types of two biopolymers (sodium alginate and whey protein concentrate) at different ratios (100:0, 50:50, 6 2 :3 8, and 0 :1 0 0), which was showed no significantly (p>0.05) effect of emulsion stability and encapsulation efficiency. In the present study, perilla oil was used as a disperse phase, while mangosteen pericarp extract was sensitive ingredient dissolve in perilla oil. Sodium alginate used as a carrier for spherical encapsulation showed low encapsulation efficiency, while whey protein showed high encapsulation efficiency observed from the k value. This study indicated that biopolymer types and biopolymer contents used resulted in encapsulation efficiency and control-release of encapsulation systems. 

Keywords        :    Biopolymer, Whey Protein, Sodium Alginate, Encapsulation, Spherical


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 515-519). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ

 

Title              :  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ: The study of learning achievement in physics on sound and hearing of the first year nursing students, Siam University by audio-visual material of instruction method and regular classroom method.

Researcher       :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา

Department     :   ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :   aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุและจากการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอยั่งที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ในปีการศึกษา 2558 จํานวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องเสียงและการได้ยิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจงแจงแบบที ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่สอนแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ             :   การสอนโดยใชโสตทัศนวัสดุการสอนแบบปกติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract            :  The purposes of this research were to study the pre and post physics learning achievement, sound and hearing, of first year nursing students who were taught by audio-visual material of instruction method and regular classroom method. The samples were 102 of the first year nursing students who enrolled Physics for nurses in 2015 academic year. Instrument using for the research was pretest-posttest about sound and hearing. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study show that (1) post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by audio-visual material of instruction method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. (2) Post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by regular classroom method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. And (3) physics learning achievement, sound and hearing, of audio-visual material of instruction method was higher than learning achievement of regular classroom method at the 0.01 level of significance.

Keywords         :   Audio-visual material of instruction method, Regular classroom method, Learning achievement


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 116-117). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.[/mfn]  การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

ชนิตา รักษ์พลเมือง, ศาสตราจารย์ ดร., สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร., รังสรรค์ มณีเล็ก, ดร., เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ศาสตราจารย์ ดร.


 Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง

 

Title              :  การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง : The study design and construction of a engineering model railway system is useful as the comparison and decision making for the future railway transportation system project

Researcher       : จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว* และ สุดาพร อร่ามรุณ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: green.days@hotmail.co.th

บทคัดย่อ             :  แบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้าได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการสาธิตเชิงแนวคิดในการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบราง
ระบบรถไฟฟ้าได้ถูกศึกษาออกแบบ และสร้างเป็นแบบจำลองขึ้นมา สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ 1) รถไฟฟ้าที่ถูกขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ประเภทหมุนรอบตัวเองแบบดังเดิมหมุนล้อรถที่เกี่ยวข้องให้วิ่งไปบนรางเดินรถและ 2) รถไฟฟ้าที่ถูกขับดันโดยมอเตอร์ประเภทเชิงเส้นแบบด้านเดียวชนิดขดลวดปฐมภูมิสั้นสมัยใหม่ซึ่งไม่มีส่วนหมุนที่จะหมุนล้อรถ ผลการศึกษาพบว่า ระบบรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ประเภทเชิงเส้นฯ มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทั้งถูกต้องและทันสมัย สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโครงการดังกล่าวสามารถนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ในโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบรางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง

คําสําคัญ             :   ระบบรถไฟฟ้า, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทหมุนรอบตัวเอง, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทเชิงเส้น

Abstract            :  The engineering model railway system is useful as the conceptual demonstration in the consideration of the comparison and decision making for the future railway transportation system project. The railway system can be studied, designed, constructed and proposed into 2 systems: 1) the railway system using classical rotating motor to rotate its associated wheels on the railway, and 2) the railway system using modern single-sided short primary linear induction motor with no rotating part to rotate such wheels on the railway. The results showed that railway system using modern single-sided short primary linear induction motor levels are highly energy efficient. And the operating costs are lower. This important, accurate and up to date information can be used as a model that is useful in terms planning and decision-making for executives who are functionally related and responsible for the high investment rail transit systems projects. 

Keywords        :     Railway Systems, Rotary Type Motor, Linear Type Motor

Download PDF:   การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง


Conference   : งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2) วันที่ 26-28 สิงหาคม 2558  ณ ณ โรงแรม ท็อปแลนด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), มหาวิทยาลัยนเรศวร, Korean Railroad Research Institute (KRRI), National Research Council of Science & Technology และหน่วยงานเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ 

Link to Website:   https://www.thairailtech.or.th/

Bibliography     :    จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว และ สุดาพร อร่ามรุณ. (2558). การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง. ใน งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2). พิษณุโลก: สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.


 

Quick View

การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

 

ชื่อเรื่อง              :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา: Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์ และ นายณัฐพล อภินันทโน

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ โครงสร้างจุลภาคคอนกรีตผสมน้ำยางพาราความสามารถในการเทได้ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และการดูดซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%,3%, 5%, 10% และ 15% (โดยน้ำหนัก) อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 และทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตระยะเวลา 28 วัน พบว่าคอนกรีตผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% มีคุณสมบัติทางกลดีได้ค่ากำลังรับแรงอัด 244 กก./ซมกำลังรับแรงดึง 35 กก./ซมโมดูลัสความยืดหยุ่น 46 กก./ซมการดูดซึมน้ำร้อยละ 1.0 จากผลการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการจึงแนะนำให้ใช้อัตราส่วนผสมคอนกรีตสำหรับนำไปใช้งานในการหล่อคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยใช้น้ำยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 1% (โดยน้ำหนัก) สำหรับปูนซีเมนต์ 50 กก. (1 ถุง) ประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ ดังนี้ ทราย 135 กก. หินกรวด 148 กก. น้ำ 29.67 กก. และน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ 0.83 กก. การศึกษาวิจัยภาคสนามได้พัฒนาคูส่งน้ำผสมน้ำยางพาราแบบสำเร็จรูปและแบบดาดในที่ติดตั้งในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร ซึ่งมีขนาดของก้นคูส่งน้ำ 0.40 ม. สูง 0.30 ม. และความหนา 0.07 ม. การติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคูส่งน้ำในพื้นที่แปลงนา พบว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาจะไหลได้สะดวกและเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมจึงทำให้ประสิทธิภาพการชลประทานเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ                :   คูส่งน้ำชลประทาน, น้ำยางพารา, คอนกรีต, ชลประทานไร่นา


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ ณัฐพล อภินันทโน. (2561). การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View

การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 175-193.[/mfn]   การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา

ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย

 

Title              :  การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย: The Creation of Pha Yok Melody through the Thai Silk Weaving

Researcher       :  ดร.อังคณา ใจเหิม
Department     :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  godspeedang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประพันธ์บทลำนำ ทำนองเพลงผ้ายก และสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสรรค์บทเพลง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางคศิลป์ไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สร้างสรรค์งานโดยศึกษาวิธีทอ ลวดลาย ตลอดถึงความเกี่ยวข้องในการทอผ้ายก นำมาประพันธ์บทเพลงโดยใช้วิธีการประพันธ์ แบบอิสระ เป็นการคิดและประดิษฐ์ทำนองขึ้นใหม่ สอดแทรกสำเนียงดนตรีท้องถิ่นของภูมิภาค ผลงานการประพันธ์เพลงผ้ายก เป็นเพลงสำเนียงใต้ตอนล่าง การดำเนินทำนองมีการใช้ลูกล้อและลูกขัด เสมือนไหมเส้นยกกับเส้นข่ม สลับล้อขัดกันไปมาจนเกิดลวดลายตลอดผืนงานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ไทยและหัตถกรรมไทย เรียบเรียงการแปรทำนอง การสร้างแนวทำนองประสานเสียง โดยยึดหลักความสัมพันธ์ของเสียง มีการแบ่งหน้าที่การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีในรูปแบบใหม่ เอกภาพของบทเพลงมีรูปแบบจังหวะและรูปแบบทำนองที่สอดคล้องกับวิธีการทอผ้ายก และเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงสื่อสำเนียงของความเป็นเอกลักษณ์ถิ่น

คำสำคัญ             :  การสร้างสรรค์ ทำนองเพลง ผ้ายก เส้นไหม

Abstract            :  This research is a qualitative research. The objectives are (1) to compose the fabric Yok song (2) to develop a body of knowledge in song creation. In this research, sample group is composed of Thai silk experts in Thai Regions. Interviews and questionnaires are employed in data collection. Investigation of the method of each type of silk weave, pattern and interrelation between the method and pattern contributes to song composition with free composition technique which is applied for music innovation infiltrated by its local accent. It is found that fabric Yok song whose accent is Lower Southern, whose melody proceeds with rolling and skipping rhythm technique like silk line lift and sink staggering to create a complete fabric design. This research is a combination of Thai musical performance and Thai manufacture, which is composed of melody translation, melody coordination with sound relation principle, innovated pattern musical instrument coordination for melody procession, and unity of song created by harmony between the rhythm and melody patterns and the silk weave techniques and musical instruments used to convey their local identities.

Keywords         :  Creation, Melody, Fabric Yok, Silk


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  อังคณา ใจเหิม. (2560). การสร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงผ้ายกผ่านการทอเส้นสายลายไหมไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1003-1019). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View