คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก

 

Title              :  คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก : Properties and efficacy of pectin from kaffir lime peel extracted with citric acid

Researcher       :  ทิพย์ธิดา หนูทรัพย์, ภัสราภรณ์ ขาวพุ่ม, จิตติประภา พรมดี และ ปิยนุสร์ น้อยด้วง

                                 Tiptida Nusap, Passaraporn Kaopoom, Jittiprapa Promdee and Piyanoot Noiduang
Department     :  หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   piyanoot.noi@siam.edu

บทคัดย่อ             :   ในงานวิจัยนี้ ศึกษาการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูดด้วยน้ำกลั่น และกรดซิตริก ความเข้มข้นต่างๆ เป็น 4 ระดับ คือ ร้อยละ 5, 10, 20 และ 30 โดยน้ำนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรดซิตริกในการสกัดเพคตินมากขึ้น จะทำให้มีร้อยละของผลผลิตที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำกลั่น และสมบัติทางเคมี-กายภาพของเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่นและกรดซิตริกที่ความเข้มข้นต่างๆ พบว่ามีค่าน้ำหนักสมมูลร้อยละของเมทอกซิลระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชัน และปริมาณกรดกาแลคทูโรนิก มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่น มีค่าน้ำหนักสมมูลและปริมาณกรดกาแลคทูโรนิกสูงสุด และมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรดซิตริก และเพคติน ที่สกัดด้วยน้ำกลั่นและกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 และ 10เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลสูง ส่วนเพคตินที่สกัดด้วยกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 20 เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลต่ำ และพบว่าเพคตินที่สกัดด้วยน้ำกลั่นจะได้เจลที่มีความคงตัวและมีความแข็งมากที่สุดในขณะที่การเพิ่มความ
เข้มข้นของกรดซิตริกมากขึ้นจะได้เจลที่มีความแข็งน้อยลง

คําสําคัญ             :  เพคติน, เปลือกมะกรูด, กรดซิตริก

Abstract            :  This research studied on extraction of pectin from kaffir lime peel with distilled water and citric acid with four levels of concentration (5, 10, 20 and 30%, w/v) at 90C for 1 hour. The results showed that increasing concentration of citric acid for extraction increased %yields as compared to the extraction by distilled water. The physical and chemical properties of pectin extracted with distilled water and citric acid at different concentrations. The results showed that the equivalent weight, methoxy, the degree of esterification and the amount of galacturonic acid were different. The pectin extracted by distilled water had the highest equivalent weight and galacturonic acid content; however, these values decreased with increasing citric acid concentration. Pectin extracted with distilled water and citric acid at concentrations of 5 and 10% (w/v) was the high methoxyl pectin, while pectin extracted with citric acid at concentration of 20 (w/v) was the low methoxyl pectin.The results indicated that the pectin extracted with distilled water provided highly stable and hardened gel, while increasing citric acid concentration provided a weaker gel.

Keywords        :   pectin, kaffir lime peel, citric acid


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  ทิพย์ธิดา หนูทรัพย์, ภัสราภรณ์ ขาวพุ่ม, จิตติประภา พรมดี และ ปิยนุสร์ น้อยด้วง. (2561). คุณสมบัติและประสิทธิภาพของเพคตินจากเปลือกมะกรูดที่สกัดด้วยกรดซิตริก. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า AS 241-AS 246). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View
คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อเรื่อง              :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม พันเอก ผศ.ดร.ชวน จันทวาลย์, นายสมพร พิบูลย์

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  การสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (2) การประยุกต์ใช้น้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง และ (3) ศึกษาการรั่วซึมน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา โดยมีวัตถุประสงค์จัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างสระน้ำโดยใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราเพื่อให้กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์และขยายผลในพื้นที่ต่อไป

คำสำคัญ                :   คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง, คอนกรีตผสมน้ำยางพารา, สระน้ำต้านภัยแล้ง


Website               :  ศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

                                   http://www.thai-explore.net/search_detail/result/4620

Download PDF :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ สมพร พิบูลย์. (2560). โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).


Quick View

คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP

Title: คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP

อาจารย์ผู้สอน:   อาจารย์ อรนุช อินทวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม


[dflip id="8161"][/dflip]

Bibliography :   อรนุช อินทวงศ์. (2567). คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View

นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (2560)

Title              : นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ : DIVIDEND POLICY FOR SMEs ENTREPRENEURS IN ECONOMIC CRISIS SITUATION

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ ผลกระทบต่อ SMEs อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และผลกระทบที่สําคัญ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ดังนั้นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทําให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการและยังคงถือหุ้นของ SMEs ต่อไป

ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นปันผลทั้งในและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในระยะยาว หุ้นปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าตลาด และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนตํ่า และผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุน ในพันธบัตรระยะยาว ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน นอกจากนี้อัตราเงินปันผลตอบแทนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง ดังนั้นหุ้นปันผลจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สําหรับนโยบายการจ่ายปันผลสําหรับผู้ประกอบการ สามารถจําแนกได้เป็น  1) นโยบายการจ่ายปันผลปกติ (Regular dividend policy) 2) นโยบายการจ่ายปันผลคงที่ ( ั Stable Dividend Policy) 3) นโยบายการจ่ายปันผลไม่คงที่ (Irregular Dividend Policy) 4) นโยบายการไม่จ่ายปันผล (No Dividend Policy) และ 5) นโยบายการจ่ายปันผลแบบกําหนดสัญญาระยะกลางหรือระยะยาว (Medium-WHUP DQG /RQJ-WHUP & RQWUDFWHG ‘LYLGHQG 3ROLF\) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่สําหรับผู้ประกอบการ SMEs อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ โดยมีข้อดีที่สําคัญ เช่น ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการ  SMEs ของไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดํารงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนําเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง เป็นต้น

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs นโยบายการจ่ายปันผล ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นปันผล

Abstract            :  World Economic Crisis has been an effect to Economic Crisis in Thailand from past to present time. These economic crises have a huge impact to Thai entrepreneurs especially SMEs entrepreneurs that has more than 90% of Thai entrepreneurs. These crises make a loss to SMEs entrepreneurs and has an impact to decrease return to equity (ROE) that come from unable to pay dividend. So in these crises, SMEs entrepreneurs must have a plan for dividend policy that will make a confident for its enterprises and shareholders.

Research studies on dividend payment in Thailand and other countries show that stock dividend is a good investment during economic crises especially in the long-term, stock dividend can pay return more than market return. Dividend yield from stock has a greater yield than longterm bond, treasury bill and money market instrument. So investment in stock dividend is a suitable and interesting for a medium-term and long-term investment during economic crises situation.

Dividend policies for SMEs entrepreneurs can be categorized in five approach ; 1) Regular Dividend Policy 2) Stable Dividend Policy 3) Irregular Dividend Policy 4) No Dividend Policy and 5) Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy, the new idea for SMEs entrepreneurs that cannot pay dividend during economic crisis but do not has a critical impact to stock price. This dividend policy has many advantages for SMEs entrepreneurs during economic crisis such as, decrease cash dividend for SMEs entrepreneurs, keep financial liquidity for SMEs entrepreneurs, SMEs entrepreneurs can use capital for another investments and Decrease shortterm debt.

Keywords         :  SMEs Entrepreneurs, Dividend Policies, Economic Crises, Stock Dividend

Download PDF:  นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


Publication        : วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Modern Management Journal Vol.15 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   http://sms-stou.org/pr/index.php/th/?option=com_boonbooks&actiontype=tableofcontents


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2560). นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารการจัดการสมัยใหม่,  15(1), 23-34. 


Quick View

บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต (2562)

ชื่อบทความ       : บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต

Title              : The nurse’s role in end-of-life care in newborn infants

ผู้เขียน/Author  : พุทธวรรณ ชูเชิด, เฟื่องสุข ไพศาลกอบฤทธิ์ และ นิสาพร สลางสิงห์

Researcher       : Puthawan Choocherd PhD*, Fueangsuk Paisankobrit MS*, Nisaporn Salangsing MS*

Department     : *Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            :  Introduction: The prematurity newborn infants have the highest death rate in the pediatric population. The death pattern of the newborn infants up to 45 percent to 90 percent is due to withdrawing or withholding life sustaining treatment. The professional nurses should be provided the best possible quality of life for the newborn infants to die peacefully including providing an appropriate family support during that time.
Objective: This article aim to present the newborn infants in the end of life with a life-limiting condition. Nurseûs role in neonatal palliative care and family support in accordance with laws and biomedical ethics.
Methodology: Review articles
Results: The professional nurses are the key players in the provision of neonatal palliative care because most newborn infants die in the hospitals. Neonatal palliative care should be tailored to the different needs and desires of each family as well as to preserve the dignity and humanity of the newborn infants until death. The Nursing roles are using the simple and direct communication, encouraging families to decide to accept or reject palliative care, accepting the families to take off the ventilators and funeral arrangements. Including taking care
of the familyûs grief from the loss after the newborn has passed away.
Conclusion: Neonatal nurses should have a positive attitude towards caring for newborn infants in the end of life and also remains legally and ethically working.

Keywords        : newborn infants, end-of-life care, neonatal palliative care, nurseûs role


Link to Published: วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.2562


Bibliography     : พุทธวรรณ ชูเชิด, เฟื่องสุข ไพศาลกอบฤทธิ์ และ นิสาพร สลางสิงห์. (2562). บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายของชีวิต. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 15(2), 69-81.


 

Quick View

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า

 

Title              :  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า: Unlawful Act in Contravention of Administrative Contract by a Public Officer: The Case of the Licensing for the Installation of Wind Generators on Sor Por Kor (Agricultural Land Reform) Land

Researcher       :  อาจารย์ ลัดดาวัลย์ อุทัยนา
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  laddawanuthaina@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายถึงการปรับปรุงสภาพการถือครองที่ดิน สถาบันทางการเกษตร สถาบันสนับสนุนการบริการทางการเกษตรและสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท โดยมีภาระกิจการจัดขนาดการถือครองที่ดินให้เพียงพอแก่การครองชีพ การปรับปรุงระบบการเช่าที่ดินมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกินไป และให้ความมั่นคงในการถือครองที่ดินตลอดจนการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และเกษตรกรรม ปรับปรุงการใช้แรงงานในการเกษตรและส่งเสริมองค์ความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ การจัดระบบภาษีที่ดิน การให้สินเชื่อเพื่อเกษตรกรรม การรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์เพื่อการเกษตรและการครองชีพ การจัดการอุตสาหกรรมในชนบทและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร รวมตลอดถึงการพัฒนาการศึกษาและสาธารณะประโยชน์ต่างๆในชนบทด้วย ดังนั้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ต่างก็มีภารกิจในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้การดำเนินการของฝ่ายปกครองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ ในเอกชนผู้เข้าร่วมดำเนินการทางปกครองหรือตกอยู่ภายใต้การดำเนินการทางปกครอง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้น อาทิเช่น คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญาทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า กรณีเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับบริษัทเอกชนได้ยื่นคำขอรับการจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อดำเนินการกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งในคดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิเคราะห์ว่าการดำเนินการของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงหลักการและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีของศาล ว่าเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครองและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือไม่ อย่างไร

คำสำคัญ             :   การติดตั้งกังหันลมในที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

Abstract            :  Agricultural land reform refers to the development in land usage and ownership, the process of which is undertaken by various agricultural, agricultural services, and other relevant rural development agencies. Their missions comprise of as follows: reallocation of land occupation for the purpose of ensuring subsistence; regulation of land leasing for the purposes of preventing unfair practices, and ensuring security in land occupation; consolidation of land to promote agricultural and dwelling uses; improvement in the use of labour in agriculture; provision of support in accumulating body of knowledge concerning new agricultural plan; restructuring of land tax and agricultural loans; provision of support for the establishment of agricultural cooperatives; regulation of industrial works in rural area; distribution of agricultural products; and improvement of educational system and provision of public utilities in rural area. The Land Agricultural Reform Act B.E. 2518 (1975) along with its amendments are one of the various body of laws whose common objective concerns reform to agricultural land. It follows, therefore, that the works undertaken by administrative agencies pursuant to the aforementioned laws are imperative in establishing the trust and confidence between the public sector and the private organisations who participate in administrative process or whose undertakings are regulated by administrative law. However, such environment may create disputes. The Supreme Administrative Court’s Judgement No. Or.1728/2559 (2016) concerning the issue of permission granted by public officers for the establishment of a wind farm on Sor Por Kor (Agricultural land reform) land is one example of such. The ruling involves the application from a private firm for the usage of Sor Por Kor (Agricultural land reform) land to establish a wind farm for the purpose of generating electricity redundant. The case raises interesting issues for the purposes of analysing the law fulness of the Agricultural Land Reform Office (ALRO)’s acts; and the Court’s reasoning, particularly whether the Court’s ruling follows administrative law. Future, consideration is whether such activity is consistent with the intention of the law on agricultural land reform.

Keywords         :   The establishment of a wind farm on Sor Por Kor (agricultural land reform) land

Download PDF:  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  ลัดดาวัลย์ อุทัยนา. (2560). บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1232-1250). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง: Application of Rubber Latex and Soil Cement Develop Drought Relieving Water Pond

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และน้ำยางพารา โดยทำการทดสอบกับตัวอย่า่งดินลูกรังที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ น้ำ อัตราส่วน 5 : 2 : 1 โดยใช้ปริมาณน้ำยางพารา 5% , 7.5% , 10% และ 12.5% ของปริมาณน้ำ โดยปริมาตรการทดสอบคุณสมบัติทางกลของตัวอย่างชิ้นงานที่ระยะบ่ม 28 วัน ประกอบด้วยกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของปริมาณน้ำ ที่ใช้ผสมดินซีเมนต์อายุการบ่มที่ 28 วัน ให้คุณสมบัติทางกลดีที่สุด ได้แก่ ด้วยกำลังรับแรงอัด 84 ksc กำลังรับแรงดึง 19 ksc กำลังรับแรงดัด 8.75 ksc และร้อยละการดูดซึมน้ำ 6.23% ตามลำดับ ดังน้ันการปรับปรุงดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของน้ำที่ใช้ผสมดินซีเมนต์ให้ค่าคุณสมบัติด้านวิศวกรรมดีที่สุด ได้นำผลการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการไปทดสอบการใช้งานภาคสนามโดยการก่อสร้างสระน้ำ ดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพาราร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และหลังจากก่อสร้างสระน้ำแล้วเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำ ในช่วงฤดูแล้งได้

คำสำคัญ                :   คุณสมบัติทางกลดินซีเมนต์, น้ำยางพารา, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สระน้ำ


Publication: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2561  Engineering Journal Chiang Mai University Vol. 25 No.2 May-Aug 2018

Link to Publication:  http://researchs.eng.cmu.ac.th/?name=journal&file=readjournal&id=37

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน. (2561). ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(2), 170-180.


Quick View

ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย

 

Title              :  ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย: Efficiency of Total Quality Management in Thai Iron Foundry Organizations

Researcher       :  ดร.บุรินทร์ สันติสาส์น
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  burin007@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจาก โรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็ก ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภาคกลาง ที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทโรงงานหล่อหลอมเหล็ก เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรต้น ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารในองค์การ และความผูกพันกับองค์การ สามารถพยากรณ์ตัวแปรตาม คือประสิทธิภาพการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของโรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คําสําคัญ             : ประสิทธิภาพ  การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ  โรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทย

Abstract            :  The objective of the study was to study factors affecting efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations. The study employed quantitative research. The research instrument was questionnaire collected from 268 cases. The statistical techniques utilized to analyze data included mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regressions (Enter method). The results showed that the independent variables included Leadership, Organization culture, Customer relation management, Team work, Organization communication and Organization commitment could predict the dependent variable, efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations, at statistically significant level of .01.

Key words        :   Efficiency, Total Quality Management, Thai Iron Foundry Organizations


Publication      : วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1  ตุลาคม 2557 – มกราคม 2558  Journal of Social Academic  Vol.8 No.1  2015

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/issue/archive


Bibliography   :  บุรินทร์ สันติสาส์น. (2558). ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 29-47.


Quick View

ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : Saving Factors for After Retirement Planning Affect Saving Behaviours of People in Bangkok

Researcher       :  ชลธิชา มูลละ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  memory_may34@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accident Sampling) จํานวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.5 (294 คน) และ 26.5 (106 คน) ตามลําดับ มีอายุ 31-40 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64 (256 คน) และส่วน ใหญ่สมรสแล้วที่ร้อยละ 43.5 (174 คน) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดคือ มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 37.5 (150 คน) มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 57.8 (231 คน) โดยพฤติกรรม การออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุทั่วไป พบว่า ระยะเวลาการออมอยู่ในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44.5 (178 คน) จํานวนเงินออมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,001-5,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.3 (189 คน) และมีวัตถุประสงค์การออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรและตนเอง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.3 (201 คน) และนิยมรูปแบบการออมในแบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.5 (206 คน) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านรายได้มีผล ต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออมอย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติ (Significant .002) แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านรูปแบบการออม (Significant .255) วัตถุประสงค์การออม (Significant .176) และระยะเวลาการออม (Significant .137) ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมมีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออม (Significant .000) และด้านระยะเวลาการออม (Significant .003) อย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติในทางกลับกัน ปัจจัยการออม เพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนใน
กรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์การออม (Significant .453) และด้านรูปแบบการออม (Significant .226) ตามลําดับ

คําสําคญั              : ปัจจัยการออม พฤติกรรมการออม กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The objectives of this study were 1) to study saving for retirement plans of individuals in Bangkok and 2) to study the saving for retirement plan factors affecting savings behavior of people in Bangkok. The tool used in this research was questionnaire. The 400 samples were selected based on accident sampling. From the results, it was found that most respondents were female at 73.5 % (n=294) and male at 26.5% (n=106), most were between 31- 40 years at 64 % (n= 256), and most were married, 43.5 % (n= 174), most had monthly income more than 30,000 THB 37.5 % (n=150). The majority of those who worked were private company staffs at 57.8 % (n= 231). Concerning general saving for retirement plan, it was found that the time period for savings in the range of 1-5 years was the most at 44.5 % (n= 178), the savings at an average of 1001-5000 THB per month was the most at 47.3 % (n= 189), the intention for the savings to be used for the cost of their children education and their own spending at 50.3 % (n= 201), and the most popular form of savings was Provident fund at 51.5% (n= 206). From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .002, but did not affect the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of form of savings with statistical significance at .255, the intention for the savings with statistical significance at .176, and savings period statistical significance at .137, respectively. From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .000 and savings period with statistical significance at .003. Conversely, saving for retirement planning, life and savings products did not affect the savings of people in Bangkok in the savings with statistically significant at .453 and form of savings with statistically significant at .226, respectively.

Key words         :  Saving Factors, Savings Behavior, Bangkok


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     : ชลธิชา มูลละ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A61-A69). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร : Factors of Production to Enhancement of Garment for Exports in Bangkok

Researcher       :  นางสาวสาวิตรี ปานเดย์ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  rinapandey144@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการธุรกิจเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคสแควร์  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 41–50 ปีมีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา และมีระยะเวลาดําเนินกิจการ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ด้านแรงงาน รองลงมา คือ วัตถุดิบ และด้านเงินทุนมีความสําคัญน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา และระยะเวลาการดําเนินการ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุน มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําสําคญั             :  ปัจจัยด้านการผลิต ศักยภาพการส่งออก เสื้อผ้าสําเร็จรูป

Abstract            :  This research aims 1) to study the individual factors of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok. 2) to study factors of production of garment for exports in Bangkok. 3) to study factors of production to enhancement of garment for exports in Bangkok. The samples used for this study were 400 samples. Sampling was purposive sampling. Questionnaires were used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results showed that the majority of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok were man, aged between 41–50 years old. Their highest educations were Diploma’s degree. The periods of work were more than 15 years. Moreover, it was also found that the factor of production affecting the enhancement of garment for exports in Bangkok most was Labor. The second most was raw material and the least was capital. The hypothesis testing revealed that individual factors related to enhancement of garment for exports in Bangkok were gender, age, education and periods of work. In addition, the researcher found that factor of production: raw materials, machinery, labor and capital related to enhancement of garment for exports in Bangkok at 0.05 level of significant

Key words        :  factors of production, enhancement of export, garment


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  สาวสาวิตรี ปานเดย์และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A275-A283). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View