ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย (2563)
ชื่อบทความ : ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย: Challenges on Collecting Land and Building Tax in Thailand
เจ้าของผลงาน : ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง, อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, และอาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์
บทคัดย่อ : ภาษี คือ หน้าที่หรือภาระหรือความรับผิดชอบที่ประชาชนต้องนําส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมาย กําหนด เพื่อสนับสนุนกิจการของรัฐ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกจ้างนั้นเป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สิน ประเภทหนึ่ง ปัจจุบันพบว่า การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มคนที่มีฐานะร่ํารวย ซึ่งได้มีการถือครองไว้เป็นจํานวนมาก ในขณะที่คนส่วนมากไม่มีที่ดินหรือบ้านเป็นของตนเอง จึงแสดง ให้เห็นว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่มีการจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรมและไม่เป็นจริงตามระบบ การจัดเก็บภาษีที่ควรจะเป็น ทําให้เกิดปัญหาในทางโครงสร้างของการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ และตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยหวังว่าจะทําให้การจัดเก็บอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้กับต่างประเทศพบว่ามีจุดสังเกต ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสใช้เกณฑ์รายได้และเกณฑ์อายุประกอบการพิจารณาเก็บภาษีด้วยประเทศออสเตรเลีย กําหนดให้คนต่างชาติต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มอีก ร้อยละ 2 จากภาษีปกติ ประเทศแคนาดากําหนดให้ผู้เช่าตามสัญญาเช่าระยะยาวเป็นผู้เสียภาษีแทนที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ยังมีจุดสังเกตบางประการ ซึ่งควรนํามาบูรณาการเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ของไทยมีประสิทธิภาพและ เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ภาษี, ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง
Publication : วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU Journal of Law) ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563
Link to Publication: https://lawjournal.stou.ac.th/Page/Home.aspx
Bibliography : สมหมาย จันทร์เรือง, ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ และเมธาวี บัวสมบูรณ์. (2563). ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย.วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 95-110.
วารสารฉบับพิมพ์ที่มีในห้องสมุด
Row | Hit | Heading |
---|---|---|
1 | 1 | วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (Sukhothai Thammathirat Law Journal) |
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา
Title : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา : THE STUDENTS’ SATISFACTION WITH COOPERATIVE EDUCATION SYSTEM OF WORKING IN THE SERVICE SECTOR
Researcher : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช
Department : Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : ติดต่อได้ที่:
บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามไปสำรวจ นักศึกษาสหกิจศึกษาที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการในขณะนั้น และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 396 ชุด จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และF-testผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากแทบทุกด้าน ยกเว้น ความเหมาะสมของสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการปัจฉิมนิเทศ ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษาสหกิจศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเอกชน มีความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานสูงกว่านักศึกษาสหกิจศึกษาที่มาจาก มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยวธุรกิจการบิน และธุรกิจโรงแรม มีความพึงพอใจแตกต่างกันในเรื่องการปฐมนิเทศการให้คำปรึกษาการทำโครงงาน ความเหมาะสมของเวลาในการพักรับประทานอาหาร ความเหมาะสมของวันหยุด อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการปัจฉิมนิเทศ โดย นักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน จะมีความพึงพอใจในเรื่องดังกล่าวข้างต้นสูงกว่า นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา, ธุรกิจบริการ
Abstract : This study aims to explore public and private university students’ satisfaction with co-operative education system of working in the service sector. The research compares the different levels of satisfaction in the hotel, tourism, and airline business. The questionnaires were distributed to 420 purposively selected students from private and public universities who register ed in the co-operative education programs. The 396 completed questionnaires were analyzed through SPSS statistical analysis program, using frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test as statistical techniques.
Keywords : students, satisfaction, working cooperative, service sector
Download PDF : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา
Publication : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.7 No.1 (January-June 2012)
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/371
Bibliography : ชลลดา มงคลวนิช. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 7(1), 67-82.
ความพึงพอใจในการใช้บริการเงินฝากของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ (2560)
บทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไปใช้บริการกับเพื่อนมากที่สุด มีความถี่ในการใช้บริการ 5 – 6 ครั้งต่อเดือน นิยมไปใช้บริการในวันพฤหัสบดี เวลาที่ไปใช้บริการคือ 14.01 น. – 16.00 น. และปัจจัยที่มีความพึงพอใจในการใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านสถานที่ให้บริการ ส่วนการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน และอาชีพมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ไปใช้บริการร่วมด้วย ความถี่ ในการใช้บริการ วันที่ไปใช้บริการ และเวลาที่ไปใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ
Abstract
This research aims to explore the personality, service factors and to study the satisfaction as well as study the factors that were relation between personality, service behavior and satisfaction on the service of Bangkok Bank, The Mall Tapha Branch. Sample group used consumers of Bangkok Bank, The Mall Tapha Branch totally 400 persons by using accidental random sampling and statistical method used in data analysis is frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation and chi square is used to test hypothesis results, it is found by research results that The result of the study showed that most consumers were male, aged between 41 – 50 years, hold bachelor’s degree and earned up to 30,000 Baht. In addition, Most of them used service with friend, frequency of service were 5 – 6 times per month, preferred to used the service on Thursday, time the service were 14.01 – 16.00 and the satisfaction of most service was human factor and place factor was the least satisfied. For assumption test, it has found that sex, age, education level income per month and occupation were related to satisfaction on the service of Bangkok Bank, The Mall Tapha Branch. Besides, it also has found that users to share service, frequency of use, date to used and time to use were related to satisfaction on the service of Bangkok Bank, The Mall Tapha Branch.
Bibliography :
รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, วิบูลย์ ชินบูรพา, โสภิดา ทะสังขา, พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก และสัมฤทธิ์ เทียนดำ. (2560). ความพึงพอใจในการใช้บริการเงินฝากของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7 (หน้า 1 – 10), นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Link to Research: ความพึงพอใจในการใช้บริการเงินฝากของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ: Satisfaction on the Service of Customers’ Deposit Account Service of Bangkok Bank, the Mall Tapha Branch
ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ (2560)
Title : ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่: Knowledge Attitude Concept and Factor about Breastfeeding in Sripradu Teenagers
Researcher : นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค,วารุณี เพไร
Department : Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : nlm_058 @hotmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ อายุระหว่าง 13-19 ปี จ านวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สูตร Chi-square test รวมทั้งน าข้อมูลเชิง คุณภาพมาวิเคราะห์ โดยการทำ Content analysis ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ มีความรู้ เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 63.63 และมีทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 90.91 โดยที่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับของความรู้และทัศนคติในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าความรู้และทักษะเป็นสิ่งสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถ้าไม่มีความรู้ก็จะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดน้อยลง และสมาชิกในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นต้นแบบและแรงผลักดันในการช่วยส่งเสริมให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการเรียนในสถาบันการศึกษาและสื่ออิเล็กโทรนิกส์ การส่งเสริมความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจึงควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องทั้งในวัยรุ่นและครอบครัว จัดหาแหล่งสนับสนุนคอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือ เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้และทัศนคติที่ดี นำไปสู่การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นในอนาคต
คำสำคัญ : ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาวัยรุ่น
Abstract : The objectives of this research were to study the knowledge attitude concept and factor about Breastfeeding of teenagers in Sripradu community. The sample group was 11 teenagers aged 11-19 years old. Collect information by evaluation form about knowledge and attitude of breastfeeding and interviewing about opinion to breastfeeding. All data analyzed using percentage, frequency distribution, average, standard deviation, Chi-square test and analyze quality data by content analysis. The results showed teenager in Sripradu community had the knowledge about breastfeeding in high level, average 63.63 % and had attitude about breastfeeding in medium level average 90.91 %, respectively. In addition, there was no statistically significant different among personal factor with knowledge and attitude about breastfeeding. They thought knowledge and skill are important for breastfeeding. Moreover, in them opinion family members are prototype and impulsion them to breastfeeding. Most teenagers get knowledge about breastfeeding from school and electronic media. So, how to increase the number of breastfeeding should focus on educate good attitude, support and advice for teenager and family.
Keywords : Knowledge of breastfeeding, Attitude of breastfeeding, Teenage Pregnancy
Download PDF: ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค และ วารุณี เพไร. (2560). ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 905-915). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา
Title : ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา: Knowledge and Attitude of the Elderly Caregivers: A Case Study of Thammapakorn Phoklang and Watmuang Elderly
Care Center Nakhonratchasima Province
Researcher : ดร. บุษยา วงษ์ชวลิตกุล,วิรัช สงวนวงศ์วาน,สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา,ดร. ธนกร ลิ้มศรัณย์,สิริวดี ไทยสมัครและคณิต เรืองขจร
Department : Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : dr.tanakorn@siam.edu
Abstract : The purposes of this research were (1) to explore the knowledge of the elderly caregivers (2) to explore thepersonal’s positive attitude and negative attitudeof the elderly caregivers in the ThammapakornPhoklang and Watmuang Elderly Care Center Nakhonratchasima.Purposive sampling was adopted in this research study, by selected 60 elderly caregivers of these two places, who work at least 1 year. There were 53 respondents, and 51 set of questionnaires returned to the researchers or 96.23 percent. The researchers used descriptive statistics such as frequency percentage average and standard deviation to analyze and interpret the data. The finding has shown as follows; the majority group of respondents incorporated was female, aged between 31-40 years old and study under bachelor degree. Most of respondents had worked in these two places less than 20 years. The elderly caregivers knowledge were in the medium level or 50 – 79 percentin the understanding of aging processes and suitable physical environment for older people. In addition, the sample group had high level of personal’s positive attitude and low level ofpersonal’s negative attitude toward the elderly people. Thus, Nakhonartchasima Provincial Administration Organization (NakhonRatchasima PAO) and the related organization should urgently improve the knowledge for the caregivers of elderly people and consistency. Moreover, these organizations should develop positive attitude and decrease the negative attitude for caregiver of elderly peopleby establish activities or workshops in order to get into the Ministry of Public Health standard. Finally, these organizations should empower the team cooperation, support to the exchange or share knowledge and positive attitude for the caregivers of elderly people.
Key words : Elderly, Knowledge of caregivers for the elderly people, Attitude and Caregivers for the elderly people.
Publication : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016
Link to Publication: http://www.vu.ac.th/apheitvu/journal_v5n2.html
Bibliography : บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, วิรัช สงวนวงศ์วาน, สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, ธนกร ลิ้มศรัณย์, สิริวดี ไทยสมัคร และ คณิต เรืองขจร. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ, 5(2), 74-92.
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (2564)
ชื่อบทความ : ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Title : The Relationship Between Social Support and Stress of Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia
ผู้เขียน/Author : ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ
Researcher : Lunchana Phimphanchaiyaboon, Suparun Phasuk, Nuruemol Angsirisak, Natamon Boonlom & Susaree Prakhinkit
Department : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม : https://e-research.siam.edu/kb/the-relationship-between-social-support/
Link to article : วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) พ.ศ. 2564 | Journal of Health and Nursing Research Volume 37 No.2 September-Dember 2021 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251415
Link to Published: วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล / TCI 1
Bibliography : ลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, ศุภารัญ ผาสุข, นฤมล อังศิริศักดิ์, นฐมน บูญล้อม และ สุสารี ประคินกิจ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(3), 54-64.
ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
[mfn]สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(148), 64 – 104. [/mfn] ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข
ผลงานวิชาการ ดร.สมพร ปานยินดี – Somporn Panyindee
ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
Title : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : MARKETING MIX FACTORS AFFECTING DECISION MAKING TO TRAVEL TO FLOATHING MARKET OF THAI YOUTH IN BANGKOK
Researcher : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง
Department : Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : ติดต่อได้ที่:
บทคัดย่อ : การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากการค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400คน พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 367คน คิดเป็นร้อยละ 92 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำ พบว่า เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ และด้านราคา ตามลำดับ โดยด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องกิจกรรมพิเศษในช่วงเทศกาล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ทัศนียภาพที่สวยงามมากที่สุด รองลงมาคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำ และความสะดวกในการเดินทาง ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง สินค้าที่มีรูปแบบทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจำหน่ายยาก และการบริการด้วยอัธยาศัยไมตรี และด้านราคา เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุดรองลงมาคือ การติดป้ายราคาอย่างชัดเจน โดยราคาและการบริการควร มีความเหมาะสมกับคุณภาพผลการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือก76วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2556)ท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยใช้สถิติ ttestกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการศึกษาและรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เยาวชนไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนไทยที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกัน
คำสำคัญ : ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ การท่องเที่ยว ตลาดน้ำ
Abstract : This research aimed to study the factors that affect the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets. The target group for this research was Thai young adults who were not over 24 years old, living in Bangkok, and having traveled to floating markets in Bangkok or nearby. The sam-ple size for this research consisted of 400 Thai young adult tourists. The researcher used a questionnaire to collect all the data and the convenience sampling method was used. The questionnaire was developed from theories and other related research. Also, the researcher used descriptive statistical analysis, which included statistical distribution, frequency, percentage, average, and standard deviation. An inferential statistical analysis was also included to find T-Test and F-Test scores to compare differences between the averages of the two groups.
Keywords : Marketing strategy, decision, tourism, floating market.
Download PDF : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
Publication : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.8 No.2 (July-December 2013)
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/2026
Bibliography : ชลลดา มงคลวนิช, รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), 75-90.
ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา
Title : ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา: Success of management Primary World-Class Standard school
Researcher : พรรณวดี ปามุทา สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห
Department : Graduate School of Education, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : phansom2510@gmail.com
บทคัดย่อ : บทความนี้อธิบายถึง ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมาตรฐานสากลทุกโรงเรียน มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจะพิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่แต่ละโรงเรียนกำหนด โรงเรียนจะประสบความสำเร็จ ในหลายๆด้าน ต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนและส่งเสริมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ลักษณะของนโยบายการบริหาร และการปฏิบัติการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ นโยบายของโรงเรียนมีการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง จากบทความนี้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการทำวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : โรงเรียนมาตรฐานสากล การบริหารจัดการ ความสำเร็จ
Abstract : This article describes to Success of management Primary World-Class Standard school. The school is affiliated with the Office of Basic Education Commission. All International Schools Managed by the quality system. According to the Thailand Quality Award (TQA) School success in the implementation of INTERNATIONAL STANDARD SCHOOL PROJECTS. Considering the quality of the learner’s increased goals for each school. Schools are successful in many aspects, and need supportive factors both inside and outside the school. Factors Affecting Success in International School Management. These include the nature of management policies and practices. The budget allocation is adequate for the development of educational quality. Personnel with good knowledge and professional attitude. School policy is responding to quality education issues. The needs of those involved. From this article, the administrators and the teachers can take advantage of the development of educational quality. And further research
Keywords : Management ,World-Class Standard school , Success
Download PDF: ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : พรรณวดี ปามุทา, สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2560). ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 536-547). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา
ชื่อเรื่อง : คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา: Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex
เจ้าของผลงาน : ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน
เจ้าของผลงานร่วม: ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์, ร.อ.ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, นนร.กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, นนร.ตรีเพชร์ จาโสด และ นนร.รณภพ ค่ายหนองสวง
หน่วยงาน : ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
บทคัดย่อ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์ โดยทางกายภาพพิจารณา ความข้นเหลวปกติของซีเมนต์เพลส, ระยะการก่อตัวเริ่มต้น, ค่าการดูดซึมน้ำ และโครงสร้างทางจุลภาคของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา โดยใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และชุดเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ส่วนคุณสมบัติทางกลพิจารณากำลังอัด กำลังดึง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ทดสอบที่ระยะเวลา 28 วัน โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5%, อัตราส่วนปูนต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.50 โดยการศึกษาพบว่าซีเมนต์เพลสผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5% ได้ค่าระยะการก่อตัวเริ่มต้นเท่ากับ 128 นาที, 123 นาที, 75 นาที และ 35 นาที และค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.85, 3.46, 4.68 และ 5.35 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราพบว่าการผสมน้ำยางพาราในมอร์ต้าร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้คุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ของมอร์ต้าร์สูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่ไม่ผสมน้ำยางพารา (P/C = 0%) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตรา P/C เท่ากับ 1% ที่มีค่าคุณสมบัติการรับแรงดีที่สุด ได้ค่ากำลังอัด 375 ksc ก าลังดึง 39 ksc และก าลังดัด 65 ksc จากผลการศึกษาแนะนำใช้อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% ในงานก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้มอร์ต้าร์เป็นวัสดุ เช่น ถังเก็บน้ำเฟอร์ซีเมนต์ และคูส่งน้ำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นต้น
คำสำคัญ : มอร์ต้าร์, น้ำยางพารา, สมบัติทางกล, โครงสร้างจุลภาค
Website : การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en
Download PDF : คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา
Bibliography : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง. (2561). คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.