การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ

 

Title              :  การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ : Screening and Morphology Characterization of Thermophilic and Halophilic Bacteria from Low Sodium Fish Sauce

Researcher       : ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์* และ ณฐมล จินดาพรรณ
Suppanat Hwangrungruangkij, Pacharawat Dilokpatwanich, Ampun Chaikulsareewath* and Nathamol Chindapan

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: ampun.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ในกระบวนการผลิตน้ำปลาโซเดียมต่ำด้วยวิธีการแยกสารผ่านด้วยเยื่อไฟฟ้าระดับห้องปฏิบัติการ มีความจำเป็นต้องให้ความร้อนกับน้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการกำจัดเกลือ ก่อนการบรรจุขณะร้อนในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้อง อย่างไรก็ตามหากต้องการผลิตในเชิงการค้า จำเป็นต้องทราบชนิดและการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่จะใช้เป็นดัชนีกำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคัดแยกและแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้นของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูงจากน้ำปลาโซเดียมต่ำรวมทั้งศึกษาการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ โดยทดลองให้ความร้อนแก่น้้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 90 องศา
เซลเซียส เป็นเวลา 25 นาที จากนั้นนำมาคัดแยกแบคทีเรียด้วยวิธี Pour plate บนอาหารแข็ง Plate Count Agar (PCA) ซึ่งเติมเกลือให้มีความเข้มข้นร้อยละ 3, 5, 14 และ 18 และบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จากการทดลองพบโคโลนีเดี่ยวของแบคทีเรียแตกต่างกัน 3 สายพันธุ์ เจริญได้บนจานเพาะเชื้อ PCA ที่เติมเกลือความเข้มข้นร้อยละ 3 เท่านั้น เมื่อนำมาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาโดยวิธีการย้อมสีแบบแกรมและย้อมสีเอนโดสปอร์ พบว่าแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ ติดสีแกรมบวก มีลักษณะท่อน และสามารถสร้างเอนโดสปอร์ได้ นอกจากนี้พบว่าแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีค่า D75 , D85 และ D95 เท่ากับ 34.38, 27.03 และ 11.19 ตามลำดับ และมีค่า Z เท่ากับ 40.98

คําสําคัญ             :  น้ำปลาโซเดียมต่ำ แบคทีเรียชอบเกลือ แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง

Abstract            :  In low-sodium fish sauce production using electrodialysis (ED) in the laboratory-scale, it is necessary to heat the lowsodium fish sauce at temperature 100o C for 10 minute, to destroy microorganism contamination during ED desalination before hot filling in a sealed container, to obtain the shelf stable low-sodium fish sauce. However, if scale-up to the commercial production, it should to know a type and thermal resistance of bacteria used as index for processing establishment.The objective of this research was to study screening and morphology characterization of thermophilic halophilic bacteria from low-sodium fish sauce, and their thermal resistance was also investigated. The low-sodium fish sauce was heated at temperature 90o C for 25 minute. The bacteria were then isolated from the heated low-sodium fish sauce by pour plate on plate count agar (PCA) with salt concentration of 3%, 5%, 14% and 18%, and incubated at temperature 55 o C for 24-48 hour. The result showed that bacteria only grow in PCA with 3% salt concentration, which could be identified in three different single colony of bacteria. Studying morphology of isolated bacteria by Gram staining and endospore staining, they were Gram-positive bacteria, had rod shape and endospore. Moreover, D75 D85 D95 values of one bacteria were equal to 34.38, 27.03 and 11.19 respectively and Z-Value was equal to 40.98. 

Keywords        :    Low sodium fish sauce, Halophilic bacteria, Thermophilic bacteria


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2558). การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 487-493). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

การทดลองเพื่อหาค่าความไม่แน่นอนในการวัดความเข้มแสงโดยใช้คอมพิวเตอร์

 

Title              :  การทดลองเพื่อหาค่าความไม่แน่นอนในการวัดความเข้มแสงโดยใช้คอมพิวเตอร์ : A Computer-Based light and optic Experiment for Uncertainty Analysis

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ ศตายุ สุวรรณะโสภณ
Kanit Thongpisisombat and Satayu Suwannasopon

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  kanit.tho@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างโปรแกรมด้วยภาษา QBasic และ Mathcad เพื่อใช้ในการทดลองหาความไม่แน่นอนในการวัดค่าความเข้มแสงเลเซอร์ซึ่งมีโฟโต้ทรานซิสเตอร์ (Phototransistor) เป็นอุปกรณ์รับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้ากระแสตรงช่วงแรงดัน 0-5 โวลต์ โดยชุดการทดลองได้ติดตั้งอยู่บนโต๊ะ Optical Bench การอ่านค่าสัญญาญเข้าคอมพิวเตอร์มีระบบ Data Acquisition (DAQ) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปลงสัญญาณ Analog to Digital convertor (ADC) ขนาด 12 บิต และคอมพิวเตอร์ รับสัญญาณไฟฟ้าแล้วแปลงสัญญาณเข้าสู่ไมโครคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตขนาน ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จะแสดงค่าบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นตัวเลขและกราฟฮิตโตแกรม การประมวลผลข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean), ค่าเบี่ยนเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าความไม่แน่นอน (standard error in mean) โดยโปรแกรม Mathcad

คําสําคัญ             :  การวัดความไม่แน่นอน, เลเซอร์, โฟโต้ทรานซิสเตอร์, ตัวแปลงสัญญาณขนาด 12 บิต

Abstract            :  In this research, a computer program based on QBasic and Mathcad was constructed for measuring intensity light of laser with Phototransistor which was setup on optical bench. The data acquisition system (DAQ) consisted of a 12-bit analog to digital convertor (ADC), and a computer. The voltage of the phototransistor was converted to the input signal by the ADC connected to the computer’s parallel port. The data acquisition in QBasic program showed the number of voltage output with histogram graph appears on the computer screen. The data files of experiment were calculated mean, standard deviation and the standard error in mean with Mathcad program.

Keywords        :    Phototransistor, Laser, Analog to digital convertor, Uncertainty Analysis


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ ศตายุ สุวรรณะโสภณ. (2558). การทดลองเพื่อหาค่าความไม่แน่นอนในการวัดความเข้มแสงโดยใช้คอมพิวเตอร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 102-105). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ (2558)

 

[mfn]อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2558). การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ. สยามวิชาการ, 16(1), 74-88.[/mfn]    การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ

อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ  :  งานศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพแบบ Granger ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง โดยเป็นความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียว กล่าวคือ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสามารถในการทำนายราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง แต่ในทางกลับกันเราไม่สามารถนำราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่งไปใช้ทำนายราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพในทิศทางใดๆ ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง

คำสำคัญ  : ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพ

Abstract:  We have studied Granger causality between the prices of oil and gold or gold products. The major finding is that there is one-way Granger causality between the prices of Gasohol 95 and gold. The change in prices of Gasohol 95 can predict change in prices of gold or gold products. On the other hand, the change in prices of gold or gold products cannot predict change in prices of Gasohol 95. However, we do not find Granger causality between the prices of Gasoline and gold or gold products in any directions.

Keyword  : Granger causality


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 16 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 26 ก.ค.-ต.ค. 2558 Siam Academic Review Vol. 16 No.1 Issue 26 Jul-Oct 2015

Quick View

การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

[mfn]ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2558). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 45-62.[/mfn]   การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2558)

 

ชื่อบทความ     :  การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร : Component analysis on teenager lifestyle in Bangkok

เจ้าของผลงาน       :  จิรวุฒิ หลอมประโคน, วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ อกนิษฐ กลสุนทร

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                :  วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครประกอบไปด้วย 9 องค์ประกอบดังนี้ 1. สนใจด้านศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน การเมือง พระพุทธศาสนาและงานอดิเรก 2. สนใจติดตามข่าวสารบันเทิงความสวยความงามและตามกระแสนิยม 3. สนใจกิจกรรมนอกบ้าน เช่น Shopping ทานข้าว เป็นต้น 4. สนใจงานเลี้ยงสังสรรค์และงานรื่นเริง 5. สนใจกิจกรรมที่ตื่นเต้นและท้าทาย 6. สนใจดูหนังและเล่นอินเทอร์เน็ต 7. ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับแรก 8. สนใจข่าวกีฬาทั้งในและต่างประเทศ 9. สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ                :  การวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบการดำเนินชีวิตวัยรุ่น

Abstract              :  The research objective was to study about the lifestyle of teenagers in Bangkok area. The quantitative research methodology with the use of 400 questionnaire sets was employed in this study. The descriptive research was mean, percentage, standard deviation, and factor analysis. The research showed that components of teenage lifestyle in Bangkok were consisted of 9 main points: 1. Interest in art, community culture, politics, religion, and hobbies, 2.Interest in entertainment, beauty, and popular current news, 3. Activities outside the house such as shopping and eating out, 4. Interest in parties and festivals, 5. Exciting and challenging activities, 6. Interest in watching movies and internet access, 7. The first priority in family, 8. Interest in both local and foreign sports news, as well as 9. Support to environment care.

Keywords           : component analysis, lifestyle of teenagers


 

Publication        : วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 9 ฉบับที่ 3  มิถุนายน – กันยายน 2558  Rajabhat Rambhai Barni Research Journal Vol.9 No.3  Jun-Sep 2015

Link to Publication:   https://www.rbru.ac.th/org/research/temp.php?p=journalP1&y=2558

Bibliography    : จิรวุฒิ หลอมประโคน, วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ อกนิษฐ กลสุนทร. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(3), 34-44.


Quick View

การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ (2558)

 

Title              : การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ : The Study of the Expectations and Perceptions of Medical Service Quality

Researcher       : ภัทรภร จิรมหาโภคา¹ และ พัทรียา หลักเพ็ชร
Pattaraporn Jiramahapoka & Patthareeya Lakpeth

Department      :  ¹Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ¹ติดต่อได้ที่: bonjour.fai.ja@gmail.com

บทคัดย่อ              :  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ที่เป็นชาวต่างชาติ โดยใช้ทฤษฎี resource-based view (RBV) กับการใช้ทรัพยากรขององค์กรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีคุณค่า (valuable) ด้านความหายาก (rare) ด้านความยากที่จะเลียนแบบ (inimitable) และด้านการไม่สามารถทดแทนได้ (non-substiutable) และตรวจสอบความสัมพันธ์ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังก่อนรับบริการกับการรับรู้หลังรับบริการของผู้ใข้บริการทางการแพทย์ วิธีการศึกษาแบ่งออกป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน สำหรับด้านอุปสงค์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ชาวต่างชาติจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สำหรับด้านอุปทานเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาศักยภาพของการบริการทางการแพทย์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานประกอบการทางการแพทย์ จำนวน 3 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้ง 2 ด้านมาสรุปเพื่อเป็นการศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีระดับความคาดหวังก่อนรับบริการมากกว่าระดับการรับรู้หลังรับบริการในทุกด้านหลัก ได้แก่ 1) ด้านความมีคุณค่า (valuable) 2) ด้านความหายาก (rare) 3) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ (inimitable) และ 4) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ (non-substitutable) และในรายด้านความหายาก ข้อย่อยที่มีระดับการรับรู้มากกว่าระดับความคาดหวัง มีเพียงด้านเดียว คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานพยาบาลมีความพร้อมใช้งาน และด้านที่มีอันดับค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากที่สุดเรียงอันดับ ได้แก่ 1) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ 2) ด้านความหายาก 3) ด้านความมีคุณค่า และ 4) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ ตามลำดับ

คำสำคัญ              :  คุณภาพการบริการทางการแพทย์; ความคาดหวังและการรับรู้

Abstract            :  This research aimed to study the expectations and perceptions of medical service quality of foreign users. This research was based on the theoretical frameworks of resource-based view (RBV) and creating competitive advantages through four factors as follows: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. The study also examined the relationship between the expectations of services provided and the final perception of actual services. This research aimed to study the demand and supply perspectives. Investigation of the demand side was conducted by using a quantitative approache to study the expectations and the perceptions of 400 foreigners who travelled to Thailand for medical purposes. The research instruments were questionnaires and semi-structured interviews. In terms of the supply side, qualitative approaches were implemented to study the potentials of medical establishments through in-depth interviews with three experts associated with medical institutions. Content analysis and secondary data were synthesized to derive the expectations and perceptions of medical service quality. It was found that the expectations of the medical tourists were higher than the perceptions after receiving services in all four aspects: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. Of the four aspects, only one point in the rare aspect was exceptional in that the tourists’ perceptions were greater than their expectations; this was in conveninences available in medical facilities. The highest average expectations were ranked from greatest to least as follows: 1) non-substitutable 2) rare 3) valuable and 4) inimitable.

Keywords         :  medical service quality; expectation and perception

Download PDF  :  การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ 


Publication        : วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/abc/issue/view/5065


Bibliography     :  ภัทรภร จิรมหาโภคา และ พัทรียา หลักเพ็ชร. (2558). การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์. วารสารมนุษยศาสตร์,  22(2), 185-208. 


Quick View

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : The study of relationship between high school substance science learning group grade
point average and learning achievement of pharmacy students, Siam University.

Researcher       : เอื้ออารี กัลวทานนท์* และ สรัญญา ชมฉัยยา
Aue-aree Kanvatanond* and Sarunya Chomchaiya

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ที่ลงทะเบียนในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกประวัตินักศึกษา และ แบบทดสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = 0.010, p = 0.945 และ r = -0.004, p = 0.977 ตามลำดับ)

คําสําคัญ             :  ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา

Abstract            :  The objectives of this research were investigated of the relationship between learning group’s substance science grade point average in high school and examination scores in General Physics 1 and grade point average in university. The population was 49 pharmacy students who enrolled General Physics 1. Instruments using for the research were personal data questionnaire and examination paper in General Physics 1. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that there were no correlation between high school substance science grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = 0.010, p = 0.945 and r = -0.004, p = 0.977 respectively).

Keywords        :    high school substance science learning group grade point average, examination scores, and university grade point average.

Donwload PDF  :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 67-70). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.


 

Quick View

การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด

 

Title              :  การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด : Study on Types and Contents of Biopolymers for Encapsulation and Diffusivity Coefficient of Mangosteen Pericarp Extract

Researcher       :  ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Nuttaphon Kajornboon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tunyaporn.sir@siam.edu

บทคัดย่อ             :  เปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นแหล่งสารแซนโทน (Xanthones) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระทางธรรมชาติที่สูง แต่เนื่องด้วยประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสามารถเกิดการเสียสภาพและลดลงได้ด้วยแสงหรือความร้อน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาการกักเก็บสารสำคัญโดยใช้เทคนิคการเอนแคปซูเลชันด้วยการห่อหุ้มสารสำคัญไว้ภายในโครงสร้าง โดยศึกษาการห่อหุ้มสารไบโอพอลิเมอร์ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมอัลจิเนต และ เวย์โปรตีน โดยแ ปรผันอัตราส่วนระหว่าง โซเดียมอัลจิเนต : เวย์โปรตีน เท่ากับ 100:0, 50:50, 62:38 และ 0:100 ในระบบอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (o/w) โดยใช้น้ำมันงาม้อนซึ่งเป็นวัฏภาคน้ำมัน โดยพบว่าไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ของค่าความคงตัวในทุกสิ่งทดลอง โดยให้ค่าความคงตัวสูง ไม่เกิดการแยกชั้นแล้วทำการเตรียมเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากเปลือกมังคุดแบบอนุภาคทรงกลม (Spherical) จากการศึกษาประสิทธิภาพในการปลดปล่อยพบว่า เมื่ออัตราส่วนของเวย์โปรตีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปลดปล่อยของสารสกัดจากเปลือกมังคุดลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชนิดและอัตราส่วนของสารไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้มีส่งผลต่อการกักเก็บและควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญในโครงสร้างไว้ได้

คําสําคัญ             :  สารไบโอพอลิเมอร์, เวย์โปรตีน, โซเดียมอัลจิเนต, เอนแคปซูเลชัน, สเฟียริคอล

Abstract            :  Mangosteen pericarp (Garcinia mangostana Linn.) is a source of xanthones, which are high efficiency of natural antioxidant. However, xanthones can be degraded due to light and heat. Therefore, the improvement or development of encapsulation using different types and contents of biopolymers was conducted in the present study. The objective of this study was to investigate stability of emulsion (oil-in-water emulsion) systems with the different types of two biopolymers (sodium alginate and whey protein concentrate) at different ratios (100:0, 50:50, 6 2 :3 8, and 0 :1 0 0), which was showed no significantly (p>0.05) effect of emulsion stability and encapsulation efficiency. In the present study, perilla oil was used as a disperse phase, while mangosteen pericarp extract was sensitive ingredient dissolve in perilla oil. Sodium alginate used as a carrier for spherical encapsulation showed low encapsulation efficiency, while whey protein showed high encapsulation efficiency observed from the k value. This study indicated that biopolymer types and biopolymer contents used resulted in encapsulation efficiency and control-release of encapsulation systems. 

Keywords        :    Biopolymer, Whey Protein, Sodium Alginate, Encapsulation, Spherical


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 515-519). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง

 

Title              :  การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง : The study design and construction of a engineering model railway system is useful as the comparison and decision making for the future railway transportation system project

Researcher       : จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว* และ สุดาพร อร่ามรุณ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: green.days@hotmail.co.th

บทคัดย่อ             :  แบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้าได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการสาธิตเชิงแนวคิดในการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบราง
ระบบรถไฟฟ้าได้ถูกศึกษาออกแบบ และสร้างเป็นแบบจำลองขึ้นมา สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ 1) รถไฟฟ้าที่ถูกขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ประเภทหมุนรอบตัวเองแบบดังเดิมหมุนล้อรถที่เกี่ยวข้องให้วิ่งไปบนรางเดินรถและ 2) รถไฟฟ้าที่ถูกขับดันโดยมอเตอร์ประเภทเชิงเส้นแบบด้านเดียวชนิดขดลวดปฐมภูมิสั้นสมัยใหม่ซึ่งไม่มีส่วนหมุนที่จะหมุนล้อรถ ผลการศึกษาพบว่า ระบบรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ประเภทเชิงเส้นฯ มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทั้งถูกต้องและทันสมัย สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโครงการดังกล่าวสามารถนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ในโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบรางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง

คําสําคัญ             :   ระบบรถไฟฟ้า, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทหมุนรอบตัวเอง, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทเชิงเส้น

Abstract            :  The engineering model railway system is useful as the conceptual demonstration in the consideration of the comparison and decision making for the future railway transportation system project. The railway system can be studied, designed, constructed and proposed into 2 systems: 1) the railway system using classical rotating motor to rotate its associated wheels on the railway, and 2) the railway system using modern single-sided short primary linear induction motor with no rotating part to rotate such wheels on the railway. The results showed that railway system using modern single-sided short primary linear induction motor levels are highly energy efficient. And the operating costs are lower. This important, accurate and up to date information can be used as a model that is useful in terms planning and decision-making for executives who are functionally related and responsible for the high investment rail transit systems projects. 

Keywords        :     Railway Systems, Rotary Type Motor, Linear Type Motor

Download PDF:   การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง


Conference   : งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2) วันที่ 26-28 สิงหาคม 2558  ณ ณ โรงแรม ท็อปแลนด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), มหาวิทยาลัยนเรศวร, Korean Railroad Research Institute (KRRI), National Research Council of Science & Technology และหน่วยงานเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ 

Link to Website:   https://www.thairailtech.or.th/

Bibliography     :    จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว และ สุดาพร อร่ามรุณ. (2558). การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง. ใน งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2). พิษณุโลก: สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.


 

Quick View

ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย

 

Title              :  ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย: Efficiency of Total Quality Management in Thai Iron Foundry Organizations

Researcher       :  ดร.บุรินทร์ สันติสาส์น
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  burin007@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจาก โรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็ก ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภาคกลาง ที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทโรงงานหล่อหลอมเหล็ก เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรต้น ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารในองค์การ และความผูกพันกับองค์การ สามารถพยากรณ์ตัวแปรตาม คือประสิทธิภาพการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของโรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คําสําคัญ             : ประสิทธิภาพ  การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ  โรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทย

Abstract            :  The objective of the study was to study factors affecting efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations. The study employed quantitative research. The research instrument was questionnaire collected from 268 cases. The statistical techniques utilized to analyze data included mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regressions (Enter method). The results showed that the independent variables included Leadership, Organization culture, Customer relation management, Team work, Organization communication and Organization commitment could predict the dependent variable, efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations, at statistically significant level of .01.

Key words        :   Efficiency, Total Quality Management, Thai Iron Foundry Organizations


Publication      : วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1  ตุลาคม 2557 – มกราคม 2558  Journal of Social Academic  Vol.8 No.1  2015

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/issue/archive


Bibliography   :  บุรินทร์ สันติสาส์น. (2558). ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 29-47.


Quick View