เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

 

ชื่อเรื่อง              :  เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

การประชุมวิชาการ    : สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.) จัดเสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0 เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2560 ณ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Link  to video clip : https://youtu.be/TBBCNiTNL4w

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2560, 22 กรกฏาคม). เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0. [วีดิโอคลิป]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=TBBCNiTNL4w


สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.):  http://www.law.tu.ac.th

ตั้งอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนิติศาสตร์มีวัตถุประสงค์ คือ ส่งเสริมความเจริญให้แก่คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนความร่วมมือและเผยแพร่วิทยาการในทางนิติศาสตร์ ระหว่างสมาชิกกับสมาคมหรือสถาบันทางกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระหว่างมวลสมาชิก บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการกุศลสาธารณะ ส่งเสริมการบันเทิง การกีฬา และการพักผ่อนหย่อนใจของมวลสมาชิก อุดหนุนและให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนับสนุนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรดาสมาคมซึ่งผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้น ในการธำรงไว้ ส่งเสริมและเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ทั้ง 8 ประการดังกล่าวนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สมาคมนิติศาสตร์ได้จัดกิจกรรมในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น

  • กิจกรรมสัมมนาวิชาการในเรื่อง “ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ฤา ชื่อธรรมศาสตร์จะเปลี่ยนไป”
  • โครงการอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
  • โครงการอบรมในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบภาคปฏิบัติ การฝึกอบรมวิชาว่าความของสภาทนายความ” ให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กิจกรรมศึกษาดูงานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
  • พิธีวางพวงมาลาอนุสรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์
  • งานเลี้ยงแสดงความยินดีให้กับบัณฑิตนิติศาสตร์
  • กิจกรรม “ชวนกันเดินทัวร์”
Quick View

แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะภาษาอังกฤษสําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

 

Title              :  แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะภาษาอังกฤษสําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง : English Language Skill Enhancement for 3-5 Years Student using Augmented Reality

Researcher       :  วีนา โชติช่วง และ ชนาภา กระจง

Chotchuang V. and Krajong C.

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   veena.cho@siam.edu

บทคัดย่อ             :   การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน จําเป็นที่ต้องมีการปรับสื่อการสอนให้สอดคล้องและทันยุคสมัย มีการนําเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาประยุกต์ใช็ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน สําหรับเทคโนโลยีเสมือนจริง(Augmented Reality -AR)นั้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้ถูกนํามาช่วย ด้วยความเป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกแห่งความจริง (Real World)เข้ากับโลกเสมือน(Virtual World)และให้ผลลัพธ์เป็นภาพจําลองสามมิติได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบการนําเสนอ ที่ตื่นเต้น กระตุ้นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะ การสังเกต และการจดจํา สําหรับเด็กในวัย 3-5 ปีได้อีกแนวทางหนึ่งแนวคิดในการพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้และฝีกทักษะภาษาอังกฤษ สําหรับเด็กอายุ 3-5 ปีด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงนี้มีการพัฒนาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถติดตั้งลง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้ ภายในแอปพลิเคชันจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นบทเรียนภาษาอังกฤษ ที่มีภาพเสมือนจริงของผลไม้กับสัตว์ต่างๆตามพยัญชนะตัวอักษร A-Z เมื่อใช้กล้องจากสมาร์ทโฟนส่องกับมาร์กเกอร์จะแสดงโมเดลสามมิติพร้อมกับแอนิเมชั่นและเสียงประกอบ ส่วนที่สอง เป็นเกมเพื่อฝีกทักษะการจดจํา การสังเกต และการเรียนรู้ ได้แก่ เกมจับคู่ผลไม้กับข้อความภาษาอังกฤษเกมเติมคําในช่องว่างของศัพท์ที่หายไปเกมเลือกคําตอบภาษาอังกฤษที่ถูกต้องจากคําศัพท์ที่ให้มา ทั้งสามเกมนี้มีเนื้อหาเป็นแบบฝึกทักษะการเรียนรู้จากบทเรียนเสมือนจริงสําหรับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานั้น มีการนําโปรแกรม Maya และโปรแกรม Vuforia มาใช้ในการสร้างโมเดล และตัวมาร์กเกอร์สําหรับตัวเกมมีการพัฒนาโดยใช้โปรแกรม Unity เมื่อมีการนําแอปพลิเคชันไปใช้ร่วมกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษกับครูผู้สอนในระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนวรรัตน์วิทยาพบว่าแอปพลิเคชันดังกล่าว ระบบสามารถช่วยให้ผู้สอน มีวิธีการสอนใหม่ขึ้นจากการเรียนในแบบเดิม ผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52

คําสําคัญ             :  เทคโนโลยีเสมือนจริง/แอนดรอยด์/แอปพลิเคชันมือถือ/ภาษาอังกฤษ

Abstract            :  Nowadays, English teaching requires an updated method. Augmented reality is one of the tools to be utilized. The combination of real-world and virtuality makes a 3-D representation engaging. Consequently, the learning process has been enhanced for 3 to 5 years old children. The developer use Android mobile operating system as a platform to develop the application that can be installed on phone and/or tablet computer. There are two parts; the lesson and game. We use alphabetically-ordered pictures and sound to stimulate the learning process. In the game part, there are some tips to enhance the memory skills. For example, matching between pictures and vocabulary. We use Maya and Vuforia to develop the model and markers. The game engine is Unity. After the trail period at Worarat Vittaya School, we have found that the application is complementing the learning process of these sample students.

Keywords        :    Augmented Reality / Android / Mobile Application / English


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    วีนา โชติช่วง และ ชนาภา กระจง. (2560). แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้และฝึกทักษะภาษาอังกฤษสําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 1374-1381). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View