สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ
Title : สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ : Title Problems and solutions of learning about rhythm
Researcher : อนุวัฒน์ เขียวปราง
Department : วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : few_jigadee455@hotmail.com
บทคัดย่อ : บทความวิชาการนี้เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นถึงการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจังหวะ ซึ่งเป็นบทเรียนที่อยู่ภายใต้คำอธิบายรายวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 ซึ่งวิชาดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิชาที่ถูกบรรจุให้เป็นวิชาเอกของสาขาดนตรีในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยสาเหตุที่ผู้สอนมีจำนวนคาบสอนในบทเรียนดังกล่าวอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ผู้เรียนเกิดปัญหาความไม่เข้าใจจนสามารถสรุปปัญหาดังกล่าวได้เป็น 4 กรณี ได้แก่ 1. ความเข้าใจในลักษณะจังหวะเมื่อมีการนำโน้ตในแต่ละสัดส่วนมาจัดสรรให้เกิดความต่อเนื่องภายในห้องเพลง และ 2. ความเข้าใจในอัตราจังหวะต่างๆ 3. การกำหนดความยาวของเสียงเมื่อพบโน้ตที่มีเครื่องหมายการยืดค่าของโน้ต 4. การนับอัตราจังหวะธรรมแทนอัตราจังหวะผสม ใช้บทความนี้จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงกระบวนการสอนที่จะสามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และตกผลึกทางด้านความรู้ โดยกำหนดจำนวนคาบสอนที่มีระยะเวลาที่จำกัดออกเป็น 2 ส่วนแล้วนำเนื้อหาจากบทเรียนที่ผู้สอนเล็งเห็นว่ามีความใกล้เคียงและต่อเนื่องนำมาอยู่ในระยะเดียวกัน มีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันในการบรรยายเนื้อหาแต่ละครั้ง ผู้สอนควรใช้วิธีการอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น การแสดงตารางเปรียบเทียบค่าของตัวโน้ต การกำหนดจังหวะเคาะให้ถูกต้องเพื่อความแม่นยำ ตลอดจนมีการหยิบยกบทเพลงที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันมาเป็นตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับจำนวนคาบที่จำกัด และเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้เรียนและพัฒนาไปสู่ทักษะที่ดีในการบรรเลงดนตรี
คำสำคัญ : การเรียนการสอน จังหวะ ทฤษฎีดนตร
Abstract : This article is an article that reviews the teaching and learning about rhythm. This is a lesson that the Course Description music theory courses such as the one of the courses that are packed into a major branch of music in higher education. Because the instructors have taught many lessons in such a limited period. As a result, the students do not understand the problem until the problem can be summarized into four cases. 1. Understanding the nature of the stroke when the proportion allocated to each note in the music room and the understanding of the rhythm 2. Understanding the rate and rhythm. 3. Determining the length of a note found on a stretch marks. Also worthy of note. 4. Count the beats of the rhythm fairly mixed. This article has been submitted to the process of teaching students to be able to understand. Has put forward a song that the students are familiar in everyday life in the narrative content each time. The instructor should explain how the concrete. For example compare the value of the notes. To determine the correct rhythm tapped for precision. It has put forward a song that the students are familiar in everyday life, as an example, which will make the course suitable for a limited number of sessions. And a deep understanding of the students. And to develop skills in music.
Keywords : Teaching, Rhythm, Music theory
Download PDF: สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : อนุวัฒน์ เขียวปราง. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ จังหวะ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1047-1057). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดสมดุลสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (Optimization technique) สำหรับการจัดสมดุลสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายของการผลิตงานทั้งหมดมีค่าต่ำที่สุดในสายการผลิตกันชนหน้า ซึ่งมีการผลิตผลิตภัณฑ์ 2 รุ่นในสายการผลิต ดังนั้น วิธีการออกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการผลิต ผลการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของสายการผลิต ระหว่างการจัดสมดุลการผลิตแบบเดียว และการจัดสมดุลสายการผลิตแบบผสม ซึ่งจากผลได้แสดงให้เห็นว่า การจัดสมดุลสายการผลิตแบบผสมจะให้ค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด
คำหลัก: การหาค่าที่เหมาะสมที่สุด, การจัดสมดุลสายการผลิต, อุตสาหกรรมยานยนต์, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Abstract
This paper focused on the optimization application for the assembly line balancing in an automotive industry. The objective is to minimize cost in front bumper production with two models in production
line. Thus, a Mathematical model has been developed to solve the line balancing problem. The computational results compare cost between single-model line balancing and mixed-model line balancing which show that mathematical mixed model given answer better than mathematical single model.
Keywords: Optimization, Line balancing, Automotive industry, Mathematical model
งานที่อ้างถึง/Bibliography
อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บำรุงวงศ์. (2560). การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2560 (หน้า 953-958). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2017). Production Capacity Increment for the Machine Spare Parts Production. IE Network Conference 2017 (pp. 953-958). Chiang Mai: Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University.