การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2
Title : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2: A Study of the Relationship Between the Participative Managementin Academic Task and the Achievement of Students in Basic Education Institutions Under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2
Researcher : กนกรัตน์ ทำจะดี¹ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์²
Department : ¹นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
²อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : love_mom_dad333@hotmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูฝ่ายวิชาการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกเจาะจงสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนละ 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสำหรับครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนละ 1 คน โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนละ 2 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : การบริหารแบบมีส่วนร่วม งานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
Abstract : The objective of this research was to 1) study the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. 2) study the relationship between the participative management in academic task and the achievement of students in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. Representative sample groups were 86 schools which consisted of the administrators and the teachers in Academic departure by Purposive sampling for the administrators in each school and Simple random sampling for the teachers which were calculated by the proportion were 293 teachers. Data was gathered by questionnaires about Participative Management of Cohen and Uphoff and analyzed by descriptive statistic methods which were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation and Pearson‘s Correlation Coefficient.
The study could be concluded as follow 1) the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 were of a high level in overall: Participation in involvement benefits, Participation in evaluation, Participation in decision and Participation in operation. 2) the relationship between the participative management and the achievement of students in Basic Education Institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 had the relationship and a statistically significant level at .01
Keywords : Participative management , Academic task , the achievement of students
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : กนกรัตน์ ทำจะดี และ สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 748-756). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท
Title : การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท: A Design of Divider Circuit by Using Logic Gate
Researcher : สิทธิพร เพ็ชรกิจ¹, คัมภีร์ ธิราวิทย์¹, สุทธิเกียรติ ชลลาภ² และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ³
Department : 1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140 Email address: sitiporn_2552@yahoo.com, kampree@hotmail.com
2. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 Email address: nuclear_ee@yahoo.com
3. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต าบลไทยบุรี อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 Email address: pwijittr@wu.ac.th
E-mail : ผู้ประสานงานหลัก: sitiporn_2552@yahoo.com kampree@hotmail.com
บทคัดย่อ : บทความนี้ นำเสนอ การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกทพื้นฐาน เช่น แอนด์เกท ออเกท และดี-ฟลิปฟลอป มาประกอบเป็นวงจรหารเลข แสดงผลด้วยเซเวนเซ็กเม้นท์ 2 ชุด คือชุดคำตอบของผลหาร และชุดคำตอบของเศษที่ได้ ตามหลักการหารแบบวิธีลบซ้ำๆ นำมาสังเคราะห์เป็นวงจรให้เห็นจริง วงจรที่ออกแบบนี้ได้ทำการทดสอบโดยการจำลองผลการทำงานด้วยโปรแกรม Circuit Wizard ผลจำลองการทำงานแสดงให้เห็นว่าวงจรที่ออกแบบนี้ สามารถทำงานเป็นวงจรหารได้อย่างถูกต้อง
คําสําคัญ : วงจรหาร, ลอจิกเกท, การออกแบบ
Abstract : This paper presents a design of divider circuit by using logic gate. The used logic gates are simple logic gate such as and gate, or gate and D-flip flop. The divider circuit displays with two seven segment units that are the result unit and the fraction unit. By repeated-subtract divider principle brings to a synthesis of real circuit. The designed circuit is tested by simulating with Circuit Wizard program. The simulation result verifies that this designed circuit can work to be divider circuit.
Keywords : divider circuit, logic gate, design
Download PDF: การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท
Conference : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน” ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Link to Website: http://ird.rmutp.ac.th/?p=8247
Bibliography : สิทธิพร เพ็ชรกิจ, คัมภีร์ ธิราวิทย์, สุทธิเกียรติ ชลลาภ และ วิจิตรา เพ็ชรกิจ. (2560). การออกแบบวงจรหารเลขโดยใช้ลอจิกเกท. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ภายใต้คำขวัญ “ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.