การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู

 

Title              :  การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูDevelopment of Certification in Knowledge and Teaching Experiences for Teaching Profession

Researcher       :  รศ.ดร. จอมพงศ์ มงคลวนิช Jomphong Mongkhonvanit
Department      :  รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                 :

Abstract             :  The study features development of certification in knowledge and teaching experiences for teachers to receive a teaching license given by the Teacher’s Council in Thailand. The objectives of this study are 1) to survey the Teachers’ Council of Thailand’s operations to certify knowledge and teaching experience to receive the teaching license, and 2) to provide recommendations to improve such policy and operation. The study has employed the quantitative research method to survey the operations and situations on such certifications and the qualitative research method in making recommendations to improve such certifications. The population in this study includes 1) the Teachers’ Council Committee members, 2) rofessional Standard Committee members, 3) Teachers’ Council Executives, 4) Deans of Faculties of Education, 5) Thai and foreign teachers, and 6) public and private school administrators. Simple random sampling was employed for the sampling group of 1,200 teachers holding a teaching license. This study finds challenges in the procedure and coordination in transferring knowledge; the application, complexity, length and duration of testing; and the different standards for training. Regarding certification of teaching experiences, the study finds limitation in teachers’ and schools’ compliance to regulations of the Teachers’ Council, while there are different standards for evaluating teaching experiences. In addition, the study suggests development of: 1) knowledge standard in the teaching profession, 2) certification of knowledge for teaching professionals through transferring, testing and training especially standard of testing’s arrangement, questions and evaluation. and 3) certification of teaching experiences for teaching professionals through the development of evaluation, information system, monitoring system and teaching mentoring system.

Key words         :  TEACHING PROFESSION / CERTIFICATION / KNOWLEDGE / TEACHING EXPERIENCE / DEVELOPMENT


Publication        : วารสารครุศาสตร์  ปีที่ 42 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2557  Journal of Education Studies  Vol.42 No.4 Oct-Dec 2014

Link to Publication:    https://tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/issue/view/3018

Bibliography     :  จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2559). การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์,  42(4), 31-42. 


Quick View
วารสารปัญญาภิวัฒน์-ปีที่5-ฉบับที่2-มค-มิย-2557

การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร แบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพการให้บริการและการสื่อสารแบบปากต่อปากตามทัศนะของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของไลเคิร์ท จำนวน 44 ข้อ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA) ด้วยวิธี Stepwise นำไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้คุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และการต้อนรับของโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับสมการปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน คือ

การสื่อสารแบบปากต่อปาก = .308พนักงานต้อนรับ+.231การบริการชำระเงิน+.169การดูแลห้องพักผู้ป่วย+.144การบริการของแพทย์ +.144การเข้าพักในโรงพยาบาลเอกชน+.108การบริการด้านอาหาร;

R2 = 0.658, SE = 0.378

คำสำคัญ : การรับรู้คุณภาพการให้บริการ การสื่อสารแบบปากต่อปาก โรงพยาบาลเอกชน

ABSTRACT

The purposes of this research were (1) to study the perceived quality of services and word of mouth communication by users to the private hospitals (2) to study factors that influence word of mouth communication of the services available to private hospitals. Samples consisted of patients who were admitted in private hospitals listed the Stock Exchange of Thailand. Sampling was done of 400 people. The anonymous questionnaires of forty four items of five-point likert scale. The data received were calculated and analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation) and inferential statistics ANOVA and Multiple Regression Analysis (MRA). The researchers used the statistical package of social science (SPSS) for windows.
The results of the study showed that samples with the perceived service quality in the field of medical services and hospitality of a private hospitals and acceptance were high level.
The equation for factors was influencing word of mouth communication of private Hospitals. Listed below
Word of Mouth =.308(Receptionist)+.231(Payment)+.169(Housekeeping)+.144(Physician) +.144(Admission) +.108(Food); R2 = 0.658, SE = 0.378.

Keywords :  Perceived Service,  Word of Mouth communication,  Private Hospitals


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร แบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 16-29.

Quick View

การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

[mfn]ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2559). การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง. วารสารครุศาสตร์, 44(2), 202-219.[/mfn]   การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

[mfn]ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 32-44.[/mfn]   การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

[mfn]ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2558). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 45-62.[/mfn]   การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง

ภัทร ยืนยง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา (2557)

 

Title              :  การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา : Factor Analysis of Food Chemistry Learning and Effective Achievement of Students with Word Cards and Video Approach

Researcher       :  ณัฎฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ*
Nattiga Silalai and Tunyaporn Sirilert*

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: tunyapornfood@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรายวิชาเคมีอาหาร 2 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีอาหาร 2 ทั้งก่อนและหลังการสอนโดยการใช้สื่อการสอนแบบบัตรคําและวิดิทัศน์ช่วยในการเรียนและการจดจํา จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปlที่ 3 ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม โดยใช้เครื่องมือสํารวจทัศนคติต่อรายวิชาด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าความถี่และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) พบว่าสามารถวิเคราะห์และสกัดปัจจัยโดย principal component analysis (PCA) ได้ทั้งหมด 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการแก้ปัญหา ปัจจัยด้านอุปกรณ์การสอน ปัจจัยปัญหาการเรียนการสอน และปัจจัยด้านความรูู้พื้นฐาน โดยพบปัจจัยในการแก้ปัญหาเป็นปัจจัยที่ให้ความสําคัญที่สุด ประกอบไปด้วยปัจจัยย่อยคือ ความรู้ด้านกลไกทางเคมีในอาหาร, ศัพท์เทคนิคเฉพาะสาขา และการใช้เทคนิคสื่อการสอน (Eigen value>1) และจากปัจจัยที่สกัดได้ จึงนํามาพัฒนาการสอนโดยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยใช้เครื่องมือบัตรคํา และสื่อวิดิทัศน์ เพื่อการจดจําศัพท์เฉพาะสาขาในขั้นตอนก่อนและหลังการสอน พบว่าผลคะแนนหลังการสอนด้วยการใช้บัตรคํา และสื่อวิดิทัศน์จะให้ระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้สื่อการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t=-14.07, p<0.05) และเมื่อพิจารณาทัศนคติของความคาดหวังจากแบบสอบถาม พบว่าร้อยละของคะแนน ด้านความคาดหวังของนักศึกษาที่มีการพัฒนาการเรียนรู้และสามารถจดจําศัพท์เฉพาะสาขามีค่ามากถึงร้อยละ 80 โดยนักศึกษากลุ่มนี้สามารถสอบผ่านการเรียนในรายวิชาเคมีอาหารโดยสัมพันธ์กับคะแนนสอบปลายภาคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)

คําสําคัญ             :  การวิเคราะห์ปัจจัย ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ บัตรคํา วิดีทัศน์ และเคมีอาหาร

Abstract            :  The objective of the present study was to investigate the factors influencing on ‘Food Chemistry 2’ learning skills and to compare the effective achievement of third-year students (Food Technology Department, Siam University) in ‘Food Chemistry 2’ learning skills obtained from usage of particular techniques (Before and After). The techniques used for ‘Food Chemistry 2’ learning skills consisted of word cards and relative videos in order to improve the memory skills. Basically, the questionnaires were used to survey the attitudes of students to this subject and analyzed to determine factors resulting in learning skills. The results could be characterized and divided into 4 factors using the principal component analysis (PCA) such as problem solution factor, teaching equipment factor, learning problem factor and basic knowledge factor. The most important factor of learning skills was the problem solution factor, which comprised perception and understandings, technical term vocabularies and cognitive learning skills (Eigen value > 1). All factors were used to develop teaching equipment, e.g., word cards and relative videos. Target groups (third-year students, Food Technology Department, Siam University) were tested before (pre-test) and after (post-test) using the teaching equipment. After using the teaching equipment, the post-test scores of the students were significantly higher than the pre-test scores (t = -14.07, p<0.05). Attitude of the students expecting to develop and remember the technical term vocabularies was higher to 80%. These students could significantly pass the ‘Food Chemistry 2’ subject in relation to scores of final exam (p<0.05). 

Keywords        :    factor analysis, attributes, word cards, video, food chemistry

Donwload PDF  :  การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    ณัฎฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ. (2557). การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา . ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 102-107). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม: The Study of Relationship Between High School Physics Grade Point Average, High School Grade Point Average and Academic Achievement of Pharmacy Students, Siam University.

Researcher       : เอื้ออารี กัลวทานนท์ Aue-aree Kanvatanond

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ที่ลงทะเบียนในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 จํานวน 49 คน เครื่องมือที่ใช์ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกประวัตินักศึกษา และ แบบทดสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = -0.053, p = 0.717 และ r = -0.131, p = 0.369 ตามลําดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = -0.027, p = 0.855 และ r = -0.027, p = 0.852 ตามลําดับ)

คําสําคัญ             :  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา

Abstract            :  The objectives of this research were investigated the relationship between high school physics grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average. Furthermore it investigated the relationship between high school grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average. The population was 49 pharmacy students who enrolled General Physics 1. Instruments used for the research were personal data questionnaire and examination paper in General Physics 1. The statistics used for analysis were arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that there were no correlation between high school physics grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = -0.053, p = 0.717 and r = -0.131, p = 0.369 respectively) and there were no correlation between high school grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = -0.027, p = 0.855 and r = -0.027, p = 0.852 respectively).

Keywords        :    Pearson’s product moment correlation coefficient, High school physics grade point averages, High school grade point averages, Examination scores, University grade point average.

Donwload PDF  :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 17-22). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน (2557)


[mfn]วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล. (2557). การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน. สยามวิชาการ, 15(1), 72-86.[/mfn]   การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน

วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล


 

วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 15 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 24 ก.ค. 2557 – ต.ค. 2557 Siam Academic Review Vol. 15 No.1 Issue 24 Jul 2014 -Oct 2014

Quick View

การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 175-193.[/mfn]   การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ของสหรัฐอเมริกา

ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 42(1), 141-159.[/mfn]   คดีทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View