Influence of Whey Protein on Stability of α-Mangostin Entrapped in Alginate/Whey Protein Beads (2018)

 

Title              : Influence of Whey Protein on Stability of α-Mangostin Entrapped in Alginate/Whey Protein Beads

Researcher       :  Tunyaporn Sirilert, Nattapol Kajonboon and Nattiga Silalai *

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: tunyapornfood@gmail.com

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  https://e-research.siam.edu/kb/influence-of-whey-protein-on-stability/


Link to article: Science & Technology Asia23(2), 29–36. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/SciTechAsia/article/view/131198


Journal :  Science & Technology Asia / in Scopus


Bibliography     :  Sirilert, T., Kajonboon, N., & Silalai, N. (2018). Influence of Whey Protein on Stability of α-Mangostin Entrapped in Alginate/Whey Protein Beads. Science & Technology Asia23(2), 29–36. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/SciTechAsia/article/view/131198


 

Quick View

Role of solids composition on α-relaxation behavior, molecular structure and stability of spray-dried xanthones encapsulation systems around glass transition (2016)

 

Title              : Role of solids composition on α-relaxation behavior, molecular structure and stability of spray-dried xanthones encapsulation systems around glass transition

Researcher       :  Tunyaporn Sirilert, Nattapol Kajonboon and Nattiga Silalai *

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: tunyapornfood@gmail.com

ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม            :  –


Link to article: Journal of Food Engineering Volume 174, April 2016, Pages 85-91  https://doi.org/10.1016/j.jfoodeng.2015.11.022


Journal :  Journal of Food Engineering  / in Scopus


Bibliography     :  Silalai, N., Sirilert, T., Roos, Y. H., Potes, N., & Devahastin, S.  (2016).  Role of solids composition on α-relaxation behavior, molecular structure and stability of spray-dried xanthones encapsulation systems around glass transition. Journal of Food Engineering, 174, 85-91. https://doi.org/10.1016/j.jfoodeng.2015.11.022


 

Quick View

การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา (2557)

 

Title              :  การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา : Factor Analysis of Food Chemistry Learning and Effective Achievement of Students with Word Cards and Video Approach

Researcher       :  ณัฎฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ*
Nattiga Silalai and Tunyaporn Sirilert*

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: tunyapornfood@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรายวิชาเคมีอาหาร 2 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีอาหาร 2 ทั้งก่อนและหลังการสอนโดยการใช้สื่อการสอนแบบบัตรคําและวิดิทัศน์ช่วยในการเรียนและการจดจํา จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปlที่ 3 ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม โดยใช้เครื่องมือสํารวจทัศนคติต่อรายวิชาด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าความถี่และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) พบว่าสามารถวิเคราะห์และสกัดปัจจัยโดย principal component analysis (PCA) ได้ทั้งหมด 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการแก้ปัญหา ปัจจัยด้านอุปกรณ์การสอน ปัจจัยปัญหาการเรียนการสอน และปัจจัยด้านความรูู้พื้นฐาน โดยพบปัจจัยในการแก้ปัญหาเป็นปัจจัยที่ให้ความสําคัญที่สุด ประกอบไปด้วยปัจจัยย่อยคือ ความรู้ด้านกลไกทางเคมีในอาหาร, ศัพท์เทคนิคเฉพาะสาขา และการใช้เทคนิคสื่อการสอน (Eigen value>1) และจากปัจจัยที่สกัดได้ จึงนํามาพัฒนาการสอนโดยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยใช้เครื่องมือบัตรคํา และสื่อวิดิทัศน์ เพื่อการจดจําศัพท์เฉพาะสาขาในขั้นตอนก่อนและหลังการสอน พบว่าผลคะแนนหลังการสอนด้วยการใช้บัตรคํา และสื่อวิดิทัศน์จะให้ระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้สื่อการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t=-14.07, p<0.05) และเมื่อพิจารณาทัศนคติของความคาดหวังจากแบบสอบถาม พบว่าร้อยละของคะแนน ด้านความคาดหวังของนักศึกษาที่มีการพัฒนาการเรียนรู้และสามารถจดจําศัพท์เฉพาะสาขามีค่ามากถึงร้อยละ 80 โดยนักศึกษากลุ่มนี้สามารถสอบผ่านการเรียนในรายวิชาเคมีอาหารโดยสัมพันธ์กับคะแนนสอบปลายภาคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)

คําสําคัญ             :  การวิเคราะห์ปัจจัย ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ บัตรคํา วิดีทัศน์ และเคมีอาหาร

Abstract            :  The objective of the present study was to investigate the factors influencing on ‘Food Chemistry 2’ learning skills and to compare the effective achievement of third-year students (Food Technology Department, Siam University) in ‘Food Chemistry 2’ learning skills obtained from usage of particular techniques (Before and After). The techniques used for ‘Food Chemistry 2’ learning skills consisted of word cards and relative videos in order to improve the memory skills. Basically, the questionnaires were used to survey the attitudes of students to this subject and analyzed to determine factors resulting in learning skills. The results could be characterized and divided into 4 factors using the principal component analysis (PCA) such as problem solution factor, teaching equipment factor, learning problem factor and basic knowledge factor. The most important factor of learning skills was the problem solution factor, which comprised perception and understandings, technical term vocabularies and cognitive learning skills (Eigen value > 1). All factors were used to develop teaching equipment, e.g., word cards and relative videos. Target groups (third-year students, Food Technology Department, Siam University) were tested before (pre-test) and after (post-test) using the teaching equipment. After using the teaching equipment, the post-test scores of the students were significantly higher than the pre-test scores (t = -14.07, p<0.05). Attitude of the students expecting to develop and remember the technical term vocabularies was higher to 80%. These students could significantly pass the ‘Food Chemistry 2’ subject in relation to scores of final exam (p<0.05). 

Keywords        :    factor analysis, attributes, word cards, video, food chemistry

Donwload PDF  :  การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    ณัฎฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ. (2557). การวิเคราะห์ป ัจจัยในการเรียนวิชาเคมีอาหาร และการใช้บัตรคําและวิดีทัศน์ต่อ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา . ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 102-107). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด

 

Title              :  การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด : Study on Types and Contents of Biopolymers for Encapsulation and Diffusivity Coefficient of Mangosteen Pericarp Extract

Researcher       :  ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Nuttaphon Kajornboon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tunyaporn.sir@siam.edu

บทคัดย่อ             :  เปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นแหล่งสารแซนโทน (Xanthones) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระทางธรรมชาติที่สูง แต่เนื่องด้วยประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสามารถเกิดการเสียสภาพและลดลงได้ด้วยแสงหรือความร้อน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาการกักเก็บสารสำคัญโดยใช้เทคนิคการเอนแคปซูเลชันด้วยการห่อหุ้มสารสำคัญไว้ภายในโครงสร้าง โดยศึกษาการห่อหุ้มสารไบโอพอลิเมอร์ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมอัลจิเนต และ เวย์โปรตีน โดยแ ปรผันอัตราส่วนระหว่าง โซเดียมอัลจิเนต : เวย์โปรตีน เท่ากับ 100:0, 50:50, 62:38 และ 0:100 ในระบบอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (o/w) โดยใช้น้ำมันงาม้อนซึ่งเป็นวัฏภาคน้ำมัน โดยพบว่าไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ของค่าความคงตัวในทุกสิ่งทดลอง โดยให้ค่าความคงตัวสูง ไม่เกิดการแยกชั้นแล้วทำการเตรียมเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากเปลือกมังคุดแบบอนุภาคทรงกลม (Spherical) จากการศึกษาประสิทธิภาพในการปลดปล่อยพบว่า เมื่ออัตราส่วนของเวย์โปรตีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปลดปล่อยของสารสกัดจากเปลือกมังคุดลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชนิดและอัตราส่วนของสารไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้มีส่งผลต่อการกักเก็บและควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญในโครงสร้างไว้ได้

คําสําคัญ             :  สารไบโอพอลิเมอร์, เวย์โปรตีน, โซเดียมอัลจิเนต, เอนแคปซูเลชัน, สเฟียริคอล

Abstract            :  Mangosteen pericarp (Garcinia mangostana Linn.) is a source of xanthones, which are high efficiency of natural antioxidant. However, xanthones can be degraded due to light and heat. Therefore, the improvement or development of encapsulation using different types and contents of biopolymers was conducted in the present study. The objective of this study was to investigate stability of emulsion (oil-in-water emulsion) systems with the different types of two biopolymers (sodium alginate and whey protein concentrate) at different ratios (100:0, 50:50, 6 2 :3 8, and 0 :1 0 0), which was showed no significantly (p>0.05) effect of emulsion stability and encapsulation efficiency. In the present study, perilla oil was used as a disperse phase, while mangosteen pericarp extract was sensitive ingredient dissolve in perilla oil. Sodium alginate used as a carrier for spherical encapsulation showed low encapsulation efficiency, while whey protein showed high encapsulation efficiency observed from the k value. This study indicated that biopolymer types and biopolymer contents used resulted in encapsulation efficiency and control-release of encapsulation systems. 

Keywords        :    Biopolymer, Whey Protein, Sodium Alginate, Encapsulation, Spherical


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 515-519). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง

 

Title              :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง : Effect of Pretreatment and Drying Temperature on Drying Kinetics and Selected Quality Attributes of Dried Desiccated Shredded Coconut

Researcher       :  ณฐมล จินดาพรรณ,* กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และธัญญภรณ์ ศิริเลิศ
Nathamol Chindapan*, Kanjanalak Sreepalerd, Tidarat Inkaew, Nattiga Silalai and Tunyaporn sirilert

Department     : ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก:  Rchindapan@gmail.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้งที่มีต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่ได้ การเตรียมขั้นต้นในการศึกษานี้ ได้แก่ การผสมสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัมต่อเนื้อมะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม และการลวกโดยใช้ไอน้ำเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 และ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบถาด ในระหว่างการอบแห้ง ทำการสุ่มตัวอย่างออกมาวัดปริมาณความชื้น ทุกๆ 30 นาที จนกระทั่งความชื้นของตัวอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นรายงานปริมาณความชื้นสมดุลของแต่ละตัวอย่างและเวลาที่ใช้อบแห้งเพื่อทำให้แต่ละตัวอย่างมีความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 2.48 % (ฐานเปียก) นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์ลักษณะคุณภาพบางประการ ได้แก่ วอเตอร์แอคติวิตี้ ความหนาแน่นรวม อัตราการคืนตัว และค่าสีของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งที่เหลือความชื้น 2.48 % (ฐานเปียก) เปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม จากผลการทดลอง พบว่าวิธีการเตรียมขั้นต้นไม่มีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด แต่กระทบต่อลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมีผลต่อจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งเนื้อมะพร้าวขูด รวมทั้งลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้งอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05)

คําสําคัญ             :  การอบแห้ง จลนพลศาสตร์ เนื้อมะพร้าวขูด

Abstract            :  The objective of this study was to investigate the effect of pretreatments and drying temperatures on drying kinetics of desiccated shredded coconut and selected quality attributes of dried desiccated shredded coconut. Adding with sodium metabisulfite of 1 g per 1 kg desiccated shredded coconut and steam blanching for 5 minute were used to be pretreatment. Each pretreated sample was dried at 80 °C and 90 °C using tray dryer. During drying process, the sample was taken out for moisture content determination every 30 minute until its moisture was negligible. The equilibrium moisture content and drying time for final moisture content of about 2.48 % (w.b.) of sample at each drying condition was noted. Moreover, selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconuts having final moisture content of about 2.48 % (w.b.) obtained from different drying conditions were determined to compare with a control sample in terms of water activity, bulk density, rehydration ratio and color. The result showed that the pretreatments did not significantly affect the drying kinetics of the desiccated shredded coconut, but significantly affected the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05). The drying temperatures significantly affected both the drying kinetics and the selected quality attributes of the dried desiccated shredded coconut (p<0.05).

Keywords        :    Drying, Kinetics, Desiccated shredded coconut

Donwload PDF  :  ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2  ASTC 2014: The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (Innovative Education Challenges the Nation Towards AEC) วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗  ณ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    ณฐมล จินดาพรรณ, กาญจนาลักษณ์ ศรีภาเลิศ, ธิดารัตน์ อินทร์แก้ว, ณัฏฐิกา ศิลาลาย และ ธัญญภรณ์ ศิริเลิศ. (2557). ผลของการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิของการอบแห้ง ที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง และลักษณะคุณภาพบางประการของเนื้อมะพร้าวขูดอบแห้ง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่  2 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: การศึกษาคือนวัตกรรมนําพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (หน้า 317-323). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


 

Quick View

ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว

 

Title              :  ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว : Influence of Biopolymer Types and Contents on Stickiness Behavior of Tamarind Paste

Researcher       :  สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Supannee Kampeeburana, Kanokwan Kheatthaiyon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  nattiga.sil@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก มักพบปัญหาเรื่องความเหนียวและการเกาะติดกันเป็นก้อนที่ผิวของอาหาร เนื่องจากสมบัติการดูดความชื้นอย่างรวดเร็วของน้ำตาล ซึ่งผลิตภัณฑ์มะขามแก้วจัดเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มักพบปัญหาการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ที่มีสาเหตุมาจากการดูดซับน้ำของน้ำตาลทรายที่เป็นส่วนผสมหลัก สารไบโอพอลิเมอร์ เช่น สตาร์ช และมอลโตเด็กซ์
ตริน ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการปรับปรุงคุณลักษณะเนื้อสัมผัสและลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์ลงไปผสมในกระบวนการผลิต เพื่อลดการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาการใช้มอลโตเด็กซ์ตริน (Dextrose equivalent; DE-10) และแป้งข้าวโพดเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตด้วยสัดส่วนต่างๆ โดยการดัดแปลงสูตรดั้งเดิม
แล้วนำไปทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-Point hedonic scale พบว่า การเติมมอลโตเด็กซ์ตรินและแป้งข้าวโพดส่งผลต่อคุณลักษณะและเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มะขามแก้วซึ่งผลการทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสสามารถนำไปหาปริมาณสัดส่วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตด้วยวิธี Mixture Design พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (X1 = 75-85%) : แป้งข้าวโพด (X2 = 10-15%) :
มอลโตเด็กซ์ตริน (X3 = 5-10%) เป็นสูตรที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเพื่อใช้ในการศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อคุณลักษณะเนื้อสัมผัสการเกาะติดกันของผลิตภัณฑ์ โดยการใช้ 5-hedonic scale ผลจากการวิเคราะห์พบว่าสูตรที่ประกอบด้วยน้ำตาลทราย (82.5%) แป้งข้าวโพด (12.5%) และมอลโตเด็กซ์ตริน (5%) มีเนื้อสัมผัสที่ดีและสามารถลดความเหนียวที่ผิวรวมถึงการเกาะติดกันได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม จากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปศึกษาผลของสารไบโอพอลิเมอร์ต่อการระเหยน้ำของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการกวน (Drying curve) โดยให้ระดับความแรงของไฟคงที่ตลอดระยะเวลาในการกวน ทำการเปรียบเทียบกับสูตรดั้งเดิม พบว่า ปริมาณน้ำของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์จะลดลงน้อยกว่าสูตรควบคุม ณ เวลาเดียวกัน โดยมีความชื้น 10.86% (w/w) ขณะที่สูตรควบคุมมีความชื้นเท่ากับ 17.01% (w/w) ซึ่งสอดคล้องกับค่า Water activity ของสูตรที่มีการเติมสารไบโอพอลิเมอร์และสูตรควบคุมที่มีค่าเท่ากับ 0.53±0.14 และ 0.63±0.39 ตามลำดับชี้ให้เห็นว่าสารไบโอพอลิเมอร์ที่เติมลงไปมีผลช่วยในการอุ้มน้ำไว้ภายในโครงสร้างเพื่อลดการสูญเสียน้ำออกมาที่ผิวระหว่างการผลิตและการเก็บรักษา

คําสําคัญ             :  มะขาม การเกาะติดกัน มอลโตเด็กซ์ตริน แป้งข้าวโพด

Abstract            :  Stickiness and adhesion at particle surfaces are often found in sugar-rich foods due to hygroscopic properties of sugar. Sugar, is a main ingredient in tamarind candy, causes stickiness problem at surface. Biopolymer such as starch and maltodextrin have been used extensively to improve texture and reduce the adhesion characteristics of the products. In this study, biopolymers (maltodextrin DE-10 and corn starch) were used to add with different ratios into the products during the process to reduce surface stickiness of Tamarind candy product. All samples were evaluated by panelists using the 5-Point hedonic scale. Proportion of the components used in the process was determined by Mixture Design Method, which indicated 4 formula consisting of sugar (X1 = 75-85%) : corn (X2 = 1 0 -1 5 % ) : maltodextrin (X3 = 5-10%). These levels of components were use to study effect of biopolymer on appearance, color, texture and overall acceptability of product with 5-Point hedonic scale again. In the present study, it indicated that a proportion of sugar : corn flour : maltodextrin (82.5% : 12.5% : 5%) was the best formula used for production and compared to control group. Then, the best formula was used to study drying curve (loss of moisture content) during the process. Moisture content and water activity (aw) of sample and control samples decreased significantly during heating; however, moisture content and aw of the treatment were lower than the control at the same time of heating. Moisture content of the treatment was 10.86% (w/w), while moisture content of the control was 17.01% (w/w). This was agreed with the aw results. The aw of the treatment and the control was 0.53±0.14 0.63±0.39, respectively. Therefore, addition biopolymers such corn flour and maltodextrin could increase water holding capacity resulting in a decrease of moisture loss on particle surface of products during processing and storage.

Keywords        :    Tamarind; Stickiness; Maltodextrin; Corn flour


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    สุพรรณี คัมภีร์บูรณา, กนกวรรณ เกียรติไทยยนต์, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). ผลของชนิดและปริมาณไบโอพอลิเมอร์ต่อลักษณะเกาะติดของเนื้อสัมผัสในผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 507-514). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View