Impacts of Climate Change on Rainfall Erosivity in the Huai Luang Watershed

 

Title              :  Impacts of Climate Change on Rainfall Erosivity in the Huai Luang Watershed

Researcher       :  Pheerawat Plangoen  and Parmeshwar Udmale
Department      :  Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Email                       :  pheerawat.pla@siam.edu

Abstract            : This study focuses on the impacts of climate change on rainfall erosivity in the Huai Luang watershed, Thailand. The multivariate climate models (IPCC AR5) consisting of CCSM4, CSIRO-MK3.6.0 and MRI-CGCM3 under RCP4.5 and RCP8.5 emission scenarios are analyzed. The Quantile mapping method is used as a downscaling technique to generate future precipitation scenarios which enable the estimation of future rainfall erosivity under possible changes in climatic conditions. The relationship between monthly precipitation and rainfall erosivity is used to estimate monthly rainfall erosivity under future climate scenarios. The assessment compared values of rainfall erosivity during 1982–2005 with future timescales (i.e., the 2030s, 2050s, 2070s and 2090s). The results indicate that the average of each General Circulation Model (GCM) combination shows a rise in the average annual rainfall erosivity for all four future time scales, as compared to the baseline of 8302 MJ mm ha−1 h−1 year−1, by 12% in 2030s, 24% in 2050s, 43% in 2070s and 41% in 2090s. The magnitude of change varies, depending on the GCMs (CCSM4, CSIRO-MK3.6.0, and MRI-CGCM3) and RCPs with the largest change being 82.6% (15,159 MJ mm ha−1 h−1 year−1) occurring under the MRI-CGCM3 RCP8.5 scenario in 2090s. A decrease in rainfall erosivity has been found, in comparison to the baseline by 2.3% (8114 MJ mm ha−1 h−1 year−1) for the CCSM4 RCP4.5 scenario in 2030s and 2.6% (8088 MJ mm ha−1 h−1 year−1) for the 2050s period. However, this could be considered uncertain for future rainfall erosivity estimation due to different GCMs. The results of this study are expected to help development planners and decision makers while planning and implementing suitable soil erosion and deposition control plans to adapt climate change in the Huai Luang watershed.

Key words         :  climate change; rainfall erosivity; precipitation; soil erosion; sedimentation


Website              :  Atmosphere  Vol.8 No.8 Aug 2017  https://www.mdpi.com/2073-4433/8/8/143

 doi                       :  10.3390/atmos8080143

Bibliography     :  Pheerawat Plangoen & Parmeshwar Udmale. (2017). Impacts of Climate Change on Rainfall Erosivity in the Huai Luang Watershed.  Atmosphere,  8(8), 1-18. Retrieved from https://www.mdpi.com/2073-4433/8/8/143


Quick View

Mechanical and Physical Properties of Concrete Modified with Natural Rubber Latex

 

Title              :  Mechanical and Physical Properties of Concrete Modified with Natural Rubber Latex

Researcher       :  Pheerawat Plangoen          
Department      :  Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Email                       :  pheerawat.pla@siam.edu

Abstract            :  To improve the performance of concrete, natural rubber latex (NRL) is mixed with concrete. It has been observed that rubber latex-modified concrete is more durable than conventional concrete due to superior strength. This study analyzed the physical and mechanical properties of concrete mixed with natural rubber latex. In this research, impacts of natural rubber latex on workability, bleeding of concrete, compressive strength, tensile strength, flexural strength, bond stress and water absorption using concrete with a nominal concrete mix proportion of 1:2:4 (cement : sand : gravel) by volume. Rubber latex-modified concrete compositions containing 0%, 1%, 3%, 5%, 10%, and 15% by weight of cement were prepared or polymer concrete ratio (P/C), and the strength of the structure was tested after 28 days. The results indicated that the polymer cement ratio (P/C) of 1% gives the best performance with 245 ksc compressive strength, 35 ksc tensile strength, 46 ksc flexural strength, 34 ksc bond stress and average water absorption was 0.95%. Based on the results of this study, polymer cement ratio (P/C) of 1% by weight is most recommended to be used with various types of concrete structures.

Key words         :  natural rubber latex, concrete, mechanical, polymer cement ratio


Website              :  2018 5th Global Conference on Polymer and Composite Materials (PCM 2018) http://www.cpcmconf.org/2018/

Download PDF :  Mechanical and Physical Properties of Concrete Modified with Natural Rubber Latex

Bibliography     :  Pheerawat Plangoen. (2018). Mechanical and physical properties of concrete modified with natural rubber latex. In 2018 5th Global Conference on Polymer and Composite Materials (PCM 2018). Kitakyushu, Japan


Quick View

การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน

 

ชื่อบทความวิจัย     :  การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน: Technology Transfer Using Rubber Latex Application in Irrigation System Maintenance

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน       
เจ้าของผลงานร่วม: ดร.ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล, นายสมพร พิบูลย์, นายธนิต บุญพันธ์
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้น้ำยางพาราในงานซ่อมแซมคลองชลประทานให้กับผู้เข้าร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีและเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม และเกษตรกร หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

คำสำคัญ                :   ยางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน, ยางพารา


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 14 2559 CRMA Journal Vol. 14 2016

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=ii4hQf2nUAs%3d

Bibliography  :  พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ฐกลพัศ เจนจิวัฒนกุล, สมพร พิบูลย์ และ ธนิต บุญพันธ์. (2559). การถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์ใช้นํ้ายางพาราในงานบำรุงรักษาระบบชลประทาน. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14, 117-129.


Quick View

การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน

 

ชื่อเรื่อง              :  การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน: The Development of Mortar Mixed with Rubber Latex for Irrigation Canal Maintenance

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม: อาจารย์สมศักดิ์ ชินวิกกัย  และ ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์สำหรับใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองส่งน้ำชลประทาน ทั้งนี้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราโดยกำหนดอัตราส่วนปริมาณเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบมอร์ต้าร์ไม่ผสมน้ำยางพาราด้วยสำหรับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) แปรเปลี่ยนที่ 0.4, 0.5 และ 0.6 ผลการวิจัยพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน มีสมบัติทางกลและการดูดซึมน้ำดีที่สุด ดังนี้ กำลังรับแรงอัด 310 กก./ซมกำลังรับแรงดัด 70 กก./ซมกำลังรับแรงดึง 46 กก./ซมการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.35 และ การรั่วซึมน้ำ 13.64 มม./วัน ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกน้ำไปประยุกต์ใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองชลประทานที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี จากการติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคลองส่งนน้ำชลประทาน พบว่าปริมาณน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาไหลได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมได้ดีและทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทาน

คำสำคัญ                :   มอร์ต้าร์, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สมบัติทางกลของมอร์ต้าร์, คลองชลประทาน


Website               :  วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2561  http://www.kmutt.ac.th/rippc/v41n2.htm

Download PDF :  การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ชวน จันทวาลย์. (2561). การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน.  วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 41(2), 211-223.

Quick View

การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT

 

ชื่อบทความวิจัย     :  การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT: Study of Runoff Simulation in Huai Luang Watershed Using SWAT

เจ้าของผลงาน       :  อาจารย์ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ            
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน , ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   แบบจำลองลุ่มน้ำ, น้ำท่า, ห้วยหลวง


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 14 2559 CRMA Journal Vol. 14 2016

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=ii4hQf2nUAs%3d

Bibliography  : ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ, พีรวัฒน์ ปลาเงิน และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2559). การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14, 145-158.


Quick View

การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

 

ชื่อเรื่อง              :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา: Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์ และ นายณัฐพล อภินันทโน

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ โครงสร้างจุลภาคคอนกรีตผสมน้ำยางพาราความสามารถในการเทได้ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และการดูดซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%,3%, 5%, 10% และ 15% (โดยน้ำหนัก) อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 และทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตระยะเวลา 28 วัน พบว่าคอนกรีตผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% มีคุณสมบัติทางกลดีได้ค่ากำลังรับแรงอัด 244 กก./ซมกำลังรับแรงดึง 35 กก./ซมโมดูลัสความยืดหยุ่น 46 กก./ซมการดูดซึมน้ำร้อยละ 1.0 จากผลการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการจึงแนะนำให้ใช้อัตราส่วนผสมคอนกรีตสำหรับนำไปใช้งานในการหล่อคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยใช้น้ำยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 1% (โดยน้ำหนัก) สำหรับปูนซีเมนต์ 50 กก. (1 ถุง) ประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ ดังนี้ ทราย 135 กก. หินกรวด 148 กก. น้ำ 29.67 กก. และน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ 0.83 กก. การศึกษาวิจัยภาคสนามได้พัฒนาคูส่งน้ำผสมน้ำยางพาราแบบสำเร็จรูปและแบบดาดในที่ติดตั้งในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร ซึ่งมีขนาดของก้นคูส่งน้ำ 0.40 ม. สูง 0.30 ม. และความหนา 0.07 ม. การติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคูส่งน้ำในพื้นที่แปลงนา พบว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาจะไหลได้สะดวกและเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมจึงทำให้ประสิทธิภาพการชลประทานเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ                :   คูส่งน้ำชลประทาน, น้ำยางพารา, คอนกรีต, ชลประทานไร่นา


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ ณัฐพล อภินันทโน. (2561). การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View

คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

 

ชื่อเรื่อง              :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา: Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์, ร.อ.ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, นนร.กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, นนร.ตรีเพชร์ จาโสด และ นนร.รณภพ ค่ายหนองสวง

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               :  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์ โดยทางกายภาพพิจารณา ความข้นเหลวปกติของซีเมนต์เพลส, ระยะการก่อตัวเริ่มต้น, ค่าการดูดซึมน้ำ และโครงสร้างทางจุลภาคของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา โดยใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และชุดเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ส่วนคุณสมบัติทางกลพิจารณากำลังอัด กำลังดึง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ทดสอบที่ระยะเวลา 28 วัน โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5%, อัตราส่วนปูนต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.50  โดยการศึกษาพบว่าซีเมนต์เพลสผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5% ได้ค่าระยะการก่อตัวเริ่มต้นเท่ากับ 128 นาที, 123 นาที, 75 นาที และ 35 นาที และค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.85, 3.46, 4.68 และ 5.35 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราพบว่าการผสมน้ำยางพาราในมอร์ต้าร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้คุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ของมอร์ต้าร์สูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่ไม่ผสมน้ำยางพารา (P/C = 0%) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตรา P/C เท่ากับ 1% ที่มีค่าคุณสมบัติการรับแรงดีที่สุด ได้ค่ากำลังอัด 375 ksc ก าลังดึง 39 ksc และก าลังดัด 65 ksc จากผลการศึกษาแนะนำใช้อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% ในงานก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้มอร์ต้าร์เป็นวัสดุ เช่น ถังเก็บน้ำเฟอร์ซีเมนต์ และคูส่งน้ำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นต้น

คำสำคัญ                :   มอร์ต้าร์, น้ำยางพารา, สมบัติทางกล, โครงสร้างจุลภาค


Website               :   การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 http://www.ncce23.org/home/index.php?l=en

Download PDF :  คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จนัทรเ์พ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง. (2561). คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.


Quick View
คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อเรื่อง              :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม พันเอก ผศ.ดร.ชวน จันทวาลย์, นายสมพร พิบูลย์

หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  การสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (2) การประยุกต์ใช้น้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง และ (3) ศึกษาการรั่วซึมน้ำในแบบจำลองคลองชลประทานผสมน้ำยางพารา โดยมีวัตถุประสงค์จัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างสระน้ำโดยใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราเพื่อให้กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์และขยายผลในพื้นที่ต่อไป

คำสำคัญ                :   คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง, คอนกรีตผสมน้ำยางพารา, สระน้ำต้านภัยแล้ง


Website               :  ศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

                                   http://www.thai-explore.net/search_detail/result/4620

Download PDF :  คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

Bibliography     : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ สมพร พิบูลย์. (2560). โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้คอนกรีตผสมน้ำยางพาราพัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).


Quick View

ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง: Application of Rubber Latex and Soil Cement Develop Drought Relieving Water Pond

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ               : งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และน้ำยางพารา โดยทำการทดสอบกับตัวอย่า่งดินลูกรังที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ น้ำ อัตราส่วน 5 : 2 : 1 โดยใช้ปริมาณน้ำยางพารา 5% , 7.5% , 10% และ 12.5% ของปริมาณน้ำ โดยปริมาตรการทดสอบคุณสมบัติทางกลของตัวอย่างชิ้นงานที่ระยะบ่ม 28 วัน ประกอบด้วยกำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของปริมาณน้ำ ที่ใช้ผสมดินซีเมนต์อายุการบ่มที่ 28 วัน ให้คุณสมบัติทางกลดีที่สุด ได้แก่ ด้วยกำลังรับแรงอัด 84 ksc กำลังรับแรงดึง 19 ksc กำลังรับแรงดัด 8.75 ksc และร้อยละการดูดซึมน้ำ 6.23% ตามลำดับ ดังน้ันการปรับปรุงดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา 7.5% ของน้ำที่ใช้ผสมดินซีเมนต์ให้ค่าคุณสมบัติด้านวิศวกรรมดีที่สุด ได้นำผลการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการไปทดสอบการใช้งานภาคสนามโดยการก่อสร้างสระน้ำ ดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพาราร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และหลังจากก่อสร้างสระน้ำแล้วเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากสระน้ำ ในช่วงฤดูแล้งได้

คำสำคัญ                :   คุณสมบัติทางกลดินซีเมนต์, น้ำยางพารา, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สระน้ำ


Publication: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2561  Engineering Journal Chiang Mai University Vol. 25 No.2 May-Aug 2018

Link to Publication:  http://researchs.eng.cmu.ac.th/?name=journal&file=readjournal&id=37

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน. (2561). ประยุกต์ใช้น้ำยางพาราและดินซีเมนต์พัฒนาสระน้ำต้านภัยแล้ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(2), 170-180.


Quick View

ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน

 

ชื่อบทความวิจัย     :  ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน: Impact of Land Use and Climate Change on Soil Erosion in the Upper Part of Yom River Basin

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน                 
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               : บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   การชะล้างพังทลายของดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ลุ่มนํ้ายมตอนบน


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 13 2558 CRMA Journal Vol. 13 2015

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=P2aef7WmJ0w%3d

Bibliography  : พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สานิตย์ดา เตียวต๋อย, และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2558). ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภูมิอากาศต่อการชะล้างพังทลายของดินลุ่มนํ้ายมตอนบน วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 13, 65-78.


Quick View