การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (2562)

 

Title              :  การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร : Development of Mental Health Promotion Model in Community by Participatory Action Research Process: Case Study of a Community in Bangkok

Researcher       : Susaree Prakhinkit, Jarusdaw Renold, Orntipa Songsiri

สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์, อรทิพา ส่องศิริ

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน มีผู้เกี่ยวข้องจำนวน 38 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขอาจารย์พยาบาลสมาชิกในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย4องค์ประกอบ ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน อิทธิพลระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านตัวบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์สอดคล้องกับแบบส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) ภายหลังสิ้นสุดโครงการ สมาชิกในชุมชนมีความสุขในระดับปกติมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีสมาชิกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเห็นความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสามารถเผชิญกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

คําสําคัญ             :  การสร้างเสริมสุขภาพจิต กระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The research was participatory actionresearch.Theobjective was to develop a model of mental health promotion in community. The thirty-eight participants including nurses of public health service center, nursing instructor, village health volunteers and members community joined this study. This research was conducted during June 2015 to May 2016. Theresearchinstruments werein-depthinterviews, civil society forum, small group discussion,
observation, and lesson learned visualizing. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics were performed for quantitative data. The results found that the model mental health promoting was composed of four factors; community leader factors, interpersonal influence, personal factors and situational influence. These 4 factors corresponded well with the model of Pander (2002). At the end of the research members community reported having improved happiness and qualityof life. They were interested and participated inrelaxationactivities. They were awareof good family relationship. Patients with mental disorder took medicine as prescribed by the doctor and dealt with stress effectively.

Keywords        :  Mental Health Promotion, Participatory Process, Community, Bangkok


Link to Publication :  วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์ และ อรทิพา ส่องศิริ . (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 7-17.


Quick View

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2562)

 

Title              :  ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ : Effects of mind and body exercise five happiness program for lipid profile percent fat bone mineral density and blood pressure in elderly club

Researcher       : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, กาญจนา งามจันทราทิพย์

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

Abstract            :  This study was an experimental research with a two-group, pre-post test design carried out to determine the potential effects of the five-happiness, mind-and-body exercise program on lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), bone mineral density (BMD), and blood pressure in members of the elderly club. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n = 25), and exercise groups (n = 25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. Blood samples were collected and laboratory assessments were performed for lipid profile, body fat percentage (BFP), bone mineral density (BMD), and blood pressure pre-post program. Pre and post-intervention, intra-group data analysis was performed using paired t-test and inter-group data was analyzed using independent t-test. The results showed that lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure had decreased while body mineral density (BMD) had increased significantly among participants in the exercise group (p<0.05). However, there was no significant change from baseline for lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), and blood pressure in the control group. It was found that there was a statistically significant decrease in lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while there was a statistically significant increase in bone mineral density (BMD) in the intervention group, when compared with the control group (p<0.05). We concluded the five-happiness, mind-and-body exercise program was effective in reducing lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while increasing bone mineral density (BMD), in members of the elderly club.

Keywords        : he five-happiness, mind-and-body exercise program, ipid profile, blood pressure


Link to Publication : วารสารควบคุมโรค ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2562

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์ และ กาญจนา งามจันทราทิพย์. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค, 45(2), 180-190.


Quick View

ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง (2562)

 

Title              :  ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง  : The effectiveness created happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) to stress happiness and quality of life for caregiver of schizophrenia inurban community

Researcher       :  สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก, พาจนา ดวงจันทร์

Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทผ่านแอพพลิเคชันต่อระดับความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตเมือง โดยพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดแอปพลิเคชัน บนหลักการการจัดการความเครียด ด้วยวิธีการสร้างภาพตามจินตนาการ  (Guided Imagery) สมาธิแบบการเคลื่อนไหว ( Dynamic meditation) เสียง ดนตรีบําบัด (Music therapy) ภายใต้ชื่อ GDM application และ ทดสอบโปรแกรมในผู้ดูแลจํานวน 30 คนสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มควบคุมจํานวน 15 คนกลุ่มทดลอง 15 คนใช้โปรแกรม 6 วัน/สัปดาห์เป็นระยะ 4 สัปดาห์ ประเมินความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้ สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอยางเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพ ่
ชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ในกลุ่มทดลอง แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหวางกลุ่ม พบว่าความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สรุปได้ว่า โปรแกรมสร้างสุข จัดการความเครียดผ่านจีดีเอ็มแอปพลิเคชันสามารถช่วยลดความเครียดเพิ่มความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมืองได้

คําสําคัญ             : โปรแกรมสร้างสุข ผอนคลายความเครียดผ่านแอปพลิเคชั่น ความสุข ความเครียด

Abstract            :  This study was quasi-experimental research with two groups pre-post test design carried out to development happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) and determine the effects of the happiness relaxation stress program through GDM application for stress, happiness and quality of in caregiver of schizophrenia in urban community. This research methodology was developed happiness relaxation stress program through GDM application approach relaxation stress by guided Imagery, dynamic meditation, music therapy and used name GDM application and determine the effects of program. A total of 3 0 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=15), and experimental groups (n=15). happiness relaxation stress program through GDM application was designed using for 6 times/ week for 4 weeks. The stress, happiness, quality of life were assessed pre-post program. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that stress was less, increasing happiness and quality of life were higher in the experimental group (p<0 .0 5 ). However, there were no significant difference for stress, happiness, quality of life in control group. Experimental group was a significantly happiness and quality of life higher and stress lower than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the happiness relaxation stress program through GDM application program was effective in decreasing stress, increasing happiness quality of life in caregiver of schizophrenia in urban community.

Keywords        : The happiness relaxation stress program through GDM application program, stress, happiness


Link to Proceeding : รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceeding) การประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3 : การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล วันที่ 24-26 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ หลักสี่กรุงเทพมหานคร

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก  และ พาจนา ดวงจันทร์. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3: การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล (หน้า 225-236). นนทบุรี: กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.


Quick View

ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ (2561)

 

Title              :  ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ : Effects of Five Dimension Happiness Program on Functional Fitness, Happiness, and Quality of life in Wat Ratchawarin Elderly Club

Researcher       :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์

                                  Susaree Prakhinkit, Suratchana Kasaesemviriya and Rosaya Yuwapornpanit
Department     :   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tik.susaree@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (Two groups pre-post test design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน กลุ่มออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ จำนวน 25 คน กำหนดที่ระดับความหนักของการออกกำลังกายเท่ากับเล็กน้อย (20-39% Heart Rate Reserve) ถึงปานกลาง (40-50% Heart Rate Reserve) ความถี่การออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบวัดขององค์การอนามัยโลก (The World Health Organization Quality of Life) ก่อนและหลังใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า สมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าสมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตได้

คําสําคัญ             :   สุข 5 มิติ สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต

Abstract            :  This study was experimental research with two groups pre-post test design carried out to determine the effects of the five happiness exercise program on physical fitness, happiness and quality of life in Senior Citizen club of Wat Ratchawarin. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=25), and exercise groups (n=25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. The World Health Organization Quality of Life questionnaires were assessed physical fitness, happiness, quality of life pre-post programs. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that physical fitness, happiness and the quality of life was greater in the exercise group (p<0.05) . However, there were no significant difference in physical fitness, happiness and the quality of life in control group. Exercise group was a significantly physical fitness, happiness and the quality of life more than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the five happiness exercise program was effective in increasing physical fitness,
happiness and quality of life in Wat Ratchawarin elderly club.

Keywords        :   The five happiness, Physical fitness, Quality of life


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์. (2561). ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า HS 2-HS 7). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View