วันสำคัญประจำปี

สาระความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย และของต่างประเทศ-Important day of thailand and abroad

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

[box type=”note”]กองทัพอากาศ  มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศ ด้วยหน้าที่เช่นนี้ ทำให้กองทัพอากาศต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมการให้พร้อมทุกเมื่อ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้พร้อมเพรียง คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้านยุทธการ หรือด้านร่วมมือประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ในการเกื้อกูล สนับสนุน เพื่อให้ประเทศและประชาชนภายในประเทศอยู่อย่างปกติสุข ปลอดจากภยันตราย และความเดือดร้อนยากเข็ญต่าง ๆ และเนื่องด้วยในวันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ระลึกกองทัพอากาศ เราขอพาทุกท่านไปรู้จัก กองทัพอากาศ พร้อมประวัติและบทบาทของกองทัพอากาศ[/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นของกองทัพอากาศ[/quote] กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัย ที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง […]

วันที่ระลึกกองทัพอากาศ Read More »

world-tuberculosis-day-logo-วัณโรคโลก

[box type=”note”]วันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ ประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม[/box] วันวัณโรคโลก (World Tuberculosis Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อให้ ประชาชน ตระหนักถึงปัญหาวัณโรคที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของ ประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม สาเหตุที่ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม  เนื่องจากในวันนี้เมื่อปี ค.ศ.1882 (พ.ศ.2425) ดร.โรเบิร์ต คอค ได้ประกาศการค้นพบสาเหตุของวัณโรค คือ เชื้อ แบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คิวโลซิส โดยในขณะที่คอคได้ประกาศความสำเร็จที่เบอร์ลินนั้น วัณโรค ได้ระบาดไปทั่วยุโรปและอเมริกาและเป็นสาเหตุการตายของประชากร 1 ในทุก ๆ 7 คน การค้นพบของคอค ถือเป็นการบุกเบิกวิธีการรักษาและวินิจฉัยวัณโรค ในปี ค.ศ.1982 (พ.ศ. 2525)

24 มีนาคม วันวัณโรคโลก Read More »

วันอุตุนิยมวิทยาโลก World meteorological day

[box type=”note”]วันอุตุนิยมวิทยาโลก ตรงกับวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี วันสำคัญดังกล่าวเริ่มต้นมาจากการที่ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การหนึ่งขึ้นมาเพื่อสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก ทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ [/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นของวันอุตุนิยมวิทยาโลก[/quote] วันอุตุนิยมวิทยาโลกเริ่มมาจากการที่ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจสภาพอากาศทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ  ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน โดยใช้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (ตัวย่อ WMO ) หรือรู้จักกันในชื่อเดิมว่า International Meteorological Organization หรือ IMO ซึ่งองค์กรที่ว่านี้มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1873 หรือ พ.ศ. 2416 โดยมีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group) ต่อมาองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 187 ประเทศ รวมทั้งชุมชนอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ได้ตกลงร่วมกันที่จะให้วันที่

วันอุตุนิยมวิทยาโลก 23 มีนาคม Read More »

วันอนุรักษ์น้ำโลก World for Water Day

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#99cccc” bcolor=”#0066cc” arrow=”yes”]ความเป็นมาของ วันอนุรักษ์น้ำโลก[/quote] น้ำในโลกของเราร้อยละ 97.41 เป็นน้ำทะเล มีเพียงร้อยละ 2.59 เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่งแบ่งเป็นน้ำแข็งบนขั้วโลกร้อยละ 1.984 น้ำใต้ดินร้อยละ 0.592 และน้ำผิวดินร้อยละ 0.014 โดยน้ำผิวดินนี้แบ่งออกเป็นน้ำในทะเลสาบร้อยละ 0.007 น้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินร้อยละ 0.005 น้ำในแม่น้ำ น้ำในสิ่งมีชีวิตและไอน้ำในบรรยากาศ อย่างละร้อยละ 0.001 เท่านั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าปริมาณน้ำจืดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้เพื่อยังชีพนั้นมีน้อยมาก (Patchain 2136, 2556) น้ำเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของโลกอย่างมากเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนทั้งโลกมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล ดังนั้นเมื่อก้าวมาสู่ยุคนี้ที่น้ำเกิดจากการผลิตของภาครัฐการใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ มนุษย์จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้งานปริมาณน้ำมากที่สุดรวมถึงการทำให้เกิดน้ำเสียเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยเราใช้น้ำเพื่อทำอาหาร ล้างสิ่งสกปรก อาบน้ำ รับประทาน ใช้น้ำเป็นส่วนผสมในการทำน้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น จึงได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์  และใช้น้ำอย่างประหยัด ซึ่งปัญหาน้ำเป็นสิ่งที่ทั่วโลกวิตกกังวลกันอยู่  รวมถึงมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับน้ำอย่างที่ได้เห็น (Moobo, 2557) [box type=”note”]วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day) หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก

วันอนุรักษ์น้ำโลก World for Water Day Read More »

วันป่าไม้โลก-World forestry day

[box type=”note”]วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World forestry day) เพื่อให้คนทั่วโลก เล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ที่มีอยู่จำกัด โดยจะมีกิจกรรม รณรงค์ปลูกป่าในวันนี้ด้วย [/box] [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมาของวันป่าไม้โลก[/quote] วันป่าไม้โลก มีต้นกำเนิดมาจากการประชุมสมัชชาทั่วไปของสันนิบาตยุโรปด้านการเกษตร (European Confederation of Agriculture) ครั้งที่ 23 ในปี 2541 และในปีเดียวกันนั้น องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้มีการกำหนดให้ทุกวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World Forestry Day) ตั้งแต่ปี 2514 เป็นต้นมา เพื่อให้คนทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบันที่มีอยู่จำกัด [quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#339933″ bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ความสำคัญของป่าไม้[/quote] ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ

21 มีนาคม วันป่าไม้โลก (World forestry day) Read More »

นักประพันธ์-johann-sebastian-bach

[box type=”note”]วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของนักประพันธ์ เพราะเป็น “วันกวีนิพนธ์สากล” และผู้ที่มีบทบาทสำคัญทำให้เกิดวันนี้ขึ้น ก็คือ   โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) นักประพันธ์ชื่อดัง และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก[/box] โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น “แพชชั่น” บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน

วันกวีนิพนธ์สากล 21 มีนาคม Read More »

อาสาสมัครสาธารณสุข

[box type=”note”]อาสาสมัครสาธารณสุข คือ บุคคลที่สมัครใจจะทำงานเพื่อสังคมโดยส่วนรวมในด้านการพัฒนาสุขภาพ ตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน [/box] การสาธารณสุขมูลฐาน หมายถึง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นซึ่งจัดให้อย่างทั่วถึงสำหรับทุกคนและทุกครอบครัวในชุมชน โดยการยอมรับและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของทุกคนด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินกำลังของชุมชนและประเทศจะรับได้ โดยการผสมผสานของระบบบริการสาธารณสุขและระบบการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศไปด้วยกัน (ไพจิตร  ปวะบุตร, 2537) อาสาสมัครสาธารณสุข มีชื่อย่อว่า “อสม.” จำแนกเป็น 4 ประเภท (Guru Snook, 2556) ได้แก่ [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ภูมิภาค หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง รวมถึงเมืองพัทยา เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร หมายความว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรียกว่า อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร (อสส.) [dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]อาสาสมัครสาธารณสุข ของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ผ่านการอบรมตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (อสม.กฟผ.) และอาสาสมัครสาธารณสุขขนส่งมวลชน (อสม.ขสมก) ฯลฯ

วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ Read More »

วันสิทธิผู้บริโภคสากล-World Consumer Rights Day

15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day  โดยสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 220 องค์กร ใน 115 ประเทศทั่วโลก วันสิทธิผู้บริโภคสากล และความสำคัญ วันสิทธิผู้บริโภคสากล หรือ World Consumer Rights Day ตรงกับวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก ประวัติความเป็นมา วันสิทธิผู้บริโภคสากลเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นผู้บัญญัติวันสำคัญสากลนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า Consumer Right Day โดยได้รับการรับรองจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ทว่ามาเริ่มจัดกิจกรรมและรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวันนี้จริง ๆ ก็เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี ค.ศ.

วันสิทธิผู้บริโภคสากล Word consumer rights day Read More »

วันช้างไทย-elephant day

[box type=”note”]คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย [/box] [quote arrow=”yes”]ประวัติของวันช้างไทย[/quote] วันช้างไทยเกิดจากการริเริ่มของคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ  มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม  จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

วันช้างไทย Elephant Day Read More »

International Women Day

วันสตรีสากล International Women’s Day  เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women’s Day) ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐) และมีการชุมนุมประท้วงอีกในวันเดียว กันในปี ค.ศ.๑๙๐๗ และ ค.ศ. ๑๙๐๘ ต่อมาในวันเดียวกันในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ และประกาศให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล” [quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล”[/quote] เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คน ต้องเสียชีวิต  จากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๘

๘ มีนาคม วันสตรีสากล International Women’s Day Read More »

World Kidney day-วันไตโลก

[box type=”note”]วันไตโลก World Kidney day ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี  ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการตระหนักถึงสุขภาพไต และในปี พ.ศ. 2561 นี้วันไตโลกตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็น วันสตรีสากล ด้วย กิจกรรมวันไตโลกในปี 2561 จึงเน้นการรณรงค์สุขภาพไตในสตรี  ภายใต้  คำขวัญเก๋ ๆ ว่า  สตรีไทย “ไต” Strong[/box] ไต  คือ  อวัยวะสำหรับขับถ่ายสิ่งที่เป็นสารละลายออกจากร่างกาย มี 2 อัน รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังตอนบั้นเอว มีเบาะไขมันเป็นส่วนป้องกัน หลอดไตทั้งสองจะต่อไปที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีท่อปัสสาวะ นำปัสสาวะออกจากร่างกาย (อุทัย สินธุสาร, 2531, น.1603) [quote arrow=”yes”]“โรคไต”[/quote] โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ  จึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร

วันไตโลก World Kidney day Read More »

วันนักข่าว

[box type=”note”]วันนักข่าว การประชุมก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย มีขึ้นที่ศาลานเรศวร สวนลุมพินี วันที่ 5 มีนาคม 2498[/box] ในจุลศักราช 1227 นำความรู้จากซีกโลกตะวันตกมาเผยแพร่ในสยามยุคปลายรัชกาลที่ 3   เป็นจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม  และยังเป็นรากฐานงานสื่อสารมวลชนในไทย  โดยเริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงดำริให้ตีพิมพ์ประกาศหลายฉบับสื่อสารกับประชาชน เช่น “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก”  ให้ข้อเท็จจริงชี้ให้ประชาชนเห็นว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของสื่อสารมวลชนในไทย  เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4  ขณะที่ตอนนั้นสื่อมวลชน  ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์สำคัญของโลก  การทำหน้าที่ตีแผ่เรื่องราวทำให้สื่อมวลชนกลายเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคม  จากคนนำสาส์นจึงได้รับการขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” คำๆ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลก [box type=”note”]”ฐานันดรที่ 4″  หมายถึง นักหนังสือพิมพ์ แต่ใน ปัจจุบัน หมายถึง สื่อโทรทัศน์  วิทยุรวมเป็นสื่อสารมวลชน เข้ามาแทนที่ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ม.ป.ป., Thai PBS, 2559)[/box] การออกสื่อสมัยนั้นเหมือนการเล่าข่าว คนไทยยังรู้หนังสือไม่มาก มีผู้รู้ไปเล่าต่อ ยังไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นหลักฐานแท้จริง จนมาถึงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 มีเจ้านายออกหนังสือมากขึ้น ก็เป็นที่นิยมอ่าน

วันนักข่าว Read More »