วันไตโลก World Kidney day

[box type=”note”]วันไตโลก World Kidney day ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี  ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการตระหนักถึงสุขภาพไต และในปี พ.ศ. 2561 นี้วันไตโลกตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็น วันสตรีสากล ด้วย กิจกรรมวันไตโลกในปี 2561 จึงเน้นการรณรงค์สุขภาพไตในสตรี  ภายใต้  คำขวัญเก๋ ๆ ว่า  สตรีไทย “ไต” Strong[/box]

ไต  คือ  อวัยวะสำหรับขับถ่ายสิ่งที่เป็นสารละลายออกจากร่างกาย มี 2 อัน รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังตอนบั้นเอว มีเบาะไขมันเป็นส่วนป้องกัน หลอดไตทั้งสองจะต่อไปที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีท่อปัสสาวะ นำปัสสาวะออกจากร่างกาย (อุทัย สินธุสาร, 2531, น.1603)

[quote arrow=”yes”]“โรคไต”[/quote] World-Kidney-day วันไตโลกโรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ  จึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร และ/หรือธาตุอาหารส่วนเกินที่ปกติร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะโดยผ่านการทำงานของไต ซึ่งเมื่อเกิดโรคไต ไตจะทำงานได้ลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการเหล่านั้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนในที่สุดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย ถ้าไม่ได้รับการล้างไต หรือไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม (พวงทอง ไกรพิบูลย์, ม.ป.ป.)

ไตวาย (Kidney Failure หรือ Renal Failure) คือ ภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด จนไม่สามารถขับของเสียออกมาจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความไม่สมดุล หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ และเป็นอันตรายแก่ชีวิต (“ไตวาย”, ม.ป.ป.) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]ไตวายเฉียบพลัน  หมายถึง (Acute Kidney Failure หรือ Acute Renal Failure) เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด โดยเริ่มจากปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการบวมที่ขาและเท้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดหลังบริเวณชายโครง หายใจถี่ ทั้งนี้บางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย หรือในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการชักหรือหมดสติเข้าสู่ภาวะโคม่าแบบเฉียบพลัน[divide icon=”circle” width=”medium”] [dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]ไตวายเรื้อรัง  หมายถึง ความผิดปกติทางด้านโครงสร้างหรือการทำงานของไตซึ่งเป็นมานานมากกว่า 3 เดือน ความผิดปกติดังกล่าวมีได้หลายลักษณะ ได้แก่ การมีโปรตีนไข่ขาว (albumin) รั่วออกมาในปัสสาวะ การมีปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีเลือดปนในปัสสาวะ การมีความผิดปกติของเกลือแร่ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติในการรักษาสมดุลเกลือแร่ของไต ความผิดปกติที่พบจากการตรวจชิ้นเนื้อไต ความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางรังสีวิทยา หรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต และความผิดปกติของอัตราการกรองของเสียของไต (glomerular filtration rate) ความผิดปกติต่างๆ เหล่านี้ก็จะนำไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตในที่สุด  (ธานี  เอี่ยมศรีตระกูล, 2561)[divide icon=”circle” width=”medium”]

นันทา  มหัธนันท์ และ สมรัก รอดพ่าย  (2551)  อธิบายว่าโรคไตชนิดเรื้อรัง สามารถแบ่งระยะของโรคออกเป็น 5 ระยะ ในระยะ 1-3 ถือเป็นระยะแรกๆ ซึ่งหากผู้ป่วยในระยะนี้ได้รับการรักษาด้วยยา และการควบคุมอาหาร จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตไปได้มาก และช่วยให้มีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น แต่ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนมากมักจะยังไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคไตเพราะจะไม่มีการแสดงอาการของโรคจนกว่าจะเข้าสู่ระยะที่ 4-5 ซึ่งจะเรียกว่า ไตวายระยะสุดท้าย  ซึ่งจะต้องใช้เครื่องฟอกไตในการรักษาไปตลอดชีวิต

[quote arrow=”yes”]ตาราง แสดงระยะต่างๆ ของโรคไตเรื้อรัง[/quote]
ระยะของโรค ระดับการทำ งาน (อัตราการกรอง ของเสีย) ที่ลดลงของไต นิยาม
1 ไตทำงานปกติแต่ตรวจพบความผิดปกติอื่นๆ
เช่น มีเม็ดเลือดในปัสสาวะ
ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต
เริ่มตรวจพบความผิด
ปกติที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
2 การทำงานของไตลดลงเหลือร้อยละ 60 – 90 ของค่าปกติ โรคไตเรื้อรัง ระดับต้น
3 การทำงานของไตลดลงเหลือร้อยละ 30-59 ของค่าปกติแบ่งเป็น 3a การทำงานของไต ร้อยละ 45 – 59 3b การทำงานของไตร้อยละ 30 – 44 โรคไตเรื้อรัง
ระดับปานกลาง
4 การทำงานของไตลดลงเหลือร้อยละ 15 – 29 ของค่าปกติ โรคไตเรื้อรังที่เป็นมาก
5 การทำงานของไตลดลงน้อยกว่าร้อยละ 15 ของค่าปกติ ไตวายระยะสุดท้าย
ที่มา: ธนันดา ตระการวนิช และอรอัชฌา ศิริมงคลชัยกุล (ม.ป.ป.)
[quote arrow=”yes”]การป้องกันการเกิดโรคไต (ทวี ศิริวงศ์, ม.ป.ป.)[/quote]

Kidney-Dialysisโรคไตผู้ที่จะเกิดโรคไตวาย แบ่งง่ายๆ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว กลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคนิ่ว เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่มีโรคซ่อนอยู่แต่ไม่รู้ตัว บางท่านรู้สึกว่าตนมีสุขภาพแข็งแรง ในขณะที่บางท่านกินยาที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้เป็นประจำ[divide icon=”circle” width=”medium”] กลุ่มแรก ท่านคงต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ เป้าหมายของการรักษาที่แพทย์แจ้งให้ท่านทราบมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูง จะต้องดูแลตนเองให้ระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวาน ท่านจะต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าอยู่ในระดับ 90-130 มก.% การดูแลตนเองและใช้ยาให้ได้ผลตามเป้าที่แพทย์และพยาบาลแนะนำจะมีผลช่วยป้องกันการเกิดโรคไตวายได้[divide icon=”circle” width=”medium”] กลุ่มที่ 2 ท่านที่รู้สึกว่า ตนเองสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล บางท่านเป็นนักกีฬา เหล่านี้ไม่ได้รับประกันว่าท่านจะไม่เป็นโรคไต แม้ท่านจะไม่มีอาการใดๆเลยก็ตาม ท่านก็อาจจะมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้วก็เป็นได้ ทางที่ดีท่านลองพิจารณาคำแนะนำดังต่อไปนี้ ได้แก่

[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]1[/dropcap]วิธีที่ดีที่สุด คือ ท่านควรจะไปรับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรวมการตรวจสุขภาพไตขั้นต้น 3 ประการได้แก่ วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดหาระดับ “ครีอะตินีน” ผลการตรวจจะบอกได้ขั้นต้นว่าท่านมีโรคไตซ่อนอยู่หรือไม่ ถ้ามีความผิดปกติแม้เล็กน้อยก็ตาม แพทย์ก็จะแนะนำให้ท่านรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อวินิจฉัย
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]2[/dropcap]สนใจสุขภาพตนเอง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้พอเพียง ถ้าท่านมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อโรคไต ท่านควรจะหลีกเลี่ยง ซึ่งที่สำคัญๆ ได้แก่ การงดบุหรี่ หลีกเลี่ยงสุรา ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียง เป็นต้น
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]3[/dropcap]ถ้าร่างกายท่านแสดงสัญญาณอันตรายบอกโรคไตอันใดอันหนึ่ง (ดูตารางที่ 1) ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ซึ่งอาจพบว่า ท่านไม่มีโรคใดๆเลยก็ได้ หรือบางท่านอาจมีความผิดปกติของไตเล็กน้อย การรักษาก็แค่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็เพียงพอ ซึ่งในกลุ่มหลังนี้ ถ้าทิ้งไว้นานโดยไม่ทำอะไร ก็อาจเกิดโรคไตเรื้อรังได้
สัญญาณอันตรายบอกโรคไต 6 ประการ
• ปัสสาวะขัด
• ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ
• ปัสสาวะบ่อย
• บวมหน้า บวมเท้า
• ปวดหลัง ปวดเอว
• ความดันโลหิตสูง
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]4[/dropcap]ระวังอย่าให้เกิดท้องเสีย โดยกินเฉพาะอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ถ้าเกิดท้องเสียท่านจะต้องได้รับน้ำทดแทนอย่างพอเพียง ถ้าท่านมีโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว การที่เกิดท้องเสียจนทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงและเกิดไตวายเฉียบพลันได้ และบ่อยครั้งไตที่วายแล้วไม่ฟื้นกลับอีกเลย
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]5[/dropcap]หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเองเป็นประจำ ปัจจุบัน การแพทย์ยุคใหม่ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง การซื้อยาง่ายๆรักษาตนเอง อาทิ โรคหวัด ปวดหัว ท่านซื้อยากินเองได้ แต่ต้องทราบว่า กิน 1 ชุดแล้วไม่หาย ท่านต้องไปพบแพทย์ เพราะโรคที่ท่านคิดว่าตนเองเป็น อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่แพทย์ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมนอกจากนี้ บ่อยครั้งที่พบว่า ท่านที่เป็นโรคเรื้อรังบางโรคที่ไม่น่าจะเป็นโรคไต อาทิ โรคผิวหนัง โรคปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน ท่านที่ซื้อยากินเอง กินยาที่ไม่ทราบสรรพคุณ เชื่อตามคำโฆษณา เมื่อกินเข้าไปมากๆ แล้ว ทำให้เกิดไตอักเสบ จนเป็นไตวายเรื้อรัง สุดท้ายโรคที่มีอยู่ก็ไม่หาย แถมเกิดโรคไตวายเพิ่ม
[dropcap font=”Arial” color=”#ffdf42″]6[/dropcap]ยา โรคไตการกินยาซ้ำซ้อนมียาหลายอย่างที่แพทย์จ่ายให้ผู้ป่วย ได้แก่ โรคปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ยาที่จ่ายอาจมียากลุ่มหนึ่งที่ท่านควรจะรู้จัก ได้แก่ “ยาเอ็นเสด” ซึ่งเป็นยาลดอักเสบฤทธิ์แรงมาก กินแล้วอาการปวดมักจะทุเลาลง แต่การทุเลาจะเป็นเพียงชั่วคราว เพราะไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ หลังหมดฤทธิ์ยา ผู้ป่วยจะกลับมาปวดได้อีก โดยทั่วไป แพทย์จะพยายามแก้ไขต้นเหตุอยู่แล้วท่านที่เป็นผู้ป่วยโรคปวดต่างๆ ท่านควรจะถามแพทย์ว่า ยาที่ท่านได้มี “ยาเอ็นเสด” หรือไม่ และถ้ามีท่านต้องทำตัวอย่างไร ท่านที่ไปหาแพทย์หลายคลินิก บางครั้งท่านอาจจะได้รับยาแก้ปวดคล้ายๆกันแต่คนละยี่ห้อ และถ้ากินเข้าไปพร้อมกันจะมีผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพไต ซึ่งหลักอันหนึ่งที่แพทย์มักจะต้องเตือนท่าน คือยาเก่าอย่าเก็บไว้ ยกเว้นแต่ได้นำไปให้แพทย์ตรวจดูและบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้นอย่างไรก็ตาม ท่านต้องทราบว่า คนธรรมดาทั่วไปจะไม่ต้องกินยาเป็นประจำ นอกจากมีโรคที่ต้องรักษา ดังนั้น การที่ท่านต้องกินยาโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคใด ท่านควรจะถามแพทย์ที่ดูแลท่านว่าท่านเป็นโรคใด และจะต้องกินนานเพียงไร แน่นอน โรคบางโรคอาจต้องกินยาประจำตลอดชีวิต แต่บางโรคพออาการหายแล้วต้องหยุดยา ปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยบางรายพอกินยาหมด อาการยังไม่หาย กลับนำซองยาเปล่าที่ได้จากแพทย์ไปซื้อกินเอง ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังจากยา ที่น่ากลัวคือ โรคไตจากยานี้เป็นโรคแบบเงียบๆผู้ป่วยเองไม่มีทางทราบได้ว่าเกิดโรคในระยะแรกเริ่มถ้าไม่ได้รับการตรวจ ผู้ป่วยจะมาหาแพทย์อีกทีก็เกิดโรคไตวายแล้ว ทั้งที่ผู้ป่วยเดิมเป็นโรคที่รักษาได้ดังเช่นโรคปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน ซึ่งปรับวิธีการทำงานใหม่ก็จะทุเลาไปได้เอง
[dropcap font=”Arial” color=”#cc0033″]7[/dropcap]หลีกเลี่ยงยาเสพติดต่างๆ โดยเฉพาะต้องงดการสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและทำให้ไตเสื่อมเร็ว
[dropcap font=”Arial” color=”#ff9900″]8[/dropcap]อย่าหลงคำโฆษณา ในท้องตลาดมีการขายสารอาหารต่างๆมากมายเพื่อบำรุงร่างกาย อาหารเสริมเหล่านี้ ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา ดังนั้น สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ก่อนซื้อ ในส่วนอาหารเสริมเหล่านี้ อย. ได้รับรองแล้วว่าท่านสามารถซื้อกินได้โดยไม่เกิดโทษ แต่ทางที่ดีก่อนท่านจะซื้อ ท่านควรจะอ่านฉลากอาหารที่แนบไว้ด้วยว่า อาหารเสริมมีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังประการใดบ้าง ต้องระวังในผู้ที่โรคบางโรคหรือไม่ อาหารเสริมบางอย่างมีเกลือผสมอยู่มาก ทำให้เกิดโทษได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ พบว่า มีการโฆษณาเกินจริงของอาหารหรือสารบางอย่างว่าสามารถรักษาโรคไตอ่อนแอได้ คำโฆษณาเหล่านี้ ฟังดูน่าสนใจ เชื่อว่าผู้ป่วยที่มีโรคภัยไข้เจ็บอยู่แล้วโดยเฉพาะท่านที่มีโรคที่แพทย์บอกว่ารักษาไม่มีทางหาย ท่านต้องอยากหายแน่นอน ทุกท่านอยากได้พบกับยาวิเศษ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า สารหรืออาหารวิเศษที่ประกาศขายตามหนังสือรายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์นั้น ไม่มีใครรับรองสรรพคุณ ถ้าเป็นยาดีจริง ทำไมไม่มีขายในโรงพยาบาล และถ้ายาเหล่านี้ดีจริง แพทย์จะต้องรีบจ่ายยาเหล่านี้ให้กับท่าน ทำไมต้องขายทางไปรษณีย์ที่ท่านไม่มีทางรู้จักผู้ขายเลย ท่านต้องส่งเงินหรือโอนเงินไปให้ ผลจากการหลงเชื่อเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคไตวายเรื้อรังมาแล้วนับไม่ถ้วนโดยสรุป การดูแลไตให้มีสุขภาพดีทำได้ไม่ยาก ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเคล็ดลับสำหรับท่านที่ไม่ต้องการเป็นโรคไตวาย หรืออย่างน้อยถ้าทำได้ ก็จะช่วยยืดอายุไตของท่านออกไปอีกยาวนาน

 

วิธีการรักษา (เชวง ลิขสิทธิ์, ม.ป.ป)

  1. Kidney Dialysis Machine การตรวจค้นหา และการวินิจฉัย โรคไตที่เหมาะสม : ผู้ป่วยซึ่งได้รับการตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษา ที่ดีกว่าผู้ป่วย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ดังนั้น การตรวจค้นหาและวินิจฉัยโรค จึงนับเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ของกระบวนการรักษา
  2. การรักษาที่สาเหตุของโรคไต : เช่นการรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
  3. การรักษาเพื่อชะลอ ความเสื่อมของไต : แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้ว แต่ผู้ป่วยจำนวนมาก อาจมีการทำงานของไต ที่เสื่อมลงกว่าปกติ ทั้งนี้ เรื่องจากเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไป ไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่ อาจจะต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้น ตามระยะเวลา และมักเกิดไตวายในที่สุด การรักษาที่สำคัญในระยะนี้ คือ การรักษา เพื่อมุ่งชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
  4. การรักษาทดแทน การทำงานของไต (การล้างไต และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) : เมื่อไตวายมากขึ้น จนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่เหมาะสมกลุ่มหนึ่ง จะได้รับการรักษาด้วยการล้างไต หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

การล้างไต (Dialysis) มี 2 วิธี คือ การฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) และการล้างไตทางช่องท้อง (Peritonel Dialysis:CAPD) ในปัจจุบัน พบว่า ผลการรักษาทั้ง 2 วิธีได้ผลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม กับสภาพของผู้ป่วย และครอบครัว-ผู้ดูแลผู้ป่วย ตลอดจนที่อยู่อาศัย และความชำนาญของ ทีมผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย[divide icon=”circle” width=”medium”] ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาโดยการล้างไตแล้ว จะสามารถหยุดการล้างไตได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับชนิดของโรคไตวายที่ผู้ป่วยเป็น กล่าวคือ หากเป็นไตวายชนิดเฉียบพลัน (เช่นผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง หรือเกิดโรคเนื้อไตอักเสบรุนแรง แล้วทำให้ไตวายเฉียบพลัน) เมื่อแพทย์รักษาโรค ที่เป็นสาเหตุของไตวายให้ดีขึ้นแล้ว การทำงานของไต มักกลับฟื้นขึ้นมาได้เป็นส่วนมาก และผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะสามารถหยุดการล้างไตได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งการทำงานของไตผู้ป่วยกลุ่มนี้ เหลือน้อยมาก และไม่อาจฟื้นกลับมาทำงานได้อีก ดังนั้น การล้างไตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องทำไปตลอดชีวิตของผู้ป่วย หรือจนกว่าผู้ป่วย จะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต[divide icon=”circle” width=”medium”] ฟอกไต-Kidney Dialysis Machine ทั้งนี้ เพราะการล้างไต เป็นเพียงวิธีการลดของเสีย ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น แต่ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้ การทำงานของไตผู้ป่วยกลับฟื้นขึ้นมา การล้างไต ในกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนี้ จึงเป็นเพียงการช่วยต่อชีวิตของผู้ป่วยออกไป แต่ด้วยเทคโนโลยี และยาในปัจจุบัน หากทำการล้างไต อย่างถูกต้องและเพียงพอ ร่วมกับการคัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยมักมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอควร ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จะต้องไปรับการฟอก อย่างสม่ำเสมอตามการนัดหมาย ซึ่งผู้ป่วยโดยทั่วไป มักได้รับการฟอกฯ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง การพัฒนาระบบการฟอกฯ ในโลกปัจจุบัน มีความนิยมที่จะใช้ระบบการฟอก ที่มีประสิทธิภาพสูง (High Flux Hemodialysis) มากขึ้น เพราะสามารถฟอกของเสีย ออกจากร่างกายผู้ป่วย ได้ดีกว่าการฟอกแบบธรรมดา[divide icon=”circle” width=”medium”] สำหรับการจัดกิจกรรมวันไตโลก ในปีนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ที่ 3 มีนาคม 2561 ณ Atrium Zone ชั้น 1 ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการ การตรวจสุขภาพโรคไตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมการอธิบายให้ความรู้เรื่องโรคไต เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพไต และเรื่องของสตรีกับโรคไต สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-718 1898 หรือเข้าเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.nephrothai.org


[quote arrow=”yes”]เอกสารอ้างอิง[/quote]

เชวง ลิขสิทธิ์. (ม.ป.ป.). จะรักษาโรคไตอย่างไร. เข้าถึงได้จาก http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-treat.html
ไตวาย. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก https://www.pobpad.com/ไตวาย
ทวี ศิริวงศ์. (ม.ป.ป.). การป้องกันโรคไต. เข้าถึงได้จาก http://www.tnnsnurse.org/component/content/article/35-demo-section/demo-category/49-curabitur-convallis.html
ธนันดา ตระการวนิช และ อรอัชฌา ศิริมงคลชัย.  (บ.ก.).  (ม.ป.ป.).  คู่มือสำหรับประชาชนทำอย่างไรไตไม่วาย?  กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.
ธานี เอี่ยมศรีตระกูล.  (2561).  สตรีไทย “ไต” Strong เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2018/01/15227
นันทา มหัธนันท์ และ สมรัก รอดพ่าย.  (2551).  Nursing aspect for CAPD. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า, อนุตตร จิตตินันทน์, เถลิงศักดิ์ กาญจนมนุษย์, ดุสิต ล้ำเลิศกุล, และ ประเสริฐ ธนกิจจารุ (บ.ก.), Textbook of peritoneal dialysis (น. 203-254). กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอน เจอร์นัล พับลิเคชั่น
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (ม.ป.ป.). โรคไตคืออะไร. เข้าถึงได้จาก http://haamor.com/th/โรคไต2/
อุทัย สินธุสาร. (2531). ไต. ใน สารานุกรมไทยฉบับ ดร.อุทัย สินธุสาร (เล่ม 2, น. 1603). กรุงเทพฯ : สุมาลัย สังฆมณีและบุตร.

วันไตโลก World Kidney day