การประกันคุณภาพ-มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ 2561

การประกันคุณภาพการศึกษา-มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ –สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561

องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ 2.2 มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้: ในการให้บริการของหน่วยงานต่างๆ ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในกลุ่มต่างๆ เพื่อสามารถจัดบริการตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ

เกณฑ์มาตรฐานการประเมิน 5  ข้อ ดังนี้

  1. มีแผนในการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน
  2. ดำเนินการสำรวจความต้องการบริการตามแผนครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน
  3. มีการสำรวจความต้องการจากผู้รับบริการครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการ
  4. นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูล
  5. นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงพัฒนาบริการของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน
1 2 3 4 5
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ

หลักฐานที่ต้องการ:

  1. แผนการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
  2. แบบสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
  3. สรุปผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

ผลการดำเนินงานของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีแผนในการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน:  สำนักฯ ได้จัดทำแผนการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยได้กำหนดไว้ใน ขั้นตอนการดำเนินงาน  ในโครงการ “การสำรวจความพึงพอใจ และความต้องการ ของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561”

สำนักฯ ได้จัดให้มีบริการพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ประกาศไว้ ซึ่งจะครอบคลุมในบริการ 7 ประเภท /ด้าน ได้แก่  1. ด้านการเปิดทำการและระเบียบการใช้บริการ ซึ่งสำนักฯจะต้องจัดเวลาเปิดให้บริการที่เหมาะสม 2. ด้านบุคลากร ที่จำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอและมีความเหมาะสมกับงานบริการ 3.ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  4.ด้านความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ  5. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ  6.ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร และ 7.ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 4 แผนปฏิบัติการประจำ (Routine Action Plan : RAP) สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561โครงการ “การสำรวจ ความพึงพอใจ และความต้องการ ของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561”


เกณฑ์มาตรฐาน: 2.  ดำเนินการสำรวจความต้องการบริการตามแผนครอบคลุมบริการทุกประเภทของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน: ในแบบสอบถามความพึ่งพอใจและความต้องการ ของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561 สำนักฯ ได้จัดทำแบบสอบถามโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ในส่วนที่ 4  ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการและความต้องการในด้านต่างๆ ที่ต้องการให้สำนักฯ จัดบริการเพิ่มเติม เพื่อการสำรวจความต้องการภายในคราวเดียวกันกับการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ซึ่งครอบคลุมในบริการ 7 ประเภท ด้าน ได้แก่  1. ด้านการเปิดทำการและระเบียบการใช้บริการ ซึ่งสำนักฯจะต้องจัดเวลาเปิดให้บริการที่เหมาะสม 2. ด้านบุคลากร ที่จำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอและมีความเหมาะสมกับงานบริการ 3.ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  4.ด้านความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ  5. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ  6.ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร และ 7.ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 18 แบบสอบถามความพึงพอใจและความต้องการของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561


เกณฑ์มาตรฐาน: 3. มีการสำรวจความต้องการจากผู้รับบริการครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการ

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการในทุกกลุ่มซึ่งนักศึกษาจะเป็นกลุ่มหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนการเข้าใช้สำนักฯ มากที่สุด จากผลการสำรวจมีกลุ่มนักศึกษา ร้อยละ 91.20 อาจารย์ ร้อยละ 7.20 บุคลากร ร้อยละ 1.60 และ ไม่ระบุ ร้อยละ 1.00

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 18.1 สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ ของสำนักทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561


เกณฑ์มาตรฐาน: 4. นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการดำเนินงาน: จากแบบสอบถามโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ในส่วนที่ 4  ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการและความต้องการในด้านต่างๆ ที่ต้องการให้สำนักฯ จัดบริการเพิ่มเติม พบว่า ผู้ใช้บริการมีข้อเสนอแนะและความต้องการในทั้ง 7 ประเภท/ ด้าน ดังนี้

4.1) ด้านความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ: ดีมาก
4.2) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลฯ): หนังสือเก่าไม่ อัพเดท, จำนวนหนังสือไม่เพียงพอ (น้อย)
4.3) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ: เพิ่มห้อง Study Room, ประตูทางเข้าออกเสียบ่อย, Internet ช้ามาก, อุปกรณ์หูฟังตรงโรงหนัง (3D Zone) เสีย/ฟังไม่ได้, เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์, เพิ่มปลั๊ก 3 ตา
4.4) ด้านบุคลากร: ทางเข้าออกและบริการยืม-คืน ดี
4.5) ด้านวันและเวลาในการเปิดให้บริการและระเบียบการใช้บริการ: ควรเปิดถึงเวลา 20.30 น./ 24 ชั่วโมง
4.6) ด้านสภาพแวดล้อม: เครื่องปรับอากาศเสีย/ไม่ซ่อม, ส่งเสียงดังในบางพื้นที่
4.7) ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร: ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ไม่ทราบข่าวสาร
4.8) จุดเด่น : มีความทันสมัยของทรัพยากรฯ : มีทรัพยากรฯให้ค้นคว้ามาก : บริการดียิ้มแย้ม : มีห้องประชุมกลุ่มย่อย : มีโซน 3 D : ให้นำของกินเข้ามากินได้

จากการวิเคราะห์ข้อมูลในสรุปผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในปีการศึกษา 2561 นั้น ทั้ง 7 ประเภท/ด้าน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากกว่า  3.51  พบว่า นักศึกษา คือกลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถามเป็นจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ91.20 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด)  มีระดับความพึงพอใจด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุดเฉลี่ย 4.11 คะแนน รองลงมาคือ ด้านวันและเวลาในการเปิดให้บริการและระเบียบการใช้บริการ มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.01 คะแนน ด้านสภาพแวดล้อม มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.00 คะแนน ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารมีความพึงพอใจเฉลี่ย 3.93 คะแนน ด้านความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ มีความพึงพอใจเฉลี่ย 3.92 คะแนน ด้านทรัพยากรสารสนเทศ มีความพึงพอใจเฉลี่ย 3.85 คะแนน และด้านที่มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุดคือ ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ มีความพึงพอใจเฉลี่ย 3.63 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับแบบสอบถามปลายเปิด ในส่วนที่ 4  ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการและความต้องการ ที่ต้องการให้สำนักฯ จัดบริการเพิ่มเติม ในด้านทรัพยากรสารสนเทศ  และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ ที่มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข 18.1 สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ ของสำนักทรัพยากรสารสนเทศมหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2561


เกณฑ์มาตรฐาน: 5. นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงพัฒนาบริการของหน่วยงาน

ผลการดำเนินงาน: สำนักฯ ได้นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงพัฒนาบริการของหน่วยงานในด้านทรัพยากรสารสนเทศ  และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ (ที่มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด) รวมทั้ง ได้นำข้อมูลในส่วนที่ 4 ของผู้ใช้ในส่วนนี้มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตามที่ผู้ใช้ได้ให้ข้อเสนอแนะ  ดังนี้

  • ด้านทรัพยากรสารสนเทศ สำนักฯ ได้ดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ วารสาร/หนังสือพิมพ์ โสต ทัศนวัสดุและฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ) ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มช่องทางในการแนะนำสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศได้ง่ายโดยกรอกแบบฟอร์มผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ใหม่ของสำนักฯ ที่ https://e-library.siam.edu ที่เมนู“บริการ”และเลือกที่ › เสนอซื้อทรัพยากรฯ
  • ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ สำนักฯ ได้มีการวางแผนการจัดการด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ให้บริการ และด้านสภาพแวดล้อม ไว้ในโครงการ “การปรับปรุงพื้นที่การเรียนรู้ (Siam Hacker Space) ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ” แต่ยังไม่ได้ดำเนินงานตามแผนการที่กำหนดไว้ในปีการศึกษา 2561

ข้อมูลหลักฐาน: เอกสารหมายเลข  11.3 เว็บไซต์ของสำนักฯที่ https://e-library. siam.edu  ที่เมนู“บริการ”และเลือกที่ › เสนอซื้อทรัพยากรฯ  


เกณฑ์การประเมิน

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ

เป้าหมายของสำนัก :  5  ข้อ

ผลการดำเนินงาน   :  5  ข้อ

ผลการประเมินตนเอง   :  5 คะแนน