สำนักหอสมุด และทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์ปัญหา เพื่อค้นหาสาเหตุ หาแนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามที่กำหนด และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป โดยบุคลากรภายในส่วนงานต่างๆ ของสำนักฯ ได้มีความมุ่งมั่นเพียรพยายามที่จะปรับปรุง และพัฒนาการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อสามารถตอบสนองแนวคิดตลอดจนนโยบายการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการบริหาร และการบริการของสำนักฯ ให้คงอยู่ และพัฒนาให้ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง
สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ รับการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2560 ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2561 เวลา 08.30-12.30 น. โดยคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2560
-
- ผศ.ดร.มารุจ ลิมปะวัฒนะ ประธานกรรมการ
- ดร.วิริยาพร ศิริกุล กรรมการ
- ผศ.ดร.ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ กรรมการและเลขานุการ
ผลการตรวจประเมินคุณภาพภายในของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ 3 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ได้คะแนนผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 4.84 คะแนน (เท่ากันกับผลการประเมินตนเองของสำนักฯ)
สรุปคะแนนผลการประเมินตนเองรายตัวบ่งชี้ ปีการศึกษา 2560
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินงาน | ||||
ตัวตั้ง | ตัวหาร | ผลลัพธ์ | คะแนน | ||
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ | (5/1) | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 1.1 กระบวนการพัฒนาแผน | 5 ข้อ | 5.00 | |||
องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน | (28.88/6) | 4.81 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.1 มีระบบและกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆของหน่วยงาน | 6 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.2 มีการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ | 5 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.3 ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ | ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของ
ผู้รับบริการต่องานบริการแต่ละด้าน (คะแนนเต็ม 5) |
3.88 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.4 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ | 5 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.5 การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ | 6 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 2.6 การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและการเรียนการสอน | 5 ข้อ | 5.00 | |||
องค์ประกอบที่ 3 การบริหารและการจัดการ | (29/6) | 4.83 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงาน | 5 ข้อ | 4.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.2 การพัฒนาหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้ | 5 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.3 ระบบการพัฒนาบุคลากร | 7 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ | 5 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.5 ระบบบริหารความเสี่ยง | 5 ข้อ | 5.00 | |||
ตัวบ่งชี้ 3.6 ระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน | 5 ข้อ | 5.00 | |||
คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 1 – 3
( จำนวน 13 ตัวบ่งชี้) |
(ผลรวมทุกตัวบ่งชี้) | 62.88 | 4.84 | ||
(จำนวนตัวบ่งชี้) | 13 |
คณะกรรมการผู้ตรวจประเมินได้กล่าวชมสำนักฯ มีจุดเด่น ดังนี้
- มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย/เป้าประสงค์ ของสำนักฯให้มีความชัดเจน สามารถนำไปวางแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
- มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการ ในลักษณะศูนย์ฝึกอบรม
- มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอก เพื่อการบริการแก่ผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เช่น เครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่ม TU-THAIPUL ที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมจากการนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่นำมาใช้ในการยืมระหว่างห้องสมุด(ระบบ EDS)
- มีการกำหนดบุคลากรในการพัฒนาอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้
- ควรจัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวของสำนักฯ เพื่อจัดทำแผนประจำปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
- ควรขยายผลการจัดการความรู้ไปสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา คณาจารย์ และผูใช้บริการอื่นๆ เพื่อต่อยอดและขยายผล
- ควรมีการให้การอบรม education application สำหรับการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งจัดกลุ่มตามพื้นฐานของผู้เข้าอบรม
- สำนักฯ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ให้มากขึ้น และควรเพิ่มการให้บริการในเชิงรุกมากขึ้น
- ควรพัฒนาตัวบ่งชี้เฉพาะของสำนักฯ ตัวบ่งชี้ 2.4-2.6 ควรปรับเกณฑ์มาตรฐานให้มีการประเมินทั้งคุณภาพและปริมาณของ software และ hardware เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการ