ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ อพส.-thaipul

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

อพส.-จอมขวัญ ผลภาษี-คณะอนุกรรมการเครือข่ายห้องสมุดสถาบันเอกชน
ภาพ ดร.จอมขวัญ ผลภาษี (ซ้ายสุด) ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

อพส.-เครือข่ายห้องสมุด-สถาบันอุดมศึกษาเอกชนผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน(อพส.) ครั้งที่ 1/2561  thaipul ในวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 เวลา 13.00 น. – 15.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคาร 28 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)  thaipul ชุดที่ 16 (สิงหาคม 2560 – กรกฎาคม 2562) ได้กำหนดการประชุมครั้งที่ 1/2561 ในวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหมายกำหนดการ สมควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกลุ่มต่างๆ อย่างเป็นทางการ ได้เกิดการร่วมมือ การนำเสนอข้อคิดเห็น และการกำหนดแผนการดำเนินงานกลุ่มงานฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคณะอนุกรรมการ อพส. – tuthaipul ได้แก่อพส.-เครือข่ายห้องสมุด-สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

  • กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กลุ่มงานบริการสารสนเทศ
  • กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

* รู้จัก อพส.

 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) – thaipul ได้เริ่มขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2528 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง ได้นัดหมายมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหารูปแบบของความร่วมมือที่เหมาะสมที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งจะพึงร่วมมือกันได้ โยมีนายบุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ หัวหน้าบรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานจัดการประชุม และมี รศ.ดร.นวนิตย์ อินทรามะ เป็นที่ปรึกษาที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือเป็นชุดแรกจำนวน 6 คน และได้จัดตั้งเป็น “ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ชสอ. หรือ HPEL Group)” มีนายบุญสิริสุวรรณเพ็ชร์ เป็นประธานชมรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ

1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

3. เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันกระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกาเอกชน

4. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์

5. เพื่อส่งเสริมการค้นคว้า วิจัยตลอดจนการเขียนบทความทางวิชาการในทางบรรณารักษศาสตร์ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้จัดทำงานความร่วมมือ ดังนี้

5.1. จัดทำนามานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

5.2. จัดทำวารสารชื่อ “ชสอ.สาร” กำหนดออกเป็นรายสะดวก

           ในปี พุทธศักราช 2530 ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น“คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพห.)” อยู่ภายใต้การคำแนะนำของคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนาในสังกัดสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.)โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ

1. เน้นความร่วมมือ

2. ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพบรรณารักษ์

3. พิจารณาแนวทางพัฒนาหลักเกณฑ์

4. ให้คำปรึกษาแก่สมาชิก

 

หน้าที่ของ คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

1. กำหนดนโยบายและประสานงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

2. มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง

3. แต่งตั้งกลุ่ม

4. ร่วมมือกันแก้ปัญหา

5. ประสานงานพื่อให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง

 

กิจกรรมที่ คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ควรจัดทำ

1. กำหนดนโยบาย โครงสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร

2. อนาคตของห้องสมุดควรจะพัฒนาไปในทิศทางของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ

3. บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดควรมีการขยายกว้างขึ้น

4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้

5. อปกรณ์การสื่อสาร

6. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป

7. มีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น

8. ควรมีการประเมิณผลของกิจกรรมที่ผ่านมา

9. ควรมีการวางแผนระยะสั้น-ระยะยาว

10. เผยแพร่ข่าวสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

11. ควรมีการประชาสัมพันธ์

 

นับตั้งแต่ได้ร่วมมือกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2528 จนถึงปัจจุบัน พุทธสักราช 2546ได้ดำเนินการร่วมมือแบ่งกลุ่มพร้อมกับความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกเป็น 5 กลุ่ม

1. กลุ่มงานเทคนิค

2. กลุ่มงานบริการ

3. กลุ่มงานโสตทัศนบริการ

4. กลุ่มงานวารสาร

5. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ตุลาคม 2543 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีมติให้ เปลี่ยนชื่อย่อ จาก อพห. เป็น อพส. โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

อพส. คือ กลไกการรวมพลัง ความสามัคคีระหว่างห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทรัยากรการเรียนรู้และบริการสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการบริการทางวิชาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ

3. ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตผลงานในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

4. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการประสบการณ์ของบุคลากรในวิชาชีพ

 พันธกิจ

สร้างข้อตกลงในความร่วมมือด้านการจัดหา การสนับสนุน และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละสถาบัน ด้วยความประหยัด และยุติธรรม

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 12/1/2552 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุรัตน์ 1 อาคารหอสมุด สุรัตน์โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีมิติให้แบ่งกลุ่มงาน ออกเป็น 4 กลุ่มงานดังนี้

1. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ

2. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

3. กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

4. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

และมีมติให้การส่งตัวแทนเข้าร่วมกลุ่มงานโดยพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจรองจากหัวหน้างานเข้าร่วมประชุมคณะทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดังนี้

1. ส่งเสริมการผลิตงานทางวิชาการ

2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของบุคลากร

3. ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการวิชาการ

* ที่มา :  http://www.thaipul.org/index.php/2016-02-19-07-17-31

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ อพส. – tuthaipul