กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ 18 ได้จัดโครงการจัดการความรู้  (KM) ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว” เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565  เวลา 13.30 15.00 น. วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์นฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีคณะอนุกรรมการของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าร่วม จำนวน 32 คน จาก 17 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และบุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (นางพรรณี จิวพุทธิธรรม, นางสุดา ทองชิว และนายสุทธิพจน์ ลิ้มอุดมพัฒน์) 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว

  • เพื่อแบ่งปันความรู้ในการบริหารจัดการและการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว

สรุปหัวข้อองค์ความรู้การประชุม: กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว

  • ห้องสมุดสีเขียว คืออะไร
  • ห้องสมุดสีเขียว ทำแล้วได้อะไร
  • บทบาทของห้องสมุดสีเขียว
  • ความเป็นมา ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
  • การดำเนินการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และคะแนนเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว
  • คณะผู้บริหารสำนักหอสมุด และคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว
  • นโยบายห้องสมุดสีเขียว
  • เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ๘ หมวด ได้แก่ หมวดที่ ๑ ทั่วไป (นโยบาย) หมวดที่ ๒ โครงสร้างพื้นฐาน หมวดที่ ๓ การจัดการทรัพยากรและพลังงาน หมวดที่ ๔ การจัดการของเสียและมลพิษ หมวดที่ ๕ การบริหารจัดการและการให้บริการของห้องสมุด หมวดที่ ๖ บทบาทบุคลากรของห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หมวดที่ ๗ เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หมวดที่ ๘ การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว
  • เกณฑ์การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ๖ หมวด ได้แก่ หมวดที่ ๑ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงาน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หมวดที่ ๒ การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ ๓ การใช้ทรัพยากรและพลังงาน หมวดที่ ๔ การจัดการของเสีย หมวดที่ ๕ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย หมวดที่ ๖ การจัดซื้อและจัดจ้าง
  • ระดับคะแนนเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว
  • ปัญหาและอุปสรรค
  • ผลสำเร็จของการเป็นสำนักงานสีเขียว
  • สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลชนะเลิศห้องสมุดสีเขียว (IFLA Green Library Award) ประจำปี ๒๐๒๐ ระดับนานาชาติ จากสหพันธ์นานาชาติแห่งสถาบันและสมาคมห้องสมุด และได้รับการประเมิน เป็นสำนักงานสีเขียว ระดับประเทศ ระดับดีเยี่ยม หรือระดับทอง (Gold Green Office Award) ด้วยคะแนน ๙๕.๔๑ (เต็ม ๑๐๐ คะแนน)

การเผยแพร่องค์ความรู้ของกิจกรรม: บุคลากรของสำนักฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรม นำความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมมาจัดการความรู้ โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้ไว้  ที่ https://e-library.siam.edu/km-green-library-2565/

ผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรม: บุคลากรของสำนักฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) ข้างต้น มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยได้นำความรู้มาปรับแก้ไขโครงการของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศในโครงการ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นห้องสมุดสีเขียว”


องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียว