การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕  

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ (๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้จัดประชุม ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕  วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom พื่อติดตามการดำเนินงานของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสมาชิกของกลุ่มงาน ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๐ คน จาก ๑๗ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ


รายงานการประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕  (PDF)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่ง อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม จากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ (วาระที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้ดำเนินการประชุม โดยสรุปหัวข้อการประชุม ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕ ดังนี้

. สรุปผลการประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดม ศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เพื่อนำนโยบายสู่แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ประธานกลุ่มงานฯ ได้แจ้งสรุปผลการประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ โดยมีมติการดำเนินงาน ดังนี้

  • เงินกองทุนของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สามารถนำมาใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ อาทิเช่น ค่าวิทยากร
  • กำหนดการจัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ชุดที่ ๑๘ ทุก ๓ เดือน ต่อครั้ง ส่วนคณะอนุกรรมการกลุ่มย่อย จัดประชุมทุก ๒ เดือน ต่อครั้ง หากมีเรื่องที่ต้องหารือก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้ จะจัดการประชุมเป็นกรณีไปผ่านระบบการประชุมออนไลน์
  • หัวข้อการจัดอบรม/สัมมนารูปแบบออนไลน์ในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “ลิขสิทธิ์ในงานของห้องสมุด”
  • การนำเสนอฐานข้อมูลเพื่อจัดซื้อร่วมกัน ให้ผู้แทนจำหน่ายนำเสนอฐานข้อมูลเป็นกรณีไป โดยแยกจากการประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • การทำ MOU กับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันที่ร่วมลงนามไปแล้วต้องรอให้สัญญาฉบับเดิมหมดอายุ จึงจะสามารถลงนามฉบับต่อไปได้ ส่วนสถาบันที่ยังไม่ลงนามประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) รับดำเนินการประสานงานการทำ MOU กับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับต่อไป

จากมติการดำเนินงานในหัวข้อการจัดอบรม/สัมมนารูปแบบออนไลน์ในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “ลิขสิทธิ์ในงานของห้องสมุด” นำไปสู่การยกเลิกกิจกรรมของกลุ่มงานฯ ในกิจกรรม: การเพิ่มพูนความรู้ด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล เนื่องจากสามารถรอเข้าร่วมอบรมในเรื่องดังกล่าวได้ ตามที่ อพส. มีมติจะดำเนินงาน

. โครงการจัดการความรู้  (KM) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวสู่สำนักงานสีเขียววิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์นฤมล พฤกษศิลป์ รองผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในเวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จำนวน ๓๒ คน จาก ๑๗ สถาบัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://e-library.siam.edu/km-green-library-2565/

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง เนื่องจากแต่ละสถาบันไม่สามารถเสนอหัวเรื่องเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาในกลุ่มงานฯ ได้จาก Link เดิม  https://goo.gl/ylnb๕v ที่ได้จัดทำไว้ ดังนั้นอนุกรรมการจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับไปดำเนินการสร้าง Link ใหม่ใน Google Sheet และ ที่ปรึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะ เมื่อสิ้นสุดวาระ ในแต่ละชุดวาระ ควรมอบ Link ให้อนุกรรมการ ในชุดวาระต่อไปเป็นกิจลักษณะ  ทั้งนี้ ประธาน ขอให้สมาชิกท่านใดที่มีข้อมูลหัวเรื่องเก่า ขอให้ส่งให้เลขานุการกลุ่มงานฯ เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลให้สมบูรณ์

. ความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง ซึ่ง มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ดำเนินการจัดทำโพส เผยแพร่ไว้ที่ https://e-library.siam.edu/open-access-database/ ในชุดวาระนี้มหาวิทยาลัยสยาม รับดำเนินการอัพเดทข้อมูลในโพสต่อไป โดยขอให้สมาชิกจัดส่งรายชื่อฐานข้อมูล Open Access eBook & eJournal ใหม่ๆได้ที่ Line ของกลุ่มงานฯ เพื่อให้โพสมีข้อมูลหลากหลายและครบถ้วนที่สุด

. ความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม”  กิจกรรมในโครงการนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ขั้นตอนการเข้าร่วม UNION CATALOG ที่ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดทำเป็น Flow Chart เผยแพร่ความรู้ ประธาน จึงขอให้สมาชิกให้ข้อเสนอแนะและเลือกวิธีการจัดกิจกรรมนี้ในรูปแบบ Flow Chart หรือบรรยายความรู้โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ทาง ThaiLis ยังไม่ได้กำหนดวันอบรมการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม” ใน MARC tag ที่สำคัญ โดยอนุกรรมการจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งจะกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมภายหลังจากที่สมาชิกได้รับการอบรมการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม จาก ThaiLis

. ความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection” กิจกรรมในโครงการนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่ง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับจะดำเนินการจัดทำเป็น Flow Chart แนะนำวิธีการเพื่อเผยแพร่ ประธาน จึงขอให้สมาชิกให้ข้อเสนอแนะและเลือกวิธีการจัดกิจกรรมนี้ในรูปแบบ Flow Chart หรือบรรยายความรู้โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การนำเข้าข้อมูล TDC-ThaiLis Digital Collection” ในรูปแบบ Flow Chart เผยแพร่องค์ความรู้ โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส.

  • กิจกรรม : การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล กิจกรรมนี้ สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะได้หลายครั้ง เพราะมีองค์ความรู้ที่หลากหลายมาก อาทิเช่น การออกแบบงานกราฟฟิก/ INFO-GRAPHIC, การจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์, การจัดทำ EBOOKS, การใช้โปรแกรมต่างๆ ในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย เช่น Affinity Publisher/ After Effects/ Dreamweaver/ Canva/ Flash ๒D Anima tion/ Illustrator/ KineMaster – Pro Video Editor/ Microsoft Powerpoint/ Photoshop/ Prezi/ Powtoon/ Snapseed/ VideoShow ฯ ถ้าหากสมาชิกต้องการเรียนรู้เรื่องใดหรือสมาชิกท่านใดมีองค์ความรู้เหล่านี้สามารถนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกได้ โดยแจ้งได้ที่ Line ของกลุ่มงานฯ ซึ่งที่ประชุมรับทราบ และประธานจะจัดหาวิทยากรที่มีองค์ความรู้ด้านการสร้างสื่อมัลติมีเดีย มาให้ความรู้แก่สมาชิกในวาระหรือโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
  • กิจกรรม : การเพิ่มพูนความรู้ด้านลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล กิจกรรมนี้ ได้นำเสนอที่ประชุมผู้บริหารในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมอบรม เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้งบประมาณด้านวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรห้องสมุดในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบยกเลิกกิจกรรมนี้ เนื่องจากสามารถรอเข้าร่วมอบรมในเรื่องดังกล่าวได้ ตามที่ อพส. ชุดที่ ๑๘ มีมติจะดำเนินงาน

. ความคืบหน้าโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน โครงการนี้รอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๒๐๑๙ ถ้าหากสมาชิกมีรายชื่อโรงเรียนหรือชุมชนที่ต้องการแบ่งปัน สามารถรวบรวมและจัดส่งไว้ที่ Line ของกลุ่มงานฯ เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการจัดลำดับความต้องการในการแบ่งปันได้

๙. การดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส. ในกิจกรรม : การเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัลเนื่องจากกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จะจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ หัวข้อ การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva ซึ่งเป็นหัวข้อที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่กลุ่มงานพัฒนาฯ มีความสนใจที่จะดำเนินงาน ประธาน จึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาว่า จะดำเนินการจัดกิจกรรมกันเองโดยจัดหาวิทยากรภายในกลุ่มมาให้ความรู้ หรือ พิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มงานบริการฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์หัวข้อ “การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” กับกลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๐. การเผยแพร่รายงานการประชุมของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ของ อพส. หรือ Thaipul เนื่องจากกลุ่มงานได้จัดการประชุมไปแล้วรวมครั้งนี้ด้วยเป็น ๒ ครั้ง แต่ยังมิได้มีผู้รับผิดชอบในการนำรายงานการประชุมของกลุ่มงาน ไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ อพส. หรือ Thaipul ที่ปรึกษา จึงได้เสนอแนะให้ที่ประชุมพิจารณาให้มีผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เว็บไซต์ของ อพส. มีข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ อนุกรรมการจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม รับไปดำเนินการ


* รู้จัก กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) หรือ ThaiPUL ก่อนจะรู้จักกับกลุ่มงาน ต้องทำความรู้จักกับ อพส.ก่อน  อพส. หรือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้เริ่มขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2528 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง ได้นัดหมายมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหารูปแบบของความร่วมมือที่เหมาะสมที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งจะพึงร่วมมือกันได้ โยมีนายบุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ หัวหน้าบรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานจัดการประชุม และมี รศ.ดร.นวนิตย์ อินทรามะ เป็นที่ปรึกษาที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือเป็นชุดแรกจำนวน 6 คน และได้จัดตั้งเป็น “ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ชสอ. หรือ HPEL Group)” มีนายบุญสิริสุวรรณเพ็ชร์ เป็นประธานชมรม ในปี พุทธศักราช 2530 ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น“คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพห.)” อยู่ภายใต้การคำแนะนำของคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนาในสังกัดสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ตุลาคม 2543 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีมติให้ เปลี่ยนชื่อย่อ จาก อพห. เป็น อพส. และมีชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

พันธกิจ

สร้างข้อตกลงในความร่วมมือด้านการจัดหา การสนับสนุน และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละสถาบัน ด้วยความประหยัด และยุติธรรม

วัตถุประสงค์

อพส. คือ กลไกการรวมพลัง ความสามัคคีระหว่างห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทรัยากรการเรียนรู้และบริการสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการบริการทางวิชาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ

3. ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตผลงานในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

4. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการประสบการณ์ของบุคลากรในวิชาชีพ

หน้าที่ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

1. กำหนดนโยบายและประสานงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

2. มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง

3. แต่งตั้งกลุ่ม

4. ร่วมมือกันแก้ปัญหา

5. ประสานงานพื่อให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง

กิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ควรจัดทำ

1. กำหนดนโยบาย โครงสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร

2. อนาคตของห้องสมุดควรจะพัฒนาไปในทิศทางของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ

3. บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดควรมีการขยายกว้างขึ้น

4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้

5. อุปกรณ์การสื่อสาร

6. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป

7. มีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น

8. ควรมีการประเมิณผลของกิจกรรมที่ผ่านมา

9. ควรมีการวางแผนระยะสั้น-ระยะยาว

10. เผยแพร่ข่าวสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

11. ควรมีการประชาสัมพันธ์

การแบ่งกลุ่มงาน

2528 นับตั้งแต่ได้ร่วมมือกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2528 จนถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2546ได้ดำเนินการร่วมมือแบ่งกลุ่มงานพร้อมกับความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มงานเทคนิค

2. กลุ่มงานบริการ

3. กลุ่มงานโสตทัศนบริการ

4. กลุ่มงานวารสาร

5. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 

2552 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 12/1/2552 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุรัตน์ 1 อาคารหอสมุด สุรัตน์โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีมิติให้รวมกลุ่มงาน โดยยุบรวมกลุ่มงานวารสารรวมเข้ากับกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มงานโสตทัศนบริการยุบรวมในกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เหลือ 4 กลุ่มงาน ดังนี้

1. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ

2. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

3. กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

4. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

2561 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 1/2561 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุม ช้ัน 8 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีมิติให้รวมกลุ่มงาน เหลือเพียง 2 กลุ่มงาน ดังนี้

1. กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

2. กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของกลุ่มงาน

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) มีมติให้การส่งตัวแทนเข้าร่วมกลุ่มงานโดยพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจรองจากหัวหน้างานเข้าร่วมประชุมคณะทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้

1. ส่งเสริมการผลิตงานทางวิชาการ

2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของบุคลากร

3. ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการวิชาการ

* ที่มา :  http://www.thaipul.org/index.php/2016-02-19-07-17-31

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๖/๕/๒๕๖๒