การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕  

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ (๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้จัดประชุม ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕  วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom พื่อติดตามการดำเนินงานของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสมาชิกของกลุ่มงาน ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน ๔๑ คน จาก ๑๗ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 


รายงานการประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕  (PDF)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่ง อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม จากสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ชุดที่ ๑๘ (วาระที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ได้ดำเนินการประชุม โดยสรุปหัวข้อการประชุม ครั้งที่ ๑๘/๓/๒๕๖๕ ดังนี้

. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้การประชุม/อบรม/สัมมนา จากโครงการการประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “บทบาทและการปรับตัวของห้องสมุดในยุคดิจิทัล: The Changing Roles of Libraries in the digital age เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ห้องสมุดต่างๆ ควรศึกษาไว้เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานของห้องสมุด ได้แก่ การจัดการและดูแลรักษาสารสนเทศดิจิทัล, การจัดการสารสนเทศดิจิทัลในห้องสมุด, นำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจด้วย Data Visualization, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับงานห้องสมุด, และสารสนเทศดิจิทัล: ลิขสิทธิ์และการใช้งานอย่างเป็นธรรม เป็นต้น ดาวน์โหลดเอกสารองค์ความรู้ข้างต้น ได้ที่ https://bit.ly/3AXvRub 

. การประชุมของ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ชุดที่ ๑๘ ได้กำหนดการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ ในวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ซึ่งเป็นการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้คณะอนุกรรมการทั้ง 2 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อรับฟังการนำเสนอ “เครื่องมือและฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เพื่องานบริการในห้องสมุด”

. โครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส. กิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล  : เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด วิทยากรผู้แบ่งปันความรู้/ถ่ายทอดความรู้ โดย อาจารย์พรรณี จิวพุทธิธรรม ประธานกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (กำหนดเวลาประมาณ 1 ชม. 30 นาที) โดยได้ดำเนินกิจกรรมก่อนวาระการประชุมอื่นๆ ของกลุ่มงานฯ ที่ประชุม/กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๔๑ คน จาก ๑๗ สถาบัน โดยวิทยากร ได้แบ่งบันและถ่ายถอดองค์ความรู้เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด โดยได้นำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ไว้บนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม ดังนี้

  •     การนำ LINE NOTIFY มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด ได้นำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ไว้ที่https://e-library.siam.edu/line-notify-library/  
  • ๒.      วิธีการส่งข้อมูลจาก GOOGLE FORMS งานบริการไปแสดงบน LINE ดูวิธีการได้ที่https://e-library.siam.edu/google-forms-to-line/
  • ๓.      ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและตอบแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล  : เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมที่: https://forms.gle/CsenpFwMM6sPbLSs7

มติที่ประชุม ที่ประชุมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรม และประธานกลุ่มงานฯ จะรายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล : เรื่อง การนำ Line Notify มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด ใน Line ของกลุ่มงานฯ

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc  ผู้รับผิดชอบโครงการจาก ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความคืบหน้าโครงการพัฒนาหัวเรื่องใหม่โดยผ่าน google.doc โดยได้ดำเนินการรวบรวมและจัดสร้าง Link ใหม่ใน google.doc เพื่อใช้ในการนำเสนอหัวเรื่องใหม่ให้ที่ประชุมพิจารณาที่ลิงค์: https://docs.google.com/spreadsheets/d/1R716PcVFX3FbtVMa4sDvk1DbuYc923ST9mt69fY_IY/edit#gid=2068396760 มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกลุ่มงานฯ นำเสนอหัวเรื่องใหม่ตามลิงค์ข้างต้น

. ความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal  ผู้รับผิดชอบโครงการจาก สำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม นำเสนอความคืบหน้าโครงการรวบรวมแหล่ง Open Access eBook & eJournal ดังนี้ โครงการได้ดำเนินการอัพเดทข้อมูลใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยได้เผยแพร่ข้อมูลไว้ที่ https://e-library.siam.edu/open-access-database/  ทั้งนี้เมื่อครบวาระของกลุ่มงานพัฒนาฯ ชุดที่ ๑๘ จะสรุปจำนวนแหล่ง Open Access eBook & eJournal ให้สมาชิกได้ทราบต่อไป

. ความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม ผู้รับผิดชอบโครงการจาก ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง UNION CATALOG: การนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม โดยการแบ่งปัน/ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart และคู่มือ ในส่วนของ Flow Chart สามารถใช้องค์ความรู้เดิมที่กลุ่มงานพัฒนาฯ ชุดที่ ๑๗ ได้จัดทำไว้ และได้เผยแพร่บนหน้าเว็บไซต์ที่ https://www.thaipul.org/images/Acqcat/ReportSummary17.pdf  ในส่วน คู่มือการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม มีรายละเอียดมาก จึงควรใช้คู่มือจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้จัดทำไว้แล้ว ตามเอกสารคู่มือจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การลงรายการตามมาตรฐานเพื่อการดำเนินงานร่วมกันและการให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดบนฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมให้กับสมาชิกกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  ดังนี้

  • คู่มือ: การลงรายการตามมาตรฐาน บนฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม UC-TAL (PDF) จัดทำโดย : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คู่มือ: การใช้งานโปรแกรมสนับสนุน การดำเนินงานบนฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม UC Connexion Client (PDF) จัดทำโดย : หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

. ความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การนำเข้าข้อมูล TDCThaiLis Digital Collection  ผู้รับผิดชอบโครงการจาก ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอความคืบหน้าโครงการจัดการความรู้  (KM) / กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การนำเข้าข้อมูล TDCThaiLis Digital Collection โดยการแบ่งปัน/ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยรูปแบบ Flow Chart มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ และในส่วนของคู่มือ ประธาน ได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำคู่มือการนำเข้าข้อมูล TDCThaiLis Digital Collection และนำมาแบ่งปัน/ถ่ายถอดในที่ประชุมครั้งต่อไป

. ความคืบหน้าโครงการพัฒนาทักษะใหม่ (UpSkill / ReSkill) บุคลากรกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ อพส. กิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล : เรื่อง การสร้างสื่อให้ดึงดูดโดยใช้โปรแกรม Canva” โดยการเข้าร่วมกิจกรรมกับ กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น ยังไม่มีความคืบหน้าของการจัดกิจกรรมจากกลุ่มงานบริการฯ

๙. ความคืบหน้าโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน โครงการนี้รอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๒๐๑๙ และยังไม่มีสมาชิกของกลุ่มงานพัฒนาฯ หรือสถาบันใดจัดส่งรายชื่อโรงเรียนหรือชุมชนที่ต้องการรับการแบ่งปัน ตามที่มีมติให้สมาชิกรวบรวมและจัดส่งไว้ที่ Line ของกลุ่มงานฯ เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการจัดลำดับ ความต้องการในการแบ่งปัน ประธานเสนอแนะให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการในรูปแบบเดิมต่อไป หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมของโครงการใหม่ หรือจะยกเลิกโครงการ ท่านที่ปรึกษา อาจารย์ไพจิตร เกิดอยู่ ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนในรูปแบบเก่า โดยการนำหนังสือไปมอบให้ชุมชนหรือโรงเรียนนั้น ปัจจุบันไม่ตอบสนองกับความต้องการของชุมชน จึงเสนอแนะให้ที่ประชุมปรับเปลี่ยนรูปแบบการแบ่งปันความรู้ เนื่องจากองค์ความรู้ในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบดิจิทัล หรือจะจัดทำโครงการใหม่ทดแทนโครงการนี้ คณะอนุกรรมการหลายสถาบันได้แสดงความเห็นชอบกับท่านที่ปรึกษา เนื่องจากหลายสถาบันยกเลิกการแบ่งปันในรูปแบบการมอบหนังสือ ประธาน ได้นำเสนอรูปแบบการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม ในรูปแบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ อาทิเช่น วันสุนทรภู่ วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ฯ และได้ร่วมกับห้องสมุดมารวย เผยแพร่องค์ความรู้และทดสอบความรู้ด้านการเงินและการลงทุน ซึ่งผู้ใช้เว็บไซต์ของห้องสมุดทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปได้ทดสอบความรู้ผ่าน Google Form เมื่อผ่านการทดสอบความรู้ จะได้รับใบประกาศนียบัตร ซึ่งทั้งนักเรียนและนักศึกษาได้เข้ามาทดสอบความรู้เป็นจำนวนมาก เพื่อเก็บสะสมใบประกาศนียบัตรไว้เป็น Portfolio มติที่ประชุม ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน จากรูปแบบการมอบหนังสือให้ชุมชน เป็นรูปแบบอื่น เนื่องจากรูปแบบเดิมไม่ตอบสนองกับความต้องการของชุมชน หรืออาจจะจัดโครงการอื่นทดแทนโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน โดยคณะอนุกรรมการกลุ่มงานฯ ขอนำกลับไปคิดโครงการและจะนำเสนอในที่ประชุมกลุ่มงานฯ ครั้งต่อไป

๑๐. ความคืบหน้าการเผยแพร่รายงานการประชุมของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศบน เว็บไซต์ของ อพส. หรือ Thaipul ที่ https://www.thaipul.org ผู้รับผิดชอบดำเนินการจาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม นำเสนอความคืบหน้าการเผยแพร่รายงานการประชุมของกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศบน เว็บไซต์ของ อพส. หรือ Thaipul ที่ https://www.thaipul.org โดยได้เผยแพร่ทั้งการประชุมครั้งที่ ๑๘/๑/๒๕๖๔ และ ครั้งที่ ๑๘/๒/๒๕๖๕ เรียบร้อยแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา


* รู้จัก กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) หรือ ThaiPUL ก่อนจะรู้จักกับกลุ่มงาน ต้องทำความรู้จักกับ อพส.ก่อน  อพส. หรือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้เริ่มขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2528 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 11 แห่ง ได้นัดหมายมาประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหารูปแบบของความร่วมมือที่เหมาะสมที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่งจะพึงร่วมมือกันได้ โยมีนายบุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ หัวหน้าบรรณารักษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานจัดการประชุม และมี รศ.ดร.นวนิตย์ อินทรามะ เป็นที่ปรึกษาที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานความร่วมมือเป็นชุดแรกจำนวน 6 คน และได้จัดตั้งเป็น “ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ชสอ. หรือ HPEL Group)” มีนายบุญสิริสุวรรณเพ็ชร์ เป็นประธานชมรม ในปี พุทธศักราช 2530 ชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น“คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพห.)” อยู่ภายใต้การคำแนะนำของคณะอนุกรรมการฝ่ายพัฒนาในสังกัดสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.) ครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ตุลาคม 2543 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีมติให้ เปลี่ยนชื่อย่อ จาก อพห. เป็น อพส. และมีชื่อเต็มคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

พันธกิจ

สร้างข้อตกลงในความร่วมมือด้านการจัดหา การสนับสนุน และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละสถาบัน ด้วยความประหยัด และยุติธรรม

วัตถุประสงค์

อพส. คือ กลไกการรวมพลัง ความสามัคคีระหว่างห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทรัยากรการเรียนรู้และบริการสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการบริการทางวิชาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3. ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตผลงานในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 4. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการประสบการณ์ของบุคลากรในวิชาชีพ

หน้าที่ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

1. กำหนดนโยบายและประสานงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง 3. แต่งตั้งกลุ่ม 4. ร่วมมือกันแก้ปัญหา 5. ประสานงานพื่อให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง

กิจกรรม ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ควรจัดทำ

1. กำหนดนโยบาย โครงสร้างให้เป็นลายลักษณ์อักษร 2. อนาคตของห้องสมุดควรจะพัฒนาไปในทิศทางของศูนย์สารนิเทศแห่งชาติ 3. บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดควรมีการขยายกว้างขึ้น 4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ 5. อุปกรณ์การสื่อสาร 6. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป 7. มีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 8. ควรมีการประเมิณผลของกิจกรรมที่ผ่านมา 9. ควรมีการวางแผนระยะสั้น-ระยะยาว 10. เผยแพร่ข่าวสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 11. ควรมีการประชาสัมพันธ์

การแบ่งกลุ่มงาน

2528 นับตั้งแต่ได้ร่วมมือกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2528 จนถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2546ได้ดำเนินการร่วมมือแบ่งกลุ่มงานพร้อมกับความร่วมมือของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มงานเทคนิค 2. กลุ่มงานบริการ 3. กลุ่มงานโสตทัศนบริการ 4. กลุ่มงานวารสาร 5. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ  2552 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 12/1/2552 วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุรัตน์ 1 อาคารหอสมุด สุรัตน์โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีมิติให้รวมกลุ่มงาน โดยยุบรวมกลุ่มงานวารสารรวมเข้ากับกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มงานโสตทัศนบริการยุบรวมในกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เหลือ 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานบริการสารสนเทศ 2. กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 3. กลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 4. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2561 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ 1/2561 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุม ช้ัน 8 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีมิติให้รวมกลุ่มงาน เหลือเพียง 2 กลุ่มงาน ดังนี้ 1. กลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2. กลุ่มงานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ของกลุ่มงาน

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) มีมติให้การส่งตัวแทนเข้าร่วมกลุ่มงานโดยพิจารณาหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจรองจากหัวหน้างานเข้าร่วมประชุมคณะทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการผลิตงานทางวิชาการ 2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของบุคลากร 3. ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการวิชาการ * ที่มา :  http://www.thaipul.org/index.php/2016-02-19-07-17-31

การประชุมกลุ่มงานพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ครั้งที่ ๑๖/๕/๒๕๖๒