แหล่งสารสนเทศเพื่อการตีพิมพ์-ไม่ควรลงตีพิมพ์ ผลงานวิจัย/วิชาการ

แนะนำ แหล่งสารสนเทศเพื่อการตีพิมพ์

มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาและแหล่งผลิต ผลงานวิจัย/วิชาการ ผลงานวิจัย เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ จากผลงานวิจัยที่เผยแพร่เป็นบทความผ่านวารสารวิชาการ ซึ่งบทความวิจัย/วิชาการต่างๆ จะผ่านการกลั่นกรองโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเดียวกัน หรือคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความก่อนลงในวารสาร (Peer review)  และการนำบทความวิจัย/วิชาการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ ก็จะสามารถตรวจสอบได้จากปริมาณการอ้างอิง (citation) จากบทความอื่น

การรวบรวมบทความนับล้านเรื่องจากวารสารในสาขาวิชาต่างๆ ในโลกที่มีนับหมื่นรายการจะมีองค์กร ที่รวบรวมรายการวารสารเหล่านี้ เช่น ISI Web of Knowledge และ Scopus โดยการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายความสำคัญวารสารแต่ละฉบับ จัดสร้างดัชนี (Index) ของวารสาร เช่น SCI (Science Citation Index) ของ ISI Web of Knowledge และ SJR (Scimago Journal Ranking ) ของ Scopus เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณภาพวารสาร โดยดัชนีเหล่านี้มีหลักการ เบื้องต้นคล้ายกันว่า วารสารที่ได้รับการอ้างอิงบ่อยกว่าก็จะถือว่ามีค่าผลกระทบ (impact factor) และองค์กรที่รวบรวมรายการวารสารในประเทศไทยดำเนินการโดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) ดังนั้นการพิจารณาคุณภาพผลงานวิจัย/วิชาการ  จึงพิจารณาได้จากแหล่งข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ องค์กรข้างต้น ได้รวบรวมรายชื่อวารสารที่มีคุณภาพ สามารถตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล และ แหล่งสารสนเทศเพื่อการตีพิมพ์ ดังนี้

  1. ฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) ตรวจสอบรายชื่อวารสารได้ที่ https://tci-thailand.org/  และค่า Thai-Journal Impact Factors ที่ https://tci-thailand.org/?page_id=1471
  2. ฐานข้อมูล Scopus ตรวจสอบรายชื่อวารสารได้ที่  https://www.scopus.com/ และค่า Quartile (Q) หรือค่า SJR – SCImago Journal & Country Rank ได้จากเว็บไซต์ https://www.scimagojr.com/
  3. ฐานข้อมูล ISI Web of Knowledge – Web of Science ตรวจสอบรายชื่อวารสาร ได้ที่ http://isiknowledge.com/wos และค่า SCI (Science Citation Index) ที่ http://isiknowledge.com/jcr
  4. ฐานข้อมูล Google Scholar  ซึ่งเป็น free search engine ตรวจสอบรายชื่อวารสารและ Google Scholar Citations ได้ที่ https://scholar.google.com/

กลุ่มวารสารในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

วารสารในฐานTCI กลุ่ม 1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (ระยะเวลา 5 ปี จนถึง ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) /ตรวจสอบสถานภาพกลุ่มของวารสารในปัจจุบัน ได้ที่ TCI

วารสารในฐานTCI กลุ่ม 2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI /ตรวจสอบสถานภาพกลุ่มของวารสารในปัจจุบัน ได้ที่ TCI

กลุ่มวารสารที่จัดพิมพ์ในไทย ที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ จากหลักเกณฑ์ของกลุ่มงานประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ สกอ.

กลุ่มนี้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา คุณภาพผลงานวิชาการ ที่จัดทำโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) http://www.onesqa.or.th ที่อาจปรากฏ ทั้งค่า Journal Impact Factor และไม่ปรากฏ ค่า Journal Impact Factor แต่พิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับใน สาขาวิชา มีปริมาณการอ้างอิง และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ จึงมีวารสารวิชาการบางส่วน ที่มีรายชื่อทั้งในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และบัญชีรายชื่อของ สกอ.

วารสารวิชาการกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับทุนสนับสนุน จาก สกอ. ประจำปีงบประมาณ 2548-2551

วารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสกอ. ที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ

วารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสกอ. ที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

ฐานข้อมูลระดับชาติ/นานาชาติ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้การรับรอง

โดยใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • 1. วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ดังนี้
    1.1 ISI Web of Science (SCI) = http://thomsonreuters.com/products_services/science/science_products/az/web_of_science/
    1.2 MEDLINE = http://medline.cos.com/ BIOSIS = http://www.biosis.org/
    1.3 SciFinder (CA SEARCH) = http://library.dialog.com/bluesheets/html/bl0399.html
    1.4 EiCOMPENDEX = http://www.ei.org/databases/compendex.html
    1.5 INSPEC = http://www.theiet.org/publishing/inspec/
  • 2. วารสารระดับนานาชาติที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยและ สกว.ยอมรับ โดยบทความวิจัยนั้น ต้องตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
    2.1 Journal of Medical Association of Thailand
    2.2 Thai Journal of Surgery Southeast Asian
    2.3 Journal of Tropical Medicine and Public Health
    2.4 Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology
    2.5 ScienceAsia
    2.6 Thai Journal of Agricultural Science
    2.7 Thai Forest Bulletin
    2.8 Asian Biomedicine
    2.9 Thai Journal of Veterinary Medicine
    2.10 Chiang Mai Journal of Science
    2.11 Maejo International Journal of Science and Technology
    2.12 Buffalo Bulletin

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • 1. วารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ดังนี้
    1.1 Social Science Citation Index (ISI)
    1.2 Social SciSearch
    1.3 ERIC
    1.4 PsycINFO
    1.5 Sociological Abstracts
    1.6 Arts & Humanities Search
    1.7 Linguistics and Language Behavior Abstracts
  • 2. วารสารระดับนานาชาติที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย (บทความวิจัยนั้นต้องตีพิมพ์เป็น ภาษาอังกฤษ)
    2.1 Manusya: Journal of Humanities
    2.2 Journal of Population and Social Studies
    2.3 Mon-Khmer Studies (สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล)
    2.4 Thammasat Review (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
    2.5 วารสารเอเชียปริทัศน์/ Asian Review (สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย)
    2.6 Rian Thai: International Journal of Thai Studies (สถาบันไทยศึกษา: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย)
  • 3. วารสารระดับนานาชาติที่นักศึกษา คปก. ในหลักสูตรกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ตีพิมพ์และ สกว. ยอมรับเพิ่มเติม (บทความวิจัยนั้นต้องตีพิมพ์เป็น ภาษาอังกฤษ)
    3.1 Academic Exchange Quarterly
    3.2 Asian Ethnicity
    3.3 Asia-Pacific Population Journal
    3.4 Canadian Journal of Development Studies
    3.5 Corporate Ownership and Control
    3.6 Corrections Today
    3.7 Educational Action Research
    3.8 International Education Journal
    3.9 International Forum of Teaching and Studies
    3.10 International Journal of Retail and Distribution Management
    3.11 Journal of Advertising Research
    3.12 Journal of Institutional Research South East Asia
    3.13 Journal of Interdisciplinary Education
    3.14 Journal of International Consumer Marketing
    3.15 Journal of Southeast Asia Studies
    3.16 Medische Anthropologie
    3.17 Peninsule
    3.18 Quality in Higher Education
    3.19 Rural Sociology
    3.20 Society and Economy : Journal of the Corvinus University of Budapest
    3.21 Tai Culture
    3.22 Asian Culture and History
    3.23 South East Asia Research
    3.24 International Journal of Aquatic Research and Education


         นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิชาการบางส่วน ที่ปรากฏในฐานข้อมูลนานาชาติที่มี ลักษณะเป็น Open Access ซึ่งส่วนใหญ่ ยังไม่มีค่า Journal Impact Factor เช่น ฐานข้อมูลของสำนักพิมพ์ Hindawi วารสารที่อยู่ใน DOAJ (Directory of Open Access Journals)


แหล่งที่สุ่มเสี่ยงไม่ควรส่งผลงานวิจัย/วิชาการไปตีพิมพ์เผยแพร่

           Jeffrey Beall บรรณารักษ์ของ University of Colorado Denver ได้ทำการวิเคราะห์และรวบรวม รายชื่อสำนักพิมพ์และวารสารที่มีลักษณะที่ไม่น่าไว้ใจทุกปีหรือที่เราเรียกกันว่า Beall’s List โดยจะมีรายชื่อของสำนักพิมพ์ และวารสาร (ของต่างประเทศ) ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นสำนักพิมพ์ หรือวารสารที่หลอกลวงให้นักวิจัยส่งผลงานไปตีพิมพ์แล้วเรียกเก็บเงินเพื่อให้ผ่านขั้นตอนของ การตอบรับการตีพิมพ์ ซึ่งรายชื่อของสำนักพิมพ์และวารสารที่ปรากฏอยู่ใน Beall’s List ถ้าท่าน คณาจารย์และนักวิจัยส่งผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่อาจก่อให้เกิดผลกระทบและความน่าเชื่อถือต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและอาจส่งผลต่อตัวคณาจารย์เอง เนื่องจากผลงานวิจัยที่นำไปตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารหรือสำนักพิมพ์ที่ปรากฏใน Beall’s List จะไม่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ ทำให้นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง การขอตำแหน่งทางวิชาการ การพิจารณาทุนวิจัย การพิจารณารางวัล และการสมัครเข้ารับตำแหน่งในบางกรณี

Year Number of predatory publishers Number of predatory standalone journals
2011 18
2012 23
2013 225 126
2014 477 303
2015 693 507

รายชื่อสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ใน list มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ซึ่ง Beall มี เกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกอย่างรอบคอบ สามารถตรวจสอบรายชื่อของปีปัจจุบันได้ ดังนี้

    1. รายชื่อสำนักพิมพ์ที่ไม่ควรส่งผลงานวิจัยไปร่วม ไม่ว่าจะเป็น การประชุมวิชาการ (Proceeding) หรือวารสารวิชาการ (Journal) ดูที่: https://beallslist.weebly.com/
    2. รายชื่อวารสารที่ไม่ควรส่งไปตีพิมพ์ ดูที่: https://beallslist.weebly.com/standalone-journals.html
    3. รายชื่อวารสารที่ทำการลอกเลียนแบบ เว็บไซต์ ISSN จากวารสารที่มีชื่อเสียง หรือที่เรา เรียกว่า Hijacked Journals ดูที่: https://beallslist.weebly.com/hijacked-journals.html

แนะนำ แหล่งสารสนเทศเพื่อการตีพิมพ์ และแหล่งที่ไม่ควรลงตีพิมพ์ ผลงานวิจัย วิชาการ เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย