การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 4/2563

การประชุม: การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ EDS เพื่อการยืมระหว่างห้องสมุดกับเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 4/2563

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563  เวลา 09.30 14.30 น. บุคลากรของสำนักหอสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม (นางพรรณี จิวพุทธิธรรม และ นางสาวอรชร  ยิ่งใหญ่) ได้เข้าร่วม การประชุม: การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ EDS เพื่อการยืมระหว่างห้องสมุดกับเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 4/2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท EBSCO มีสถาบันที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ในครั้งนี้ จำนวน 21 คน จาก 9 สถาบัน ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศรีปทุม, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  และห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม

วัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมประชุมเครือข่ายความร่วมมือกลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL 

  • เพื่อความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรฯ ร่วมกันของกลุ่ม TU-THAIPUL และลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการบอกรับ/จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศลงได้
  • เพื่อรับรู้ความก้าวหน้าของระบบ/ฐานข้อมูลออนไลน์ EDS (EBSCO Discovery Service) ที่นำมาใช้ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter library loan)

สรุปหัวข้อองค์ความรู้การประชุม: การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ EDS เพื่อการยืมระหว่างห้องสมุดกับเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 4/2563

  • EDS evolution update – EDS มีการปรับปรุง Platform ใหม่ น่าจะเริ่มต้นใช้งานได้ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 Feature ที่มีการปรับเปลี่ยน ได้แก่     

1) เพิ่ม My Dashboard  -สำหรับผู้ใช้ในการสร้าง Project เพื่อรวบรวมผลการค้นหา แยกแต่ละครั้ง 
2) Like item – กด Like item เพื่อเก็บรายการไว้ใน Dashboard 
3) Recent Search  – ระบบจะทำการเก็บคำค้นหาไว้ สำหรับ  user. เพื่อกลับมาย้อนดูภายหลังได้ 
4) Concept Map – Visual map เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ ค้นหา คำอื่นๆ ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ใกล้เคียง หรือ คำที่มีความคล้ายคลึงกัน และสร้าง Query  สำหรับสืบค้นข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ  2D และ 3D
5) Publication – หน้าการสืบค้น Publication ที่สามารถสืบค้นแยกตามฐานข้อมูล หรือ ตามหัวเรื่อง LC 
6) หน้าจอผลการสืบค้น  – Platform ใหม่ สามารถแยกผลการสืบค้นออกเป็น ๒ ช่องได้ในกรณีที่คำค้น ตรงกับข้อมูล Publication และใน Research Starter
7) Filter  ตัวกรอง – ซ่อนตัวกรองข้อมูล ไว้หลังกล่องการสืบค้น เพื่อปรับให้หน้าจอดูง่ายและเพิ่มพื้นที่วางมากขึ้น  

  • Research workflow แนะนำเครื่องมือสำหรับนักวิจัยในการเก็บข้อมูลงานวิจัย และสร้างเครือข่ายนักวิจัยหรือผู้เชียวชาญ ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสามารถทำวิจัยและต่อยอดการวิจัยได้ง่าย ซึ่งแพลตฟอร์มที่บริษัทได้ริเริ่มทำ ได้แก่

1) Code Ocean จัดเตรียมแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านการวิจัย เป็นศูนย์กลางในการสร้าง จัดการ และแบ่งปันรหัสการวิจัยและข้อมูล (Provides a research collaboration platform. It centralizes where research code and data is created, managed and shared)
2) Protocols จัดเตรียมที่เก็บในการเข้าถึงแบบเปิดสำหรับวิธีการวิจัย ทำให้ง่ายต่อการแบ่งปันรายละเอียดวิธีการ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเผยแพร่งานวิจัย (Provides an open access repository for research methods. It makes it easy to share method details before, during and after publication.) ซึ่ง Protocol.io เป็น Portal สำหรับนักวิจัยในการ แชร์ ปรึกษา หาข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน อาทิเช่น Coronavirus Method Development Community หรือ  URL: https://www.protocols.io/workspaces/coronavirus-method-development-community/publications?sort=views
3) Upiquity จัดเตรียมที่เก็บข้อมูลสถาบันแบบโอเพนซอร์ส สนับสนุนการรวบรวมและเผยแพร่งานวิจัย และคอลเล็กชั่นพิเศษด้วยแพลตฟอร์ม Samvera-based Hyku และยังให้แพลตฟอร์มการเผยแพร่แก่สถาบันขนาดเล็กแบบเปิดสำหรับวารสาร หนังสือ และวิทยานิพนธ์ (Provides an open source institutional repository, It supports the collection and dissemination of research and special collections with the Samvera-based Hyku platform. Upiquity also Provides an open access low cost institutional publishing platform for journals, books and ETDs (essays theses and dissertations…))
4) Arkivum เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการข้อมูลระยะยาว และการเก็บรักษาข้อมูลดิจิทัล รวบรวม และจัดเก็บผลงานวิจัยและคอลเล็กชั่นพิเศษ ทำให้ไฟล์ปกติสำหรับการเข้าถึง ป้องกันความล้าสมัยของรูปแบบ สนับสนุนนโยบายการเก็บรักษาและปกป้องข้อมูล (Provides a platform for long-term data management and digital preservation. It collects and archives research output and special collections, It normalizes files for access, prevents format obsolescence, supports data retention policies, and safeguards data.)

  • ความต้องการเพิ่มเติมจากระบบ สมาชิกกลุ่ม ได้เสนอแนะความต้องการเพิ่มเติม ได้แก่ ต้องการเอกสารประกอบการขายฐานข้อมูลของบริษัท อาทิเช่น สัญญาการซื้อขาย ข้อมูลการUpdate Database รวมทั้งบริการหลังการขาย ได้แก่ จำนวนครั้งของการอบรมการใช้ฐานข้อมูลจากบริษัท คู่มือ/คลิปวิดีโอการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น
  • แนะนำสมาชิกใหม่ และแนวทางปฎิบัติสำหรับสมาชิกใหม่ในกลุ่ม (หัวข้อนี้นำไปประชุมรอบหน้า ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔)

ผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรม: บุคลากรนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยจัดทำ Digital Content เรื่อง บริการของห้องสมุดทางออนไลน์  ที่ https://e-library.siam.edu/online-services/


การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 2/ 2563
การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 1/ 2563

การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 3/ 2562
การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 2/ 2562
การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 1/2562

อ่านรายละเอียดและขอรับบริการได้ที่: บริการยืมระหว่างห้องสมุด Inter-Library Loan (ILL) เครือข่าย TU-THAIPUL & 2LibPlus ILL

-คู่มือการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด Inter-Library Loan (ILL) เครือข่าย TU-THAIPUL & 2LibPlus
-Manual Guide TU-THAIPUL & 2LibPlus-ILL (Inter-Library Loan)


การประชุมเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มสมาชิก TU-THAIPUL ครั้งที่ 4/2563