แลกเปลี่ยนเรียนรู้-ผู้ดูแลเว็บไซต์สำเร็จรูป WordPress (Meeting#2)

กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้-ผู้ดูแลเว็บไซต์สำเร็จรูป WordPress (Meeting#2) ตามโครงการ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ด้วย Word Press ครั้งที่ 3 สำนักทรัพยากรสารสนเทศ จัดกิจกรรมการแบ่งปัน และแลกเปลียนเรียนรู้นี้ขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2561 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้อง Financial Lab ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 19) โดยในครั้งนี้ มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์เข้าร่วม จำนวน 16 คน

wordpress-training-ห้องสมุด-มหาวิทยาลัยสยาม

การแบ่งปันความรู้ครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การ Log in เข้าสู่ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์  และเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเขียนโพสเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ แบ่งปันความรู้โดย Admin เจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ดูแลเว็บไซต์ของห้องสมุด สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม เนื้อหาสำคัญที่ใช้ในการแบ่งปันสรุปได้ดังนี้คือ

การ Log in เข้าสู่ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ และการเขียนโพส(สำหรับผู้เริ่มต้น)

  1. พิพม์ Url ในช่อง Address เข้าสู่หน้าระบบ login
  2. ใส่ชื่อ Username – รหัสผ่าน Password – ติ๊กถูกที่ช่อง I’m a human. (การป้องกันไม่ให้โปรแกรมบอทโจมตี) และกด Log in
  3. เมนูด้านซ้ายมือ  เลื่อนเมาส์ไปชี้ที่คำว่า Posts จะปรากฎเมนูย่อยออกมา
  4. คลิกที่ Add New ก็จะเข้าสู่หน้าการเขียนโพสแล้ว

คำอธิบายเนื้อหาการแบ่งปันความรู้ พร้อมภาพประกอบเพิ่มเติม

1. ช่อง Enter title here เป็นช่องสำหรับ ใส่ชื่อโพส โดยปกติแล้วชื่อโพสควรจะเป็นคำหรือประโยคที่สั้นๆ สรุปให้ได้ใจความของเรื่อง ไม่ควรยาวเกินไป โดยมากแล้วผู้เขียนโพสมือใหม่มักจะพยายามอธิบายเนื้อหาของโพสให้ละเอียดครบถ้วนในช่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น
“นางสาวสิริกานดา ซานิยาดา นักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการบริบาลฯ มหาวิทยาลัยสยาม เข้ารับรางวัลผู้มีความประพฤติดีจากศูนย์สาธารณะสุข 47 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561”
ตัวอย่างเขียนแบบย่อ: “มสยาม คณะพยาบาลศาสตร์ เข้ารับรางวัลความประพฤติดี ปี 2561” เป็นต้น

2. Visual กับ Text คือการเลือกเขียนแบบเสมือนจริงกับเขียนแบบคนที่รู้จัก code html หรือภาษาโปรแกรมที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ สำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่ไม่รู้ภาษา html ขอแนะนำให้เลือกเขียนโพสแบบเสมือนจริง (Visual) โดย wordpressมีเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโพสมาให้ ได้แค่ขนาดตัวอักษร การจัดกึ่งกลาง ซ้าย ขวา การใส่ Link url การเพิ่มตาราง ปุ่มเพิ่มรูป เป็นต้น

3. การเขียนเนื้อหา ควรให้มีคำหรือประโยค มากกว่า 300 คำ โดยสามารถสังเกตจากด้านล่างซ้ายมือของช่องเขียนเนื้อหา ตรงคำว่า Word count: จะมีการแสดงจำนวนคำที่เรากำลังเขียนให้แบบอัตโนมัติ เพื่อให้โพสนี้เป็นโพสที่มีคุณภาพที่ดี ซึ่งผู้ที่ตัดสินใจว่าโพสดีไม่ดีก็คือ โปรแกรม Bot ของ Google ที่จะเข้ามาเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ 2-3 ครั้งต่อเดือน ส่วนผลของการเขียนบทความหรือเขียนโพสที่ดีก็จะได้รับการยอมรับจาก โปรแกรมบอท และจัดให้โพสนี้ติดอันดับต้นๆ ของการสืบค้นด้วย Google ที่มีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่นี้

4. คีย์เวิร์ด(คำหลัก หรือKeyword) เป็นคำสำคัญหรือข้อความที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพิมพ์ลงไปในช่องสืบค้น เพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะจาก Google ดังนั้นคำสำคัญที่ถือเป็นคีย์เวิร์ดในการสืบค้นของผู้ใช้จากทั่วโลก จะต้องสั้นๆ ได้ใจความ และอธิบายถึงคุณลักษณะ หรือสัญลักษณ์ของเนื้อหาในโพสนั้นๆ ในทางบรรณารักษ์เรียกว่า ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง ทั้งนี้การเขียนโพส หรือเขียนบทความจะต้องคำนึงถึง โปรแกรม Bot ของ Google ว่ามีวิธีการคิดเช่นไร ซึ่งเรียกว่า การทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งคีย์เวิร์ดเหล่านี้จะถูกแทรกในเนื้อหาอย่างน้อย 5%
ตัวอย่างรูปแบบของคีย์เวิร์ด แบ่งออกได้เป็นดังนี้

  • Niche Keyword คือ คีย์เวิร์ด ที่มีการเจาะจงจำเพาะในตัวไม่ซ้ำกับใคร keyword จะเป็นกลุ่มคำยาว เช่น Siam U, มสยาม เป็นต้น
  • Widely Keyword คือ คีย์เวิร์ด ที่มีความหมายกว้างๆและมักมีปริมาณการค้นหามากมีคู่แข่งมาก เช่น Siam University, Nursing เป็นต้น
  • Mass Keywords คือ คีย์เวิร์ด จำนวนมากที่เกี่ยวข้องในตลาดเดียวกันหรือสินค้าตัวเดียวกันซึ่งสอดคล้องกันในลักษณะชื่อที่คล้ายๆกัน เช่น Siam U Lib ( ความหมายจาก Siam University Library) หรือตัวอย่างอื่นๆ เช่น Siam MBA, SiamU MBA, MBA-SiamU
  • Misspelling Keyword คือ คีย์เวิร์ด ที่มีการสะกดคำผิดหรือเขียนผิด เช่น มหาลัยสยาม, libary

wordpress-การเขียนโพส

5. การเพิ่มรูปประกอบ หรือไฟล์เอกสารในเนื้อหาของโพส สามารถทำได้ โดยการกดที่ปุ่ม Add Media อยู่ตรงด้านซ้ายมือเหนือเมนูเครื่องมือเขียนโพส เมื่อคลิกแล้วจะปรากฎหน้าต่าง Media Library ขึ้นมา มองเห็นเป็นไฟล์ภาพ หรือไฟล์ต่างๆ อยู่รวมกัน เราสามารถกดเพิ่มไฟล์รูป เช่น .jpg .gif .png หรือไฟล์เอกสาร เช่น .pdf .doc โดยคลิกที่แถบคำว่า Upload Files จากนั้นก็กด Select Files หรือจะใช้วิธี Drop files (คลิกเลือกลากไฟล์โยนเข้าไป) ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Insert into post

6. จัดหมวดหมู่ของโพส (Categories) หากไม่ได้ติ๊กถูกในช่อง โปรแกรมwordpress จะจัดให้ไปอยู่ในหมวดหมู่ Uncategoriezed โดยอัตโนมัติ ดังนั้นทุกครั้งที่เขียนโพสเราต้องกำหนดให้โพสนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด หมวดหมู่หนึ่ง หากไม่มี ให้คลิกที่ + Add New Category จากนั้นพิมพ์ตั้งชื่อหมวดหมู่ลงไป คลิก Add New.. สำหรับกรณีตรงคำว่า –Parent Category– หมายความว่า ให้เลือกว่าหมวดหมู่นี้เป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่ใดๆ หรือไม่ เช่น หมวดหมู่หลักคือ คณะ หมวดหมู่ย่อยคือ นิเทศ, พยาบาล, วิศว, วิทย์, เป็นต้น อันนี้ก็แล้วแต่ละท่านไปวางแผนตัดสินใจว่าจะกำหนดหมวดหมู่กันอย่างไรต่อไป

7. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Publish เพื่อเผยแพร่ออนไลน์โพสนี้สู่สาธารณะต่อไป

8. สามารถตั้งเวลาย้อนหลัง หรือ ตั้งเวลาให้เผยแพร่ออนไลน์ล่วงหน้าได้ โดยดูที่เมนูด้านขวามือ มองหาคำว่า Publish on: … คลิกที่ปุ่ม edit เพื่อปรากฎช่องกรอกข้อมูลเวลา แก้ไขแล้วกด Ok

9. สามารถดูตัวอย่างก่อนเผยแพร่(กดปุ่มPublic หรือUpdate) ได้ โดยคลิกที่ Preview จะเปิดหน้าต่าง Browser ขึ้นมาแสดงให้เห็นโพสที่จะเผยแพร่หรืออัปเดทให้ดูก่อน

10. ออกจากระบบ wordpress โดยเลื่อนเมาส์ไปที่รูปชื่อที่ใช้ Log In ของตัวเราเอง สังเกตที่ด้านมุมบนขวามือสุด จากนั้นจะปรากฎซับเมนูย่อยลงมา ให้เลือก Log Out จากระบบหลังบ้านของ wordpress


เกี่ยวกับโครงการ แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ด้วย WordPress

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูลได้เข้ามามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย รวมถึงการบริหารจัดการในองค์กร และสำนักงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และองค์ความรู้ต่างๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับรู้

สำนักทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยสยาม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการ และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้ และการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน และบุคคลภายนอก ทั้งในมหาวิทยาลัย ชุมชนและสังคม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงต้องพัฒนาความรู้ และทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้าน การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานได้จริงไปใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ และการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศขององค์กรตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ อีกทั้ง เพื่อพัฒนาสำนักฯ ไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบแห่งการเรียนรู้ มีการกำหนดประเด็นความรู้และพัฒนาบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยสยาม มีบุคลากรผู้มีทักษะความรู้ ความสามารถและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่สามารถถ่ายทอด แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กับบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาได้ และสำนักฯ สามารถรวบรวมความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีจัดเก็บอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการนำความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมา นำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง

แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best practices)


อ่านเพิ่มเติม:

แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ด้วย WordPress