๘ มีนาคม วันสตรีสากล International Women’s Day

วันสตรีสากล International Women’s Day  เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women’s Day) ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐) และมีการชุมนุมประท้วงอีกในวันเดียว กันในปี ค.ศ.๑๙๐๗ และ ค.ศ. ๑๙๐๘ ต่อมาในวันเดียวกันในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ และประกาศให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล”

[quote arrow=”yes”]ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล”[/quote] เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คน ต้องเสียชีวิต  จากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๘๕๗ (พ.ศ.๒๔๐๐)

Clara Zetkin 5 July 1857 – 20 June 1933
Clara Zetkin 5 (July 1857 – 20 June 1933)

จากนั้นในปี ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้  ต้องทำงานหนักถึงวันละ ๑๖-๑๗ ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความ เจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออกความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ได้ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยกันนัดหยุดงานในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๗ พร้อมกันเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ด้วย อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องในครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ คลารา เชนคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

women day Bread with roses 1908ต่อมาในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) มีแรงงานหญิงกว่า ๑๕,๐๐๐ คน ร่วมกันเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุตุการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึง  การได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง  จนกระทั้งในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ.๑๙๐๘ (พ.ศ.๒๔๕๑) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบ ความสำเร็จ เมือตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศเข้าร่วมประชุมสมัชชาสตีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรีในระบบสาม ๘ คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ ๘ ชั่วโมงให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก ๘ ชั่วโมง และอีก ๘ ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชายและยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ ๘ มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

วันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลอง และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติของตน กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือการเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา

ผลจากการตัดสินใจของที่ประชุม ณ กรุงโคเปนเฮเกน ทำให้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากล ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๑ ในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มีประชาชนทั้งหญิงชายมากกว่า ๑ ล้านคน เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมในวิชาชีพ และให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงานในปีถัดมาได้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลเพิ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน และในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ มีการจัดชุมนุมวันสตรีสากลในรัสเซียเป็นครั้งแรก ที่นครเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก แม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางก็ตาม วันสตรีสากลได้จัดขึ้นโดยเชิดชูคำขวัญของขบวนการสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อต่อต้านสงครามที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในยุโรปนับตั้งแต่ปีแรกๆ เป็นต้นมา ความสำคัญของการฉลองวันสตรีสากลได้ทวีมากขึ้น โดยมีสตรีในทวีปแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกา เริ่มร่วมมือกันเพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน และเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพยายามผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของ สตรีอย่างสมบูรณ์

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียม ในฐานะที่ผู้หญิงก็เป็นสมาชิก หนึ่งในสังคม[divide style=”dots” icon=”circle”]

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ “พลังแรงงานสตรีไทย ก้าวไกลสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล”  พิธีประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ซึ่งในปีนี้มีสตรีเสนอผลงานเข้ารับการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๕ คน ซึ่งมีสตรีที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวม ๘ ประเภท จำนวน ๒๙ รางวัล โดยกระทรวงแรงงานได้รับพระกรุณาคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ทอล์คโชว์ เรื่อง โอกาสสตรีไทยก้าวไกลให้ทันเศรษฐกิจดิจิทัล นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นิทรรศการสตรีทำงานดีเด่นประจำปี ๒๕๖๑ บูธแสดงผลิตภัณฑ์ คลินิกแรงงาน และการตรวจสุขภาพ

วันสตรีสากล-women day
ภาพข่าว :ThaiPBS – กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีและภาคีเครือข่าย จัดขบวนรณรงค์เพื่อเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี ๘ มีนาคม ๒๕๖๑

กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีและภาคีเครือข่าย จัดขบวนรณรงค์เพื่อเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อนำเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี ในแนวคิด “ความมั่นคงของผู้หญิง คือความมั่นคงของชาติ” ข้อเรียกร้องของทางกลุ่มคือรัฐต้องให้ความสำคัญกับนโยบายต่างๆ ต่อผู้หญิง ดังต่อไปนี้

  • ในการดูแลบุตร ต้องขยายวันลาคลอดจากที่กำหนดไว้ ๙๐ วัน เป็น ๑๒๐ วัน เพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์และใกล้ชิดจากมารดา สอดคล้องกับการต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๓ ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดา
  • จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนเวลาเปิด – ปิดศูนย์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน
  • ต้องกำหนดสัดส่วนผู้หญิงในการตัดสินใจของคณะกรรมการทุกมิติและทุกระดับอย่างน้อย ๑ ใน ๓
  • ให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ๐-๖ ปี
  • ให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและการบริการเท่าเทียมกับคนทั่วไป
  • จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิงและเด็กใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และในพื้นที่สาธารณะ
  • เคารพสิทธิการพัฒนาของประชาชนและผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
[quote arrow=”yes”]ประวัติของ คลารา เชนคิน

Clara Zetkin International Women Dayคลารา เชนคิน เกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๑๘๕๗ (สกุลเดิม ไอส์เนอร์) บิดาชื่อกอทฟริท ไอส์เนอร์ เป็นครูคนเดียวที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และเป็นทั้งนักไวโอลินและนักดนตรีประจำโบสถ์ มารดาเป็นชาวเมืองไลป์ชิก คลารา เซทคิน ในวัยเด็กเป็นคนชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ สนใจการอ่านหนังสือ มีความสนใจงานเขียนของเกอเต้และซิลเลอร์ ตลอดจนมหากาพย์ของโฮเมอร์แห่งกรีซโบราณ รวมทั้งงานบางชิ้นของเชคเปียร์ ไบรอน และดิกเกนส์ แต่หนังสือที่เชนคินชอบที่สุดกลับเป็นหนังสือต้องห้าม ๒ เล่ม คือ “ประวัติการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของสวิตเซอร์แลนด์” กับ “ประวัติการปฎิวัติฝรั่งเศล” เธอมีบทบาทในพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนีจนถึง ค.ศ.๑๙๑๗ แล้วเธอเข้าร่วมพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมัน (USPD) และปีกขวาจัดสันนิบาตสพาร์ทาซิสท์ ซึ่งต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) ซึ่งเธอเป็นผู้แทนราษฎรในไรซ์สทาก ระหว่างสาธารณรัฐไวมาร์ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๒๐-๑๙๓๓

ชีวิตสมรส เดือนพฤศจิกายน ๑๘๘๒ เชนคินย้ายไปอยู่ที่ปารีส และได้สมรสกับออสซิบ มีบุตรชาย ๒ คน ชื่อแมกซิมและคอสก้า นางถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๑๙๓๓[/quote]


สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ (2558). เข้าถึงได้ http://www.thaiwomen.or.th/th/knowledge_women_inter
บุญศักดิ์ แสงระวี.  (2543).  คลารา เชนคิน: ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล.  กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  (2560).  วันสตรีสากล พุทธศักราช 2560.  เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วันสตรีสากล

เว็บไซต์: https://www.internationalwomensday.com/

๘ มีนาคม วันสตรีสากล International Women’s Day