วันอนุรักษ์น้ำโลก World for Water Day

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#99cccc” bcolor=”#0066cc” arrow=”yes”]ความเป็นมาของ วันอนุรักษ์น้ำโลก[/quote]

น้ำในโลกของเราร้อยละ 97.41 เป็นน้ำทะเล มีเพียงร้อยละ 2.59 เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่งแบ่งเป็นน้ำแข็งบนขั้วโลกร้อยละ 1.984 น้ำใต้ดินร้อยละ 0.592 และน้ำผิวดินร้อยละ 0.014 โดยน้ำผิวดินนี้แบ่งออกเป็นน้ำในทะเลสาบร้อยละ 0.007 น้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินร้อยละ 0.005 น้ำในแม่น้ำ น้ำในสิ่งมีชีวิตและไอน้ำในบรรยากาศ อย่างละร้อยละ 0.001 เท่านั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าปริมาณน้ำจืดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้เพื่อยังชีพนั้นมีน้อยมาก (Patchain 2136, 2556)

วันน้ำโลก-world water dayน้ำเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของโลกอย่างมากเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนทั้งโลกมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล ดังนั้นเมื่อก้าวมาสู่ยุคนี้ที่น้ำเกิดจากการผลิตของภาครัฐการใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ มนุษย์จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้งานปริมาณน้ำมากที่สุดรวมถึงการทำให้เกิดน้ำเสียเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยเราใช้น้ำเพื่อทำอาหาร ล้างสิ่งสกปรก อาบน้ำ รับประทาน ใช้น้ำเป็นส่วนผสมในการทำน้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น จึงได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์  และใช้น้ำอย่างประหยัด ซึ่งปัญหาน้ำเป็นสิ่งที่ทั่วโลกวิตกกังวลกันอยู่  รวมถึงมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับน้ำอย่างที่ได้เห็น (Moobo, 2557)

[box type=”note”]วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day) หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก โดยเริ่มต้นปฏิบัติครั้งแรกเมื่อปี 2536 เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น แลอาจ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต  ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศให้ วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์น้ำโลก” หรือ “World Day for Water” เพื่อระลึกถึงความสำคัญของ น้ำ  ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก[/box]

วันน้ำโลก-world water day
Slum dwellers collect drinking water from a submerged hand-pump after heavy rains in the northern Indian city of Allahabad Reuters

วันอนุรักษ์น้ำโลก ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และ การพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 1992 ว่าด้วย สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21  โดยในแต่ละปีจะมีหน่วยงานใน สังกัดองค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการจัดงาน

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#99cccc” bcolor=”#0066cc” arrow=”yes”]วัตถุประสงค์ของวันอนุรักษ์น้ำโลก[/quote]

  • เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค
  • เพื่อเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์น้ำในรูปแบบต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลของแต่ละประเทศและหน่วยงานเอกชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์น้ำให้มากขึ้น

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#99cccc” bcolor=”#0066cc” arrow=”yes”]ในแต่ละปีของ วันอนุรักษ์น้ำโลก[/quote]

  • ปี ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นวันน้ำโลกครั้งแรก ได้กำหนดหัวข้อว่า “Caring for our Water Resources is Everybody’s Business” หรือการรักษาดูแลแหล่งน้ำเป็นเรื่องของคนทุกค ซึ่งสะท้อนถึงช่วงเวลา นั้นเป็นอย่างดีว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญที่จะดูแลรักษาแหล่งน้ำ
  • ปี ค.ศ.1998 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ “Groundwater – The Invisible Resource” ที่ให้ความสำคัญในการรักษาแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเวลานั้นประชากรโลกมากกว่าครึ่งอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภคที่สำคัญมากสำหรับแหล่งธุรกิจจนถึงแหล่งธุรกันดาร และในขณะเดียวกัน น้ำใต้ดินในหลาย ๆ แห่งพบว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายจากการประกอบอุตสาหกรรม
  • ปี ค.ศ.2003 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ “Water for Future” ที่เน้นการรณรงค์ให้รักษาคุณภาพแหล่งน้ำที่ส่งผลต่ออนาตคหรือความเป็นอยู่ของคนรุ่นต่อไปที่ต้องอาศัยทรัพยากรน้ำที่ดีพอเช่นกัน เนื่องจากข้อกังวลที่คนในยุคปัจจุบันกำลังใช้ทรัพยาอย่างสิ้นเปลือง ไม่ดูแลรักษา และผลกระทบจะตกอยู่กับคนรุ่นต่อไปซึ่งต้องรับผลร้ายจากที่คนรุ่นก่อนได้ทำไว้
  • ปี ค.ศ.2004 เป็นปีที่มีการหยิบยกหัวข้อ “Water and Disasters” หรือน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงเราที่คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำและสามารถส่งผลกระโดยตรงต่อมนุษย์จากเหตุการณ์ที่เกิดการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
  • ปี ค.ศ. 2011 กับหัวข้อ “Water for cities : responding to the urban challenge” ที่กล่าวถึงเรื่องการเติบโตของเมืองที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรโลกจำนวนมากของโลกอยู่ในเมือง และส่วนใหญ่อยู่ในสลัมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด
  • และในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการหยิบยกหัวข้อที่สำคัญและน่าสนใจมารณรงค์คือ “Water and Food Security : The World is Thirsty Because We are Hungry” ที่กล่าวถึงน้ำและความมั่นคงทางอาหาร โดยเป็นการเชื่อม โยง กันระหว่างปริมาณน้ำที่จำกัด กับปริมาณความต้องการ

World forestry day-earthน้ำที่เพิ่มขึ้นสำหรับการการผลิตอาหาร ของใช้และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตาม จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับพฤติกรรมการบริโภคที่สิ้นเปลือง ทั้งนี้ หัวข้อเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทยมากเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร แต่ยังเป็นประเทศที่ผลิตอาหารและส่งออกเป็นอันดับ สำคัญของโลก และยังต้องใช้น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแค่สำหรับอุปโภค บริโภคโดยตรง แต่ยังเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แน่นอนว่า เนื่องในวันน้ำโลก ปีนี้ ประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุก ๆ ที่ และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ อย่างเต็มที่[divide icon=”circle” width=”medium”]

 

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#99cccc” bcolor=”#0066cc” arrow=”yes”]คำขวัญวันอนุรักษ์น้ำโลก[/quote]

ปี 2555 : “น้ำ”กับ “ความมั่นคงทางอาหาร” (Water and Food Security)
ปี 2553 : “คุณภาพน้ำ…คุณภาพชีวิต” (Clean Water for a Healthy World)
ปี 2552 : “แบ่งปันน้ำ-แบ่งปันโอกาส” (Shared Water – Shared Opportunities)
ปี 2551 : “ปีสากลแห่งการสุขาภิบาลในด้านสุขอนามัย” (Inter national year of Sanitation)
ปี 2550 : “การจัดการกับการขาดแคลนน้ำ” (Coping with Water Scarcity)
ปี 2549 : “น้ำและวัฒนธรรม” (Water and Culture )
ปี 2548 : “น้ำเพื่อชีวิต” (Water for Life)
ปี 2547 : “น้ำและหายนะ” (Water and Disasters)
ปี 2546 : “น้ำสำหรับอนาคต” (Water for the Future)
ปี 2545 : “น้ำสำหรับการพัฒนา” ( Water for Development )
ปี 2544 : “น้ำและสุขภาพ” ( Water and Health )
ปี 2543 : “น้ำสำหรับศตวรรษที่ 21” ( Water for the 21st Century )
ปี 2542 : “ชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ”( Everyone Lives Downstream )
ปี 2541 : “น้ำในดิน-ทรัพยากรที่มองไม่เห็น” ( Groundwater-the Invisible Resource )
ปี 2540 : “น้ำของโลก-มีพอไหม” ( The World”s Water ; Is There Enough? )
ปี 2539 : “น้ำสำหรับเมืองที่กระหาย” ( Water for Thirsty Cities )
ปี 2538 : “สตรีและน้ำ” ( Woman and Water )
ปี 2537 : ” การดูแลน้ำของเราเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน” ( Caring of our water is everyone business )


กระปุกดอทคอม.  (2555, 22 มีนาคม).  วันอนุรักษ์น้ำโลก World Water Day.  เข้าถึงได้จาก
https://hilight.kapook.com/view/69058
Moobo.  (2557, 22 มีนาคม).  วันอนุรักษ์น้ำโลก World Water Day.  เข้าถึงได้จาก
http://blog.eduzones.com/moobo/124749
Patchain 2136.  (2556, 23 กันยายน).  แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ.  เข้าถึงได้จาก
http://patcharin213.blogspot.com/2013/09/blog-post_23.html
Water Treaty.  (2556, 25 มิถุนายน).  ความสำคัญของน้ำ.  เข้าถึงได้จาก http://www.watertreaty.org/category/ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น-ไม่/page/2/

 

วันอนุรักษ์น้ำโลก World water day