Experience of Thai Children Living With Thalasse mia Major : A Qualitative Study (2013)

 

Title              : Experience of Thai Children Living With Thalasse mia Major : A Qualitative Study

Researcher       : Suksiri Prasomsuk*, Waraporn  Kamrot*

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : suksiri_drko@yahoo.co.th, wara_aui@hotmail.com

Donwload PDF  : Experience of Thai Children Living With Thalasse mia Major : A Qualitative Study


Link to Published: APHEIT INTERNATIONAL JOURNAL


Bibliography     : Pasomsuk, S. & Khumros, W. (2013). Experiences of Thai children living with thalassemia major: A qualitative study. APHEIT international journal, 2, 60-69.

Quick View

Tourists’ and tourism suppliers’ perceptions toward crisis management on tsunami (2013)

 

Title              : Tourists’ and tourism suppliers’ perceptions toward crisis management on tsunami  

Researcher       : Bongkosh N. Rittichainuwat

Department      : International Program in Hotel & Tourism Management, Siam University, 235 Petkasem Rd., Phasichareon, Bangkok 10160, Thailand

E-mail                 :  Bongkosh N. Rittichainuwat ngamson@gmail.com

Abstract            : This study describes tourists’ perceptions toward the importance of safety measures across tourists who stay at different types of accommodation; compares the pre and post analysis of such safety measures during normal time and six months after the disaster and identify safety measures that contribute the most to the sense of beach safety. This study uses a survey, interviews, and observation. The target population was inbound tourists traveling to Thai beaches. It was found that respondents who participated in the survey six months after the March 2011 Japanese tsunami placed more importance on almost all tsunami safety measures than those who did the survey six years after the Indian Ocean tsunami. Guests at guest houses, placed the highest importance on all safety measures, whereas guests at upscale hotels, placed the lowest importance. Moreover, perceptions of beach safety were dependent on the availability of a tsunami evacuation system and a crisis management plan.

Keywords         :  Tsunami, Crisis management, Tourist perceptions, Thai hotels, Thai tourism

Publication        : Tourism Management Vol.34 February 2013

Link to Publication:  https://www.sciencedirect.com/journal/tourism-management/vol/34/suppl/C


Bibliography     : Rittichainuwat, B. N. (2013). Tourists’ and tourism suppliers’ perceptions toward crisis management on tsunami. Tourism Management, 34112-121. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2012.03.018


Author details in Scopus: Rittichainuwat, Bongkosh Ngamsom

Scopus Citationshttps://www.scopus.com/sources.uri?DGCID=Scopus_blog_post_check2015

Google Scholar Citations:  https://scholar.google.com/citations?user=ifUlKJoAAAAJ&hl=en

Quick View

Tourists’ Perceived Risks Toward Overt Safety Measures (2013)

 

Title              : Tourists’ Perceived Risks Toward Overt Safety Measures

Researcher       : Bongkosh N Rittichainuwat

Department      : Service Industry Management, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  Bongkosh N. Rittichainuwat ngamson@gmail.com

Abstract            : This study aims to assess tourists’ perceptions toward overt safety measures. The study segments tourists into four different groups depending on their perceptions toward overt safety measures, type of accommodation, and purpose of visit. A total of 476 respondents were segmented into special occasion tourists, leisure mid-priced tourists, frequent business travelers, and backpackers. A two-step cluster analysis and ANOVA were used to analyze the data. The results show that, all clusters, except the backpacker segment, feel quite safe toward overt safety measures. Whereas the special occasion tourists at luxury hotels felt the safest toward overt safety measures, they concurrently were the most likely discouraged with too-stringent overt safety measures. Although most tourists feel safe about overt safety measures, a stringent increase in safety measures could frighten them because such measures could create a false perception that something untoward has previously happened at the destination. Hence, the old claim that stringent safety measures frighten tourists remains a classic rule of thumb. Therefore, hoteliers must find an appropriate balance in the extent of overt safety measures so as not to exceed the acceptable safety threshold of tourists.

Keywords         :  overt safety measures, hotel safety, servicescape, safety concerns, Thai hotels

Publication        : Journal of Hospitality and Tourism Research  Vol.37 No.2  May 2013

Link to Publication:   https://journals.sagepub.com/toc/jhtd/37/2


Bibliography     : Rittichainuwat, B. N. (2013). Tourists’ perceived risks toward overt safety measures. Journal of Hospitality & Tourism Research37(2), 199–216. https://doi.org/10.1177/1096348011425494


Author details in Scopus: Rittichainuwat, Bongkosh Ngamsom

Scopus Citationshttps://www.scopus.com/sources.uri?DGCID=Scopus_blog_post_check2015

Google Scholar Citations:  https://scholar.google.com/citations?user=ifUlKJoAAAAJ&hl=en

Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่14-ฉบับที่25-มค-มิย2556

กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 14 ฉบับที่ 25 ม.ค.-มิ.ย. 2556

บทบรรณาธิการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา มงคลวนิช


บทความวิจัย
1. การรับรู้ของนักท่องเที่ยวนานาชาติต่อเมืองกุ้ยหลิน
LI YIN


2. การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
งามนิจ กุลกัน


3. การรับรู้เรื่องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล
ดร.เดือนเพ็ญ ทองน่วม วิจิตรา จามจุรี


4. ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย
ผศ.ดร. ชลลดา มงคลวนิช


5. การบริโภคความทันสมัยและการยืนยันเอกลักษณ์ โดยการท่องเที่ยว และการปฏิสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย
Mr. Sean Meadows


6. แนวทางการประยุกต์คำสอนในเกสปุตติยสูตรแห่งพระไตรปิฎก เพื่อการสื่อสารจูงใจที่มีประสิทธิภาพ โดยการตีความย้อนกลับ
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

Quick View
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย-ปีที่26-ฉบับ3-2556 Journal-of-Research-Methodology-2013-vol26-no3-sep-dec

การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุมิตร สุวรรณ. (2556). การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 26(3), 301-321.[/mfn]   การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

ชนิตา รักษ์พลเมือง, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุมิตร สุวรรณ


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

 

Title              :  การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 

Researcher       :  ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ และ ผศ.ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ
Department     :  ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   rcfcd.com@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ: กรณีนําร่องพื้นที่บริบทเมือง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาเครื่องมือเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน และสำรวจพื้นที่เขตภาษีเจริญ 2) ศึกษาบริบท สถานภาพพื้นที่เขตภาษีเจริญ 3) จัดทำข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ ระยะเวลาดําเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 มีการดําเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาเครื่องมือและการศึกษาเอกสาร 2) การสํารวจและการศึกษาเชิงคุณภาพ 3) การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทาํข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเขตภาษีเจริญ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจ การสนทนากลุ่ม (focus group) ยืนยันและปรับปรุงข้อมูล โดยใช้หลักการเทคนิคแบบสามเส้า (triangular technique) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ตามตำแหน่งหน้าที่ในฐานะแกนนำชุมชน ตัวแทนหน่วยงาน และด้วยความสมัครใจในฐานะสมาชิกชุมชน จํานวนตัวอย่าง คือ การสํารวจแกนนําชุมชน 80 คน การสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย แกนนําชุมชน 15 คน สมาชิกชุมชน 15 ชุมชนๆ ละ 30 คน รวม 450 คน ผู้แทนวัด โรงเรียน สถานประกอบการ สถานพยาบาลจาก 7 ชุมชน 60 คน ผู้แทนหน่วยงาน ภาคี 80 คน
ผลการศึกษา สรุปคือ 1) การพัฒนาเครื่องมือในการสํารวจข้อมูล เพื่อจัดทําฐานข้อมูลเรียกว่า “แผนที่ชุมชน” (Community Mapping) มีองค์ประกอบ 4 ประการได้แก่ ข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ข้อมูลพื้นที่ใช้ประโยชน์ข้อมูลทรัพยากรบุคคลของชุมชน และข้อมูลการดําเนินกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2) บริบทพื้นที่เขตภาษีเจริญ ตามองค์ประกอบของแผนที่ชุมชน สรุปคือ มีพื้นที่รกร้าง 19 แห่งใน 6 แขวง พื้นที่ชุมชนแออัด 40 พื้นที่ตลาดและตลาดนัด 10 แห่ง สถานศึกษา 37 แห่ง วัด 27 วัด โรงพยาบาล 8 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ศูนย์จุดหาบเร่/แผงลอย 468 แผง ห้างสรรพสินค้า 1 ห้าง โรงแรม 4 แห่ง ร้านอาหาร 257 ร้าน โรงงานที่ขึ้นทะเบียน 690 โรงงาน ลานกีฬาหรือสนามกีฬา 18 แห่ง พื้นที่สีเขียวประเภทสวนหย่อม 60 พื้นที่รวมขนาดพื้นที่ 5,108.75 ตารางเมตร ผู้นำชุมชน 451 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 30 คน มีพื้นที่ 7 ชุมชน 4 แขวง เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะใน 3 มิติคือ 1) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านอาหาร 2) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการออกกาํลังกาย 3) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมการปรับภูมิทศัน์
ข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ คือ สำนักงานเขตภาษีเจริญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมกระบวนการร่วมคิด ร่วมทําของชุมชน เพื่อยกระดับให้ชุมชนเป็นชุมชนจัดการตนเอง มีการจัดตั้งคณะทาํงานที่ประกอบด้วยผู้แทนชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ร่วมกับภาคีเครือข่ายกําหนดผังเมือง และจัดการสภาพแวดล้อมเมืองอย่างจริงจัง ค้นหาแนวทางลดข้อจํากัด หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาวะ หามาตรการแรงจูงใจแนวร่วมในการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของการจัดการพื้นที่สุขภาวะ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ตามองค์ประกอบของแผนที่ชุมชนที่มีความครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

คําสําคัญ             :  ชุมชนเมือง, พื้นที่สุขภาวะ, วิจัย, การพัฒนาเมือง

Abstract            :  The context study of urban communities of Pasi Charoen District for healthy space development is mixed of qualitative and quantitative research method. This study is a part of the research project for Healthy Space Development: A Pilot Project in Pasi Charoen District, Bangkok. The objectives of this study are 1) to develop a tool for survey baseline data in the area of Pasi Charoen District 2) to study the context of Pasi Charoen District and 3) to propose the recommendations for healthy space development of Pasi Charoen District. The 3 steps of implementation period started from June 2012 to May 2013 were 1) to develop tools and review the documents, 2) survey and qualitative study using focus group and 3) analyze and synthesize recommendations. Survey and focus group were being used to collect the data through triangular technique to verify and update. Purposive random sampling was being designed to select the respondents from community leaders, representative agency and as a voluntary member of the community. 80 community leaders were being randomized to answer the questionnaire. Focus group was being done by the rest, 15 community leaders, 450 community members from 15 communities, 60 representatives of 7 communities and 80 representatives of member agencies.
The conclusions are the following: 1) data explorer called community mapping was developed with four components namely: information of public area, information of space utilization, information of resource person in the community, and information of activities related to healthy space development, 2) according to community mapping, Pasi Charoen’s context is composed of 19 useless areas in 6 sub-district, 40 congested areas, 10 markets, 35 schools, 1 university, 1 college, 27 temples, 8 hospitals and health centers, 468 outdoor shops, 1 department store, 4 hotels, 257 food shops, 690 factories, 18 exercise fields and 60 green fields with total land area is 5,108.75 square meters. There are 451 community leaders, 30 local wisdoms and 7 communities from 4 sub-districts are the leaders of this first year project to develop the healthy space with 3 components: 1) the development of the area to carry out food activities, 2) to conduct the exercise activities and 3) to develop the area for landscaping activities.
The recommendations are 1) the involved organizations should promote the process of community participation to be self-management communities, 2) should establish a working group which consists of community representatives, representatives from departments in all sectors and collaborates with all related networks to define the concrete plan, and develop the urban environment sustainably, 3) identify the limitations or problems to reduce the risky areas of health, 4) motivate to add more networking to develop healthy space, 5) enhance the learning process as a learning community for the management of healthy space and 6) update the existing database every now and then.


Download PDF         : การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 

Link to Department:    http://rcfcd.com/

Bibliography     :    กุลธิดา จันทร์เจริญ และ เนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2556). การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View

ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (2556)

 

Title              : ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise

Researcher       : อาจารย์พรพิมล ภูมิฤทธิกุล1*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ชนิดา มัททวางกูร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์วราภรณ์ คำรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
ผศ. (พิเศษ) ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์นารี รมย์นุกูล สำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ฐิติมา อุดมศรี ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์สมหญิง เหง้ามูล ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

Department     : 1* Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            : The objectives of this study are: first, to study needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities and, second, to investigate factors that associate with the needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities of the Pasi Charoen citizen. . 404 people who livein Pasi Charoen district were selected using quota sampling with all sub-district and completed a set of questionnaires regarding exercise needs and expectation, exercise facilities.
Results were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient was considered statistically association. The results were as follows: 1. the level of needs and expectations toward exercise activities is moderate. But, the level of needs and expectation toward exercise facilities is high. 2. There are 3 factors that positive correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.01. There are perceived information about exercise, health status and level of education. There are 2 factors that negative correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.05 which are age and work duration.
This research has a suggestion to require the participation of the community and its partners in health, finding out how to integrated exercise is part of daily life, as well as supplying facilities and places to exercise, in the community, appropriate and conform to the needs and expectations of the people in the community.

Keywords        :   Needs for the exercise. Expectations for the exercise. Exercise

Donwload PDF  : Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise


 

Bibliography     :    พรพิมล ภูมิฤทธิกุลม, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, วราภรณ์ คำรศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ,…สมหญิง เหง้ามูล. (2556). ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.


 

Quick View

ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

 

Title              : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร MARKETING MIX FACTORS AFFECTING DECISION MAKING TO TRAVEL TO FLOATHING MARKET OF THAI YOUTH IN BANGKOK

Researcher       : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง

Department      :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ติดต่อได้ที่:

บทคัดย่อ              :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากการค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400คน พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 367คน คิดเป็นร้อยละ 92 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำ พบว่า เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ และด้านราคา ตามลำดับ โดยด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องกิจกรรมพิเศษในช่วงเทศกาล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ทัศนียภาพที่สวยงามมากที่สุด รองลงมาคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำ และความสะดวกในการเดินทาง ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง สินค้าที่มีรูปแบบทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจำหน่ายยาก และการบริการด้วยอัธยาศัยไมตรี และด้านราคา เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุดรองลงมาคือ การติดป้ายราคาอย่างชัดเจน โดยราคาและการบริการควร มีความเหมาะสมกับคุณภาพผลการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือก76วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2556)ท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยใช้สถิติ ttestกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการศึกษาและรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เยาวชนไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนไทยที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกัน

คำสำคัญ              :  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ การท่องเที่ยว ตลาดน้ำ

Abstract            :  This research aimed to study the factors that affect the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets. The target group for this research was Thai young adults who were not over 24 years old, living in Bangkok, and having traveled to floating markets in Bangkok or nearby. The sam-ple size for this research consisted of 400 Thai young adult tourists. The researcher used a questionnaire to collect all the data and the convenience sampling method was used. The questionnaire was developed from theories and other related research. Also, the researcher used descriptive statistical analysis, which included statistical distribution, frequency, percentage, average, and standard deviation. An inferential statistical analysis was also included to find T-Test and F-Test scores to compare differences between the averages of the two groups.

From the questionnaire, the researcher found that among the 400 samples, only 367 ques tionnaires or 92 percent were completed. The sample also showed that in terms of gender, 56.70 percent were female and 43.30 percent were male. The average age of respondents was 18 – 24 years. 90.70 percent of the respondents were single. High school students made up 94.60 percent of all respondents to the questionnaires. Primarily, most of the sample had an income under 10,000 THB per month. The results of questionnaire show that 95.40 percent of the respondents valued the topic of this research. The important factors of concern were advertising, distribution channel, products and services, and price. The most important factor that affected the respondents’ decision making process was advertising. The res pondents value promotions through various media channels and special events. The second most important
factor was the distribution channel. The enviro ment and uniqueness of floating markets alongside the comfort of transportation were seen as important factors. The third important factor was found to be products and services. Modern packaging of products, local products and a service minded staff were valued. The last factor was price. Respondents valued reasonable prices. Clearly price tags and service charges must be in line with the quality of service.
The results of this research found factors affecting the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets exist. The distinguishing variables were gender, age, level of education, occupation and income. The researcher used T-Test scores for comparing the differences of gender, age and occupation. F-Test scores were used to compare the differences of levels of education and income. The statistical results showed that Thai young adults can be divided into different demographics by gender, age, occupation, and income. The results are almost the same as the factors that affected their decision to travel to any particular floating market. However, Thai young adults who have a different educational backgrounds are found to have different values in relation to traveling to floating markets.

Keywords         :  Marketing strategy, decision, tourism, floating market.

Download PDF  :    ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร


Publication        : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.8 No.2 (July-December 2013)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/2026


Bibliography     :  ชลลดา มงคลวนิช, รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย,  8(2), 75-90. 


Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่14-ฉบับที่25-มค-มิย2556

ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย (2556)

 

ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย
ผศ.ดร. ชลลดา มงคลวนิช

บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทยและเปรียบเทียบความคิดเห็นของแหล่งท่องเที่ยวประเภทตลาดน้ำของไทย โดยศึกษาถึงลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ของเยาวชนไทย พฤติกรรม และภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวที่เป็นเยาวชนที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวตลาดน้ำในประเทศไทย จำนวน 442 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean: ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: S.D.) สถิติt-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และใช้สถิติF-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม
ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 17-18 ปีมีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด โดยรวมมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ตลาดน้ำอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าลักษณะของตลาดน้ำน่าจะแสดงถึงวิถีชีวิตในท้องถิ่น มีสินค้าประเภทขนมหวานหรือขนมไทย ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของที่ระลึกสำหรับซื้อฝาก และต้องการให้มีการเปิดบริการทุกวัน ความชื่นชอบลักษณะของตลาดน้ำด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการ อยู่ในระดับมากในทุกด้าน
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น เกี่ยวกับตลาดน้ำในด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการไม่แตกต่างกัน และจำนวนครั้งที่นักท่องเที่ยวเคยไปเที่ยวตลาดน้ำแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำในด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการ ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบรายคู่กับจำนวนครั้งที่เคยไปเที่ยวตลาดน้ำในเรื่อง เกี่ยวกับการบริการด้านการมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น พบว่า นักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวตลาดน้ำ 1 ครั้ง กับเคยไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่า 3 ครั้ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำในด้านการบริการที่มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไว้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05

คำสำคัญ : ภาพลักษณ์ตลาดน้ำ เยาวชน

 

Quick View