Effectiveness of smoking cessation program applying the transtheoretical model among students of Siam University (2018)
Title : Effectiveness of smoking cessation program applying the transtheoretical model among students of Siam University
Researcher : Payungsak Jantrasurin1*, Duangkamol Viroonudomphol2* and Wattanee Panjinda2*
Department : 1* Department of Graduate School of Education Adminisstration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand 2*Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : v_duangkamol@yahoo.com
Abstract : Purpose – The purpose of this study is to examine effectiveness of smoking cessation program applying the ranstheoretical model among students of Siam University. Design/methodology/approach- The one group pretest-posttest quasi experimental study was conducted among students of Siam University in January- February 2018. A total of 80 male undergraduate students participated in the study. 40 smokers male students were an experimental group and 40 of non smokers male were controls. The experimental group was participated in a smoking cessation program according to their stage readiness toward changing behaviors. They met for the transtheoretical model for group discussion and cessation counseling for 2 days. A self-administered questionnaire was used to collect data. Compare differences between mean scores before and after the experimentation by paired t-test. Findings – All of 80 student participants were male. At 4th week after receiving the transtheoretical model for group counseling, the experimental group had a significantly higher mean score for decision balance, self-efficacy, and smoking cessation behaviors than before the experimental (p<0.05). Originality/value – These study results especially smoking behavior before experimentation and the abnormal electrocardiogram of mokers re-emphasized the rising public health concern of tobacco use among younger boys. Therefore, if one can prevent or restrain adolescent from undesirable behaviors, this would contribute a great deal to the public health and society.
Keywords : Smoking, Cessation program, Siam University
Donwload PDF : Effectiveness of smoking cessation program applying the transtheoretical model among students of Siam University
Proceeding : The 3rd International Conference of Multidisciplinary Approaches on UN Sustainable Development Goals UNSDGs 2018, Bangkok, Thailand
Link to Proceeding: http://dept.npru.ac.th/unsdgs2018/
Bibliography : Payungsak Jantrasurin, Duangkamol Viroonudomphol & Wattanee Panjinda. (2018). Effectiveness of smoking cessation program applying the transtheoretical model among students of Siam University. In Proceeding The 3rd International Conference of Multidisciplinary Approaches on UN Sustainable Development Goals UNSDGs 2018 (p.79-83). Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.
การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (2559)
ชื่อบทความ : การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : Achieving a Holistic Approach in Stroke Rehabilitation
เจ้าของผลงาน : วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด
หน่วยงาน : อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : wattaneedavis@hotmail.com
บทคัดย่อ : การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบองค์รวมและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการฟื้นฟูสภาพ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพอัมพฤกษ์-อัมพาต และปฏิบัติธรรมวัดทุ่งบ่อแป้น ซึ่งนอนพักที่วัด มีญาติให้การดูแล และยินดีเข้าร่วมการวิจัย จ านวน 10 ราย ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า วิธีการดูแลแบบองค์รวมจากกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ดำเนินการมีลำดับการให้ผลต่อความก้าวหน้าในการฟื้นฟูสภาพ ดังนี้คือ การฟื้นฟูสภาพตามแนวแพทย์แผนปัจจุบัน การดูแลของบุคคลในครอบครัวหรือญาติ การเยี่ยมตรวจรายวันของพยาบาล การฟื้นฟูสภาพด้านภูมิปัญญาไทย บรรยากาศและสภาพแวดล้อม โดยผู้ป่วยรับรู้ต่อวิธีการดูแลแบบองค์รวมว่า การทำกายภาพบำบัดช่วยให้สภาพร่างกายมีการทรงตัวและเคลื่อนไหวดีขึ้น การตรวจเยี่ยมรายวันของพยาบาล ช่วยเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองและการประเมินความก้าวหน้าของการฟื้นฟูสภาพ การแช่น้้ำสมุนไพรอุ่นๆ และการนวดประคบ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การเดินบ่อเลนช่วยเพิ่มกำลังขา การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจเริ่มเห็นผลหลังจากผู้ป่วยเข้ามาบำบัดฟื้นฟูที่ศูนย์เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ทั้งด้านการสื่อสาร การช่วยเหลือตนเอง การได้สวดมนต์ และปฏิบัติธรรมประกอบกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติช่วยให้จิตที่ยังดิ้นรนระส่ำระสาย ลดการปรุงแต่ง สงบและเข้มแข็งมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูสภาพพบว่า เพศชายมีการฟื้นฟูสภาพทางกล้ามเนื้อดีกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงมีพฤติกรรมในการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยดีกว่าเพศชาย ด้านอายุพบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของระบบประสาท เนื่องจากการงอกของเซลล์ประสาทที่ดีเพื่อทดแทนส่วนที่บาดเจ็บและการเชื่อมต่อลดน้อยลง ผู้มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรคมากขึ้น ด้านระดับการศึกษาพบว่า ผู้มีระดับการศึกษาสูงจะมีการแสดงออกถึงการใช้เหตุผลเพื่อยอมรับการเจ็บป่วยมากกว่า ด้านรายได้ครอบครัวพบว่า ความพร้อมทางการเงินทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลต่อการจะถูกครอบครัวทอดทิ้ง และมีพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสมมากขึ้น
คำสำคัญ : การฟื้นฟูสภาพโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลแบบองค์รวม
Abstract : This qualitative study aimed to study the holistic approach and the factors of stroke rehabilitation that affecting the development in physical, mind, environment and soul of the stroke patient. The data was collected during April and May 2014 in observation and interview with ten stroke patients who were willing and accepted this inspection. All patients with caring of their family members, they stayed over and taking treatment at Wat Thungbopean. The data analyze is using the content analysis as the domain. The result found that activities organized by the Centre improves stroke patients from five different factor: improving according to the modern medication, nurture by family members and relative, daily visiting by the nurse, Thai traditional treatment and atmosphere and environment.Physiotherapy respond in improving balance and movement of the body. A daily visiting by the nurse empower the patient’s spirit as well as patients’ relative in self-help and analyze the progress of treatment. The herbs which applied along with massaging in Thai-traditional manner as well as body-soaking in warm-water relax, release and active the muscles and blood-circulation. Practice of walking in muddy field helps in stimulating the energy and action of legs. The better changes in body and mind can be noticed in patients who are taking treatment more than a month at the Centre. Communication skill, self-help, praying and meditation in a good and natural environment help to find the peace of mind. The results of the treatment found: muscle development in male-gender is more effective than the female-gender, but the reaction of behavior-adaption is more improved in female- gender. The age factor is one of domain in development of nervous system, as the young-age patient; dendrite can grow and develop better than the aged patient. A good and cheerful spirit of the patients made and encouraged by the support and relationship of their family members. The literacy patients cantake more reasons to support themselves, as well as a well financial support from family builds a confidence to successful treatment.
Keywords : Holistic approach, Stroke rehabilitation
Donwload PDF : การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Publication : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559 APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016
Link to Publication: http://apheit.bu.ac.th/index.php?id=159
Bibliography : วัฒนีย์ ปานจินดา และ พุทธวรรณ ชูเชิด. (2559). การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 70-78.
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (2562)
Title : การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร : Development of Mental Health Promotion Model in Community by Participatory Action Research Process: Case Study of a Community in Bangkok
Researcher : Susaree Prakhinkit, Jarusdaw Renold, Orntipa Songsiri
สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์, อรทิพา ส่องศิริ
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน มีผู้เกี่ยวข้องจำนวน 38 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขอาจารย์พยาบาลสมาชิกในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเวทีประชาคม เสวนากลุ่มย่อย การสังเกต และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย4องค์ประกอบ ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน อิทธิพลระหว่างบุคคล ปัจจัยด้านตัวบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์สอดคล้องกับแบบส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) ภายหลังสิ้นสุดโครงการ สมาชิกในชุมชนมีความสุขในระดับปกติมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีสมาชิกให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดเห็นความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสามารถเผชิญกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
คําสําคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพจิต กระบวนการมีส่วนร่วม ชุมชน กรุงเทพมหานคร
Abstract : The research was participatory actionresearch.Theobjective was to develop a model of mental health promotion in community. The thirty-eight participants including nurses of public health service center, nursing instructor, village health volunteers and members community joined this study. This research was conducted during June 2015 to May 2016. Theresearchinstruments werein-depthinterviews, civil society forum, small group discussion,
observation, and lesson learned visualizing. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics were performed for quantitative data. The results found that the model mental health promoting was composed of four factors; community leader factors, interpersonal influence, personal factors and situational influence. These 4 factors corresponded well with the model of Pander (2002). At the end of the research members community reported having improved happiness and qualityof life. They were interested and participated inrelaxationactivities. They were awareof good family relationship. Patients with mental disorder took medicine as prescribed by the doctor and dealt with stress effectively.
Keywords : Mental Health Promotion, Participatory Process, Community, Bangkok
Link to Publication : วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, จรัสดาว เรลโนลด์ และ อรทิพา ส่องศิริ . (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 7-17.
การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม (2548)
Title : การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม: THE STUDYING SELF-DISCIPLINED ASPECTS IN UNDERGRADUATE STUDENTS OF SIAM UNIVERSITY
Researcher : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทิพา ส่องศิริ อาจารย์วัฒนีย์ ปานจินดา อาจารย์ณัฏฐา อนุตรลัญจ์
Department : Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : jsiamns@siam.edu
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม โดยรวมและเป็นรายด้าน 7 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเป็นผู้นํา ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความเสียสละและการรักษาระเบียบใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม จํานวน 531 คน ทําการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test, F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม มีความมีวินัยในตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีความมีวินัยในตนเองด้านความเป็นผู้นํา ความรับผิดชอบ ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และการรักษาระเบียบใจอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง
2) ค่าเฉลี่ยของความมีวินัยในตนเองโดยรวมของนักศึกษาหญิงสูงกว่านักศึกษาชาย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักศึกษาแต่ละคณะ ระดับชั้น ความเข้มงวดในการมีระเบียบวินัยของคณาจารย์ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน มีความมีวินัยในตนเองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ความมีวินัยในตนเอง นักศึกษา
Abstract : The study was descriptive research. The purpose of this study was to determine self-disciplined aspects in undergraduate students of Siam University The self-disciplined aspects composed of responsibility, self-confidence, leadership, patience, honesty, sacrifice and reserving one’s attitude. The subjects were 531 undergraduate students of Siam University that were required from stratified random sampling. The instrument was the self-disciplined aspects questionnaire of undergraduate students that had interrater reliability of 0.89. Data was analyzed by t-test, F-test, and Major finding were as follows:
1) The undergraduate students of Siam University have had the high level of self- disciplined aspects. Considering each an aspect has found that they had the high level in leadership, responsibility, patience, honesty, sacrifice and reserving one’s attitude but they had the moderate level of self-confidence.
2) The mean score of self- disciplined aspects of the female group were significantly higher than the male group at the .05 level.
3) The self- disciplined aspects were significantly different at the .05 level in the difference of grade, the strict-disciplined of instructors on student and admonishment of parents.
Keywords : self- disciplined aspects, undergraduate students
Research : รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม
Link to Research: http://www.research-system.siam.edu/2013-12-20-03-57-52/251-2013-12-20-05-58-109
Bibliography : อรทิพา ส่องศิริ, วัฒนีย์ ปานจินดา และ ณัฏฐา อนุตรลัญจ์. (2548). การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ (2561)
Title : การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ : Foreigners Employed as Hospital Workforce in Thailand
Researcher : รุ่งฤดี วงค์ชุม* พีรนุช ลาเซอร์* อรทิพา ส่องศิริ† พิชาภรณ์ จันทนกุล† วิชชุดา เจริญกิจการ‡ ชุติมา อรรคลีพันธุ์§
Department : *คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ †คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ‡คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล §สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
E-mail :
Abstract : The aims of the present descriptive study of foreigners being employed as hospital workforce in Thailand were to explore the characteristics of foreign hospital employees, factors influencing decision makingof foreigners seekingemployment inThailand, the processof beingemployed as foreignhospital
employees, and problems or obstacles encountered while working in Thailand. One hundred foreign hospital employees in both government and private hospitals inThailand were recruited using snowball sampling. A questionnaire was used for data collection. The data were analyzed using descriptive statis- tics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results revealed that most participants were females with the mean age of 31.23 years. Onethird of foreign hospital employees were the Filipinos. Success factors of being employed in Thailand included level of education (68%), competencies/special skills in needed fields (64%), and ability to communicate in Thai (55%). Factors influencing foreigners making decision to work in Thailand covered both push factors (such as low wages, limited career progression, unfair benefits, and high living expens- es) and pull factors (including gaining new experience, job opportunities, and opportunity to improve career).The processes for being employed as foreignhospital employees included 1) preparation phase: foreigners prepared on language, working knowledge and employment laws, and health check-ups 2) application phase: most foreigners applied for a job themselves after receiving information. A tourist visa was initially granted at first arrival in Thailand and then changed to a non-immigrant visa “B”. The expensesof application phaseincluded a visa, passport, work permit, and travel. Most participants (93%) were working as medical serviceassistants, suchas interpreters and 7% were qualified to work ashealth- care providers as described under the mutual recognition arrangement (MRA). Communication in Thai, adjusting to social and cultural differences, unfair wage, visa and work permit renewal were indicated as problems or obstacles encountered while working in Thailand. The recommendations from the present research were as follows: 1) stakeholders should revise the process of work permit renewal, and MRA; 2) the organization or employer should provide a basic training program in healthcare competencies, and improve workplace culture, including setting up ap- propriate remuneration system as international standard and equity basis.
Keywords : being employed, foreigners, foreign health workforce, hospital employees, Thailand
Link to Publication : วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข Journal of Health Systems Research ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2561
Bibliography : รุ่งฤดี วงค์ชุม, พีรนุช ลาเซอร์, อรทิพา ส่องศิริ, พิชาภรณ์ จันทนกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ และ ชุติมา อรรคลีพันธุ์. (2561). การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(2), 292-305.
ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ (2560)
Title : ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่: Knowledge Attitude Concept and Factor about Breastfeeding in Sripradu Teenagers
Researcher : นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค,วารุณี เพไร
Department : Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : nlm_058 @hotmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ อายุระหว่าง 13-19 ปี จ านวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สูตร Chi-square test รวมทั้งน าข้อมูลเชิง คุณภาพมาวิเคราะห์ โดยการทำ Content analysis ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นในชุมชนศรีประดู่ มีความรู้ เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 63.63 และมีทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 90.91 โดยที่ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับของความรู้และทัศนคติในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าความรู้และทักษะเป็นสิ่งสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถ้าไม่มีความรู้ก็จะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดน้อยลง และสมาชิกในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นต้นแบบและแรงผลักดันในการช่วยส่งเสริมให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จมากขึ้น และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการเรียนในสถาบันการศึกษาและสื่ออิเล็กโทรนิกส์ การส่งเสริมความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจึงควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องทั้งในวัยรุ่นและครอบครัว จัดหาแหล่งสนับสนุนคอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือ เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้และทัศนคติที่ดี นำไปสู่การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นในอนาคต
คำสำคัญ : ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาวัยรุ่น
Abstract : The objectives of this research were to study the knowledge attitude concept and factor about Breastfeeding of teenagers in Sripradu community. The sample group was 11 teenagers aged 11-19 years old. Collect information by evaluation form about knowledge and attitude of breastfeeding and interviewing about opinion to breastfeeding. All data analyzed using percentage, frequency distribution, average, standard deviation, Chi-square test and analyze quality data by content analysis. The results showed teenager in Sripradu community had the knowledge about breastfeeding in high level, average 63.63 % and had attitude about breastfeeding in medium level average 90.91 %, respectively. In addition, there was no statistically significant different among personal factor with knowledge and attitude about breastfeeding. They thought knowledge and skill are important for breastfeeding. Moreover, in them opinion family members are prototype and impulsion them to breastfeeding. Most teenagers get knowledge about breastfeeding from school and electronic media. So, how to increase the number of breastfeeding should focus on educate good attitude, support and advice for teenager and family.
Keywords : Knowledge of breastfeeding, Attitude of breastfeeding, Teenage Pregnancy
Download PDF: ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : นฤมล อังศิริศักดิ์, ธารทิพย์ จิรกัญจนะ, ภัทรพร อรัณยภาค และ วารุณี เพไร. (2560). ความรู้ ทัศนคติแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของวัยรุ่นชุมชนศรีประดู่. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 905-915). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (2562)
Title : ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ : Effects of mind and body exercise five happiness program for lipid profile percent fat bone mineral density and blood pressure in elderly club
Researcher : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์, กาญจนา งามจันทราทิพย์
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
Abstract : This study was an experimental research with a two-group, pre-post test design carried out to determine the potential effects of the five-happiness, mind-and-body exercise program on lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), bone mineral density (BMD), and blood pressure in members of the elderly club. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n = 25), and exercise groups (n = 25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. Blood samples were collected and laboratory assessments were performed for lipid profile, body fat percentage (BFP), bone mineral density (BMD), and blood pressure pre-post program. Pre and post-intervention, intra-group data analysis was performed using paired t-test and inter-group data was analyzed using independent t-test. The results showed that lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure had decreased while body mineral density (BMD) had increased significantly among participants in the exercise group (p<0.05). However, there was no significant change from baseline for lipid profile, body fat percentage (BFP), body mass index (BMI), and blood pressure in the control group. It was found that there was a statistically significant decrease in lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while there was a statistically significant increase in bone mineral density (BMD) in the intervention group, when compared with the control group (p<0.05). We concluded the five-happiness, mind-and-body exercise program was effective in reducing lipid profile, body fat percentage (BFP), and blood pressure, while increasing bone mineral density (BMD), in members of the elderly club.
Keywords : he five-happiness, mind-and-body exercise program, ipid profile, blood pressure
Link to Publication : วารสารควบคุมโรค ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2562
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, ลัญขนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์ และ กาญจนา งามจันทราทิพย์. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานกายและจิตสุข 5 มิติ ต่อระดับไขมันในเลือด เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกระดูก และความดันโลหิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค, 45(2), 180-190.
ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง (2562)
Title : ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง : The effectiveness created happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) to stress happiness and quality of life for caregiver of schizophrenia inurban community
Researcher : สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก, พาจนา ดวงจันทร์
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทผ่านแอพพลิเคชันต่อระดับความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตเมือง โดยพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขและจัดการความเครียดแอปพลิเคชัน บนหลักการการจัดการความเครียด ด้วยวิธีการสร้างภาพตามจินตนาการ (Guided Imagery) สมาธิแบบการเคลื่อนไหว ( Dynamic meditation) เสียง ดนตรีบําบัด (Music therapy) ภายใต้ชื่อ GDM application และ ทดสอบโปรแกรมในผู้ดูแลจํานวน 30 คนสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มควบคุมจํานวน 15 คนกลุ่มทดลอง 15 คนใช้โปรแกรม 6 วัน/สัปดาห์เป็นระยะ 4 สัปดาห์ ประเมินความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต เปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้ สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอยางเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพ ่
ชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ในกลุ่มทดลอง แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหวางกลุ่ม พบว่าความเครียดลดลง ความสุขและคุณภาพชีวิตโดยรวม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สรุปได้ว่า โปรแกรมสร้างสุข จัดการความเครียดผ่านจีดีเอ็มแอปพลิเคชันสามารถช่วยลดความเครียดเพิ่มความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมืองได้
คําสําคัญ : โปรแกรมสร้างสุข ผอนคลายความเครียดผ่านแอปพลิเคชั่น ความสุข ความเครียด
Abstract : This study was quasi-experimental research with two groups pre-post test design carried out to development happiness relaxation stress program through GDM application (Guide Image Dynamic meditation Music therapy application) and determine the effects of the happiness relaxation stress program through GDM application for stress, happiness and quality of in caregiver of schizophrenia in urban community. This research methodology was developed happiness relaxation stress program through GDM application approach relaxation stress by guided Imagery, dynamic meditation, music therapy and used name GDM application and determine the effects of program. A total of 3 0 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=15), and experimental groups (n=15). happiness relaxation stress program through GDM application was designed using for 6 times/ week for 4 weeks. The stress, happiness, quality of life were assessed pre-post program. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that stress was less, increasing happiness and quality of life were higher in the experimental group (p<0 .0 5 ). However, there were no significant difference for stress, happiness, quality of life in control group. Experimental group was a significantly happiness and quality of life higher and stress lower than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the happiness relaxation stress program through GDM application program was effective in decreasing stress, increasing happiness quality of life in caregiver of schizophrenia in urban community.
Keywords : The happiness relaxation stress program through GDM application program, stress, happiness
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก และ พาจนา ดวงจันทร์. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3: การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล (หน้า 225-236). นนทบุรี: กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ (2561)
Title : ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ : Effects of Five Dimension Happiness Program on Functional Fitness, Happiness, and Quality of life in Wat Ratchawarin Elderly Club
Researcher : สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์
Susaree Prakhinkit, Suratchana Kasaesemviriya and Rosaya Yuwapornpanit
Department : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : tik.susaree@gmail.com
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (Two groups pre-post test design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์ จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน กลุ่มออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ จำนวน 25 คน กำหนดที่ระดับความหนักของการออกกำลังกายเท่ากับเล็กน้อย (20-39% Heart Rate Reserve) ถึงปานกลาง (40-50% Heart Rate Reserve) ความถี่การออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบวัดขององค์การอนามัยโลก (The World Health Organization Quality of Life) ก่อนและหลังใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t- test) วิเคราะห์ระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาพบว่า สมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าสมรรถภาพทางกาย ความสุข คุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตได้
คําสําคัญ : สุข 5 มิติ สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต
Abstract : This study was experimental research with two groups pre-post test design carried out to determine the effects of the five happiness exercise program on physical fitness, happiness and quality of life in Senior Citizen club of Wat Ratchawarin. A total of 50 participants were randomly allocated to the sedentary control (n=25), and exercise groups (n=25). Exercise training programs were designed to yield the mild (20-39% Heart Rate Reserve) to moderate (40-50% Heart Rate Reserve) intensity, 3 times/ week for 8 weeks. The World Health Organization Quality of Life questionnaires were assessed physical fitness, happiness, quality of life pre-post programs. Data pre-post (in group) analyzed by using paired t- test and data between group analyzed by using independent t-test. The results showed that physical fitness, happiness and the quality of life was greater in the exercise group (p<0.05) . However, there were no significant difference in physical fitness, happiness and the quality of life in control group. Exercise group was a significantly physical fitness, happiness and the quality of life more than control group when compared between groups (p<0.05). We concluded the five happiness exercise program was effective in increasing physical fitness,
happiness and quality of life in Wat Ratchawarin elderly club.
Keywords : The five happiness, Physical fitness, Quality of life
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : สุสารี ประคินกิจ, สุรัชนา เกษตรเสริมวิริยะ และ รสยา ยุวพรพาณิชย์. (2561). ผลโปรแกรมออกกำลังกายสร้างสุข 5 มิติต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุข และคุณภาพชีวิต ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดราชวรินทร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า HS 2-HS 7). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.