ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม

 

[mfn]ศิริชัย ศิริกายะ และ กฤษณ์ ทองเลิศ. (2560). ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 7-10.[/mfn]   ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม  Duality in Image-text Where Imagination and Aesthetic Simultaneously Appear

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ รศ.กฤษณ์ ทองเลิศ

บทคัดย่อ                :  ลักษณะทวิลักษณ์ (Duality) ของงานภาพกับลายลักษณ์อักษร เป็นคุณลักษณะของรูปสัญญะที่แสดงคุณสมบัติได้ทั้งสัญลักษณ์ภาพ (Figurative symbol) และสัญลักษณ์ทางภาษา (Discursive symbol) ในเวลาเดียวกัน ในทางตรงข้ามเมื่อการตีความข้ามพ้นไปจากจิตที่แบ่งแยกระหว่างระบบภาพและภาษา การรับรู้ความเป็นทวิลักษณ์จะเลือนหาย
ไปก่อเกิดเป็นมิติใหม่ที่ข้ามก้าวสถานการณ์ (Situation shift) ของการสื่อความหมาย สู่โลกของคุณค่าและสุนทรียภาพอันเป็นอุบัติการณ์ใหม่ กลายเป็นรูปลักษณ์ของงานการสื่อสารที่ “พ้นภาษา” ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวจึงทำ ให้วิธีการตีความหมายแตกต่างไปจากจารีตทางการสื่อสารแบบเดิม  บทความนี้มุ่งเน้นการอธิบายลักษณะการประกอบสร้างและการตีความสารที่มองแบบระดับพื้นผิว จะเห็นว่ามีลักษณะทวิลักษณ์ โดยตั้งอยู่บนขอบเขตที่ไม่ชัดเจนระหว่างการสื่อความหมายผ่านไวยากรณ์ด้านภาพและภาษา ทั้งยังเป็นงานที่สื่อสารสนเทศร่วมกับจังหวะอารมณ์และความงามอย่างน่าสนใจ มีศักยภาพในการยั่วยวนให้คนดูเข้ามามีส่วนร่วมและแบ่งปันประสบการณ์เพื่อรังสรรค์คุณค่าและสุนทรียภาพที่มีพลังในการกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารได้ตรง
ใจคนแต่ละคน

คำสำคัญ                : ทวิลักษณ์, งานภาพกับลายลักษณ์อักษร, จินตนาการ, สุนทรียภาพ

Abstract              :  The duality of image-text is the co-existence of figurative and discursive symbols. As a result of this duality, the psychological interpretation has lost the perception of the duality of image and text. It is a situational shift of signification. The new aesthetical and original work values have suddenly appeared to a new form of communication work, and the new interpretation occurs. This article places an emphasis on describing the construction and interpretation of the duality of image-text. This is due to the ambiguity between the signification of image and language rules. It is also interesting by the ambiguity from the combination among information, emotion and beauty. Therefore, the seductive potential to the audience has occurred and in turn is, shared in order to create the experience. As a result, the power of stimulating the communicative interactions occurs. This advertising work has creative and aesthetic values. Finally, it tactiles to the minds of each individual person.

Keywords           : Duality, Image-text, Imagination, Aesthetic

Download PDF :  ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 21 ปี 2560   Siam Communication Review Vol.16 N21 2017

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol16-no21-2017/

Bibliography     :  ศิริชัย ศิริกายะ และ กฤษณ์ ทองเลิศ. (2560). ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 7-10.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (2560)

Title              : นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ : DIVIDEND POLICY FOR SMEs ENTREPRENEURS IN ECONOMIC CRISIS SITUATION

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ ผลกระทบต่อ SMEs อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และผลกระทบที่สําคัญ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ดังนั้นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทําให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการและยังคงถือหุ้นของ SMEs ต่อไป

ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นปันผลทั้งในและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในระยะยาว หุ้นปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าตลาด และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนตํ่า และผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุน ในพันธบัตรระยะยาว ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน นอกจากนี้อัตราเงินปันผลตอบแทนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง ดังนั้นหุ้นปันผลจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สําหรับนโยบายการจ่ายปันผลสําหรับผู้ประกอบการ สามารถจําแนกได้เป็น  1) นโยบายการจ่ายปันผลปกติ (Regular dividend policy) 2) นโยบายการจ่ายปันผลคงที่ ( ั Stable Dividend Policy) 3) นโยบายการจ่ายปันผลไม่คงที่ (Irregular Dividend Policy) 4) นโยบายการไม่จ่ายปันผล (No Dividend Policy) และ 5) นโยบายการจ่ายปันผลแบบกําหนดสัญญาระยะกลางหรือระยะยาว (Medium-WHUP DQG /RQJ-WHUP & RQWUDFWHG ‘LYLGHQG 3ROLF\) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่สําหรับผู้ประกอบการ SMEs อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ โดยมีข้อดีที่สําคัญ เช่น ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการ  SMEs ของไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดํารงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนําเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง เป็นต้น

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs นโยบายการจ่ายปันผล ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นปันผล

Abstract            :  World Economic Crisis has been an effect to Economic Crisis in Thailand from past to present time. These economic crises have a huge impact to Thai entrepreneurs especially SMEs entrepreneurs that has more than 90% of Thai entrepreneurs. These crises make a loss to SMEs entrepreneurs and has an impact to decrease return to equity (ROE) that come from unable to pay dividend. So in these crises, SMEs entrepreneurs must have a plan for dividend policy that will make a confident for its enterprises and shareholders.

Research studies on dividend payment in Thailand and other countries show that stock dividend is a good investment during economic crises especially in the long-term, stock dividend can pay return more than market return. Dividend yield from stock has a greater yield than longterm bond, treasury bill and money market instrument. So investment in stock dividend is a suitable and interesting for a medium-term and long-term investment during economic crises situation.

Dividend policies for SMEs entrepreneurs can be categorized in five approach ; 1) Regular Dividend Policy 2) Stable Dividend Policy 3) Irregular Dividend Policy 4) No Dividend Policy and 5) Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy, the new idea for SMEs entrepreneurs that cannot pay dividend during economic crisis but do not has a critical impact to stock price. This dividend policy has many advantages for SMEs entrepreneurs during economic crisis such as, decrease cash dividend for SMEs entrepreneurs, keep financial liquidity for SMEs entrepreneurs, SMEs entrepreneurs can use capital for another investments and Decrease shortterm debt.

Keywords         :  SMEs Entrepreneurs, Dividend Policies, Economic Crises, Stock Dividend

Download PDF:  นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


Publication        : วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Modern Management Journal Vol.15 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   http://sms-stou.org/pr/index.php/th/?option=com_boonbooks&actiontype=tableofcontents


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2560). นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารการจัดการสมัยใหม่,  15(1), 23-34. 


Quick View

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า

 

Title              :  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า: Unlawful Act in Contravention of Administrative Contract by a Public Officer: The Case of the Licensing for the Installation of Wind Generators on Sor Por Kor (Agricultural Land Reform) Land

Researcher       :  อาจารย์ ลัดดาวัลย์ อุทัยนา
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  laddawanuthaina@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายถึงการปรับปรุงสภาพการถือครองที่ดิน สถาบันทางการเกษตร สถาบันสนับสนุนการบริการทางการเกษตรและสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท โดยมีภาระกิจการจัดขนาดการถือครองที่ดินให้เพียงพอแก่การครองชีพ การปรับปรุงระบบการเช่าที่ดินมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกินไป และให้ความมั่นคงในการถือครองที่ดินตลอดจนการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และเกษตรกรรม ปรับปรุงการใช้แรงงานในการเกษตรและส่งเสริมองค์ความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ การจัดระบบภาษีที่ดิน การให้สินเชื่อเพื่อเกษตรกรรม การรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์เพื่อการเกษตรและการครองชีพ การจัดการอุตสาหกรรมในชนบทและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร รวมตลอดถึงการพัฒนาการศึกษาและสาธารณะประโยชน์ต่างๆในชนบทด้วย ดังนั้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ต่างก็มีภารกิจในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้การดำเนินการของฝ่ายปกครองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ ในเอกชนผู้เข้าร่วมดำเนินการทางปกครองหรือตกอยู่ภายใต้การดำเนินการทางปกครอง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้น อาทิเช่น คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญาทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า กรณีเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับบริษัทเอกชนได้ยื่นคำขอรับการจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อดำเนินการกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งในคดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิเคราะห์ว่าการดำเนินการของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงหลักการและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีของศาล ว่าเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครองและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือไม่ อย่างไร

คำสำคัญ             :   การติดตั้งกังหันลมในที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

Abstract            :  Agricultural land reform refers to the development in land usage and ownership, the process of which is undertaken by various agricultural, agricultural services, and other relevant rural development agencies. Their missions comprise of as follows: reallocation of land occupation for the purpose of ensuring subsistence; regulation of land leasing for the purposes of preventing unfair practices, and ensuring security in land occupation; consolidation of land to promote agricultural and dwelling uses; improvement in the use of labour in agriculture; provision of support in accumulating body of knowledge concerning new agricultural plan; restructuring of land tax and agricultural loans; provision of support for the establishment of agricultural cooperatives; regulation of industrial works in rural area; distribution of agricultural products; and improvement of educational system and provision of public utilities in rural area. The Land Agricultural Reform Act B.E. 2518 (1975) along with its amendments are one of the various body of laws whose common objective concerns reform to agricultural land. It follows, therefore, that the works undertaken by administrative agencies pursuant to the aforementioned laws are imperative in establishing the trust and confidence between the public sector and the private organisations who participate in administrative process or whose undertakings are regulated by administrative law. However, such environment may create disputes. The Supreme Administrative Court’s Judgement No. Or.1728/2559 (2016) concerning the issue of permission granted by public officers for the establishment of a wind farm on Sor Por Kor (Agricultural land reform) land is one example of such. The ruling involves the application from a private firm for the usage of Sor Por Kor (Agricultural land reform) land to establish a wind farm for the purpose of generating electricity redundant. The case raises interesting issues for the purposes of analysing the law fulness of the Agricultural Land Reform Office (ALRO)’s acts; and the Court’s reasoning, particularly whether the Court’s ruling follows administrative law. Future, consideration is whether such activity is consistent with the intention of the law on agricultural land reform.

Keywords         :   The establishment of a wind farm on Sor Por Kor (agricultural land reform) land

Download PDF:  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  ลัดดาวัลย์ อุทัยนา. (2560). บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1232-1250). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม

 

Title              :  ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม: BTHE MARKETING FACTORS AFFECTING TO BUYING DECISIONS OF SUPALAI PARK RATCHAPHRUEK-PHETKASEM CONDOMINIUM

Researcher       :  ดร.รุ่งโรจน์ สงสระบุญ และ ดร.สัมฤทธิ์ เทียนดำ
Department     :  Faculty of Business, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  rrs101@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดและระดับการตัดสินใจซื้อ คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (3) เพื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31 – 50 ปี สถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 2 คน ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม ทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ชื่อเสียงภาพลักษณ์ ผลิตภัณฑ์ ท าเลที่ตั้ง และราคาและสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ได้แก่  ŷ = 288(X5)+.195(X1)+.188(X3)+.142(X2) ; R2= 0.664

คำสำคัญ             :  ปัจจัยทางการตลาด, ชื่อเสียงภาพลักษณ์, การตัดสินใจซื้อ, คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม

Abstract            :  This research aims (1) to study the Marketing factors and level of buying decisions of Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem condominium. (2) to analyze the relationship model of marketing factors, The image factor to make buying decisions of Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem condominium. (3) to analyze stepwise multiple regression in assessing the factors affecting to buying decisions of Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem condominium. Sample consisted of people staying in Supalai Park RatchaphruekPhetkasem condominium. Sampling was done of 400 people with a purposive sampling method by descriptive statistics, the average percentage and standard deviation. The correlation was used to Pearson product moment correlation coefficient and a multiple linear regression with stepwise. The results of the study showed that most of samples were male, 31 – 50 years of age, married, 2 person in family, employed professionals with a bachelor’s degree and a monthly income between 30,001 – 40,000 baht. Marketing factors and The image factor were affecting to buying decisions of Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem condominium with 4 variables include the image, product, place and price and a multiple linear regression equation. Listed below;

ŷ = 288(X5)+.195(X1)+.188(X3)+.142(X2) ; R2= 0.664

Keywords         :  Marketing factors, The image factor, Buying decisions, Supalai Park Ratchaphruek-Phetkasem condominium


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  รุ่งโรจน์ สงสระบุญ และ สัมฤทธิ์ เทียนดำ. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 188-199). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

ชื่อบทความ     :  ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ : Artificial Intelligence and Computer Science Curriculum

เจ้าของผลงาน       :  อาจารย์ปริวรรต องค์ศุลี

หน่วยงาน               :  อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  pariwatsiam@gmail.com

บทคัดย่อ                :  ในช่วงระยะเวลาประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะในสาขาย่อยคือ การเรียนรู้ของเครื่องจักร การประมวลผล ภาษาธรรมชาติ และ การรับรู้ของเครื่องจักร ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการเสนอแนวคิดในการเพิ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้กับนักศึกษาในวิชาพื้นฐานเพื่อจะได้มีการเตรียมตัว และนำไปประยุกต์เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับเทคโนโลยีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของข้อมูล ความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง และการนำอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ยิ่งทำให้พัฒนาการทางด้านความฉลาดของเครื่องจักรมีความรุดหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีการเรียนการสอนในวิชาปัญญาประดิษฐ์เป็นส่วนน้อยต่อเนื้อหาวิชาทั้งหมด การนำเนื้อหาในส่วนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับเทคโนโลยีนี้ไปเสริมในวิชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงน่าจะช่วยเตรียมความพร้อมต่อนักศึกษาสำหรับความเข้าใจในภาพรวม เพื่อที่จะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าคู่แข่ง

คำสำคัญ                :  ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่องจักร การรับรู้ของเครื่องจักร

Abstract              :  The reemergence of Artificial Intelligence, the branch of Computer Science, during the past 5 years is prevalence. Machine learning, natural language processing and machine perception are among the topics that has been developed extensively. Moreover, the proliferation of data dues to the Internet, mobile technology and the Internet of things also accelerates the development of machine intelligence even further. However, only the small proportion of the Computer Science curriculum contains the subject of Artificial Intelligence. Therefore, the idea of this article is to prepare the foundation courses for computer science students in the subjects that are relevant, consequently, they can apply the technology to their product and/or service effectively

Keywords           : Artificial Intelligence, Machine Learning, Machine Perception


 

Publication        : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560  APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.6 No.1  Jan-Jun 2017

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php?id=162

Bibliography    : ปริวรรต องค์ศุลี. (2560). ปัญญาประดิษฐ์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 100-107.


Quick View

ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล

 

Title              :  ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล : Effect of Solvent Polarity on Antioxidant Capacity of Extracts from Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi Leaves

Researcher       :  พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์
Pornchai Premkaisorn and Wanpen Wasupongpun

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  pornpre2001@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   สมุนไพรเป็นจํานวนมากถูกนํามาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชโดยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-1-picryhydrazyl radical) radical scavenging และประเมินปริมาณสารหมู่ฟีนอลโดยวิธี FCR (Folin-Ciocalteu reagent) สารตัวอย่างถูกสกัดด้วยการใช้ระบบตัวทําละลายต่างกัน 6 ชนิด ได้แก่ น้ำ, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone และ 80%(v/v) MeOH เพื่อสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบพืชสมุนไพรอบแห้งจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ดันหมี (Gonocaryum lobbianum) กำจาย (Caesalpinia decapetala) และพิกุล (Mimusops elengi) พบว่าความแรงของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของตัวทําลายในสารสกัดดันหมีเรียงลําดับได้ ดังนี้ 50%(v/v) acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ น้ำ > acetone > EtOAc ส่วนสารสกัดของกำจาย คือ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > น้ำ และพิกุล เท่ากับ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ น้ํา ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05) ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารสารหมู่ฟีนอลของสารสกัดจากจากดันหมี (r = -0.78, p > 0.1) กําจาย (r = -0.74, p > 0.1) และพิกุล (r = -0.72, p > 0.1) มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้เสนอว่าในระบบตัวทําละลายผสมโดยเฉพาะเมื่อมีน้้ำป็นตัวทําละลายร่วม ได้แก่ 80%(v/v) MeOH หรือ 50%(v/v) acetone มีแนวโน้มที่จะสกัดสารออกฤทธิ์ในพืช 3 ชนิดนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตัวทำละลายเพียงชนิดเดียว

คําสําคัญ             :  สมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระ ความมีขั้ว การสกัดด้วยตัวทำละลาย

Abstract            :  Several herbs have been used as an antioxidant for prevention of certain diseases. This work aim to evaluate antioxidant activity of plants by using DPPH radical scavenging method and the phenolic content was evaluated by Folin-Ciocalteu reagent. Three selected samples, Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi dried leaves, were extracted antioxidant compounds by six solvent systems: water, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone and 80%(v/v) MeOH. The results showed that the highest antioxidant activity of Gonocaryum lobbianum follows as: 50% acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ water > acetone > EtOAc. Caesalpinia decapetala gave the lowering order of one by 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > water. Recession for last one of Mimusops elengi was 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ water ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05). The antioxidant activity and phenolic content for Gonocaryum lobbianum (r = -0.78, p > 0.1), Caesalpinia decapetala (r = -0.74, p > 0.1), and Mimusops elengi (r = -0.72, p > 0.1) have had moderate correlation. The study showed that the binary solvent system with a portion of water was added, e.g. 80%(v/v) MeOH or 50%(v/v) acetone, of three herbs, it could be considered superior to a mono-solvent system.

Keywords        :    herb, antioxidant, polarity, solvent extraction


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์. (2560). ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 576-581). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View
วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย-ปีที่6-ฉบับที่1-มค-มิย-2560

พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

Title              : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา: Purchasing Behaviors and Analysis of Marketing Factor Affecting Consumer’s E-Business transactions in Nakhonratchasima Municipality, Nakhonratchasima Province

Researcher       :  บุษยา วงษ์ชวลิตกุล สงวน วงษ์ชวลิตกุล ธนกร ลิ้มศรัณย์ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา ทศพล ปราชญ์ปรีชา จอมภัค จันทะคัต
Department      :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 : dr.tanakorn@siam.edu

Abstract            :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการซื้อ และองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ปัจจัยโดยการสร้างตัวแปรใหม่ของกลุ่มตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) และสถิติถดถอยพหูคุณ ประชากรในการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้ซื้อหรือผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตเทศบาลนครนคราชสีมา จำนวน 400 คน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกวัน โดยร้อยละ 31.0 ใช้เวลาจำนวน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ใช้อินเตอร์เน็ตในสถานที่ทำงาน และสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในช่วง 9.01-12.00น. ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตเดือนละครั้ง  มีค่าเฉลี่ยในการซื้อแต่ละครั้งในช่วง 501- 1,000 บาท ทั้งนี้มากกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้การค้นหาร้านค้าผ่าน Search Engine เช่น Google เพื่อเข้าสู่หน้าเว็ปไซต์ของร้านค้าโดยตรงเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่นิยมมากที่สุดคือสินค้าแฟชั่นและการจองโรงแรม และชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขาย สาเหตุที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเนื่องจากสามารถค้นหาสินค้าหรือบริการได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และ และกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการให้บริการส่วนบุคคล

Key words         :  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, พฤติกรรมการซื้อสินค้า, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, จังหวัดนครราชสีมา


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560

                                  Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.6 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/issue/view/8189

Download PDF  : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Bibliography     : บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, สงวน วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, อรอุมา ปราชญ์ปรีชา, ทศพล ปราชญ์ปรีชา และ จอมภัค จันทะคัต. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.  วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  6(1), 95-113. 


Quick View

พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค

 

Title              :  พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค: BEHAVIOR AND SATISFACTION OF USING THAILAND POST COMPANY LIMITED, SEACON BANGKAE BRANCH

Researcher       :  จิตระวี ทองเถา¹ และ ดร. พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก² 
Department     :  ¹อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ²ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  jitravee@yahoo.com,  pichmus@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทยจํากัด สาขาซีคอนบางแค และความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซี คอนบางแค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบาง แค จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สําหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัย พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพทํางานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป พฤติกรรมของ ผู้ใช้บริการคือ การเลือกใช้บริการรับ-ส่งพัสดุในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้บริการเดือนละครั้ง ช่วงเวลา ที่ใช้บริการเวลา 12.01 – 16.00 น. และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง ต่ํากว่า 50 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบางแค โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านราคาค่าบริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการการให้บริการ และ มีความพึงพอในน้อยที่สุด คือด้านลักษณะกายภาพ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่อเดือน และพฤติกรรมในการใช้บริการที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขา ซีคอนบางแค มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในการใช้บริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านราคาค่าบริการ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้าน กระบวนการให้บริการ

คำสำคัญ             :  พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด

Abstract            :  This research aims to study the demographic, customers’ behavior, and customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. The samples used for this study are 400 samples from people who servicing at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. This research was purposive sampling. Questionnaireswere used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results of the study showed that most customers are female, aged between 20-30 years old, hold bachelor’s degree, single, worked in private companies, and earned more than 30,000 baht. Customers’ behavior is the choice of courier services for domestic or oversea. They send 1 time per month. The time period is 12:01-4:00 pm. The expense per time is below 50 Baht. In addition, customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch overall was high level. The most satisfaction was price. Secondly, it was process. The lowest satisfaction was physical evidence.
The hypothesis testing revealed that demographic: gender, age, level of education, occupation and customers’ behavior of used Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch related to satisfaction: service quality, price, personal, process and physical evidence.

Keywords         :  Behavior, Satisfaction, Thailand Post Company Limited

Download PDF: พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  จิตระวี ทองเถา และ พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 200-209). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2560)

 

ชื่อบทความ     :  พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร : Behavior of Playing Board Games and
Component of Effective Factors for Playing games of Teenagers in the Bangkok

เจ้าของผลงาน       :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                : วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมและองค์ประกอบของปัจจัยในการเล่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บแบบสอบถามกับวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 13-23 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประกอบด้วย การหาค่าเปอร์เซ็นต์ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน พบว่า เล่นเกมกระดานน้อยกว่า 1 ปี เล่นเกมเฉลี่ยต่อสัปดาห์จำนวน 1 – 3 ครั้ง เล่นเกมกระดานในแต่ละวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ชั่วโมง เล่นเกมกระดานช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. เล่นเกมกระดานที่บ้านหรือหอพัก มีค่าใช่จ่ายในการเล่นเกมกระดานต่อสัปดาห์ น้อยกว่า 50 บาท เล่นเกมกระดานกับเพื่อน ชอบเล่นเกมกระดานประเภทมะ-นอ-พะ-ลิ เกมเศรษฐี เล่นเกมกระดานเพื่อความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด 2) ผลกระทบต่อพฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน ได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการเงิน ด้านการศึกษาและสติปัญญา ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน และ ด้านอารมณ์  มีผลกระทบในภาพรวมระดับปานกลาง 3) องค์ประกอบของปัจจัยด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้ ปัจจัยด้านการเงินและความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมทั้งกลุ่มเพื่อน ปัจจัยด้านการศึกษาและสติปัญญา ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย และ ปัจจัยด้านอารมณ์และความรู้สึก

คำสำคัญ                : พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน, องค์ประกอบปัจจัยด้านผลกระทบ, การเล่นเกมของวัยรุ่น

Abstract              :  The survey research focused on the behavior of board games and components of effective factors for teenagers of game playing in Bangkok area. The data was collected from 400 samples of 13-15 years-old teenagers totally. The research result indicated that most of the samples play a board game for entertainment, enjoyableness and relaxation. The overall impacts of board games playing are at medium level, in term of health; finance; education and intelligence, relationship of family and friends. Emotional impact can divide into two dimensions as followed: Positively, the educational and intelligent factors are that playing board games supports brain development; the creative, thinking and decision-making ability and the learning concentration. For the emotional factors are that the players are released from tension; cheerful; emotion controlling and relationship development. Negatively, the game players suffered from physical health likes back pains and other illness. Economic effect was over expense. Finally, it also affected to worse relation in family and friends.

Keywords           : Behaviors of playing board games, component of effective factors, playing games of teenagers


Publication        : วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560  Journal of Social Research)  Vol.40 No.2  Jul-Dec 2017

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/90922

Bibliography    :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.


Quick View

พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

 

Title              :  พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: Development of Private Higher Education Law in Thailand

Researcher       :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  sommaichanruang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การจัดการศึกษาของเอกชนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาและส่งเสริมให้ขยายการจัดการศึกษาไปยังราษฎร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้เอกชนจึงเข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งโรงเรียนและพัฒนามาสู่การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในส่วนของกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นพื้นฐานการบริหารสถาบันนั้น กฎหมายฉบับแรกคือพระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน พ.ศ. 2512 ยังมีข้อจ ากัดในการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของเอกชนอยู่หลายประการ อาทิ การกำหนดให้ จัดสอนเฉพาะประกาศนียบัตร ไม่อาจจัดสอนในระดับปริญญาและการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเป็นต้น ต่อมากฎหมายอุดมศึกษาเอกชนฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ได้มีพัฒนาการของกฎหมายที่ให้สิทธิเสรีภาพ แก่เอกชนมากขึ้น โดยมีภารกิจหลัก คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจุบันมีพัฒนามาถึงกฎหมายอุดมศึกษาเอกชน ฉบับที่สาม คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจสภาสถาบันในการวางนโยบายและข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการบริหารและการพัฒนาวิชาการ และเปิดโอกาสให้เอกชนได้จัดการอุดมศึกษาอย่างเป็นอิสระ รวมทั้งยอมรับเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งจะนำมาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

คำสำคัญ             :  พัฒนาการ กฎหมาย อุดมศึกษาเอกชน

Abstract            :  Private-run education in Thailand had dated back to Ayutthaya period. It is not until the reign of King Rama V of Rattanakosin that Thai education was reformed and learning opportunities was expanded to the people. Under His Majesty’s kind patronage, the private sectors were given an opportunity to co-founding the school in which, later, developed into higher educational institution. The nation’s first higher education laws, representing the management foundation of private institution namely “the Private Higher Educational Institution Act (A.D.1969)”, contains several limitations such as the prohibition of private educational institution from administering the degree programs and the implementation of measures binding national security, etc. The second private higher institution law called “the Private Higher Educational Institution Act (A.D. 1979)” evolved into a more liberalized version, entitled more freedom for the private institutions to pursue their missions of teaching , researching, providing academic service to the society and enhancing national arts and culture, as similar to the public educational institution. Nowadays, the third private Higher Educational Institution Act (A.D. 2003), empowers private University’s council in managing and developing academic affairs, formulating and implementing policies and procedure as well as allowing more academic freedom, all aiming toward the excellence of private higher educational institutions in Thailand.

Keywords         :   Development, Law, Private Higher Education


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2560). พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 980-991). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View