วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่18-ฉบับที่33-มค-มิย2560

กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 18 ฉบับที่ 33 ม.ค.-มิ.ย. 2560

กองบรรณาธิการ


บทบรรณาธิการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา มงคลวนิช


สารบัญ


บทความวิจัย

1. การศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย
คมสิทธิ์  เกียนวัฒนา  และสุจิตรา  สุคนธทรัพย์


2. ภาพถ่ายความงามของศิลปวัฒนธรรมวิถีชาวไทยพุทธ ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
จิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ และเพ็ญนภา มณีอุด


3. รูปแบบการจัดการสื่อสารพิพิธภัณฑ์อุทยานการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร ที่มีผลต่อ ความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
กิตพล เชิดชูกิจกุล


4. แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของที่ระลึกสำหรับ นักท่องเที่ยวชาวยุโรปและเอเชียในกรุงเทพมหานคร
กฤติกา สายณะรัตร์ชัย


5. การทวงถามในภาษาไทย : การศึกษากลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์


6. Thatsana Nataya Chatri Dance : A Creative Conservation Process of Performing Arts for Competition

Dusittorn Ngamying


บทความวิชาการ

1. พวงหรีด : วัฒนธรรมตะวันตกที่งอกงามในประเพณีไทย
รุจิราภา งามสระคู


2. จันทบุรี : เมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกบนเส้นทางอารยธรรมเขมรกับสยามประเทศไทย
กำพล จำปาพันธ์


3. อัตลักษณ์ในเอกลักษณ์ : พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น
นงลักษณ์ ลิ้มศิริ

 

Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่18 ฉบับที่34 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560 ISSN 1513-4458

กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 18 ฉบับที่ 34 ก.ค.-ธ.ค. 2560

บทบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา มงคลวนิช


หน้าสารบัญ


บทความวิจัย

  1. การสร้างความเข้มแข็งของทุนมนุษย์ในการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนของชาวอีสานล้านนา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
    ภัทรภร จิรมหาโภคา


  2. การรับรู้ของเยาวชนไทยต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา และคณะ


  3. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตกรรมเครื่องรักเครื่องเขินไทย – เวียดนาม
    รพีพัฒน์ มั่นพรม


  4. การศึกษาสภาพวัฒนธรรมมอญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มมอญ ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
    อัญชัญ ตัณฑเทศ และคณะ


  5. การประพันธ์ทำนองเพลงผ้าล้วง
    อังคณา ใจเหิม


  6. งานดนตรีไทยสากลของครูมงคล อมาตยกุล : ลักษณะเด่นในอุปนิสัย ความรอบรู้ ความสำเร็จในการสร้างวงดนตรีและนักร้องเพลงลูกทุ่ง
    กฤตวิทย์ ภูมิถาวร

 

บทความวิชาการ

  1. บทความปริทรรศน์ : การสืบทอดสื่อพื้นบ้าน หมอลำเรื่องต่อกลอน
    สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล

 

Quick View

การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

 

Title              :  การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ : Application of the Electromagnetic Gun for Projectile Motion Testing

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์
Kanit Thongpisisombat and Phuttatida Chaisawas

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : phuttatida.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างปืนแม่เหล็กไฟฟ้า สําหรับใช้ในการทดลอง เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่มีความแม่นยําในการวัดที่สูงขึ้น โดยโครงสร้างของปืนแม่เหล็กไฟฟ้าทำจากท่ออลูมิเนียมท่ออลูมิเนียมยาว 56 cm มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกและภายใน 8 mm และ 6 mm ตามลําดับ พันด้วยสายไฟ AWG เบอร์ 20 เป็นขดลวดโซลินอยด์จํานวน 3 ชั้น (ชั้นละ 33 รอบ) ตัวโพรเจกไทล์ เป็นวัสดุเฟอร์โรแมกเนต คือ ดอกสว่างทําเกลียวเบอร์ 3 ขนาด 3 g โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 50 V ให้กับตัวเก็บประจุ 3 x 10μF โดยใช้ตัวเรียงกระแสชนิดควบคุมด้วยซิลิคอน (SCR) เป็นอุปกรณ์สวิทซ์ควบคุมกระแสภายในขดลวดโซลินอยด์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานจลน์ของโพรเจกไทล์ โดยความเร็วของโพรเจกไทล์คํานวณได้จากความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งการกระจัดในแนวราบและแนวดิ่ง (x,y) และใช้เวลาจากเครื่องจับเวลาโฟโต้เกตระบบดิจิตอล (digital photogate timer) เท่ากับ 3.113 m/s และ 3.571 m/s ตามลําดับ เมื่อคํานวณหาเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของทั้งสองวิธีมีค่า 13.67%

คําสําคัญ             :  การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า

Abstract            :  The designed and experiment setup of the electromagnetic gun were to improve measurement accuracy in projectile motion. The magnetic gun made from an aluminum tube is 56 cm long, 8 mm and 6 mm for outer and inner diameter respectively. The end of a tube was bound by AWG cable made for 3 layers (33 rounds/layer) as a solenoid. For the projectile mass testing is a ferromagnetic material screw nail in which a 3 g weight and 5 cm long. The DC power supply with 50 volt charged to the 3 x 10μF capacitor and Silicon Control Rectifier (SCR) is a current controller in solenoid by charging by the electromagnetic into kinetic energy for the projectile. The velocity of projectile was calculated from the slope of x,y positions plot and using a digital photogate timer. The results showed that both methods were 3.113 m/s and 3.571 m/s which corresponds to the percentage difference is 13.67%.

Keywords        :    projectile motion, electromagnetic gun


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์. (2560). การประยุกต์ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 582-586). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

Title              :  การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : Development of Teaching Evaluation System of Siam University via Internet Network

Researcher       :  จักรพันธุ์ รักธรรมนูญ Raktamnoon J.

Department     :  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  jackrapan02@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามที่ทํางานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์สําหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์แทนระบบเดิมที่มีความล่าช้า ไม่สามารถให้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชั่น แบ่งการทํางานออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สําหรับผู้ดูแลระบบในการสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินการสอน ส่วนที่2 สําหรับนักศึกษาในการทําการประเมินอาจารย์ผู้สอนผ่านหน้าเว็บไซต์ และส่วนที่3 สําหรับอธิการบดี คณบดี หัวหน้าภาค และอาจารย์ ในการเข้าถึง ผลการประเมินการสอนผ่านหน้าเว็บไซต์โดยแสดงผลได้ทั้งรูปแบบของตารางและกราฟเปรียบเทียบตามประเภทรายวิชาและระดับความยากง่าย ภาษาที่ใช้ในการพัณนา ได้แก่ ภาษา PHP, JavaScript, HTML5, CSS จัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล MySQL และบริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL สร้างกราฟด้วย HighCharts API ผลการดําเนินงานเมื่อทําการติดตั้งและทดลองใช้งานจริง พบว่า ระบบสามารถทํางานได้ตามฟังก์ชันการทํางานที่กําหนดไว้ สามารถแสดงผลการประเมินการสอนได้ถูกต้องทั้งในรูปแบบของตารางและกราฟ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาและอาจารย์จํานวน 20 คนด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบในส่วนของแบบสอบถามประเมินการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และประสิทธิภาพของระบบในส่วนการแสดงผลการประเมินการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีระดับความพีงพอใจอยู่ในระดับดี ทั้ง 2 ส่วน ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และ 4.02 ตามลําดับกล่าวได้ว่าระบบที่พัฒนานี้สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดีสามารถให้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการได้

คําสําคัญ             :   ประเมินการสอนออนไลน์, มหาวิทยาลัยสยาม

Abstract            :  This research is the development of a Teaching Evaluation System of Siam University via Internet Network. This is a tool for assessing and improving the teacher’s teaching effectiveness to replace the old system with the delay and cannot provide the information for user needs. It has been developed as a web application consists of three parts: Part one for the administrator to create and manage the questionnaire used in the assessment, Part two for students to assess the teacher and Part three for president, dean, director and teacher for accessing the teaching evaluation results displayed in forms of table and graph comparison by subject type and difficulty level. The system has been developed by PHP, JavaScript, HTML5, CSS, and SQL as programming, use MySQL as a database management system and create graphs by HighCharts API. After installation and trail run, the result is the system can operate by defining functionality and can display accurate assessment results. In the evaluation process, the questionnaire is applied to 20 subjects. The results show that the level of satisfaction of the users is good. The systemdeveloped can be applied to the organization and can provide the information that the user needs.

Keywords        :    online teaching evaluation, Siam University


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    จักรพันธุ์ รักธรรมนูญ. (2560). การพัฒนาระบบประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยสยามผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 1317-1326). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต

 

Title              :  การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต : Development of Test for Static Coefficient of Friction

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์
Kanit Thongpisisombat and Phuttatida Chaisawas

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : phuttatida.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต โดยมีอัตราความเร็วในการดึงคงที่ 1 มิลลิเมตรต่อวินาทีควบคุมความเร็วโดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์กับชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ IM483 เชื่อมต่อกับเกียร์ทด 15:1 และต่อกับระบบ linear motion ซึ่งประกอบด้วยบอลสกรูยาว 1 เมตร ซึ่งมีระยะเกลียว 8 มิลลิเมตรต่อรอบ เพื่อใช้เป็นชุดกําลังในการดึง ชุดทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตประกอบด้วยโต๊ะทดสอบติดตั้งอยู่ในแนวราบและมีตัวเลื่อน โดยโต๊ะ และตัวเลื่อนติดตั้งกับพื้นผิววัสดุทดสอบ 3 คู่: หนังกับโลหะ, หนังกับไม้ และหนังกับพลาสติก ในการอ่านค่าแรงเสียดทานมีโหลดเซลกับเครื่องสเตรนอินทรูเมนต์ตรวจวัดค่าแรงและแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอลในหน่วยนิวตัน โดยค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างหนัง PU กับไม่มีค่าสูงสุดและหนัง PU กับพลาสติกมีค่าต่ําสุด โดยมีค่า 0.7514 และ 0.3022 ตามลําดับ

คําสําคัญ             :  ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ไมโครคอนโทรเลอร์ ชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ โหลดเซล

Abstract            :  In this research design and construct a testing machine to measures the static coefficient of friction by using constant pull speed 1 mm per second, speed controlled by microcontroller with IM483 high performance microstepping driver, a stepper motor combined with mechanical gear ratio 15:1 and linear motion has ball screw length 1 m pitch 8 mm/rev was used to transfer the pull energy. The coefficient of friction test fixture consists of a fixed horizontal table and a moveable sled. Both the table and sled can be covered with three pairs of test material: leather and metal, leather and wood, leather and plastic respectively. The friction force data reading from the load cell during the test with strain instrument display the Newton unit. For Polyurethane and wood showed the highest static coefficient of friction was 0.7514 and the lowest was 0.3022 for Polyurethane and plastic.

Keywords        :    the static coefficient of friction, microcontroller, microstepping driver, load cell


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4  The 4th Academic Science and Technology Conference 2016 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (Science Technology and Innovation creating Nation and Future) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙  ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (หน้า 582-585). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.


Quick View

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

[mfn]มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(1), 81-96.[/mfn]   การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ



Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

[mfn]มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(13), 45-58.[/mfn]   การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮ์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ พรรณี บุญประกอบ



Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การศึกษาความร้อนเกินค่าปกติที่เกิดจากของผสมระหว่างนิกเกิลและลิเธียมอลูมินัมไฮดรายด์

 

Title              :  การศึกษาความร้อนเกินค่าปกติที่เกิดจากของผสมระหว่างนิกเกิลและลิเธียมอลูมินัมไฮดรายด์ : Study of Abnormal Exess Heat from Nickel and Lithium Aluminum Hydride Mixture

Researcher       :  บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข¹ คณิต ทองพิสิฐสมบัติ² และ นัฐพล ปานพรหมมินทร์³
Banterng Silpsakoolsook,¹ Kanit Thongpisisombat² and Nattapon Panprommin³

Department     :  ¹′²ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และ ³ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  banterngs@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   บทความนี้เป็นการศึกษาพลังงานความร้อนที่ปลดปล่อยจากรีแอคเตอร์ที่ทำด้วยท่อสเตนเลสภายในบรรจุของผสมของผงนิกเกิล 0.9 กรัม และลิเธียมอลูมินัมไฮดรายด์ 0.1 กรัม โดยหลังจากได้รับความร้อนจนอุณหภูมิสูงกว่า 1000 องศาเซลเซียส ระบบจะปลดปล่อยพลังงานความร้อนเกินค่าปกติ โดยขณะที่อุณหภูมิเท่ากับ 1234 ถึง 1268 องศาเซลเซียส ระบบปลดปล่อยความร้อนส่วนเกิน คิดเป็นค่าพลังงาน 14.16 วัตต์ ค่าสัมประสิทธิ์การทำงาน(COP) เท่ากับ 1.06 ซึ่งผลการศึกษานี้สนับสนุนความเป็นไปได้ของปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดอุณหภูมิต่ำ (LENR)

คําสําคัญ             :  นิกเกิล ลิเธียมอลูมินัมไฮดรายด์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดอุณหภูมิต่ำ

Abstract            :  This paper studies the heat energy which released from stainless metal reactor tube that loaded with a mixture of 0.9 gram of nickel powder and 0.1 gram of lithium aluminum hydride. After heated over 1000 °C the reactor tube generates abnormal excess heat. As the temperature of 1234 to 1268 °C the system released excess heat power as 14.16 watts with coefficient of performance (COP) as 1.06. This result supports the possibilities of low energy nuclear reaction (LENR).

Keywords        :    nickel, lithium aluminum hydride, cold fusion, LENR


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    บรรเทิง ศิลป์สกุลสุข, คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ นัฐพล ปานพรหมมินทร์. (2560). การศึกษาความร้อนเกินค่าปกติที่เกิดจากของผสมระหว่างนิกเกิลและลิเธียมอลูมินัมไฮดรายด์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 562-568). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2: A Study of the Relationship Between the Participative Managementin Academic Task and the Achievement of Students in Basic Education Institutions Under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2

Researcher       : กนกรัตน์ ทำจะดี¹ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์²

Department     :  ¹นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
²อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  love_mom_dad333@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 จำนวน 86 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูฝ่ายวิชาการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกเจาะจงสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนละ 1 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายสำหรับครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนละ 1 คน โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนละ 2 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ Cohen and Uphoff สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ             :  การบริหารแบบมีส่วนร่วม งานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

Abstract            :  The objective of this research was to 1) study the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. 2) study the relationship between the participative management in academic task and the achievement of students in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2. Representative sample groups were 86 schools which consisted of the administrators and the teachers in Academic departure by Purposive sampling for the administrators in each school and Simple random sampling for the teachers which were calculated by the proportion were 293 teachers. Data was gathered by questionnaires about Participative Management of Cohen and Uphoff and analyzed by descriptive statistic methods which were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation and Pearson‘s Correlation Coefficient.
The study could be concluded as follow 1) the participative management in academic task in basic education institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 were of a high level in overall: Participation in involvement benefits, Participation in evaluation, Participation in decision and Participation in operation. 2) the relationship between the participative management and the achievement of students in Basic Education Institutions under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 2 had the relationship and a statistically significant level at .01

Keywords         :  Participative management , Academic task , the achievement of students

Download PDF:  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  กนกรัตน์ ทำจะดี และ สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการกับ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 748-756). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

[mfn]ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.[/mfn]  การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

ชนิตา รักษ์พลเมือง, ศาสตราจารย์ ดร., สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร., รังสรรค์ มณีเล็ก, ดร., เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ศาสตราจารย์ ดร.


 Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View